ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคาน์ตีฟลานเดอส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox country |native_name = {{native name|fr|Comté de Flandre}}<br/>{{native name|nl|Graafschap Vlaanderen}}<br/>{{native name|la|Comitatus Flandriae}}...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:21, 30 เมษายน 2564

เคาน์ตีฟลานเดอร์

Comté de Flandre  (ฝรั่งเศส)
Graafschap Vlaanderen  (ดัตช์)
Comitatus Flandriae  (ละติน)
862–1797
ธงชาติฟลานเดอร์
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของฟลานเดอร์
ตราแผ่นดิน
เคาน์ตีฟลานเดอร์ในปีค.ศ. 1350 เทียบกับกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอาณาเขตระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จรดทะเลเหนือ
เคาน์ตีฟลานเดอร์ในปีค.ศ. 1350 เทียบกับกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีอาณาเขตระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จรดทะเลเหนือ
สถานะระบบศักดินาของฝรั่งเศส & จักรวรรดิ
เมืองหลวงบรูจส์ ต่อมาเกนต์ และลีล
ภาษาทั่วไปฟรีเชียเก่า, ดัตช์เก่า, ดัตช์กลาง, ดัตช์, เฟลมิช, ฝรั่งเศสเก่า, ฝรั่งเศสกลาง, ปีการ์
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
คริสตจักรปฏิรูปดัตช์
การปกครองราชาธิปไตยในระบบศักดินา
เคานต์แห่งฟลานเดอร์ 
• 918–958/962–965
อาร์นูล์ฟที่ 1
• 1405–1419
ฌ็องผู้ไม่กลัว
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ยกที่ดินศักดินาให้แก่เคานต์บาลด์วินที่ 1
862
• สืบทอดต่อโดยราชวงศ์บูร์กอญ
1384
• ผนึกเข้ากับฝรั่งเศส
1797
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
สาธารณรัฐดัตช์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เบลเยียม
 ฝรั่งเศส
 เนเธอร์แลนด์

เคาน์ตีแห่งฟลานเดอร์ (อังกฤษ: County of Flanders; ดัตช์: Graafschap Vlaanderen; เฟลมิช: Groafschap Vloandern; ฝรั่งเศส: Comté de Flandre) เป็นอาณาจักรในอดีตที่มีเขตแดนอยู่ภายในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ

ตั้งแต่ปีค.ศ. 862 เป็นต้นมา บรรดาศักดิ์ "เคานต์แห่งฟลานเดอร์" เป็นหนึ่งในสิบสองบรรดาศักดิ์สำคัญของราชอาณาจักรฝรั่งเศส โดยมีศูนย์กลางอยู่ใกล้ๆ กับเมืองเกนต์ บรูจส์ และอีเปอร์ (ในเบลเยียมปัจจุบัน) ซึ่งเคยเป็นแคว้นที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรปในอดีต

ก่อนช่วงปีค.ศ. 1477 ดินแดนนี้ตกเป็นเมืองประเทศราชของฝรั่งเศสโดยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสเกลต์ โดยเรียกว่า "รอยัล ฟลานเดอร์" (ภาษาดัตช์: Kroon-Vlaanderen, ภาษาฝรั่งเศส: Flandre royale) นอกจากนี้ตั้งแต่ช่วงภายหลังศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา เคานต์แห่งฟลานเดอร์มีอำนาจเหนือดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโดยเป็นรัฐศักดินาในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเรียกว่า "อิมพิเรียล ฟลานเดอร์" (ภาษาดัตช์:Rijks-Vlaanderen ,ภาษาฝรั่งเศส:Flandre impériale) ในช่วงปีค.ศ. 1384 เป็นต้นมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ[เนเธอร์แลนด์ของบูร์กอญ]]ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยสู้ดีนักกับราชสำนักฝรั่งเศส และในที่สุดเคาน์ตีได้ตกเป็นของจักรวรรดิจากสนธิสัญญามาดริดในปีค.ศ. 1526 และสงครามสันนิบาตกอญักในปีค.ศ. 1529

ต่อมาในปีค.ศ. 1795 ก็ได้ยึดครองดินแดนที่เสียไปกลับมา ซึ่งเคยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย และได้ถูกผนวกเข้ากับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศส และต่อมาในยุทธการวอเตอร์ลู เคาน์ตีนี้ก็ได้ผนวกเข้ากับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ในปีค.ศ. 1815

ดินแดนในเคาน์ตีแห่งฟลานเดอร์ในอดีตนั้น (ยกเว้นบริเวณฟลานเดอร์ของฝรั่งเศส]] ถือเป็นดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศสตั้งแต่ยุคกลางที่ตั้งอยู่นอกเขตแดนฝรั่งเศสในปัจจุบัน

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Gysseling, M. en Dhondt, J. (1948): "Vlaanderen, oorspronkelijke ligging en etymologie", in Album Prof. Dr. Frank Baur p. 192–220, Leuven.
  • Gysseling, M. (1960): Toponymisch woordenboek van België, Nederland, Luxemburg, Noord-Frankrijk en West-Duitsland (voor 1226), Tongeren.
  • Blok, D.P. (red) et al (1977–1983): Algemene Geschiedenis der Nederlanden, Fibula-Van Dishoeck, Haarlem, ISBN 90-228-3800-5
  • Blom, J.C.H., Lamberts, E., redactie (2006): Geschiedenis van de Nederlanden, HBuitgevers, Baarn, ISBN 90-5574-474-3
  • Dhondt, J. (1943): Korte geschiedenis van het ontstaan van het graafschap Vlaanderen van Boudewijn de IJzeren tot Robrecht den Fries, Brussels – The Hague.
  • Dhondt, J. (1941–1942): "Het ontstaan van het vorstendom Vlaanderen", Belgisch tijdschrift voor filologie en geschiedenis, XX, 553–572 en XXI, 53–93.
  • Ganshof, F.-L. (1944): Vlaanderen onder de eerste graven, Antwerp.
  • Nicolas, D. (1992): Medieval Flanders, London, ISBN 0-582-01679-7
  • Niermeyer, J.F., Presser, J., Van Houtte, J.A. (1949–1958): Algemene Geschiedenis der Nederlanden, Haarlem – Antwerp.
  • Voet, L. (1942): "De graven van Vlaanderen en hun domein, 864–1191", Wetenschappelijke Tijdingen, VII, 25–32.