ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาญชัย ลี้ถาวร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41: บรรทัด 41:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ม.ป.ช.|2526}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/207/42.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{ม.ป.ช.}}
{{ม.ว.ม.|2522}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/063/32.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{ม.ว.ม.|2522}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/063/32.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:48, 5 พฤษภาคม 2564

ชาญชัย ลี้ถาวร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
นายกรัฐมนตรีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 ธันวาคม พ.ศ. 2470 (96 ปี)
คู่สมรสประมวญ ลี้ถาวร

นายชาญชัย ลี้ถาวร เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง

ประวัติ

ชาญชัย ลี้ถาวร เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นบุตรนายโกจือ กับนางสาลี่ ลี้ถาวร สำเร็จการศึกษา B.S. (Banking & Finance) จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์

ชาญชัย สมรสกับประมวล ลี้ถาวร (สกุลเดิม ศรโชติ) บุตรธิดา 2 คน คือ ฐีระวิตต์ ลี้ถาวร และประสพศรี ลี้ถาวร

การทำงาน

ชาญชัย เริ่มรับราชการในตำแหน่งประจำแผนกชั้นตรี กองเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2497 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2514 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปีถัดมา

ในปี พ.ศ. 2516 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จากนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 นายชาญชัยจึงกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมศุลกากร และเป็นปลัดกระทรวงการคลัง ตามลำดับเรื่อยมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังนั้น เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1] อีกตำแหน่งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[2]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2525 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี[3]

เป็นประธานกรรมการธนาคารออมสิน ในปี พ.ศ. 2525 - 2527[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง