ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชื่อบุคคลพม่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ชื่อบุคคลพม่า'''ไม่มีโครงสร้างเป็นชุดคำอย่างชื่อบุคคลในสมัยใหม่ส่วนมาก [[ชาวพม่า]]นั้นไม่มีธรรมเนียมการนำชื่อทางญาติฝ่ายพ่อหรือญาติฝ่ายพ่อมาใส่ในชื่อตัว ดังนั้นจึงไม่มีการใช้นามสกุล ในวัฒนธรรมพม่า บุคคลสามารถเปลี่ยนชื่อตนเองได้ตามใจชอบ โดยมักจะปราศจากการควบคุมของภาครัฐ เพื่อสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงชีวิตของตน ชาวพม่าจำนวนมากยังนิยมใช้คำนำหน้าชื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อตัว เพื่อแสดงถึงฐานะของตนเองในแต่ละช่วงอีกด้วย<ref>[https://www.theatlantic.com/doc/195802/burma-names "Burmese Names: A Guide". [[Mi Mi Khaing]]. ''The Atlantic''. February 1958]</ref>
'''ชื่อบุคคลพม่า'''ไม่มีโครงสร้างเป็นชุดคำอย่างชื่อบุคคลในสมัยใหม่ส่วนมาก [[ชาวพม่า]]นั้นไม่มีธรรมเนียมการนำชื่อทางญาติฝ่ายพ่อหรือญาติฝ่ายแม่มาใส่ในชื่อตัว ดังนั้นจึงไม่มีการใช้นามสกุล ในวัฒนธรรมพม่า บุคคลสามารถเปลี่ยนชื่อตนเองได้ตามใจชอบ โดยมักจะปราศจากการควบคุมของภาครัฐ เพื่อสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงชีวิตของตน ชาวพม่าจำนวนมากยังนิยมใช้คำนำหน้าชื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อตัว เพื่อแสดงถึงฐานะของตนเองในแต่ละช่วงอีกด้วย<ref>[https://www.theatlantic.com/doc/195802/burma-names "Burmese Names: A Guide". [[Mi Mi Khaing]]. ''The Atlantic''. February 1958]</ref>


==ชื่อแบบดั้งเดิมและชื่อแบบตะวันตก ==
==ชื่อแบบดั้งเดิมและชื่อแบบตะวันตก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:52, 22 เมษายน 2564

ชื่อบุคคลพม่าไม่มีโครงสร้างเป็นชุดคำอย่างชื่อบุคคลในสมัยใหม่ส่วนมาก ชาวพม่านั้นไม่มีธรรมเนียมการนำชื่อทางญาติฝ่ายพ่อหรือญาติฝ่ายแม่มาใส่ในชื่อตัว ดังนั้นจึงไม่มีการใช้นามสกุล ในวัฒนธรรมพม่า บุคคลสามารถเปลี่ยนชื่อตนเองได้ตามใจชอบ โดยมักจะปราศจากการควบคุมของภาครัฐ เพื่อสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงชีวิตของตน ชาวพม่าจำนวนมากยังนิยมใช้คำนำหน้าชื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อตัว เพื่อแสดงถึงฐานะของตนเองในแต่ละช่วงอีกด้วย[1]

ชื่อแบบดั้งเดิมและชื่อแบบตะวันตก

ชื่อภาษาพม่าแบบดั้งเดิมนั้นมักมีพยางค์เดียว เช่น อู้นุ, อู้ตั่น (คำว่า "อู้" เป็นคำนำหน้าชื่อ) แต่เมื่อถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวพม่าจำนวนมากเริ่มใช้ชื่อแบบ 2 พยางค์ แม้ว่าจะปราศจากรูปแบบและโครงสร้างของชื่อที่แน่นอนนัก ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1890 นักปราชญ์ชาวบริเตนสังเกตพบว่า ชาวยะไข่นิยมใช้ชื่อแบบ 3 พยางค์ ในขณะที่ชาวพม่ายังคงใช้ชื่อพยางค์เดียว หรืออย่างมากที่สุดก็เพียง 2 พยางค์เท่านั้น[2] เมื่อชาวพม่ามีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมแบบตะวันตกมากขึ้น พวกเขาก็ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนพยางค์ลงในชื่อลูกหลานของตนเองโดยใช้โครงสร้างคำหลากหลายแบบ ปัจจุบันนี้ ชื่อจำนวนสี่พยางค์นั้นเป็นที่นิยมในหมู่บุรุษชาวพม่า สำหรับสตรีชาวพม่านั้น จำนวนพยางค์ชื่ออาจมีได้มากถึง 5 พยางด์

นักปราชญ์จำนวนมาก เช่น ตั่นมหยิ่นอู้ ได้แสดงความเห็นคัดค้านว่า การที่ชื่อของชาวพม่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการล่มสลายของระบอบราชาธิปไตยของพม่า ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของระบบการตั้งชื่อแบบภาษาบาลี-พม่า ทำให้ชาวพม่าส่วนมากใช้ชื่อเพียงพยางค์เดียว[3] ชื่อตำแหน่งต่าง ๆ ในอดีต เช่นคำว่า มี่น (မင်း; "กษัตริย์, ผู้นำ") ได้ถูกนำมาปรับใช้ให้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อตัวโดยตรงแทน[3]

กรณีตัวอย่างของระบบการตั้งชื่อของชาวพม่าในที่นี้ได้แก่ อองซาน นักชาตินิยมชาวพม่า มีบิดาชื่อ "พา" (ဖာ) มารดาซื่อ "ซู" (စု) ทั้งสองคนล้วนใช้ชื่อเพียงพยางค์เดียว ชื่อเมื่อแรกเกิดของอองซานคือ "เทนลี่น" (ထိန်လင်း) ภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อองซาน" (အောင်ဆန်း) ธิดาเพียงคนเดียวของเขาชื่อ อองซานซูจี (အောင်ဆန်းစုကြည်) คำว่า "อองซาน" ในตอนต้นของชื่อนั้นมาจากชื่อบิดาของเธอในตอนที่เธอเกิด "ซู" มาจากชื่อของย่า "จี" มาจากชื่อ "คีนจี" (ခင်ကြည်) ผู้เป็นมารดาของเธอ การแทรกชื่อของบิดาหรือมารดาลงในชื่อตัวนั้นสามารถพบได้บ่อยครั้งในปัจจุบัน แม้นั่นจะไม่ได้แสดงถึงพัฒนาการในการใช้นามสกุลก็ตาม นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้ระบบการตั้งชื่อแบบอื่น ๆ อยู่ด้วยเช่นกัน

ชื่อของบุคคลชนชาติพม่าโดยทั่วไปแล้วมักจะปรากฏคำที่มาจากภาษาบาลีผสมกับคำพื้นถิ่นภาษาพม่า เช่น:

  • บุรุษ:
    • ตูระ (သူရ) "กล้าหาญ, องอาจ" มาจากคำว่า สูร (สุระ)
    • ตีฮะ (သီဟ) "ราชสีห์", มาจากคำว่า สีห (สีหะ)
    • เซยะ (ဇေယျာ) "ชัยชนะ", มาจากคำว่า เชยฺย (ไชยยะ)
    • วูนนะ (ဝဏ္ဏ) "ทองคำ", มาจากคำว่า วณฺณ (วัณณะ, วรรณะ)
  • สตรี:
    • ซานดา (စန္ဒာ) "ดวงจันทร์", มาจากคำว่า จนฺท (จันทะ)
    • ตานดา (သန္တာ) "หินปะการัง", มาจากคำว่า สนฺตา (สันตา)
    • ตีริ (သီရိ) "ความดีงาม", มาจากคำว่า สิริ
    • เฮมา (ဟေမာ) "ป่า", มาจากคำว่า เหมา (/เห-มา/) เป็นการเปรียบเทียบกับความงามของป่าหิมพานต์หรือภูเขาหิมาลัย

ชาวพม่าที่แต่งงานกับชาวต่างชาติหรือย้ายไปอาศัยในประเทศที่การใช้นามสกุล อาจใช้ชื่อตัวเพียงส่วนหนึ่งแทนนามสกุลตามแบบธรรมเนียมตะวันตก เช่น ภรรยาของบุรุษชื่อ "ตูน-มหยิ่น" (Tun Myint) ได้เปลี่ยนนามสกุลเดิมของตนเองเป็น "มหยิ่น" แต่ความจริงแล้วคำว่า "มหยิ่น" เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชื่อตัวของสามี

คำนำหน้าชื่อ

คำนำหน้าชื่อเป็นส่วนเสริมของชื่อตัว และอาจใช้เป็นรูปแบบปกติในการกล่าวถึงทั้งในการเขียนและการสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชื่อที่มีเพียง 1 หรือ 2 พยางค์ การใช้คำนำหน้าชื่อพบได้แพร่หลายในทุกวัฒนธรรมของภูมิภาคพม่า แม้บางชาติพันธุ์จะมีการใช้คำนำหน้าชื่อพิเศษเป็นการเฉพาะ (เช่น ยศ บรรดาศักดิ์) คำเหล่านั้นก็ได้รับการยอมรับและนำมาปรับใช้ในหมู่ชาติพันธุ์อื่นมากกว่าจะแปลความหมายมาใช้โดยตรง

ยกตัวอย่างเช่น บิดามารดาของอองซานเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "อู้พา" และ "ดอซู" ซึ่งอาจแปลได้ว่า "นายพา (ลุงพา)" และ "นางซู (ป้าซู)" แต่การแปลเช่นนั้นมักใช้ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ

ตารางเบื้องล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำนำหน้าชื่อที่พบได้ทั่วไป

คำนำหน้าชื่อ
(ทับศัพท์อักษรโรมัน)
ทับศัพท์อักษรไทย อักษรพม่า คำแปล การใช้งาน
Ashin อะชีน အရှင် หรือ အသျှင် เจ้านาย, นายท่าน, แม่นาย, เจ้ากู พระภิกษุสงฆ์ ขุนนาง และผู้หญิงชั้นผู้ดี (พบได้ยากมาก)
Binnya, Banya บะญ่า ဗညား หรือ ဗညာ พญา, พระยา เจ้านายเชื้อพระวงศ์หรือขุนนาง มักใช้กับชาวมอญ เช่น บะญ่านแหว่ "พระยาน้อย" (พระนามเดิมของพระเจ้าราชาธิราชแห่งหงสาวดี), มาจากคำภาษามอญ เปอะเญีย (ဗညာ /pəɲɛ̀a/ ถอดรูปอักษรไทยคือ พญา)[4]
Bo, Bogyoke โบ, โบโชะ ဗိုလ်/ဗိုလ်ချုပ် แม่ทัพ/ขุนพล/นายพล/ผู้นำ นายทหาร เช่น โบโชะอองซาน
Daw ดอ ဒေါ် ป้า, น้า, นาง สตรีผู้อาวุโสด้วยอายุหรือฐานะ เช่น ดออองซานซูจี
Duwa ดู้ว่า ဒူးဝါး ผู้นำ ผู้นำชาวกะชีน
Gyi จี้ ကြီး ยิ่งใหญ่ ใช้เป็นคำต่อท้ายเพื่อแสดงความเคารพ เช่น คีนจี้ปยอ
Khun คูน ခွန် นาย ชาวไทใหญ่ (ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวเชียงตุง เช่น คูนทู่นอู้) และชาวปะโอ
Ko โก ကို พี่ชาย บุรุษผู้มีอายุใกล้เคียงกัน เช่น โกเมียะเอ้
Ma มะ น้องสาว/นางสาว สตรีวัยสาวหรือผู้มีอายุใกล้เคียงกัน
Mahn ม่าน မန်း นาย บุรุษชาวกะเหรี่ยง เช่น ม่านวี่น-มอง
Mai, Me แม မယ် สตรีวัยสาวระดับเดียวกับคำว่า มะ แต่พบการใช้น้อยมาก
Maung (คำย่อ: Mg) มอง (หม่อง) မောင် น้องชายวัยเด็ก บางครั้งใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อตัวด้วย
Mi มิ မိ นางสาว สตรีวัยรุ่นบางส่วน มักจะใช้เป็นชื่อเล่น เช่น มิซเว (นักร้องและนักแสดงชาวพม่า)
Mi มิ မိ นางสาว สตรีชาวมอญ
Min มี่น မင်း กษัตริย์ ใช้เป็นคำต่อท้ายพระนาม เช่น มี่นโด้นมี่น (พระเจ้ามินดง)
Minh มี่น မင်း เด็กชายชาวมอญ ใช้ในระดับเดียวกับคำว่า มอง มาจากคำภาษามอญ มัง မာံ (/mèm/)[4]
Nai ไนง์ နိုင် นาย บุรุษชาวมอญ ใช้ในระดับเดียวกับคำว่า อู้ (เช่น ไนง์ชเวจีน) มาจากคำภาษามอญ นาย နဲာ (/nài/)[4]
Nang น่าน နန်း นาง, นางสาว สตรีชาวไทใหญ่ชั้นผู้ดี มาจากคำภาษาไทใหญ่ นาง ၼၢင်း (/naaŋ/)[5][6]
Naw นอ နော် คุณผู้หญิง, นางสาว สตรีชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะชาวปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสกอ)
Nant หนั่น နမ့် คุณผู้หญิง, นางสาว สตรีชาวกะเหรี่ยง (โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงโปว์ตะวันตก)
Nan น่าน နန်း คุณผู้หญิง, นางสาว สตรีชาวกะเหรี่ยง (โดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงโปว์ตะวันออก) เช่น น่านคีนทเว่มหยิ่น (มุขมนตรีแห่งรัฐกะเหรี่ยง)
Nan น่าน နန်း นาง, นางสาว สตรีชาวไทใหญ่
Nga งะ ไอ้ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อบุรุษ ปัจจุบันมีความหมายในทางไม่ดี
Sai ไซ่ง์ စိုင်း ชาย บุรุษชาวไทใหญ่ (เช่น ไซ่ง์ที่ไซง์) มาจากคำภาษาไทใหญ่ จาย ၸၢႆး (/tsaaj/[5]
Salai ซะไล่ง์ ဆလိုင်း บุรุษชาวชีน
Sao ซะ စဝ် เจ้า เจ้านายเชื้อพระวงศ์ชาวไทใหญ่ (เช่น ซะซานทู่น) มาจากคำภาษาไทใหญ่ เจ้า ၸဝ်ႈ (/tsaw/)[5]
Saw ซอ စော เจ้า เจ้านายเชื้อพระวงศ์ชาวไทใหญ่ (แปลงรูปคำ เจ้า จากภาษาไทใหญ่ตามอักขรวิธีพม่า) เช่น ซอมูนละ
Saw ซอ စော นาย บุรุษชาวกะเหรี่ยง (โดยเฉพาะกะเหรี่ยงสกอและกะเหรี่ยงโปว์ตะวันออก) เช่น ซอโบเมียะ, ซอหละตุน (อดีตมุขมนตรีแห่งรัฐกะเหรี่ยง)
Sa ซะ นาย บุรุษชาวกะเหรี่ยง (โดยเฉพาะกะเหรี่ยงโปว์ตะวันตก)
Saopha, Sawbwa ซอ-บว่า စော်ဘွား เจ้าฟ้า เป็นการออกเสียงตามสำเนียงภาษาพม่าของคำภาษาไทใหญ่ เจ้าฟ้า (ၸဝ်ႈၽႃႉ /tsaw.pʰaa/) มักใช้เป็นคำต่อท้ายพระนามของเจ้าฟ้าไทใหญ่ (กษัตริย์แห่งนครรัฐต่าง ๆ ของชาวไทใหญ่) เช่น ญองชเวซอ-บว่าซะชเวไตง์[5]
Saya ซะยา ဆရာ ครู บุรุษผู้อาวุโสด้วยฐานะหรืออายุ เช่น ซะยาทิน
Sayadaw ซะยาดอ ဆရာတော် ราชครู พระภิกษุสงฆ์ผู้อาวุโส (เช่น ซะยาดออู้ปัณฑิตะ)
Sayama ซะยามะ ဆရာမ แม่ครู สตรีผู้อาวุโสด้วยฐานะหรืออายุ
Shin ชีน (เชง) ရှင် หรือ သျှင် เจ้านาย คำโบราณ ใช้เรียกพระภิกษุสงฆ์, ขุนนางหรือชนชั้นผู้ดีทั้งชายและหญิง เช่น ชีนอะระฮาน, ชีนแยทุ (หนึ่งในพระนามเดิมของพระเจ้าบุเรงนอง)
Thamein ตะเมน သမိန် เจ้านาย แปลงมาจากคำภาษามอญ สมิง သၟီ (/hmoiŋ/) ใช้สำหรับเชื้อพระวงศ์ชาวมอญ เช่น ตะเมนทอ, ตะเมนมะรู่
Tekkatho แตะกะโต တက္ကသိုလ် ผู้รอบรู้ มาจากชื่อเมืองตักศิลา มีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่าผู้รอบรู้ ใช้เรียกนักประพันธ์ในสมัยก่อน เช่น แตะกะโตโพ่นไนง์
Thakin ตะคีน သခင် เจ้านาย สมาชิกสมาคมเราชาวพม่า ซึ่งเรียกตัวเองว่า "กลุ่มตะคีน" เช่น ตะคีนโกดอไม่ง์, ตะคีนนุ
Theippan เตะปาน သိပ္ပံ ศิลปะ มาจากภาษาบาลี สิปฺปํ ใช้เรียกนักประพันธ์ในสมัยก่อน เช่น เตะปานมองวะ
U อู้ ဦး ลุง/อา/นาย บุรุษวัยกลางคน บุรุษผู้อยู่ในตำแหน่งอาวุโส และพระภิกษุสงฆ์ เช่น อู้ตั่น, ซะยาดออู้อุตตมะ

การทำดรรชนีเอกสาร

ตามหนังสือ The Chicago Manual of Style ชื่อบุคคลพม่านั้นจะทำดรรชนีโดยอ้างอิงตามคำแรกในชื่อ เว้นเสียแต่ว่าคำนั้นจะเป็นคำนำหน้าชื่อตัว บรรดาคำนำหน้าชื่อตัวจะถูกกล่าวถึงต่อท้ายจากชื่อตัว โดยแบ่งด้วยเครื่องหมายจุลภาค หรืออาจจะละไว้ ไม่กล่าวถึงเสียเลยก็ได้[7]

ระบบการตั้งชื่อโดยอิงหลักโหราศาสตร์

ชาวพุทธในพม่าจำนวนหนึ่งนิยมตั้งชื่อบุตรหลานของตนตามหลักโหราศาสตร์ โดยอิงตามวันและเวลาตกฟากตามปฏิทินแบบโบราณ เช่น เด็กที่เกิดวันจันทร์อาจใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วยรูปอักษร "ก" (က) ตารางต่อไปนี้เป็นการจำแนกอักษรตามวรรคภาษาบาลีที่ใช้ตั้งชื่อตามวันเวลาตกฟาก ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ได้นิยมใช้กันทั่วไปนัก

วัน อักษร
จันทร์ (တနင်္လာ) อักษร ก วรรค ทั้งหมด คือ က (ก), (ข), (ค), (ฆ), (ง)
อังคาร (အင်္ဂါ) อักษร จ วรรค ทั้งหมด คือ (จ), (ฉ), (ช), (ฌ), (ญ)
พุธกลางวัน (ဗုဒ္ဓဟူး) อักษรเศษวรรค (ล), (ว)
พุธกลางคืน, ราหู (ရာဟု) อักษรเศษวรรค (ย), (ร)
พฤหัสบดี (ကြာသာပတေး) อักษร ป วรรค ทั้งหมด คือ (ป), (ผ), (พ), (ภ), (ม)
ศุกร์ (သောကြာ) อักษรเศษวรรค (ส), (ห)
เสาร์ (စနေ) อักษร ต วรรค ทั้งหมด คือ (ต), (ถ), (ท), (ธ), (น)
อาทิตย์ (တနင်္ဂနွေ) อักษรเศษวรรค (อ)

อ้างอิง

  1. "Burmese Names: A Guide". Mi Mi Khaing. The Atlantic. February 1958
  2. Houghton, Bernard (July 1897). "The Arakanese Dialect of the Burman Language". Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland: 454. JSTOR 25207880.
  3. 3.0 3.1 Thant Myint-U (2001). The Making of Modern Burma. Cambridge University Press. p. 242. ISBN 9780521799140.
  4. 4.0 4.1 4.2 Shorto, H. L. (1962). Dictionary of Modern Spoken Mon. Oxford University Press.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Moeng, Sao Tern (1995). Shan-English Dictionary. ISBN 0-931745-92-6.
  6. Simms, Sao Sanda (2017-08-09). "Ahp 48 Great Lords of the Sky: Burma's Shan Aristocracy".
  7. "Indexes: A Chapter from The Chicago Manual of Style." the Chicago Manual of Style. Retrieved on December 23, 2014. p. 25 (PDF document p. 27/56).