ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นวอลลูน"

พิกัด: 50°30′0″N 4°45′0″E / 50.50000°N 4.75000°E / 50.50000; 4.75000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
| iso_code = BE-WAL
| iso_code = BE-WAL
| anthem = "[[Le Chant des Wallons]]"
| anthem = "[[Le Chant des Wallons]]"
| blank_name_sec1 = [[Day of the Walloon Region|Celebration Day]]
| blank_name_sec1 = [[Day of the Walloon Region|วันเฉลิมฉลอง]]
| blank_info_sec1 = วันอาทิตย์ที่สามของ[[เดือนกันยายน]]
| blank_info_sec1 = วันอาทิตย์ที่สามของ[[เดือนกันยายน]]
| website = [http://www.wallonie.be/ www.wallonie.be]
| website = [http://www.wallonie.be/ www.wallonie.be]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:50, 31 พฤษภาคม 2564

แคว้นวอลลูน

Région wallonne (ฝรั่งเศส)
Wallonische Region (เยอรมัน)

Waals gewest  (ดัตช์)
Redjon walone  (วัลลูน)
Wallounesch Regioun  (ลักเซมเบิร์ก)
ธงของแคว้นวอลลูน
ธง
ตราราชการของแคว้นวอลลูน
ตราอาร์ม
เพลง: "Le Chant des Wallons"
ที่ตั้งของแคว้นวอลลูน
ที่ตั้งของแคว้นวอลลูน
พิกัด: 50°30′0″N 4°45′0″E / 50.50000°N 4.75000°E / 50.50000; 4.75000
ประเทศเบลเยียม
เมืองหลวงนามูร์
การปกครอง
 • มุขมนตรีเอลีโย ดี รูโป
 • สภารัฐสภาวอลลูน
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด16,901 ตร.กม. (6,526 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มกราคม 2019)[2]
 • ทั้งหมด3,633,795 คน
 • ความหนาแน่น220 คน/ตร.กม. (560 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมวอลลูน
ลักษณะประชากร
 • ภาษาราชการฝรั่งเศส, เยอรมัน (และดัตช์ในเขตเทศบาลที่มีการอำนวยความสะดวกด้านภาษา)[3]
รหัส ISO 3166BE-WAL
วันเฉลิมฉลองวันอาทิตย์ที่สามของเดือนกันยายน
เว็บไซต์www.wallonie.be

แคว้นวอลลูน (ฝรั่งเศส: Région wallonne; เยอรมัน: Wallonische Region; ดัตช์: Waals gewest) หรือเรียกอีกอย่างว่า วอลโลเนีย (ฝรั่งเศส: Wallonie; เยอรมัน: Wallonien, Wallonie; ดัตช์: Wallonië) เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม (ร่วมกับแคว้นเฟลมิชและแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์) มีเนื้อที่ร้อยละ 55 ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่แคว้นวอลลูนก็มิได้รวมเข้ากับประชาคมฝรั่งเศสเหมือนในกรณีของแคว้นเฟลมิชซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับประชาคมเฟลมิช นอกจากนี้ในแคว้นวอลลูนยังมีประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกและมีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับแคว้นอื่น ๆ แคว้นวอลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในแคว้น ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของแคว้นคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน

ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม แคว้นวอลลูนนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของแคว้น ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แคว้นวอลลูนถือเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้แคว้นเฟลมิชนั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าแคว้นวอลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแคว้นวอลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าแคว้นเฟลมิชอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

เมืองหลวงของแคว้นวอลลูนตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่าง ๆ ในแคว้นวอลลูนตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซ็องบร์และแม่น้ำเมิซ อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของแคว้น อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับแคว้นเฟลมิช อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์แดน ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของแคว้นวอลลูนทางด้านเหนือติดต่อกับแคว้นเฟลมิชและประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนด้านตะวันออกติดต่อกับประเทศเยอรมนีและประเทศลักเซมเบิร์ก

เขตการปกครอง

แคว้นวอลลูนนั้นแบ่งการปกครองออกเป็นห้าจังหวัด (province) ได้แก่ วอลลูนบราบันต์, แอโน, ลีแยฌ, ลักเซมเบิร์ก และนามูร์ ตามหมายเลขหนึ่งถึงห้าที่อยู่ในรูปภาพมุมบนขวา โดยแบ่งย่อยการปกครองลงไปเป็นเขต (arrondissement) จำนวน 20 เขต อันประกอบด้วยเทศบาลทั้งหมดถึง 262 แห่ง

เมืองสำคัญที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นในแคว้นวอลลูนได้แก่[4]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "be.STAT". bestat.statbel.fgov.be.
  2. "Structuur van de bevolking | Statbel". statbel.fgov.be.
  3. Law of 1966 about language in Belgium
  4. Belgium: largest cities and towns and statistics of their population

บรรณานุกรม

  • Johannes Kramer (1984). Zweisprachigkeit in den Benelux-ländern (in German). Buske Verlag. ISBN 3-87118-597-3.

แหล่งข้อมูลอื่น