ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanchai0875009082 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
Hcrhppp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 101: บรรทัด 101:


* ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป 2 ห้อง และ ทางเชื่อมไปยังหอประชุมราชาวดี
* ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป 2 ห้อง และ ทางเชื่อมไปยังหอประชุมราชาวดี
* ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ SMT จำนวน 3 ห้อง ได้แก่ห้อง 431 - 433 (ปัจจุบันได้รับการตกแต่งด้วยวัสดุสีเขียวเป็นหลักและใช้เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนโครงการ SMT)
* ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ SMT จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ห้อง 430 - 433 (ปัจจุบันได้รับการตกแต่งด้วยวัสดุสีเขียวเป็นหลักและใช้เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนโครงการ SMT)


* ชั้น 4 ห้องเรียนโครงการนวัตกรรม EIS จำนวน 4 ห้อง
* ชั้น 4 ห้องเรียนโครงการนวัตกรรม EIS จำนวน 4 ห้อง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:26, 19 เมษายน 2564

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
Hatyai Wittayalai School
ตราประจำโรงเรียน หาดใหญ่วิทยาลัย
สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นญ.ว. / YW / YORWOR
ประเภทโรงเรียนในกำกับของรัฐ
สถาปนา6 กันยายน พ.ศ. 2488 (78 ปี 225 วัน)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
นายกลับ ส่งศรี ครูใหญ่ท่านแรก
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส10039011018
ผู้อำนวยการดร.อุดม ชูลีวรรณ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี████ สีฟ้า - สีแดง
เพลงมาร์ชหาดใหญ่วิทยาลัย
เว็บไซต์www.hatyaiwit.ac.th

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (อังกฤษ: Hatyai Wittayalai School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูลจิระนคร เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน จำนวน 14 ไร่ และ เทศบาลนครหาดใหญ่ บริจาคเพิ่มเติมอีก 2 งาน รวมเป็น 14 ไร่ 2 งาน ประกอบด้วยอาคารเรียน 8 หลัง มีห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 42 ห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 57 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 99 ห้องเรียน มีนักเรียนประมาณ 4,500 คน

ประวัติ

ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 468 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน โดยขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูลจิระนคร เป็นผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียน จำนวน 14 ไร่ และเทศบาลนครหาดใหญ่ บริจาคเพิ่มเติมอีก 2 งาน รวมเป็น 14 ไร่ 2 งาน กรมสามัญศึกษาได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอหาดใหญ่ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2488 ชื่อว่า โรงเรียนหาดใหญ่ อักษรย่อ ส.ข.3 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงที่ 3 ของจังหวัดสงขลา ในระยะต้นเปิดรับเฉพาะนักเรียนชาย จึงเรียติดปากกันว่า โรงเรียนมัธยมชาย หรือ มอชาย มีชื่อย่อที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า มชญ. เปิดสอนรุ่นแรกในระดับชั้น ม.1 มีนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน มีครู 3 คน ได้แก่นายกลับ ส่งศรี (ครูใหญ่), นายอุทิศ นิยกาญจน์ และนายยงยุทธ มุณีแนม อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ด้านหน้าปลูกต้นจามจุรี จำนวน 3 ต้น ไว้เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน ด้านหน้าโรงเรียนเป็นสนามฟุตบอลใช้แข่งขันกีฬาอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อได้ครองถ้วยรางวัลชนะเลิศฟุตบอลกีฬาจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้ตั้งชื่อถ้วยใบนี้ว่า ถ้วยตรี-จักร เป็นสัญลักษณ์กีฬาเด่นของโรงเรียน

  • ปี พ.ศ. 2494

มีนักเรียนชั้น ม.6 รุ่นแรกสอบได้ที่ 1 ของจังหวัดสงขลา เป็นการจุดประกายความเป็นเลิศทางวิชาการ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงการรับนักเรียนจากชายล้วนเป็นสหศึกษา โดยยุบรวมกับโรงเรียนสตรีหาดใหญ่ "สมบูรณ์กุลกันยา" ในปี พ.ศ. 2509 ในระยะนี้กรมสามัญศึกษาได้ให้งบประมาณสร้างอาคาร 1, 2, 3 และ 4 เป็นลำดับ และโรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการมัธยมแบบประสม (คมส.) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเทียบเท่า อารยะประเทศ ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงมากขึ้น จำนวนนักเรียนชายและหญิงเพิ่มขึ้นถึง 1,200 คน

  • ปี พ.ศ. 2513

เริ่มเปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้เพิ่มคำว่า"วิทยาลัย"ต่อจากชื่อเดิมเป็น ชื่อ "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย" ใช้อักษรย่อว่า ญ.ว. ในปี 2514 นักเรียน ม.ศ.5 รุ่นแรกได้ทำชื่อเสียงทางด้านวิชาการให้กับโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสอบติดบอร์ดระดับประเทศได้ถึง 7 คน

  • ปี พ.ศ. 2517

กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอนเป็น 2 ผลัด เนื่องจากมียอดนักเรียนสมัครเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 เป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดรวมของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2519 มีนักเรียน 2,800 คน มีครูอาจารย์ จำนวน 180 คน โดยมีอาคารเรียน 4 หลัง อาคารอุตสาหกรรม 1 หลัง อาคารคหกรรม 1 หลัง อาคารชั่วคราว 2 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2523

  • ปี พ.ศ. 2524

เปิดศูนย์เกษตรกรรมที่พรุค้างคาว ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ เป็นสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย มีเนื้อที่ประมาณ 74 ไร่

  • ปี พ.ศ. 2525

เทศบาลเมืองหาดใหญ่ บริจาคที่ดินจำนวน 2 งาน เพื่อสร้างอาคารเรียน 5 เชื่อมต่อกับหอประชุมราชาวดี และได้จัดสร้างองค์พระพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ และทำพิธีปลุกเสกในวันที่ 16 มกราคม 2525 เพื่อเป็นองค์ตัวแทนสถาบันครู ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นคติของลูก ญ.ว. ทุกคนว่า "ผู้ใดบูชาครูเป็นมงคลแก่บุคคลนั้น"

  • ปี พ.ศ. 2526

เปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ณ ที่ตั้งของโรงเรียนสตรีหาดใหญ่เดิม

  • ปี พ.ศ. 2532

นักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงคณิตศาสตร์โอลิมปิก จากการแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการ (ซึ่งเป็นเหรียญรางวัลทางโอลิมปิกวิชาการเหรียญแรกของประเทศไทย ) โดยนายไพศาล นาคมหาชลาสินธุ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เหรียญรางวัลดังกล่าวต่อมา ได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์คำว่า"เรียนดี" ตามปรัชญาของโรงเรียน

  • ปี พ.ศ. 2534

กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้จัดตั้งสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา โดยใช้ที่ดินศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ และพื้นที่บ้านพักครู-อาจารย์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

  • ปี พ.ศ. 2540

กรมสามัญอนุญาตให้ศูนย์เกษตรกรรมตำบลบ้านพรุ สาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จัดตั้งเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ๒

  • ปี พ.ศ. 2542

โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 จาก UKAS ประเทศอังกฤษ โดยผู้อำนวยการเกษียร ภู่กลาง

  • ปี พ.ศ. 2544

โรงเรียนได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ร่มรื่นสวยงามเป็นแหล่งเรียนรู้และเสริมสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้

  • ปี พ.ศ. 2549

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้ก่อสร้าง "อาคารอนุสรณ์ ๖o ปี หาดใหญ่วิทยาลัย" โดยได้รับเงินสนับสนุนการก่อสร้างจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเงิน 46,690,000 บาท

อาคารภายในโรงเรียน

อาคารภายในโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ประกอบด้วย

อาคารอำนวยการ

  • ชั้น 1 ลานอเนกประสงค์
  • ชั้น 2 สำนักงานผู้อำนวยการ
  • ชั้น 3 สำนักงานโครงการ SMT, สำนักงานโครงการห้องเรียนนวัตกรรม EIS
  • ชั้น 4 ห้องสมุดวิทยาศาสตร์
  • ชั้น 5 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • ชั้น 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

อาคารเรียน ๑ ส่งศรีอนุสรณ์

  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาเคมี, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (โครงการ สอวน. และ พสวท.), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จำนวน 2 ห้อง

อาคารเรียน ๒ ขจรตรีจักร

  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ, สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ
  • ชั้น 2 ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องสมุดคณิตศาสตร์
  • ชั้น 4 ห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง

อาคารเรียน ๓ จุฑาทักษิณ

  • ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการกองพันนักศึกษาวิชาทหาร ROTC, ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา จำนวน 3 ห้อง
  • ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 ห้อง
  • ชั้น 4 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ จำนวน 3 ห้อง

อาคารเรียน ๔ สิรินธรา

  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริการงานทั่วไป, สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์), ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ลานศิลป์
  • ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป 2 ห้อง และ ทางเชื่อมไปยังหอประชุมราชาวดี
  • ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ SMT จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ห้อง 430 - 433 (ปัจจุบันได้รับการตกแต่งด้วยวัสดุสีเขียวเป็นหลักและใช้เป็นห้องเรียนประจำของนักเรียนโครงการ SMT)
  • ชั้น 4 ห้องเรียนโครงการนวัตกรรม EIS จำนวน 4 ห้อง

หอประชุมราชาวดี

  • ชั้น 1 ห้องสมุดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 2 หอประชุมราชาวดี โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย, หอประวัติโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย (พิพิธภัณฑ์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย)

อาคารเรียน ๕ ศรีปัทมราช

  • ชั้น 1 ศูนย์อาหาร ญ.ว.
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องสมุดภาษาไทย, ห้องเรียนทั่วไป
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียน Video Conference, ห้องเรียนทั่วไป
  • ชั้น 4 ห้องค้นคว้า, ห้องสมุดภาษาต่างประเทศ, ห้องเรียนทั่วไป

อาคารเรียน ๖ พัฒนพล

  • ชั้น 1 สำนักงานกลุ่มบริหารบุคคล (ฝ่ายปกครอง), สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา, ห้องเรียนสุขศึกษา
  • ชั้น 2 พัฒนพลยิมเนเซียม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย, สำนักงานศูนย์แนะแนวต้นแบบ, ห้องแนะแนว
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี), ห้องปฏิบัติการดนตรี จำนวน 3 ห้อง, ห้องวงโยธวาทิต

อาคารเรียน ๗ ดลวัฒน์

  • ชั้น 1 สำนักงานพยาบาล, สำนักงานประชาสัมพันธ์, สำนักงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, สำนักงานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ
  • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์), ห้องปฏิบัติการคหกรรม จำนวน 3 ห้อง, ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ จำนวน 2 ห้อง
  • ชั้น 4 สำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สำนักงานศูนย์โครงการ AFS, ห้องเรียนรวม
  • ชั้น 5 สำนักงานโครงการ English Program (EP), ห้องเรียนโครงการ EP, ห้องสมุดสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • ชั้น 6 สำนักงานกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องเรียนทั่วไป
  • ชั้น 7 ห้องปฏิบัติการพระพุทธศาสนา, ห้องเรียนทั่วไป

อาคาร ๖๐ ปี โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

  • ชั้น 1 ลานอเนกประสงค์
  • ชั้น 2 ห้องสมุดโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
  • ชั้น 3 ห้องเรียนโครงการ พสวท. และ โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE / วิทย์สพฐ.), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์, สำนักงานโครงการ พสวท.
  • ชั้น 4-7 สำนักงานโครงการ Science Math Ability (SMA), ห้องเรียนโครงการ SMA

ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับชั้นละ 14 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน ดังนี้

  • 1. โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science Math Ability (SMA) จำนวน 3 ห้องเรียน
  • 2. โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี Science Math Technology (SMT) จำนวน 1 ห้องเรียน
  • 3. โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP) จำนวน 2 ห้องเรียน
  • 4. โครงการการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนสองภาษาพอเพียงรูปแบบ English for Integrated Studies (EIS) จำนวน 2 ห้องเรียน
  • 5. ห้องเรียนทั่วไป จำนวน 6 ห้องเรียน

แผนการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้นละ 20 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 60 ห้องเรียน ประกอบด้วย 5 โครงการพิเศษ และ 5 แผนการเรียน ได้แก่

แผนการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ห้องเรียน หลักสูตร
ห้อง 1 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโครงการห้องเรียนพสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)
ห้อง 2, 3, 4 โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SMA)
ห้อง 5 โครงการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMT)
ห้อง 12 โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English Program (EP)
ห้อง 6, 7, 8, 9, 10, 11 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
ห้อง 13, 14, 15 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
ห้อง 16 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส
ห้อง 17 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาเกาหลี, ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น
ห้อง 18 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
ห้อง 19 แผนการเรียนทั่วไป
ห้อง 20 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE / วิทย์สพฐ.)

เพิ่มเติม ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียน พสวท. จะได้รับทุนการศึกษาตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโครงการ

รายนามผู้บริหารโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและประวัติผู้อำนวยการ

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. นายกลับ ส่งศรี (ครูใหญ่) 06 ก.ย. 2488 - 26 ม.ค. 2492
2. นายแช่ม ไวทยินทร์ (ครูใหญ่) 27 ม.ค. 2492 - 08 ก.ย. 2494
3. นายคม ภิรมยาภรณ์ (ครูใหญ่) 08 ก.ย. 2494 - 21 ต.ค. 2496
4. นายวรวิร์ ผ่องศรี (ครูใหญ่) 22 ต.ค. 2496 - 24 มิ.ย. 2502
5. นายไสว ทองสุก (ครูใหญ่) 25 มิ.ย. 2502 - 01 มิ.ย. 2504
6. นายยิน เจริญสุข (ครูใหญ่) 13 ก.ค. 2504 - 10 ส.ค. 2508
7. ว่าที่ รต.วิจิตร วิจิตรสงวน (ผู้อำนวยการ) 03 พ.ย. 2508 - 30 ก.ย. 2515
8. นายบัญญัติ บูรณหิรัญ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2515 - 16 มิ.ย. 2519
9. นายสมบูรณ์ ศรีสุทธิ์ (ผู้อำนวยการ) 18 ม.ค. 2520 - 01 มิ.ย. 2522
10. นายธรรมนูญ วิสัยจร (ผู้อำนวยการ) 13 พ.ย. 2522 - 30 พ.ย. 2528
11. นายกระจ่าง สัญชาตวิรุฬห์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2529
12. นายวิรัช บุญนำ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2535
13. นายกระจ่าง สัญชาตวิรุฬห์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
14. นายเกษียร ภู่กลาง (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2543
15. นายสงบ มณีพรหม (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2543 - 30 มี.ค. 2554
16. ดร.พิมพ์มาส รังสรรค์สฤษดิ์ (ผู้อำนวยการ) 01 ต.ค. 2554 - 30 ก.ย. 2559
17. ว่าที่ร้อยตรี ดร.ทรงเกียรติ พืชมงคล (ผู้อำนวยการ) 22 พ.ย. 2559 - 30 ก.ย. 2561
18. ดร.ถนอมทรัพย์ นูนน้อย (ผู้อำนวยการ) 01 พ.ย. 2561 - 04 ก.ย. 2563
19. ดร.อุดม ชูลีวรรณ (ผู้อำนวยการ) 22 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน
ดร.อุดม ชูลีวรรณผู้อำนวยการ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ประวัติ  ดร.อุดม  ชูลีวรรณ      1.  ภูมิลำเนาเดิม อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง           ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 1127  เทศบาลเมืองคอหงส์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา      2.  วัน/เดือน/ปีเกิด  ๑๗  ตุลาคม  ๒๕๐๕ คุณวุฒิทางการศึกษา      1.  วุฒิปริญญาตรี             ศึกษาศาสตร์บัณฑิต        วิชาเอกคณิตศาสตร์           จากสถาบันการศึกษา     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา      2.  วุฒิปริญญาโท        ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต   วิชาเอก การวัดผลการศึกษา           จากสถาบันการศึกษา    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร      3.  วุฒิปริญญาเอก           ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา           จากสถาบันการศึกษา    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ 2.  การรับราชการ     2.1  เริ่มรับราชการในตำแหน่ง  ครู 2  เมื่อวันที่  12  เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  2532     2.2  ตำแหน่งผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงเรียน)           2 พ.ค 2554         ผู้อำนวยการโรงเรียนปากจ่า จังหวัดสงขลา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ           28 พ.ย 2555        ผู้อำนวยการโรงเรียนจะนะชนูปถัม จังหวัดสงขลา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ            6 มี.ค.2558          ผู้อำนวยการโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์        วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ            9 พ.ย 2559         ผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา   วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 3. คู่สมรส   นางสุกานดา  ชูลีวรรณ  ครูโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 4. บุตร-ธิดา            4.1. นางสาว พิชชานิกานต์  ชูลีวรรณ กำลังศึกษาอยู่ที่ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน                       ภาค Internation มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กรุงเทพมหานคร          4.2.นายภูวิศ  ชูลีวรรณ  กำลังศึกษาอยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร


ดร.อุดม ชูลีวรรณ

ผู้อำนวยการ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย


ประวัติ  ดร.อุดม  ชูลีวรรณ


     1.  ภูมิลำเนาเดิม อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

          ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 1127  เทศบาลเมืองคอหงส์  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

     2.  วัน/เดือน/ปีเกิด  ๑๗  ตุลาคม  ๒๕๐๕


คุณวุฒิทางการศึกษา

     1.  วุฒิปริญญาตรี             ศึกษาศาสตร์บัณฑิต        วิชาเอกคณิตศาสตร์

          จากสถาบันการศึกษา     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา

     2.  วุฒิปริญญาโท        ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต   วิชาเอก การวัดผลการศึกษา

          จากสถาบันการศึกษา    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

     3.  วุฒิปริญญาเอก           ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา

          จากสถาบันการศึกษา    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

2.  การรับราชการ

    2.1  เริ่มรับราชการในตำแหน่ง  ครู 2  เมื่อวันที่  12  เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  2532

    2.2  ตำแหน่งผู้บริหาร (ผู้อำนวยการโรงเรียน)

          2 พ.ค 2554         ผู้อำนวยการโรงเรียนปากจ่า จังหวัดสงขลา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

          28 พ.ย 2555        ผู้อำนวยการโรงเรียนจะนะชนูปถัม จังหวัดสงขลา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

           6 มี.ค.2558          ผู้อำนวยการโรงเรียนพะตงประธานคีรีวัฒน์        วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

           9 พ.ย 2559         ผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา   วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

3. คู่สมรส   นางสุกานดา  ชูลีวรรณ  ครูโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

4. บุตร-ธิดา  

         4.1. นางสาว พิชชานิกานต์  ชูลีวรรณ กำลังศึกษาอยู่ที่ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน    

                  ภาค Internation มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กรุงเทพมหานคร

         4.2.นายภูวิศ  ชูลีวรรณ  กำลังศึกษาอยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง

เกียรติประวัติโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2492 ชนะเลิศกีฬานักเรียนจังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ. 2494 มีนักเรียนชั้น ม.6 รุ่นแรก สอบได้ที่ 1 ของจังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ. 2509 เปลี่ยนแปลงการรับนักเรียนจากชายล้วนเป็นสหศึกษาโดยยุบรวมกับโรงเรียน โรงเรียนสตรีหาดใหญ่ "สมบูรณ์กุลกัยยา"

ปี พ.ศ. 2510 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมัธยมแบบประสม (คมส.)

ปี พ.ศ. 2513 เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และได้เพิ่มชื่อโรงเรียนจากชื่อเดิมเป็น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ใช้อักษรย่อว่า ญ.ว.

ปี พ.ศ. 2514 นักเรียน ม.ศ.5 รุ่นแรก สอบติดบอร์ดระดับประเทศได้ถึง 7 คน

ปี พ.ศ. 2517 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดทำการเรียนการสอน 2 ผลัด เนื่องจากนักเรียนสมัครเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้ยุบรวมเป็นผลัดเดียว

ปี พ.ศ. 2524 เปิดศูนย์เกษตรกรรมที่ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ เป็นสาขาของโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย เนื้อที่ประมาณ 74 ไร่

ปี พ.ศ. 2525 เทศบาลนครหาดใหญ่ บริจาคที่ดินจำนวน 2 งาน เพื่อสร้างอาคาร 5 เชื่อมกับหอประชุมราชาวดี และได้จัดสร้างองค์ประพิฆเนศวร เทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ และทำพิธีปลุกเสกในวันที่ 16 มกราคม 2525 เพื่อเป็นองค์ตัวแทนสถาบันครู ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นคติของลูก ญ.ว. ทุกคนว่า "ผู้ใดบูชาครูย่อมเป็นมงคลแก่บุคคลนั้น"

ปี พ.ศ. 2526 เปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2527 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เป็น 1 ใน 7 ศูนย์ทั่วประเทศ

ปี พ.ศ. 2528 นางสาวหงส์ฟ้า จันทรเกษมพร แผนการเรียนศิลป์ - ฝรั่งเศส สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้คะแนนสูงสุด เป็นที่ 1 ของประเทศ

ปี พ.ศ. 2532 นายไพศาล นาคมหาชลาสินธุ์ นักเรียนชั้น ม.4 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงคณิตศาสตร์โอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการเหรียญแรกของประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย คือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา *ปัจจุบันแยกเป็นเอกเทศจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2539 จัดตั้งสาขาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย คือ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 *ปัจจุบันแยกเป็นเอกเทศจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จาก UKAS ประเทศอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สอวน.)

ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 โครงการห้องเรียนพิเศษ 2 โครงการคือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (SMA) และโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)

ปี พ.ศ. 2547 โรงเรียนจัดสร้างป้ายโรงเรียนขนาดมาตรฐาน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา มหาราชินี โดยได้รับการสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก นายสุชีพ นางวิไล ลิ่มกตัญญู ศิษย์เก่า

ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทอง จากกระทรวงสาธารณสุข

ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้รับรางวัล “โรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่างประจำปี 2549” จากสำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

ปี พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรโรงอาหารมาตรฐานประจำปี 2551 และโล่รางวัลโรงอาหารมาตรฐาน 10 ปี จากเทศบาลนครหาดใหญ่

ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนชนะเลิศระดับประเทศการสอบแข่งขัน TOP TEST ประจำปีการศึกษา 2552 จัดโดยสำนักงานทดสอบ TOP TEST กรุงเทพฯ

ปี พ.ศ. 2552 นักเรียนได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศการแข่งขันเพชรยอดมงกุฎครั้งที่ 6 จัดโดยมูลนิธิร่มฉัตร ณ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพฯ

ปี พ.ศ. 2553 วงโยธวาทิตโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศและถ้วยรางวัล โล่เกียรติยศรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 107,000 บาท จากการเข้าร่วมประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ครั้งที่ 29 ปี 2553

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับ ม.ต้น ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ม.ต้น ครั้งที่ 7 (IJSO) ณ ประเทศไนจีเรีย

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้รับโล่เกียรติคุณและคะแนนสูงสุดภาคใต้ในการแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก ระดับชาติ ครั้งที่ 9

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้คะแนนรวมสูงสุดสายวิทยาศาสตร์ และศิลป์-คณิต จากการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรง มอ. ปีการศึกษา 2554

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ทางกฎหมาย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปี พ.ศ. 2553 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 6

ปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาวิชาทหารดีเด่น อันดับ 1 ของประเทศ ปีการศึกษา 2553

ปี พ.ศ. 2553 รางวัลเหรียญเงินจากการประกวดสภานักเรียน ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับภาคใต้ ครั้งที่ 60 ปีการศึกษา 2553

ปี พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกโรงเรียนแกนนำประชาธิปไตย ปีการศึกษา 2553 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจากคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดสงขลา

ปี พ.ศ. 2554 ตัวแทนภาคใต้ เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ งานการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 14 (Young Scientist Compettition 2012:YSC 2012) เพื่อเป็นตัวแทนไปแข่งขัน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปี พ.ศ. 2554 รางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ประเภททีม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการแข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ IMC International Mathematics Contest (IMC Union) ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2554 ณ ประเทศสิงคโปร์

ปี พ.ศ. 2554 ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ ประจำปีการศึกษา 2554 (ระดับมัธยมศึกษา)

ปี พ.ศ. 2554 การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น International Mathematics Compettition : Word Youth Mathematics Inter-City Compettition 2011 (IMC:WYMIC) ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประเภทบุคคล ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภททีม ได้รับรางวัลชนะเลิศแชมป์เปี้ยนคะแนนรวมสูงสุด ประเภทกลุ่มบุคคล

ปี พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง (1 ทองประเภทบุคคล 1 ทองประเภททีม ) และ 1 เหรียญเงิน (ประเภทบุคคล) ในการแข่งขันแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกเอเชีย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : Asia Inter-Cities Teenager’s Mathematics Olympiad 2011 (AITMO 2011) ระหว่างวันที่ 12-19 พฤศจิกายน 2554 ณ เมืองกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล

ปี พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดผลงานโรงเรียน/สถานศึกษาและนักเรียนตามโครงการยุวชนประกันภัยระดับภาค ประจำปี พ.ศ. 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ปี พ.ศ. 2554 รางวัลอันดับ 1 ระดับภาคใต้ จากการแข่งขันทักษะทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดโดยสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2554 ผลการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554 สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระดับภูมิภาค ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภททีม รางวัลชนะเลิศ สมาชิกของทีมชนะเลิศ ได้รับบัตรประกาศเกียรติคุณ

ปี พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง (ประเภทบุคคล) ในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกเอเชีย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : Southeast Mathematical Olympaid 2011 (SMO 2011) ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2554 ณ เมืองซีเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง