ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยเซ็ฟ อันโทน ฟ็อยชท์ไมเออร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
<!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. เพราะมีการอ้างอิงไปถึงคริสต์ศักราชหรือเกี่ยวข้องกับบทความอื่นที่ใช้ ค.ศ. -->
<!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. เพราะมีการอ้างอิงไปถึงคริสต์ศักราชหรือเกี่ยวข้องกับบทความอื่นที่ใช้ ค.ศ. -->
[[ภาพ:Birnau Honigschlecker.jpg|thumb|250px|"Honigschlecker" putto ภายในวัดเบอร์เนา (Birnau) ที่อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) ประเทศเยอรมันี]]
[[ภาพ:Birnau Honigschlecker.jpg|thumb|250px|"Honigschlecker" putto ภายในวัดเบอร์เนา (Birnau) ที่อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) ประเทศเยอรมัน]]
[[ภาพ:Überlingen Museum Feuchtmayer Anna.jpg|thumb|right|250px|ภาพ:Überlingen Museum Feuchtmayer Anna.jpg|เซ็นต์แอนนา (ค.ศ. 1750) ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่อือเบอร์ลิงเก็น]]
[[ภาพ:Überlingen Museum Feuchtmayer Anna.jpg|thumb|right|250px|ภาพ:Überlingen Museum Feuchtmayer Anna.jpg|เซ็นต์แอนนา (ค.ศ. 1750) ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่อือเบอร์ลิงเก็น]]
[[ภาพ:Franziskanerkirche Ueberlingen 01.jpg|thumb|250px|แท่นบูชาภายในวัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) ที่อือเบอร์ลิงเก็น]]
[[ภาพ:Franziskanerkirche Ueberlingen 01.jpg|thumb|250px|แท่นบูชาภายในวัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) ที่อือเบอร์ลิงเก็น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:27, 10 กุมภาพันธ์ 2551

"Honigschlecker" putto ภายในวัดเบอร์เนา (Birnau) ที่อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) ประเทศเยอรมัน
เซ็นต์แอนนา (ค.ศ. 1750) ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ที่อือเบอร์ลิงเก็น
แท่นบูชาภายในวัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) ที่อือเบอร์ลิงเก็น

โจเซฟ อันทวน ฟ็อยค์เมเยอร์ (ภาษาเยอรมัน: Joseph Anton Feuchtmayer) ทำพิธีศีลจุ่มเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1696 ที่เมืองลินซ์ (Linz) ประเทศออสเตรีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1770 ที่ มิมเม็นเฮาส์เซ็น (Mimmenhausen) ใกล้เมืองซาเล็ม (Salem) ประเทศเยอรมัน โจเซฟ อันทวนเป็นปฏิมากร และช่างปูนปั้น(stuccoist) แบบโรโคโคเวสโซบรุน (Wessobrunn) ที่มีชื่อเสียงของประเทศเยอรมัน และ เป็นสมาชิกของตระกูลฟ็อยค์เมเยอร์ที่มีชื่อเสืยงทางศิลปะแบบโรโคโค งานส่วนใหญ่ของโจเซฟ อันทวนอยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมันและประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประวัติ

โจเซฟ อันทวนเริ่มศึกษาการปฏิมากรรมที่เมืองออกสเบิร์ก (Augsburg) เมื่อปี ค.ศ. 1715 และเริ่มทำงานที่ไวน์การ์เด็น (Weingarten) เมื่อปี ค.ศ. 1718 หลังจากที่ฟรานซ์ โจเซฟ ฟ็อยค์เมเยอร์ผู้เป็นพ่อเสียชีวิต โจเซฟ อันทวนก็กลับมารับกิจการที่เวิร์คช็อพ (workshop) ของพ่อที่มิมเม็นเฮาส์เซ็นต่อ ขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็น"ช่างประจำวัด" ของมหาวิหารซาเล็ม โดยรับงานชิ้นแรกคือสร้างตู้ออร์แกน

งานของโจเซฟ อันทวนได้รับอิทธิพลจาก ดิเอโก ฟรานเชสโก คาร์โลเน (Diego Francesco Carlone) ช่างปูนปั้นชาวอิตาลีที่ทำงานด้วยกันที่ไวน์การ์เท็น สิ่งที่โจเซฟ อันทวนเรียนจากดิเอโก ฟรานเชสโกคือวิธีปั้นรูปปูนปั้นให้เป็นเงา ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่ทำให้ผลงานของเขามีชื่อเสียง

พร้อมๆกับที่ศิลปินสำคัญสมัยเดียวกันเช่น โยฮันน์ โจเซฟ คริสเตียน (Johann Joseph Christian) และ ฟรานซ์ โจเซฟ สปีเกิล (Franz Joseph Spiegler) โจเซฟ อันทวนส่วนใหญ่ก็จะทำงานกับสำนักสงฆ์หรืออารามแบบบาโรกแถว"ถนนบาโรก"ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก งานที่มีเด่นที่สุดก็คืองานปูนปั้น แท่นบูชาเซ็นต์เบอร์นฮาร์ด ("Bernhardsaltar") ที่อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) ที่เรียกกันว่า "ปากน้ำผึ้ง" ("Honigschlecker" หรือ ภาษาอังกฤษ: "honey eater") ซึ่งเป็นคำที่กล่าวถึงนักบุญเบอร์นาร์ดผู้มีพรสวรรค์ในการเทศนา[1]

ปัจจุบันนี้เวิร์คช็อพและบ้านของโจเซฟ อันทวนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับชีวิตและงานของเขา

ประติมากรรม

  • บิวรอน (Beuron) —สำนักสงฆ์เบ็นเนดิคตีนแห่งเซ็นต์มาร์ตินและเซ็นต์มาเรีย (Benedictine Abbey of St. Martin and St. Maria) - แท่นบูชาเอก
  • เมียส์เบิร์ก (Meersburg) —ชาเปลของปราสาท (Chapel in the Neues Schloss) - ปูนปั้น
  • แบล็คฟอเรสต์ (Schwarzwald) —วัดเซ็นต์ปีเตอร์ที่แบล็คฟอเรสต์ (St. Peter im Schwarzwald) - รูปปั้นบนเสา และรูปสาวกที่แท่นบูชาเอก
  • ซาเล็ม (Salem, Bodensee) —มหาวิหารซาเล็ม - ตู้ออร์แกนและตู้สารภาพบาปสี่ตู้
  • อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) —อารามซิสเตอร์เชียนเบอร์เนา (Cistercian Priory of Birnau) - กรอบหน้าต่าง, "Maria Immaculata", ปูนปั้น, แท่นบูชา, รูปปั้นที่แท่นบูชา, ธรรมมาสน์, "ทางสู่กางเขน" (stations of the cross)
  • อือเบอร์ลิงเก็น (Überlingen) —วัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) - แท่นบูชาเอก
  • ไวน์การ์เท็น (Weingarten) —สำนักสงฆ์เบ็นเนดิคตีนแห่งเซ็นต์มาร์ตินแห่งทัวร์และเซ็นต์ออสวอลด์ (Benedictine Monastery of St. Martin of Tours and St. Oswald) - ที่นั่งสำหรับนักร้องสวด (choir stalls)
  • บาด เวิทซ์นาค (Bad Wurznach) —วัดเซ็นต์เวเรนา (Church of St. Verena) - รูปปั้นบนแท่นบูชาเอก
  • ล็อยท์เคิร์ช อิม อาลเกา (Leutkirch im Allgäu) —วัดเซ็นต์มาเรีย ฮิมเมลฟาร์หท (Church of Mariä Himmelfahrt ) – แท่นบูชาเอก

อ้างอิง

  1. Germany: A Phaidon Cultural Guide. Oxford: Phaidon, 1985. p. 710. ISBN 0-7148-2354-6.

ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

สมุดภาพ