ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธานินทร์ อินทรเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9435995 สร้างโดย 27.55.80.52 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| birth_name = ธานินทร์ อินทรแจ้ง
| birth_name = ธานินทร์ อินทรแจ้ง
| nickname = เล็ก
| nickname = เล็ก
| birth_date =
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2486|1|3}}
| birth_place = [[สมุทรสาคร]] [[จังหวัดธนบุรี]] [[ประเทศไทย]]
| birth_place = [[สมุทรสาคร]] [[จังหวัดธนบุรี]] [[ประเทศไทย]]
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =
| spouse = จิตราภรณ์ บุญญขันธ์
| spouse = จิตราภรณ์ บุญญขันธ์
| othername =
| othername =
| occupation = นักร้อง นักแสดง
| occupation = นักร้อง นักแสดง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 4 มิถุนายน 2564

ธานินทร์ อินทรเทพ
ชื่อเกิดธานินทร์ อินทรแจ้ง
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
สมุทรสาคร จังหวัดธนบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสจิตราภรณ์ บุญญขันธ์
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน
สังกัดกรุงไทย (แม่ไม้เมืองไทย)
เมโทร แผ่นเสียง
โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
อิสระ

ธานินทร์ อินทรเทพ มีชื่อจริงว่า ธานินทร์ อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เล็ก นักร้องเพลงลูกกรุงอาวุโส มีชื่อเสียงจากเพลง รักเอย เหมือนคนละฟากฟ้า นกขมิ้น หากรู้สักนิด ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา (โดยเฉพาะเพลงขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก มีชื่อเสียงจนถูกนำไปแต่งเพลงล้อเลียน ชื่อ ขาดฉันแล้วเธอจะเซ้งตึก แปลงเพลงโดย ซูม แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) [1]

ประวัติ

  • เข้าร่วมวงดนตรีของครูพยงค์ มุกดา จากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุพล.1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 มีผลงานอัดแผ่นเสียงเพลง จูบจันทร์ และ เพ็ญโสภา [2] ต่อมาครูพยงค์ได้นำไปฝากให้อยู่กับวงสุเทพโชว์ ของสุเทพ วงศ์กำแหง ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อในการแสดงให้ว่า ธานินทร์ อินทรเทพ
  • เป็นบิดาของ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)

ผลงานเด่น

  • รางวัลเสาอากาศทองจากเพลง ฝากเพลงถึงเธอ พ.ศ. 2518 ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา พ.ศ. 2519 (แต่งโดย ทวีพงศ์ มณีนิล) และ ปั้นดินให้เป็นดาว พ.ศ. 2522
  • แสดงภาพยนตร์ เรื่อง พิมพิลาไลย จำปูน กาเหว่า ชุมทางรัก เป็ดน้อย ระหว่าง พ.ศ. 2507-2511 ร้องเพลงประกอบ เช่น จำปูน (จำปูน ) ,สามคำจากใจ (เป็ดน้อย ) และ ชีวิตละคร (ละครเร่ )
  • ช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2530 เดินทางไปใช้ชีวิตร้องเพลงในสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาได้หยุดร้องประจำตามสถานบันเทิง แต่รับเชิญร้องตามงานพิเศษ และเป็นเลขานุการของสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ก่อตั้งกองทุนเพื่อศิลปิน
  • มีคอนเสิร์ตของตนเองและรับเชิญเป็นครั้งคราว แฟนเพลงต้อนรับคับคั่ง

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

  • ลูกสาวกำนัน (2514)
  • แสนทนง (2515)
  • หัวใจมีตีน (2515)
  • คุณครูที่รัก (2517)
  • ชายผ้าเหลือง (2517)
  • เหมือนฝัน (2519)
  • ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (2522)
  • โชคดีที่รัก (2523)
  • ยอดรักผู้กอง (2524)

อ้างอิง

  1. ลำนำรักจากหนุ่มลำน้ำ โดย หมี่เป็ด ผู้ชายนัยน์ตาสนิมเหล็ก [ลิงก์เสีย]
  2. ไทยโพสต์ แทบลอยด์ 26 ตุลาคม 2546 [ลิงก์เสีย]
  3. คมพยาบาท มูลนิธิหนังไทย
  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น