ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sutoppakaw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Sutoppakaw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| primeminister1 =
| primeminister1 =
| term_start1 = 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
| term_start1 = 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
| term_end1 = 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
| term_end1 = 29 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2564
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2509|5|29}}
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2509|5|29}}
| birth_place = [[รัฐแมสซาชูเซตส์]] สหรัฐ
| birth_place = [[รัฐแมสซาชูเซตส์]] สหรัฐ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 31 พฤษภาคม 2564

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
ถัดไปตรีนุช เทียนทอง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 29 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (57 ปี)
รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550-2561)
พลังประชารัฐ (2561-ปัจจุบัน)
คู่สมรสทยา ทีปสุวรรณ
บุพการี
  • วีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ (บิดา)
  • จันทิมา ทีปสุวรรณ (มารดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทรัพย์สินสุทธิ779.77 ล้านบาท (2562)[1]

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นนักการเมืองชาวไทย แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2556–2557 เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประวัติ

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เกิดวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ณ บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ มีชื่อเล่นว่า "ตั้น" เป็นบุตรของ วีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง,บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต,บมจ.ศรีอยุธยาประกันภัย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา และจันทิมา ทีปสุวรรณ

นายณัฏฐพล สมรสกับ นางทยา ทีปสุวรรณ นักธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (สกุลเดิม "ศรีวิกรม์" เป็น บุตรีคนเล็กของ นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีวิกรม์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.อุตสาหกรรมพรมไทย หรือ "พรมไทปิง" และ บมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์) มีบุตรธิดาด้วยกันรวม 3 คน คือ ณฤทัย ทีปสุวรรณ นรุตม์ ทีปสุวรรณ และ นฤพล ทีปสุวรรณ

สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษา The Williston Northampton School ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด Boston University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขาการตลาด (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

วงการธุรกิจ

นายณัฏฐพล เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารกิจการกระเบื้องคัมพานา พรมไทปิง และพรม Royal Thai เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท อุตสาหกรรมพรมไทย จำกัด (มหาชน) และ กรรมการบริหาร บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรีย์ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รอยัลไทย จำกัด ประจำสาขาดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูแลการขยายตลาดพรม แบรนด์ "Royal Thai" ในพื้นที่ประเทศตะวันออกกลาง โดยประสานกับพาร์ตเนอร์ต่างประเทศจากดูไบ คือ เดป้า อินทีเรีย ในเครือเดป้ายูไนเต็ดกรุ๊ป บริษัทออกแบบตกแต่งภายในรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และติดอันดับ Top 5 ของโลก

วงการกีฬา

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ มีชื่อเรียกในวงการกีฬาว่า "บิ๊กตั้น" เริ่มต้นจากการดำรงตำแหน่ง เหรัญญิกสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย ในยุค ดร.ณัฐ อินทรปาณ นายกสมาคมฯ คนก่อน โดยได้เข้าไปปรับกระบวนการการเงินของสมาคม ปรับปรุงสิทธิประโยชน์นักกีฬา และปรับปรุงการหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน ต่อมา ผศ.ดร.พิมล ศรีวิกรม์ พี่ชายคนโตของภรรยา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมฯ ช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 นายณัฏฐพลได้รับเลือกให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้จัดการทีมชาติไทย นำทีมนักกีฬาเทควันโดไทย เข้าร่วมการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลก ดับเบิลยูทีเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2007 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ผลการแข่งขันทีมชาติไทยได้ครองอันดับ 2 รองจากประเทศเกาหลีใต้ โดยมีนักกีฬาจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 70 ประเทศ

ในส่วนของวงการฟุตบอล นายณัฏฐพล เคยเป็นประธานสโมสรทีมฟุตบอลบางกอกเอฟซีระหว่างปี พ.ศ. 2554-2559 พร้อมกับเป็นกรรมการกลาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้จัดการทีมชาติไทย ชุดอายุไม่เกิน 19 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2559 โดยสามารถนำทีมชาติไทยชุดเล็กคว้าแชมป์ ฟุตบอลอาเซียนชิงแชมป์เยาวชนอายุไม่เกิน 19 ปี (AFF U-19 Youth Championship) ปี 2015 ที่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้สำเร็จ

วงการการเมือง

นายณัฎฐพล ผันตัวเองเข้าสู่วงการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ผลการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 4 ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน และภายหลังการเลือกตั้ง นายณัฏฐพล ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อม 11 มกราคม พ.ศ. 2552 นายณัฏฐพล ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งและได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 10 (ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ จอมทอง บางขุนเทียน บางบอน) ได้รับคะแนนมากกว่า นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ประมาณ 2 หมื่นคะแนน

ในปี พ.ศ. 2553 นายณัฎฐพล เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยในการเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ส.ก. 45 เขตเลือกตั้ง จาก 61 เขตเลือกตั้ง และชนะการเลือกตั้ง ส.ข. 210 คน จากที่มีการจัดการเลือกตั้ง 256 คน ใน 36 เขต[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายณัฏฐพลลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 26 (ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ) โดยได้คะแนน 46,910 คะแนน เอาชนะ น.ส.นพสรัญ วรรณศิริกุล จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้คะแนน 45,092 คะแนน[3] ซึ่งต่อมานายณัฏฐพลได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นแกนนำการชุมนุมคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายณัฏฐพล ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. และสมาชิกพรรค เพื่อเข้าร่วมเป็นแกนนำในการชุมนุมของกปปส. ร่วมกับคนอายุคราวเดียวกัน คือ นายชุมพล จุลใส, นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และนายสกลธี ภัททิยกุล โดยนายณัฏฐพลถือเป็นแกนนำที่อาวุโสที่สุดในบรรดาแกนนำทั้ง 4 คนนี้ [4] [5]

นอกจากนี้แล้ว นางทยา ทีปสุวรรณ ภรรยาของนายณัฏฐพล ก็ได้เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ โดยถือว่าเป็นแนวร่วมเคียงข้างสามี [6] ซึ่งในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ทางกปปส.ชุมนุมแบบแยกเวทีออกทั้งหมดเป็น 7 เวที ปิดการจราจรตามทางแยกต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร นายณัฏฐพลและนางทยามีบทบาทเป็นแกนนำที่เวทีบริเวณแยกอโศก[7] อีกทั้งในระยะแรกของการชุมนุมที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน นายณัฎฐพลก็เป็นผู้ออกไปสำรวจสถานที่และตัดสินใจเอาที่นี่เป็นที่ชุมนุมร่วมกับนายพุทธิพงษ์ และในการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีการแจกสติกเกอร์จำนวน 1,000,000 แผ่น แก่ผู้ชุมนุม นายณัฏฐพลก็เป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ และยังเป็นผู้ดูแลเรื่องเทคนิคเครื่องเสียงบนเวทีอีกด้วย[8]

ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา[9] [10] ซึ่งนายณัฏฐพลและพวกก็ต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม โดยศาลสั่งปล่อยตัวชั่วคราว[11][12]

พรรคพลังประชารัฐ

ต่อมา นายณัฏฐพลได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ก่อนจะได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายณัฏฐพลเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 ของพรรคพลังประชารัฐ และได้รับการรับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[13]

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายณัฏฐพลได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[14]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายณัฏฐพลเป็นเวลา 6 ปี 16 เดือน ส่งผลให้นายณัฏฐพลพ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทันที[15] และหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสมาชิกภาพของเขา แต่ต่อมาเขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตั้งแต่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประวัติ "ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ" กว่าจะถึงวันนี้ ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 "พลังประชารัฐ"". www.thairath.co.th. 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  2. สรุปผลการเลือกตั้ง ส.ก. และ ส.ข. 29 ส.ค.53
  3. กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
  4. ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". ยูทิวบ์. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เปิดทรัพย์สิน "ทยา ทีปสุวรรณ" กับข้อหาท่อน้ำเลี้ยง กปปส". ผู้จัดการออนไลน์. 12 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ณัฏฐพล เผย พรุ่งนี้นำมวลชนบุก ก.แรงงาน". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 13 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. หน้า 059-061, ทวนเส้นทาง'มวลมหาประชาชน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  9. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราว25แกนนำกปปส. [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค. 2557]
  12. จ่อจี้อัยการ ฟ้อง ‘ยะใส-พิภพ’ ร่วม ’16 กปปส.’ ข้อหากบฏ ชี้ตัวอยู่ในอำนาจศาล เช็กลิสต์แกนนำม็อบฟ้อง-ยังไม่ฟ้อง เว็บไซต์มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2562
  13. กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  14. ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  15. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553

แหล่งข้อมูลอื่น