ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูนศุข พนมยงค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Larazhivago (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ชีวิตคู่สมรส: แก้ไข heading. ย้ายข้อความเกี่ยวกับการเมืองออกไปด้านล่าง
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
เมื่อพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่[[โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์]] จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิง[[แร่ม พรหมโมบล]] คุณหญิง[[ละไม หงส์ยนต์]] คุณ[[เจริญ ชูพันธุ์]] [[ม.ล. ต่อ กฤดากร]]
เมื่อพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่[[โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์]] จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิง[[แร่ม พรหมโมบล]] คุณหญิง[[ละไม หงส์ยนต์]] คุณ[[เจริญ ชูพันธุ์]] [[ม.ล. ต่อ กฤดากร]]


== ชีวิตคู่สมรส ==
== ชีวิตส่วนตัว ==
พูนศุข ณ ป้อมเพชร สมรสกับ ปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบัณฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471<ref>นรุตม์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook157.pdf หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์], แพรวสำนักพิมพ์, อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, หน้า, 2535, ISBN 974-8359-86-7</ref> ขณะมีอายุได้ 17 ปี และยังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยม 7 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ หลังจากสมรสได้เพียง 3 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] มาเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] โดยปรีดี เป็นหนึ่งในผู้ก่อการร่วมด้วย ด้วยเหตุที่เป็นภริยาของผู้ที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเคยเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 หัวหน้า[[ขบวนการเสรีไทย]] [[รัฐบุรุษอาวุโส]] ผู้ประศาสน์การ[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]]


=== ครอบครัว ===
พูนศุขและปรีดี พนมยงค์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

พูนศุข ณ ป้อมเพชร สมรสกับ ปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบัณฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471<ref>นรุตม์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook157.pdf หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์], แพรวสำนักพิมพ์, อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, หน้า, 2535, ISBN 974-8359-86-7</ref> พูนศุขและปรีดี พนมยงค์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ


* ลลิตา พนมยงค์
* ลลิตา พนมยงค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:19, 1 พฤษภาคม 2564

พูนศุข พนมยงค์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์
ถัดไปคุณหญิงระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
พูนศุข

2 มกราคม พ.ศ. 2455
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (95 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
บุตร6 คน
บุพการี

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร; เกิด: 2 มกราคม พ.ศ. 2455 - อนิจกรรม: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) เป็นภริยาของศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เคยกล่าวถึงท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ไว้ว่า

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ มิใช่เป็นเพียงบุคคลหนึ่ง ที่มีชื่อผ่านเข้ามาในประวัติศาสตร์ ในฐานะเป็นภริยาของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เท่านั้น แต่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งด้วยทีเดียว อย่างน้อย ในกระแสแห่งความผันผวนปรวนแปรของเหตุการณ์บ้านเมือง ที่ชีวิตของท่านผู้หญิงพูนศุข ถูกกระทบกระแทก อย่างหนักหน่วงรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอดช่วงเวลายาวนาน ท่านผู้หญิงรู้เห็น รู้สึก มองสถานการณ์และเหตุการณ์เหล่านั้นอย่างไร รวมทั้งนำชีวิตและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัว ลุล่วงผ่านพ้นมาได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาอย่างมาก

ประวัติ

พูนศุข พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในจวนเจ้าเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นธิดาคนที่ 5 ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ[1] กับคุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (สกุลเดิม: สุวรรณศร) ได้รับพระราชทานนาม "พูนศุข" จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พูนศุข เป็น "หลานตา" ของมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) นับเนื่องด้วยมารดาของท่าน คือ คุณหญิงชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (เพ็ง สุวรรณศร) เป็นบุตรีของหลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร) กับนางนิล สุวรรณศร (สกุลเดิม: สุขุม) ซึ่งเป็นพี่สาวของเจ้าพระยายมราช อีกด้านหนึ่ง ท่านผู้หญิงพูนศุขก็มีศักดิ์เป็น "หลานป้า" ของท่านผู้หญิงตลับ สุขุม (พี่สาวของพระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา) ผู้เป็นภริยาของเจ้าพระยายมราช ชีวิตในวัยเด็กของท่านผู้หญิงพูนศุขจึงมีความสนิทสนมและคุ้นเคยกับญาติทาง "บ้านศาลาแดง" เป็นอย่างดี

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน 11 คน ดังนี้

  • พิศ ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ พันตำรวจเอก พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์)
  • เรืออากาศเอก ขาว ณ ป้อมเพชร์ (หลวงวิชิตอัคนีนิภา) สมรสกับ ทิวาวงศ์ อินพราหมณ์กุล
  • เข็ม ณ ป้อมเพชร์
  • สารี ณ ป้อมเพชร์ (ศรีราชบุรุษ) สมรสกับ หลวงศรีราชบุรุษ (แปลง ปุณศรี)
  • อัมพา ณ ป้อมเพชร์ (เป็นยายของ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภริยานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย) สมรสกับ ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร
  • เพียงแข ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ศาสตราจารย์เย็น สุนทร-วิจารณ์
  • นวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร์
  • เภา ณ ป้อมเพชร์
  • อุษา ณ ป้อมเพชร์ สมรสกับ ประสงค์ สุนทรวิภาต
  • อานนท์ ณ ป้อมเพชร์
  • ชาญชัย ณ ป้อมเพชร์

เมื่อพูนศุขอายุได้ 4 ปี บิดาของท่านได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ มีบ้านพักอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาที่คลองสาน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ "บ้านป้อมเพชร์" ถนนสีลม พออายุย่างเข้า 6 ปี ก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ จนจบชั้นมัยม 7 มีเพื่อนร่วมรุ่นอาทิ คุณหญิงแร่ม พรหมโมบล คุณหญิงละไม หงส์ยนต์ คุณเจริญ ชูพันธุ์ ม.ล. ต่อ กฤดากร

ชีวิตส่วนตัว

ครอบครัว

พูนศุข ณ ป้อมเพชร สมรสกับ ปรีดี พนมยงค์ ญาติฝ่ายบิดา ดุษฎีบัณฑิตหนุ่มทางกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีอายุมากกว่า 11 ปีเมื่อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471[2] พูนศุขและปรีดี พนมยงค์ มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ

เผชิญมรสุมทางการเมือง

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขณะเดินทางมาฟังการพิจารณาคดีกบฏสันติภาพ

เมื่อเกิดการรัฐประหารในคืนวันที่ 8 พ.ย. 2490 คณะรัฐประหารได้นำรถถังบุกยิงถล่มใส่ในบ้านทำเนียบท่าช้าง เพื่อที่จะกำจัดนายปรีดี แต่นายปรีดีได้หลบหนีลงเรือไปก่อนที่คณะรัฐประหารจะบุกเข้ามา และเป็นโชคดีที่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ทำให้ท่านผู้หญิงพูนศุขต้องดูแลลูก ๆ เพียงลำพัง โดยต้องรับหน้าที่เป็นพ่อและแม่ในคราวเดียวกัน เพราะสามีต้องหนีภัยการเมืองไปต่างประเทศ

เมื่อตามจับนายปรีดีไม่ได้ คณะรัฐบาลในขณะนั้นก็หันมาจับท่านผู้หญิงพูนศุข และนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตแทน เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2495 ด้วยข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต้องถูกควบคุมตัวในสถานที่กักกันเป็นเวลานาน 84 วัน นับเป็นการประสบกับมรสุมทางการเมืองครั้งร้ายแรง ท้ายที่สุดภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องเอาผิด เพราะไม่มีหลักฐาน ก็ได้รับการปล่อยตัว

พบกับรัฐบุรุษอาวุโสอีกครั้ง

หลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว ท่านผู้หญิงพูนศุขได้ตัดสินใจเดินทางออกจากประเทศไทย ไปประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวีเดน กระทั่งได้รับข่าวสารจากสามี ก่อนจะตามไปอยู่ด้วยกันที่ประเทศจีน หลังจากที่ต้องพลัดพรากจากกันนานถึง 5 ปี และอยู่ร่วมกันที่กรุงปักกิ่งเป็นเวลา 16 ปี จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านพักหลังเล็ก ๆ ที่ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จวบจนกระทั่งนายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2530 ท่านผู้หญิงพูนศุขจึงตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร

ถึงแก่อสัญกรรม

ท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 02:04 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากได้เข้ารักษาอาการโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม[3] สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

เบ็ดเตล็ด

  • ท่านผู้หญิงพูนศุข มักกล่าวถึงสามี โดยใช้สรรพนามว่า "นายปรีดี" สะท้อนความตระหนักถึงการเป็นสามัญชน แม้ว่าสามีของตนได้รับยกย่องให้เป็นถึงรัฐบุรุษอาวุโส

อ้างอิง

  1. ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ นิตยสารสารคดี เมษายน พ.ศ. 2543
  2. นรุตม์, หลากบทชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, แพรวสำนักพิมพ์, อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, หน้า, 2535, ISBN 974-8359-86-7
  3. สิ้น"ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์", ประชาไท, 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, เรียกดูเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  4. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2482" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 1803. 25 กันยายน 2482.
  5. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55: 3021. 5 ธันวาคม 2481.

แหล่งข้อมูลอื่น