ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความงาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


== ความงามในสังคมมนุษย์ ==
== ความงามในสังคมมนุษย์ ==
การวิจัยของมหาวิทยาลอนดอน กิลด์ฮอลล์ ที่มีผู้เข้าร่วมถึง 11,000 คน แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า (ตามผลสำรวจความเห็น) ถึง 13% และบุคคลที่น้ำหนักเกินนั้นรายได้น้อยกว่าคนอื่น 5% โดยเฉลี่ย
การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยลอนดอน กิลด์ฮอลล์, มหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน และสถาบันจอห์นสัน ในปี พ.ศ. 2554 แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่าถึง 11-15% รวมถึงมักได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากกว่าอีกด้วย<ref name="Suaidaitaem">{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/514222|title=สวยได้แต้ม ปลุกตลาดความงาม 2 หมื่นล้าน|author=จีราวัฒน์ คงแก้ว|date=2013-07-08|accessdate=2021-05-05|publisher=[[กรุงเทพธุรกิจ]]}}</ref>

ในปี พ.ศ. 2554 Daniel S. Hamermesh และ Jason Abrevaya จาก[[มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน]] ได้เผยแพร่บทความวิจัยชื่อ “Beauty is the Promise of Happiness” โดยแสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า 5% มีระดับความสุขมากกว่าราว 10% มีโอกาสได้รับความใส่ใจจากคนรอบข้างมากกว่า รวมถึงมีโอกาสได้มีคนรักหรือได้แต่งงานสูงกว่าด้วย อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะถูกเหยียดหรือถูกตั้งแง่อคติ กล่าวคือเมื่อมีจุดเด่นด้านรูปลักษณ์ภายนอกแล้วก็อาจถูกมองว่าด้อยในด้านอื่นได้<ref>{{Cite web|url=https://www.voathai.com/a/study-says-beauty-equals-happiness-ss-31mar11-119037259/924569.html |title=รายงานชี้ว่ารูปร่างหน้าตาดีคือหลักประกันแห่งความสุข|author=ทรงพจน์ สุภาผล |date=2011-03-31|accessdate=2021-05-05|publisher=[[วิทยุเสียงอเมริกา|วีโอเอ]]ไทย}}</ref>


[[ตัวเอก|ตัวละครเอก]]ในงานการแสดงต่าง ๆ มักใช้ผู้แสดงที่มีรูปร่างหน้าตาดี และวงการบันเทิงต่าง ๆ ก็มักเลือกใช้ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีเป็นสำคัญ
[[ตัวเอก|ตัวละครเอก]]ในงานการแสดงต่าง ๆ มักใช้ผู้แสดงที่มีรูปร่างหน้าตาดี และวงการบันเทิงต่าง ๆ ก็มักเลือกใช้ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีเป็นสำคัญ

[[ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง|การศัลยกรรมเพื่อความงาม]]ของใบหน้าหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ได้รับความนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ธุรกิจความงามและศัลยกรรมความงามมีมูลค่าตลาดรวมสูงมาก เฉพาะในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2555<ref name="Suaidaitaem" />


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:30, 5 พฤษภาคม 2564

ดอกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่างาม

ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้

ความงามและสุนทรียศาสตร์

การจะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของสุนทรียศาสตร์ ในสุนทรียศาสตร์นั้นมีนักปรัชญาหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่เชื่อว่าความงามนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ (subjective) และอีกกลุ่มที่เชื่อว่าความงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้ (absolute, objective)

นอกจากนั้นยังมีนักปรัชญา เช่น โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) ที่เป็นทั้งคีตกวีและนักวิจารณ์ ที่มีความเห็นว่าความงามนั้นจัดได้เป็นสองประเภท คือความงามโดยธรรมชาติ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์. ความงามที่เกิดโดยธรรมชาติคือการสัมผัสและรับรู้ถึงสิ่งงามที่ปรากฏในธรรมชาติ แต่ความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์และเข้าไปเกี่ยวข้องในธรรมชาติ ชูมันน์ยังบอกอีกว่าในศิลปะ มีความงามทั้งสองชนิดปรากฏอยู่ เพียงแต่ความงามโดยธรรมชาติคือความสุนทรีย์ทางอารมณ์ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือความเข้าใจในผลงานศิลปะชิ้นนั้น

ทฤษฎีเรื่องความงาม

ทฤษฎีเรื่องความงามนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่ยุคสมัยนักปราชญ์กรีกก่อนโสกราตีส เช่น พีทาโกรัส ซึ่งพีทาโกรัสก็ได้สันนิษฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์และความงาม พีทาโกรัสสังเกตว่าสิ่งที่มีสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำ (อัตราส่วนทองคำ golden ratio) การวิจัยในปัจจุบันก็พบว่ามนุษย์ที่มีหน้าตาที่สมดุลและเป็นสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำมักจะถูกมองว่างามกว่าคนอื่นๆ นี่เป็นหนึ่งในทฤษฏีหนึ่งที่อยู่บนพื้นฐานว่าความงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้และไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับรู้

ทฤษฏีที่ว่าความงามนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับรู้กล่าวว่า ความงามเป็นเพียงสิ่งที่จิตใจมนุษย์ให้ค่าหรือตัดสิน ฉะนั้นความงามจึงเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น และอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาวะของคนๆใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง

ชาวอินเดียโบราณขนานนามความงามว่าเป็นสิ่งที่ใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งที่นำพาจิตใจออกจากโลกที่เต็มไปด้วยความเก่าแก่และความเบื่อหน่าย

ความงามทางคณิตศาสตร์

นิยามของความงามยังครอบคลุมถึงคณิตศาสตร์ นักศณิตศาสตร์หรือผู้ที่หลงใหลในตัวเลขสามารถที่จะมีความเพลินและพึงพอใจกับการ "เล่น" หรือ "คำนวณ" คณิตศาสตร์. แม้แต่สูตรคณิตศาสตร์ ยังมีผู้ที่ชื่นชมว่างาม อย่างเช่น หรือที่เรียกกันว่า เอกลักษณ์ของออยเลอร์ ยังมีอีกหลายคนที่เห็นความงามเมื่อมองดูวิธีคิดหาคำตอบในคณิตศาสตร์ ดั่งที่เอ็ดน่า เซนท์วินเซนท์ มิลเลย์กล่าวไว้ถึงเรขาคณิตของยุคลิดว่า "มีเพียงยุคลิดที่มองเห็นความงดงามแท้"

ความสัมพันธ์อีกอย่างหนึ่งระหว่างคณิตศาสตร์และความงามคือดนตรี พีทาโกรัสเองมีทฤษฏีเกี่ยวกับวิธีที่ตัวโน้ตสัมพันธ์กันและความยาวของสายที่ให้กำเนิดเสียงนั้น

สัดส่วนทองคำ หรือ Golden Ratio (ซึ่งแทนด้วยตัวอักษรกรีก ฟี Φ) มีค่าประมาณ 1.618:1 และเป็นสัดส่วนที่ผู้คนมักให้ความเห็นว่างาม นั่นคือ สถาปัตยกรรมที่มีสัดส่วนนี้ หรือสิ่งของในธรรมชาติเช่นเปลือกหอยนอติลุส (nautilus) มักดูงามกว่าสิ่งที่ขาดสัดส่วนนี้ไป

ความงามในสังคมมนุษย์

การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยลอนดอน กิลด์ฮอลล์, มหาวิทยาลัยลอนดอน เมโทรโพลิแทน และสถาบันจอห์นสัน ในปี พ.ศ. 2554 แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่าถึง 11-15% รวมถึงมักได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากกว่าอีกด้วย[1]

ในปี พ.ศ. 2554 Daniel S. Hamermesh และ Jason Abrevaya จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน ได้เผยแพร่บทความวิจัยชื่อ “Beauty is the Promise of Happiness” โดยแสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า 5% มีระดับความสุขมากกว่าราว 10% มีโอกาสได้รับความใส่ใจจากคนรอบข้างมากกว่า รวมถึงมีโอกาสได้มีคนรักหรือได้แต่งงานสูงกว่าด้วย อย่างไรก็ตามก็มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะถูกเหยียดหรือถูกตั้งแง่อคติ กล่าวคือเมื่อมีจุดเด่นด้านรูปลักษณ์ภายนอกแล้วก็อาจถูกมองว่าด้อยในด้านอื่นได้[2]

ตัวละครเอกในงานการแสดงต่าง ๆ มักใช้ผู้แสดงที่มีรูปร่างหน้าตาดี และวงการบันเทิงต่าง ๆ ก็มักเลือกใช้ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีเป็นสำคัญ

การศัลยกรรมเพื่อความงามของใบหน้าหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ได้รับความนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ธุรกิจความงามและศัลยกรรมความงามมีมูลค่าตลาดรวมสูงมาก เฉพาะในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2555[1]

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. 1.0 1.1 จีราวัฒน์ คงแก้ว (2013-07-08). "สวยได้แต้ม ปลุกตลาดความงาม 2 หมื่นล้าน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  2. ทรงพจน์ สุภาผล (2011-03-31). "รายงานชี้ว่ารูปร่างหน้าตาดีคือหลักประกันแห่งความสุข". วีโอเอไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.