ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
Makenzis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| manager = อันโตนีโอ คอนเต
| manager = อันโตนีโอ คอนเต
| league = [[เซเรียอา]]
| league = [[เซเรียอา]]
| season = [[เซเรียอา ฤดูกาล 2019–20|2019–20]]
| season = [[เซเรียอา ฤดูกาล 2020–21|2020–21]]
| position = อันดับที่ 2
| position = อันดับที่ 1
| pattern_la1 = _inter2021H
| pattern_la1 = _inter2021H
| pattern_b1 = _inter2021H
| pattern_b1 = _inter2021H

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:21, 5 พฤษภาคม 2564

อินเตอร์นาซีโอนาเล
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน
ฉายาI Nerazzurri (ดำ-น้ำเงิน)
La Beneamata (หัวแก้วหัวแหวน)
Il Biscione (งูเขียวใหญ่)
งูใหญ่ (ภาษาไทย)
ก่อตั้ง9 มีนาคม ค.ศ.1908
สนามสตาดีโอจูเซ็ปเปเมียซซ่า
Ground ความจุ82,964 [1]
ประธานเอริก โตฮีร์
ผู้จัดการทีมอันโตนีโอ คอนเต
ลีกเซเรียอา
2020–21อันดับที่ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน (อิตาลี: Football Club Internazionale Milano S.p.A.) หรือที่เรียกย่อว่า อินเตอร์นาซีโอนาเล หรือ อินเตอร์มิลาน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1908 ตั้งอยู่ในเมืองมิลานเขตลอมบาร์ดี ประเทศอิตาลี โดยเป็นสโมสรเดียวที่ไม่เคยตกชั้นจาก เซเรียอา นับตั้งแต่ก่อตั้งลีกสูงสุดในปี ค.ศ. 1929 และปัจจุบันเป็นสมาชิกในกลุ่มฟุตบอล จี-14 สีเสื้อประจำสโมสรคือสีน้ำเงินและสีดำลายทาง

ประวัติ

อินเตอร์มิลาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1908 โดยใช้ชื่อ ฟุตบอล คลับ อินแตร์นาซีโอนาเล ซึ่งมีสมาชิกที่บางส่วนที่แยกตัวมาจากสโมสร มีลาโนตคริกเกร็ตแอนด์ฟุตบอลคลับ (มีทั้งหมด 44 คน) และได้ร่วมตัวกันเป็นกลุ่มอิตาลีและสวิส (จอร์โจ มักกีอานี เป็นจิตรกรที่ได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ของสโมสร) ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ.1908 กลุ่มสมาชิก สโมสรมิลานโนตคริกเกร็ตแอนด์ฟุตบอลคลับ ที่มีทั้งหมด 44 คน ได้มีสมาชิกจำนวนหนึ่งได้แยกตัวออกก่อตั้งสโมสรแห่งใหม่ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการนักฟุตบอลหรือนักเตะ ที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียลงสนาม นั้นก็หมายถึงชาวต่างชาติก็สามารถลงสนามให้กับทีมได้ จึงได้รวมตัวกันของชาวอิตาลีและสวิส ก่อตั้งสโมสรขึ้นมา สโมสรแห่งนี้จึงได้เป็นสโมสรอีกสโมสรหนึ่งแห่งเมือง มิลาน ที่ได้ขึ้นชื่อว่าก่อตั้งจากชนชั้นแรงงาน นั้นก็คือ สโมสร อินเตอร์ มิลาน นั้นเอง

Inter Milan FC หรือชื่อเต็มว่า อินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน ในภาษา อิตาลี (Football Club Internazionale Milano S.p.A.) ตั้งอยู่ในเมืองมิลาน เขตลอมบาร์ดี ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มฟุตบอล จี-14 และยังคงเป็นสโมสรเดียวในอิตาลี ที่ยังไม่เคยตกชั้นไปจากซีเรียอานับตั้งแต่มีการก่อตั้งลีกสูงสุดตั้งแต่ปี 1929 สนามเหย้าของสโมสร อินเตอร์ มิลาน มีชื่อว่า “สตาดีโอจูเซปเปเมอัซซา” สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1925 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ กันยายน ค.ศ.1926 โดยมีความจุ 82,955 ที่นั่ง ซึ่งสนามแห่งนี้ ก็เป็นสนามของ เอซี มิลาน เช่นเดียวกัน แต่หาก เอซี มิลาน ใช้งานเป็นเจ้าบ้าน จะมีชื่อว่า “ซานซีโร” ซึ่ง “สตาดีโอจูเซปเปเมอัซซา” หรือ “ซานซีโร” เคยถูกใช้เป็นสนามสังเวียนนัดชิงชนะเลิศ ยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก ปี 2016 โดย รีล มาดริด สามารถคว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะจุดโทษ อัตเลติโกเดมาดริด ไปได้

สโมสร อินเตอร์ มิลาน มีฉายาว่า I Nerazzurri (เนรัซซูรี) หรือ ดำ-น้ำเงิน และมีฉายาว่า Il Biscione งูใหญ่ ในส่วนของฉายางูใหญ่นั้นมีที่มาจาก ตราประจำตระกูล Visconti ซึ่งเป็นเจ้าเมืองมิลานเก่า ที่เคยเป็นประธานสโมสรในช่วงสั้นๆ นั้นเอง ในช่วงแรกๆ สโมสรจะใช่ตราโลโก้เป็นรูปงู และได้เปลี่ยนมาเป็นโลโก้ที่เป็นตัวอักษร I M และ C เป็นสัญลักษณ์สโมสร จากการออกแบบโดยนำตัวอักษรมาใช้เป็นโลโก้นั้น ทำให้หลายๆสโมสรได้นำแนวคิดนี้มาเป็นตราสโมสรเช่นเดียวกัน ซึ่งศิลปินชาวอิตาลี ที่ชื่อ “จอร์โจ มักกีอานี” เป็นคนออกแบบตราสโมสรในยุคแรก

ยุคสมัยของสโมสร

ช่วงยุคแรก

1908 ในช่วงต้นศตวรรษ ยังไม่มีมิลานดาร์บี้ มีเพียง"มิลานคริกเก็ตและฟุตบอลคลับ" (เวลานี้คือ เอซีมิลาน) และในวันที่ 9 มีนาคม 1908 กบถกลุ่มหนึ่งจัดตั้ง "ฟุตบอลคลับอินเตอร์นาซิอองนาล มิลาโน" ชื่อของสโมสรได้มาจากเจตจำนงของสมาชิกผู้ก่อตั้งที่ให้ยอมรับนักเตะต่างชาติเช่นเดียวกับผู้เล่นอิตาเลี่ยน ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าอินเตอร์นาซิอองนาล กัปตันทีมคนแรกเป็นนักเตะชาวสวิสชื่อเฮิร์นต์ แมงตี สีของสโมสรคือสีทอง ดำ และน้ำเงิน เป็นประเพณีซึ่งรักษาติดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

1910 เป็นครั้งแรกที่อินเตอร์ชนะเลิศถ้วยอิตาเลี่ยนลีก กัปตันของทีมแชมเปี้ยนคือ เวอร์จิริโอ้ ฟอสซาติ ชึ่งเขาเสียชีวิตในสมัยสงครามโลกครั้งที่1 แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีฟอสซาติ อินเตอร์ก็ได้ครองแชมป์ครั้งที่ 2 ในปี 1920

ยุค30S

1930 ในช่วงยุคฟาสซิสต์ทางสโมสรถูกบังคับให้รวมตัวกับมิลานีสยูเนี่ยน สปอร์ติวา และทีมก็ชนะเลิศเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อ อัมบรอสเซียน่าอินเตอร์

1934 เนราซซูร์รี่ อัลเลมันดี , คาสเตลาซซี่ , เดมาเรีย และตำนานลูกหนัง กุยเซปเป เมียซซา ช่วยทีมชาติอิตาลี่ครองแชมป์ลูกหนังโลกในปี1934 อีก 2 ปีต่อมา ฟรอสซี่ และ โลคาเตลลี่ ช่วยพาทีมคว้าเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิคเบอร์ลิน

1938 นักเตะอินเตอร์ประกอบด้วย เฟอร์ราริสที่ 2 , เฟอร์รารี่ , โลคาเตลลี่และเมียซซา มีส่วนร่วมทีมอัซซูรี่ ที่ก่อตั้งขึ้นคว้าแชมป์ลูกหนังโลกปี 1938 ที่กรุงปารีส ในปีเดียวกัน อินเตอร์ ชนะเลิศลูกหนังสโมสรอิตาลี่เป็นครั้งที่ 4 ขณะที่ทางสโมสรประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ คอปปาอิตาเลียครั้งแรกในปี 1939

ยุค40S

และคว้าแชมป์ลีกได้อีกในปี 1940 ชื่อที่ใช้ในขณะนั้นคือ อัมบรอสเซียน่า และถูกสลัดทิ้งในเดือนตุลาคม 1945 โดยกลับมาใช้ชื่อสโมสรอินเตอร์เหมือนเดิม 1947 กรุยเซปเป้ เมียซซา ลงเล่นครั้งสุดท้ายเป็นการฟาดแข้งอย่างเป็นทางการนัดที่ 408 ในสีเสื้ออินเตอร์ ดาวซันโวอินเตอร์ ชึ่งสร้างตำนานด้วยการยิงได้ 287 ประตูให้กับสโมสร เขาเสียชีวิตในปี1979 และในปีถัดมาก็มีการตั้งชื่อสนามซานซีโร่เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

ยุค50S

1953 ทีมของเนราซซูรี่ คว้าแชมป์ครั้งที่ 6 ในปี 1953 และย้ำความสำเร็จได้ในปีต่อมา ต้องขอขอบคุณ 4 นักเตะดาวเด่น คือ เบนีโต "เวเลโน" ลอเรนซี แห่งอิตาลี่, สคอกลุนด์ จากสวีเดน นักเตะดัทช์ วิลเกส และไนเออร์ ชึ่งไม่ได้ระบุสัญชาติ

ยุค60S-ยุค70S

1963 เริ่มยุค "เกรทอินเตอร์" ประธานสโมสรคือ แองเจโล่ โมรอตติ โค้ชคือ เฮเลนิโอ เฮอร์เรร่า และบรรดานักเตะที่ไม่อาจลืมเลือนได้คือ ซาร์ติ ,เบิร์กนิค , ฟาคเชตติ , เบดิน , กวาร์เนรี่ , พิคชี , แจร์ , มาซโซล่า , มิลานี่(โดเมงกินี) , ซัวเรซ และคอร์โซ่ เกรทอินเตอร์ชนะเลิศซีรี่ เอ 3 สมัย (ในปี 1964, 1965 และ1966 ในปีหลังสุดเป็นการครองแชมป์สคัดเดตโต้ครั้งที่ 10 ซึ่งยอมให้สโมสรสวมเสื้อตราดาวทอง) ,คว้าถ้วยยุโรป 2ครั้ง(ในปี1964 พบกับกับเรอัล แมดริด และ1965 ปะทะกับเบนฟิกา) และคว้าถ้วยอินเตอร์คอนติเนนตัล 2สมัย (ในปี1964และ1965, โดยหวดกับอินดีเพนเดนเต้ทีมหินจากอาเจนตินาทั้ง 2ครั้ง) ในปี1964 ซัวเรซ ช่วยให้ทีมชาติสเปนคว้าแชมป์ยุโรป 1968 เบิร์กนิช, โดเมนกีนี่, ฟัคเชตติ, กวาร์เนรี่ และมาสโซล่า มีส่วนช่วยให้ทีมชาติอิตาลี่ประสบความสำเร็จในศึกลูกหนังชิงแชมป์ยุโรปที่กรุงโรมในปี 1968 อีก 3 ปีต่อมา, เนราซซูร์รี่ ครองแชมป์ สคัดเดดโต้ ครั้งที่ 11 ภายใต้การนำของโค้ช จิอานนี่ อินเวอร์นิซซี่

ยุค80S

1982 หลังจากครองแชมป์ซีรีส์ อา ครั้งที่12 ในปี 1980, อัลโตเบลลี่, เบอร์โกมี่, บอร์ดอน, มารินี่ และ โอเรียลี่ ช่วยให้ทีมอิตาลีคว้าถ้วยเวิลด์คับที่กรุงแมดริดในปี 1982 1989 อินเตอร์ชนะถ้วยสคัดเดดโต้ครั้งที่ 13 ในปี 1989 เก็บแต้มได้ 58 คะแนนจาก 34 นัด (ทีมชนะได้ 2คะแนน) ปีต่อมา ในศึกอิตาเลีย 90, สามดาวเตะเยอรมันของอินเตอร์ คือ เบรห์เม่ ครินส์มันน์ และแมทเธอุส ช่วยให้ทีมเยอรมันคว้าถ้วยเวิลด์คับที่กรุงโรม ในปีเดียวกัน โลธ่า เมทเธอุส เป็นผู้เล่นอินเตอร์คนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ ในฐานะนักเตะยอดเยี่ยมประปีของยุโรป

ยุค90S

1991 วันที่ 22 พฤษภาคม 1991, 26 ปีหลังจากประสบความสำเร็จระดับชาติ, อินเตอร์เฉือนโรมา ด้วยประตูรวม 2-1 ในศึกยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ แมทเธอุส และเบอร์ติ ยิงประตูให้เนราซซูรี่ ในการเตะนัดแรกที่เมซซา อินเตอร์ชนะซัลซ์เบิร์ก ในนัดชิงชนะเลิศ 3 ปีถัดมาคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพครั้งที่ 2 1998 โรนัลโด้ เป็นนักเตะอินเตอร์คนแรกที่ได้รับรางวัล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่า และเป็นคนที่ 2 ที่ได้รับเครื่องราชบอลลอน อินเตอร์ชวดแชมป์หลังจากเปิดศึกดวลแข้งกับยูเวนตุสคู่แข่งสำคัญ, แต่ชนะลาซิโอ 3-0 ที่ปารีสคว้าถ้วยยูฟ่าคัพเป็นครั้งที่ 3 จอร์เกฟฟ์ดาวเตะฝรั่งเศสสามารถดับรัศมีโรนัลโด้ดาวเตะบาซิลในศึกลูกหนังเวิลด์คัพนัดชิงชนะเลิศที่กรุงปารีสในปี 1998

ยุค2000S

2000 เมื่อวันที่ 12 เมษายน , แฟนลูกหนังทั่วโลกพาติดตรึงกับข่าวอาการบาดเจ็บของโรนัลโด้ในระหว่างทำศึกคอปป้าอิตาเลียนัดชิงชนะเลิศกับลาซิโอ้ โรนัลโด้กลับมาลงสนามและยิงประตูได้อีกในฤดูกาล2001/2002 ในขณะเดียวกันโลรองต์ บรอง กองหลังของเนราซซูร์รี่ก็มีส่วนช่วยให้ฝรั่งเศส พิชิตอิตาลีในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร 2000 2001 ฤดูกาลสิ้นสุดลงโดยอินเตอร์ทำแต้มเหนือ เอซี มิลาน ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 5 ในศึกชิงแชมป์ซีรีส์ อา ในช่วงฤดูร้อน, มีการจัดงาน"วันโรนัลโด้" เพื่อฉลองการกับมาฟาดแข้งของฟีโนมีน่อน ในเดือนพฤศจิกายน, นักเตะตำนานของอินเตอร์คนหนึ่ง ฟูลแบ็คที่ไม่อาจลืมเลือนได้คือ เกียซินโต้ ฟาคเชตติ ได้เป็นรองประธานสโมสร โชคร้ายในเดือนธันวาคม กรุยเซปเป้ พริสโก้ รองประธานเบเนียมาตา เอฟฟ์ และแฟนลูกหนังชั้นดีของอินเตอร์ถึงแก่กรรมหลังจากครบรอบวันเกิดปีที่ 80 ได้ 2 วัน 2002 อินเตอร์ใกล้ที่จะคว้าแชมป์ครั้งที่ 14 ทีมนำกำลังจะเตะนัดสุดท้ายของฤดูกาลและมีแต้มนำยูเวนตุสอยู่ 1คะแนน พวกเขาแพ้ลาซิโอ้ในนัดเยือนที่สนามโอลิมปิคของกรุงโรมด้วยสกอร์ 2-4 ถ้วยชนะเลิศตกเป็นของยูเวนตุสขณะที่โรมาเฉือนอินเตอร์ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 เช่นเดียวกับเมื่อปี 1967 การเตะนัดสุดท้ายของศึกชิงแชมป์นับเป็นความเป็นความย่ำแย่ของเดอะเนราซซูร์รี่

เกียรติประวัติ

อิตาลี ระดับประเทศ

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

โลก ระดับโลก

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020[2][3][4]

[5] หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สโลวีเนีย ซามีร์ ฮันดานอวิช (กัปตันทีม)
2 DF โมร็อกโก อัชร็อฟ ฮะกีมี
5 MF อิตาลี โรแบร์โต กากลีอาร์ดินี
6 DF เนเธอร์แลนด์ สเตฟัน เดอ ไฟร
7 FW ชิลี อาเลกซิส ซันเชซ
8 MF อุรุกวัย Matías Vecino
9 FW เบลเยียม โรเมลู ลูกากู
10 FW อาร์เจนตินา เลาตาโร มาร์ติเนซ
11 DF เซอร์เบีย อาเล็กซานดาร์ คอลาร็อฟ
12 FW อิตาลี ซามูเอเล ลอนโก
13 DF อิตาลี อันเดรอา ราน็อกเกีย
14 MF โครเอเชีย อีวาน เพรีชิช
15 MF อังกฤษ แอชลีย์ ยัง
22 MF ชิลี อาร์ตูโร บิดัล
23 FW อิตาลี เอแดร์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 DF โคลอมเบีย แยย์ซอน มูรีโย
25 DF บราซิล มีรังดา (รองกัปตันทีม)
27 GK อิตาลี ดานีเอเล ปาเดลลี
33 DF อิตาลี ดานีโล ดี'อัมโบรซีโอ
36 DF อิตาลี มัตเตโอ ดาร์มีอัน (ยืมตัวมาจาก ปาร์มา)
37 DF สโลวาเกีย มิลาน สครีนีอาร์
46 GK อิตาลี ตอมมาโซ แบร์นี
55 DF ญี่ปุ่น ยูโตะ นะงะโตะโมะ
74 MF กานา สตีเฟน ดานโซ
77 MF โครเอเชีย มาร์ตเซลอ บรอซอวิช
87 MF อิตาลี อันโตนีโอ คันเดรวา
89 GK อิตาลี มาร์โก ปิสซาร์โด
96 FW บราซิล กาเบรียล
99 FW อิตาลี อันเดรอา ปีนามอนติ
MF อิตาลี นิคโคโล เบลโลนี [3]

บุคลากร

ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้ฝึกสอน อันโตนิโอ คอนเต้
ผู้ช่วยทางเทคนิค จูเซปเป บาเรซี
ผู้ช่วยทางเทคนิค ลูกา วีจานี
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส จูเซปเป ปอนเดรลลี
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู นุนซีโอ ปาเปเล
นักวิเคราะห์เกม มีเกเล ซัลซารูโล
หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ปีเอโร วอลปี
แพทย์ ดานีเอเล กาซาลีนี


แบรนด์ชุดแข่งและสปอนเซอร์

ปีที่ใช้ แบรนด์เสื้อ สปอนเซอร์
1979–1981 Puma
1981/1982 Inno-Hit
1982–1986 Mecsport Misura
1986–1988 Le Coq Sportif
1988–1991 Uhlsport
1991/1992 Umbro FitGar
1992–1995 Fiorucci
1995–1998 Pirelli
1998–2018 Nike

อ้างอิง

  1. http://www.inter.it/en/biglietti/ssiro.html
  2. "F.C. Internazionale squad".
  3. 3.0 3.1 "25-MAN SQUAD FOR START OF PRE-SEASON TRAINING" (Press release). F.C. Internazionale Milano. 5 July 2017. สืบค้นเมื่อ 5 July 2017.
  4. "Eleven Inter players arrive in Brunico" (Press release). F.C. Internazionale Milano. 10 July 2017. สืบค้นเมื่อ 10 July 2017.
  5. http://www.inter.it/en/news/58869/inter-v-wsg-wattens-line-ups

แหล่งข้อมูลอื่น