ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลสงขลานครินทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Imposterrr (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
นำภาพ "Songklanagarind_Hospital.jpg" ออก ซึ่งถูกลบที่วิกิมีเดียคอมมอนส์โดย Túrelio เนื่องจาก Copyright violation: not own work. The same images can be found on the web. https://www.google.com/searchbyimage?image_url=https%3A%2F%2Fupload.w
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
| logo = Medicine Prince of Songkla University logo.jpg
| logo = Medicine Prince of Songkla University logo.jpg
| logo_size = 150
| logo_size = 150
| image = Songklanagarind Hospital.jpg
| image =
| image_size = 270
| image_size = 270
| alt =
| alt =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:52, 9 เมษายน 2564

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ไฟล์:Medicine Prince of Songkla University logo.jpg
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110, ใต้, ไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง853 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์
เปิดให้บริการ22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 (42 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์http://hospital.psu.ac.th

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Songklanagarind Hospital) เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) แห่งแรกของภาคใต้ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ประวัติ

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นในวันที่ 26 สิงหาคม 2519 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 27 ด้านตะวันออกของถนนกาญจนวนิช มีเนื้อที่ประมาณ 120,000 ตารางเมตร และเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า"โรงพยาบาลสงขลานครินทร์" มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า" SONGKLANAGARIND HOSPITAL"

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 853 เตียงให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินในสาขาต่างๆ ได้แก่ เวชปฏิบัติทั่วไป สูตินรีเวชศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ตา หูคอจมูก จิตเวช นอกจากนี้ยังให้บริการคลินิกระงับปวดและฝังเข็ม รังสีรักษาและผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านหัวใจ มะเร็ง ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์

นอกจากการแบ่งแยกความเชี่ยวชาญตามสาขาต่างๆแล้ว โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้คัดเลือกสาขาวิชาที่บุคลากรของโรงพยาบาลมีความเชี่ยวชาญระดับสูงที่โรงพยาบาลมีความโดดเด่นจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพการรักษาโรคที่สลับซับซ้อนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยตั้งความหวังไว้ว่าศูนย์ความเป็นเลิศเหล่านี้ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยในภาคใต้ได้มีโอกาสรับการรักษาที่ดีที่สุดในระดับสากลไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรักษาต่อในส่วนกลางหรือต่างประเทศ

ศูนย์ความเป็นเลิศที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้จัดตั้งแล้ว จำนวน 6 ศูนย์ คือ

1. ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดนราธิวาสราชนครินทร์

2. สถาบันโรคทางเดินอาหารและตับ นันทนา-เกรียงไกร โชติวัฒนะพันธ์

3. ศูนย์โรคมะเร็ง

4. ศูนย์อุบัติเหตุ

5. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ

6. หน่วยชีวันตภิบาล

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ยังได้มีหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศทั้งหลายอีกหลายหน่วยงาน เช่นหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ งานเวชภัณฑ์กลาง เป็นต้น ซึ่งแต่ละศูนย์แห่งความเป็นเลิศเหล่านี้เป็นต้นแบบที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศให้ความสนใจและขอศึกษาดูงานปีละหลายสิบคณะ

หน่วยงานภายใน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น