ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดปัตตานี"

พิกัด: 6°52′N 101°14′E / 6.87°N 101.24°E / 6.87; 101.24
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rremachezschki (คุย | ส่วนร่วม)
Jinnaaaaa (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 188: บรรทัด 188:
* [[พนมเทียน]] ศิลปินแห่งชาติ
* [[พนมเทียน]] ศิลปินแห่งชาติ
*[[กังสดาล พิพิธภักดี]] อดีตพระชายาใน[[สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน|สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ประเทศมาเลเซีย]]
*[[กังสดาล พิพิธภักดี]] อดีตพระชายาใน[[สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน|สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 ประเทศมาเลเซีย]]
* [[บุหงาวลัย คงขวัญ]] หรือ แม่หญิงลี, น้องเฟิร์น28, พระมหาเทวีเจ้าแห่งเมืองทิพย์ เน็ตไอดอลชื่อดัง
* [[ลินดา บุญศรีเจริญ]] หรือ อีทิพย์ เน็ตไอดอลชื่อดังคู่พระมหาเทวีเจ้า


== เทศกาล ==
== เทศกาล ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:42, 5 มิถุนายน 2564

จังหวัดปัตตานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Pattani
คำขวัญ: 
เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ
ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา
ปัตตานีสันติสุขแดนใต้
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปัตตานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ราชิต สุดพุ่ม[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2563)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด1,940.356 ตร.กม. (749.176 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 68
ประชากร
 (พ.ศ. 2563)[3]
 • ทั้งหมด726,013 คน
 • อันดับอันดับที่ 37
 • ความหนาแน่น374.17 คน/ตร.กม. (969.1 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 9
รหัส ISO 3166TH-94
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ตะเคียนทอง
 • ดอกไม้ชบา
 • สัตว์น้ำปลาสลิด
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนเดชา ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
 • โทรศัพท์0 7334 9002, 0 7333 1154
 • โทรสาร0 7334 9002
เว็บไซต์http://www.pattani.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปัตตานี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย ติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: ปืนใหญ่นางพญาตานี
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชบา (Hibiscus sp.)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนทอง (Hopes odorata)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: "เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้"
  • คำขวัญประจำจังหวัดเดิม: บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

ที่มาของชื่อ

คำว่า ปัตตานี มาจากคำภาษามลายูปัตตานี ڤطاني ซึ่งมาจากคำว่า Pata Ini ("ชายหาดแห่งนี้") อีกทีหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง]

ที่ตั้ง

ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพโดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ (สถานีรถไฟโคกโพธิ์)

ภูเขาที่สำคัญ

ได้แก่ ภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในทิวเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี ภูมิอากาศอบอุ่นตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ฝนตกเฉลี่ย 1,750.9 มิลลิเมตร/ปี (เฉลี่ยในรอบ 30 ปี)

ฤดูกาล

ฤดูร้อน

เดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม

ฤดูฝน

สิงหาคม-มกราคม

ประชากร

ศาสนาในจังหวัดปัตตานี (พ.ศ. 2558)[4][5]
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
86.25%
พุทธ
  
13.70%
อื่น ๆ
  
0.05%

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม รองลงมาคือศาสนาพุทธและอื่น ๆ จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2555 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 87.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 12.72 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.03 แต่การสำรวจใน พ.ศ. 2556-2558 พบว่าประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 86.25 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 13.70 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.05[4] ใน พ.ศ. 2555 หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานี ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากปัตตานี ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน[6]

ศาสนา 2503[7] 2554[8] 2555[5][8] 2556[5][8] 2557[5] 2558[4]
อิสลาม 78.20% 87.60% 87.25% 86.25% 86.25% 86.25%
พุทธ 20.00% 12.39% 12.72% 13.70% 13.70% 13.70%
อื่น ๆ 1.80% 0.01% 0.03% 0.05% 0.05% 0.05%

ชาวปัตตานีมีอาชีพหลักคือการทำนา สวนยาง นอกจากนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เช่น อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี ยังประกอบอาชีพประมง ซึ่งส่งผลให้เกิดผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างมาก


สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดปัตตานี
ปีประชากร±%
2553 655,259—    
2554 663,485+1.3%
2555 671,615+1.2%
2556 678,838+1.1%
2557 686,186+1.1%
2558 694,023+1.1%
2559 700,961+1.0%
2560 709,796+1.3%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 115 ตำบล 642 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองปัตตานี
  2. อำเภอโคกโพธิ์
  3. อำเภอหนองจิก
  4. อำเภอปะนาเระ
  5. อำเภอมายอ
  6. อำเภอทุ่งยางแดง
  7. อำเภอสายบุรี
  8. อำเภอไม้แก่น
  9. อำเภอยะหริ่ง
  10. อำเภอยะรัง
  11. อำเภอกะพ้อ
  12. อำเภอแม่ลาน
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดปัตตานี มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นดังนี้

เทศบาลเมือง

มีเทศบาลเมือง 2 แห่ง

อุทยาน

สถานที่ท่องเที่ยว

  • มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดที่สร้างโดยสุลต่านมุสัฟฟาร์ ชาร์ พระองค์ได้สร้างมัสยิดแห่งนี้พร้อมกับมัสยิดบ้านดาโตะ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดที่สุลต่านใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจและะพบปะพูดคุยกับประชาชน มัสยิดกรือเซะเป็นมัสยิดแห่งแรกในคาบสมุทรมลายู[ต้องการอ้างอิง]

การขนส่ง

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
มัสยิดกรือเซะ
ศาลหลักเมืองปัตตานี
ไฟล์:Pattani Skyscraper.jpeg
ปัตตานีในมุมสูง

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

โรงเรียน

ชาวจังหวัดปัตตานีที่มีชื่อเสียง

เทศกาล

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2564. สืบค้น 21 เมษายน 2564.
  4. 4.0 4.1 4.2 "สภาพทั่วไป จังหวัดปัตตานี" (PDF). จังหวัดปัตตานี. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี (2560). แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2557-2560 ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560) (PDF). สำนักงานจังหวัดปัตตานี. p. 7-9.
  6. "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน 1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. 4 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. สำนักงานสถิติกลาง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. รายงานสำมะโนครัวประชากรแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2503 จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสตูล. พระนคร : ไทยแบบเรียน, 2504, หน้า 19
  8. 8.0 8.1 8.2 รายงานผลการดำเนินผลภารกิจงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2556 (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี. 2556. p. 8-10.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

6°52′N 101°14′E / 6.87°N 101.24°E / 6.87; 101.24