ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชูวงศ์ ฉายะจินดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขชื่อเรื่อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขลิ้งผู้เขียน
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
'''ชูวงศ์ ฉายะจินดา''' เป็นทั้งชื่อ - นามสกุลจริง และเป็นนามปากกาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้ในการเขียนนวนิยายจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่น ๆ อีก คือ '''เทิดพงษ์''' ใช้เมื่อเขียนเรื่องสั้นในช่วงแรก ๆ และนวนิยายเรื่องแรก คือ ''ตำรับรัก '' '''กล้วยไม้ ณ วังไพร''' , '''แก้วเจียระไน''' , '''กรทอง''' และ'''ทวิชา'''ทั้ง 4 นามปากกาใช้ในการเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสารต่าง ๆ
'''ชูวงศ์ ฉายะจินดา''' เป็นทั้งชื่อ - นามสกุลจริง และเป็นนามปากกาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้ในการเขียนนวนิยายจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่น ๆ อีก คือ '''เทิดพงษ์''' ใช้เมื่อเขียนเรื่องสั้นในช่วงแรก ๆ และนวนิยายเรื่องแรก คือ ''ตำรับรัก '' '''กล้วยไม้ ณ วังไพร''' , '''แก้วเจียระไน''' , '''กรทอง''' และ'''ทวิชา'''ทั้ง 4 นามปากกาใช้ในการเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสารต่าง ๆ


ชูวงศ์ ฉายะจินดา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[25 ธันวาคม]] พุทธศักราช 2473 เป็นบุตรคนสุดท้องในพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมดห้าคนของพระชาญบรรณกิจ (ถวิล ฉายะจินดา) อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังและนางชาญบรรณากิจ (ช่วง ฉายะจินดา) ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2521 เมื่อเดินทางย้ายไปพำนักอยู่ที่[[ประเทศออสเตรเลีย]] ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ 70 เล่ม จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2540 จึงกลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเวลาที่ห่างหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา 20 ปี ปัจจุบัน ชูวงศ์ ฉายะจินดา อาศัยอยู่ ณ นคร[[เมลเบริร์น]] ประเทศออสเตรเลียมากว่า 40 ปี ชูวงศ์ สมรสกับปรานอม ฉายะจินดา มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นายโชติรส ฉายะจินดา (เสียชีวิตแล้ว)
ชูวงศ์ ฉายะจินดา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[25 ธันวาคม]] พุทธศักราช 2473 เป็นบุตรคนสุดท้องในพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมดห้าคนของพระชาญบรรณกิจ (ถวิล ฉายะจินดา) อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังและนางชาญบรรณากิจ (ช่วง ฉายะจินดา) ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2521 เมื่อเดินทางย้ายไปพำนักอยู่ที่[[ประเทศออสเตรเลีย]] ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ 70 เล่ม จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2540 จึงกลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเวลาที่ห่างหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา 20 ปี ปัจจุบัน ชูวงศ์ ฉายะจินดา อาศัยอยู่ ณ นคร[[เมลเบิร์น]] ประเทศออสเตรเลียมากว่า 40 ปี ชูวงศ์ สมรสกับปรานอม ฉายะจินดา มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นายโชติรส ฉายะจินดา (เสียชีวิตแล้ว)


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:01, 15 เมษายน 2564

ชูวงศ์ ฉายะจินดา เป็นทั้งชื่อ - นามสกุลจริง และเป็นนามปากกาซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้ในการเขียนนวนิยายจนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีนามปากกาอื่น ๆ อีก คือ เทิดพงษ์ ใช้เมื่อเขียนเรื่องสั้นในช่วงแรก ๆ และนวนิยายเรื่องแรก คือ ตำรับรัก กล้วยไม้ ณ วังไพร , แก้วเจียระไน , กรทอง และทวิชาทั้ง 4 นามปากกาใช้ในการเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสารต่าง ๆ

ชูวงศ์ ฉายะจินดา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พุทธศักราช 2473 เป็นบุตรคนสุดท้องในพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมดห้าคนของพระชาญบรรณกิจ (ถวิล ฉายะจินดา) อดีตรองอธิบดีกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังและนางชาญบรรณากิจ (ช่วง ฉายะจินดา) ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2521 เมื่อเดินทางย้ายไปพำนักอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ 70 เล่ม จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2540 จึงกลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเวลาที่ห่างหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา 20 ปี ปัจจุบัน ชูวงศ์ ฉายะจินดา อาศัยอยู่ ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียมากว่า 40 ปี ชูวงศ์ สมรสกับปรานอม ฉายะจินดา มีบุตรชายหนึ่งคน คือ นายโชติรส ฉายะจินดา (เสียชีวิตแล้ว)

การศึกษา

ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้รับการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนเล็ก ๆ ใกล้บ้านชื่อ ‘โรงเรียนสนิทราษฏร์บริบูรณ์’จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนราชินี ถนนมหาราช จนเมื่อศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น บิดาคือพระชาญบรรณกิจ จึงได้อพยบครอบครัวไปหลบภัยที่ตำบลวัดแจ้งร้อน จึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวิสุทธิ์กษัตริย์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชั่วคราวในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชินีอพยบไปเปิดสอนที่ตำบลผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงกลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนราชินีตามเดิม ปีพุทธศักราช 2488 สงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลง โรงเรียนราชินีจึงย้ายกลับกรุงเทมหานคร ชูวงศ์ ฉายะจินดา เรียนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ (เตรียมอักษรศาสตร์) ปีที่ 2 เมื่อปีพุทธศักราช 2490 ร่วมรุ่นกับเดียวกับ สุกัญญา ชลศึกษ์ (กฤษณา อโศกสิน) และปราศรัย รัชไชยบุญ (นิดา)

จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต รางวัลเหรียญเงินในวิชาสันสกฤต เมื่อปีพุทธศักราช 2494 ปีพุทธศักราช 2500 ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้แผนการโคลัมโบ ไปศึกษาต่อที่ UNIVERSITY OF MELBOURNE ณ นครเมลเบริร์น ประเทศออสเตรเลีย ในสาขาวิชาวาทศิลป์ (RHETORIC)

การทำงาน

ปีพุทธศักราช 2495 เข้ารับราชการครูวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนศิริศาสตร์ สี่พระยา (โรงเรียนศิริทรัพย์ในปัจจุบัน) เป็นเวลา 1 ปี แต่เนื่องจากสุขภาพไม่ดี จึงลาออก

ต่อมาเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนราชินี สอนอยู่ได้ไม่นานก็ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบจึงตัดสินใจลาออกจากอาชีพครูที่รักเข้ารับราชการที่กรมชลประทาน ในแผนกสารบรรณ นาน 3 ปี และเริ่มเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’

ปีพุทธศักราช 2500 ได้เข้ากลับรับราชการครูซึ่งเป็นอาชีพที่ตนเองรักอีกครั้งที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และเริ่มเขียนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรก คือ ‘ตำรับรัก’ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’

ปีพุทธศักราช 2503 ได้เข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย ที่นี่งานเขียนของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้ปรากฏสู่สายตาผู้อ่านซึ่งเป็นเพื่อนอาจารย์และนักเรียนด้วยกัน โดยตีพิมพ์เรื่องสั้นในหนังสือที่ระลึกของโรงเรียนพร้อม ๆ กับเขียนนวนิยายลงตีพิมพ์ในนิตยสารหลายฉบับ

ต่อมาได้ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพนักเขียนเพียงอย่างเดียว ได้เริ่มเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม และได้ทำงานอื่น ๆ เสริม เช่น บริหารโรงเรียนสอนตัดผมและตัดเสื้อดาวรุ่ง เป็นต้น

งานเขียน

จากการที่ ชูวงศ์ ฉายะจินดา ได้เข้าศึกษาที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการฝึกฝนด้านภาษาและการเขียนภาษาไทย ประกอบกับอุปนิสัยรักการอ่านและการขีดเขียน ทำให้ ชูวงศ์ ฉายะจินดา สนใจในการประพันธ์ งานประพันธ์ของนักเขียนที่มีส่วนช่วยผลักดันด้วยคือ ‘ดอกไม้สด’ (หม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์)

เมื่อเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (เตรียมอักษรศาสตร์) ปีที่ 1 ที่โรงเรียนราชินี เพื่อน ๆ ร่วมชั้นได้จัดทำหนังสือวารสารรายสะดวกขึ้นหนึ่งเล่มมี ประภาศรี นาคะนาท (ภา พรสวรรค์) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นน้องสาวของ ประหยัด ศ. นาคะนาท เป็นหัวหน้าจัดทำ ในหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องสั้นพร้อมรูปประกอบเรื่องหนึ่งชื่อ ‘กลางละอองทอง’ แต่งโดย ประภาศรี นาคะนาท ทำให้ ชูวงศ์ ฉายะจินดา อ่านอย่างประทับใจจนใฝ่ฝันจะเขียนเช่นนั้นบ้าง

ต่อมาเมื่อเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กุลทรัพย์ รุ่งฤดี (คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นได้ริเริ่มจัดทำวารสารอีก ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงรับหน้าที่เขียนคอลัมน์แบบเสื้อ

ปีพุทธศักราช 2495 เมื่อเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนศิริศาสตร์ ทางโรงเรียนจัดทำหนังสือที่ระลึกแจกในงานประจำปี ให้ครูทุกคนเขียนเรื่องมาลง ชูวงศ์ ฉายะจินดา จึงเขียนเรื่องแบบจดหมายเทศนาโวหารพ่อสั่งสอนลูกชาย ถือได้ว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรก ต่อมาได้เขียนเรื่องทำนองนี้อีกลงในหนังสือที่ระลึกโรงเรียนราชินี

ปีพุทธศักราช 2500 ขณะเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ ได้เขียนเรื่องสั้นส่งไปให้นิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ได้ลงพิมพ์ในเวลาต่อมา เรื่องสั้นนั้นชื่อเรื่อง ‘หนึ่งในห้าร้อยจำพวก’ และเริ่มเขียนนวนิยายขนาดยาวเรื่องแรกคือ ‘ตำรับรัก’ ขนาด 55 ตอน โดยใช้นามปากกาว่า ‘เทิดพงษ์’

นับแต่นั้นมา ชูวงศ์ ฉายะจินดา ก็ได้กลายเป็นนักเขียนอย่างเต็มตัวจนถึงปัจจุบันมีผลงานนวนิยาย เรื่องยาว เรื่องสั้น นับร้อยเรื่อง โดยมีหลักในการเขียนหนังสือว่า เขียนเพื่อเสริมพุทธวัจนะ ‘ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว’ และในฐานะนักเขียน อยากจะทำงานที่สามารถสร้างความกลมเกลียวให้แก่คนในชาติได้อย่างจริงจัง หวังว่าตัวหนังสือที่ตัวอักษรจะช่วยสร้างความเห็นอกเห็นใจระหว่างคนในสังคม มิใช่ใจแคบคิดถึงแต่ตัวเอง

งานเขียนของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา จำนวนมากได้ถูกสร้างเป็นละครวิทยุ ละคร และภาพยนตร์

ผลงานเรื่องสั้น

ตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น ชูวงศ์ ฉายะจินดา สนใจวิชาเกี่ยวกับภาษาไทย โดยเฉพาะวิชาการเขียนเป็นพิเศษ ในช่วงแรกเริ่มจากการหัดเขียนเรียงความ ต่อมาจึงฝึกเขียนเรื่องสั้นไว้อ่านกันเองเฉพาะกลุ่ม เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขียนและได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ คือ ‘หนึ่งในห้าร้อยจำพวก’

จากนั้นจึงมีเรื่องสั้นตามมาอีกว่า 58 เรื่อง ซึ่งเรื่องสั้นทุกเรื่องได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ในระหว่างปีพุทธศักราช 2495 - 2500

ปีพุทธศักราช 2545 ได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ ‘เหตุเกิดเมื่อวันแม่’ ตีพิมพ์ลงในหนังสือรวมเรื่องสั้นนักเขียนนวนิยายปากกาทอง ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ‘เพชรสีน้ำเงิน’ ชุด 1

ปีพุทธศักราช 2550 ได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ กรรมใดใครก่อ , ป้าเกลือปากพระร่วง , มือที่สาม เจ้าขุนทองน้องเบริ์ท , คู่กัด , รักโกลาหลคนโลกาภิวัฒน์ , อันความกรุณาปราณี , ติดอ่าง-ตกทอง และ เสน่าปลายจวัก

งานแปล

นอกจากเขียนเรื่องของเธอแล้ว ชูวงศ์ ฉายะจินดา ยังชอบอ่านวรรณกรรมต่างประเทศ เธอจึงได้รับแรงบันดาลใจจากการอ่านวรรณกรรมของ O . HENRY เรื่อง THE DIAMOND OF KALI เธอจึงแปลและเรียบเรียงขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ‘เพชรของเจ้าแม่กาลี’

WILLIAM HOPE HODGESON เรื่อง THE VOKE IN THE NIGHT แปลและเรียบเรียงขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ‘เห็ดมฤตยู’

ผลงานสารคดีเชิงท่องเที่ยว

ชูวงศ์ ฉายะจินดา มักจะเดินทางท่องเที่ยวอยู่บ่อยครั้ง จึงเกิดแรงบันดาลใจให้เขียนสารคดีเชิงท่องเที่ยวบอกเล่าเรื่องราวออกมาเป็นตัวอักษรในสิ่งที่พบเห็นระหว่างเดินทาง ได้แก่

ฉันรักสแกนดิเนเวีย เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยวเรื่องแรกเมื่อได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนสตรีไปร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์

ลาก่อนเมลเบิร์น เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยวเมื่อครั้งเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตนักศึกษาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

ดินแดนแห่งความสงบยามเช้า เมื่อครั้งได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนสตรีไปร่วมศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี ร่วมกับเพื่อนนักเขียน คือ สุภัทร สวัสดิรักษ์, อมราวดี (ลัดดา ถนัดหัตถกรรม) ,สุภาว์ เทวกุล ฯ และสุวรรณี สุคนธา

ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ประมาณปีพุทธศักราช 2513 ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2515 จากคณะกรรมการหนังสือแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศเกาหลี โดยสถานเอกอัครราชทูตยกย่องให้เป็นวรรณกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เกาหลี พร้อมจัดซื้อหนังสือจำนวนหนึ่งมอบแก่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกาหลีที่สอนภาษาไทย

โรมันรัญจวน เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยว โดยเขียนร่วมกับเพื่อนนักเขียน คือ สุภัทร สวัสดิรักษ์ , อมราวดี (ลัดดา ถนัดหัตถกรรม) , สุภาว์ เทวกุล ฯ , ทมยันตี , เพ็ญแข วงศ์สง่า , บุษปะเกศ , ‘เศก ดุสิต’ , ถาวร สุวรรณ และณรงค์ จันทร์เรือง ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ประมาณปีพุทธศักราช 2514 - 2515

ผลงานนวนิยาย

ชูวงศ์ ฉายะจินดา เริ่มเขียนนวนิยายเมื่ออายุประมาณ 30 เมื่อนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ได้เปิดสนามให้นักเขียนใหม่ได้ประลองฝีมือโดยได้รับการสนับสนุนจาก หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์ บรรณาธิการนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’

นวนิยายเรื่องแรกซึ่งเกิดจากแรงบันดาลใจจากการอ่านงานประพันธ์ของ ‘ดอกไม้สด’ คือ ‘ตำรับรัก’ (LOVE LESSON) ขนาดยาว 55 ตอน เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 ทำให้ชื่อของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา เป็นที่รู้จักของนักอ่านโดยทั่วไป

เรื่องต่อมา คือ ‘ม่านบังใจ’ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2502 - 2504

จากเวทีนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ ชูวงศ์ ฉายะจินดา ก้าวไปสู่นิตยสารอื่น ๆ อีก

สกุลไทย รายสัปดาห์ เช่น กำแพงเงินตรา (ระหว่างปีพุทธศักราช 2511 - 2512) , จันทร์ไร้แสง (ระหว่างปีพุทธศักราช 2512 - 2513) , พระเอกในความมืด (ระหว่างปีพุทธศักราช 2516 - 2517) , ชีวิตผวา (ระหว่างปีพุทธศักราช 2520 - 2521) เป็นต้น

เดลิเมล์วันจันทร์ เช่น จำเลยรัก (ระหว่างปีพุทธศักราช 2504 - 2405) , ผู้หญิงมือสอง ,ไพรพิศวาส (ระหว่างปีพุทธศักราช 2521 - 2522) สุดสายป่าน (ระหว่างปีพุทธศักราช 2521 - 2522) หลังจากได้รับการตอบรับอย่างสูงจากผู้อ่านเรื่อง ‘ม่านบังใจ’ จนทำให้มีภาคสมบูรณ์ของเรื่องคือ ‘หัวใจรัก’ (ระหว่างปีพุทธศักราช 2504 - 2505) เป็นต้น

สตรีสาร ได้แก่ เสี้ยนชีวิต (ในปีพุทธศักราช 2514)

แม่ศรีเรือน ได้แก่ ในมือมาร (ในปีพุทธศักราช 2504) , อสรพิษดำ (ในปีพุทธศักราช 2516) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเขียนให้กับนิตยสารอื่น ๆ เช่น ลลนา , ขวัญดาว , ศรีสยาม เป็นต้น

มีผลงานเป็นที่นิยมแพร่หลายมากมาย เช่น ‘จำเลยรัก’ ที่โด่งดัง (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง ละคร 5 ครั้ง) , ‘สุดสายป่าน’ (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 1 ครั้ง ละคร 3 ครั้ง) , ‘ตำรับรัก’ (ถูกสร้างเป็นละคร 4 ครั้ง) , ‘พระเอกในความมืด’ (ถูกสร้างเป็นละคร 3 ครั้ง) , ‘เงาอโศก’ (ถูกสร้างเป็นละคร 3 ครั้ง) , ‘ฝันเฟื่อง’ (ถูกสร้างเป็นละคร 3 ครั้ง) , กำแพงเงินตรา (ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 1 ครั้ง) , ‘เงาใจ’ (ถูกสร้างเป็นละคร 2 ครั้ง) ฯลฯ

จากนั้นมาชื่อของ ชูวงศ์ ฉายะจินดา โด่งดังก้องฟ้าในยุควรรณกรรม ‘พาฝัน’ มีผู้อ่านติดนวนิยายของเธอมากมายในฐานะ ‘ราชินีนวนิยายพาฝัน’ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ชูวงศ์ ฉายะจินดา หยุดเขียนนวนิยายไปยาวนาน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2521 เมื่อเดินทางไปพำนัก ณ นครเมลเบริร์น ประเทศออสเตรเลีย ทิ้งผลงานให้ผู้อ่านตามรอยไว้เกือบ 70 เล่ม ซึ่งนับเวลาเธอหายไปจากงานเขียนเป็นเวลา 20 ปี จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2540 เธอได้กลับเข้าสู่วงวรรณกรรมอีกครั้งตามคำชักชวนของสุภัทร สวัสดิ์รักษ์ อดีตบรรณาธิการอาวุโสนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ เริ่มเขียนนวนิยายดังนี้

  • เกษรหน่ายแมลง ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2541 - 2542
  • ฆาตกรกามเทพ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช 2543
  • พี. อาร์. หมายเลขหนึ่ง ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช 2543
  • ก็ว่าจะไม่รัก พิมพ์ร่วมเล่มโดยสำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์ ในปีพุทธศักราช 2544
  • ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2544 - 2545
  • ปล. ด้วยรักและเข้าใจ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ชีวิตจริง’ ระหว่างปีพุทธศักราช 2544 - 2545
  • สวรรค์ชั้นนี้มีแต่รัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘เรื่องผู้หญิง’ ระหว่างปีพุทธศักราช 2544 - 2545
  • ชีวิตนี้มีไว้ให้เธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2545 - 2546
  • เหมือนเราจะรักกันไม่ได้ (TRAGEDY MOST LIKELY) ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2546 - 2547
  • เสี่ยงล่วง เสี่ยงรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2547 - 2548
  • สร้อยเสน่ห์ เล่ห์พิศวาส ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘พลอยแกมเพชร’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2546 - 2547
  • ดอกรักกลางพงหนาม ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘ที. วี อินไซด์’ ระหว่างปีพุทธศักราช 2546 - 2547
  • บุพเพสลับรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2547 - 2549
  • ปีกเปล่า ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช 2549
  • เล่ห์มยุรา ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2549 - 2550
  • ลมหวนในสวนรัก ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ในปีพุทธศักราช 2550
  • ผีเสื้อสลับราย ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2550 - 2551
  • เหมือนจะรู้อยู่ในเล่ห์เสน่หา เขียนขึ้นในปีพุทธศักราช 2550
  • ดั่งด้ายสร้างสม ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2551 - 2552
  • เพียงมีรักในใจเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2551 - 2553
  • เรือนลำภู ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘สกุลไทย’ รายสัปดาห์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2552 - 2553
  • หนึ่งรักนิรันดร ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร ‘หญิงไทย’ รายปักษ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2553 - 2555
  • ร่วมผลงานนวนิยายเรื่องสั้นประมาณ 58 เรื่อง เรื่องแปลประมาณ 2 เรื่อง สารคดีประมาณ 4 เรื่อง นวนิยายประมาณ 91 เรื่อง

ชูวงศ์ ฉายะจินดา กล่าวว่า การที่กลับมาเขียนนวนิยายอีกครั้ง ด้วยเหตุผลเดียวคือ เกิดมาเป็นคนไทย นับถือศาสนาพุทธและอายุสูงปูนนี้ จึงขเอฝากข้อคิดบางประการเพื่อให้คนรุ่นใหม่ในสังคมจะได้ไม่ลืมหลักธรรมเก่า ๆ โดยใช้นวนิยายที่ให้ทั้งความบันเทิงและข้อคิดเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดประสบการณ์และบอกเล่าเรื่องราวต่า ๆ ผ่านมุมมองของผู้หญิงที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาคนหนึ่ง