ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
PPakorn (คุย | ส่วนร่วม)
สำเนียงกรุงเทพเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบเสียงที่กำลังถูกพูดถึงในบทความนี้
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 844: บรรทัด 844:
ภาษาไทยถิ่นกลางมีการแตกตัวและการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งแยกได้จากภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ได้แก่ การแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ *A ออกเป็นสองเสียงที่ต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงไม่ก้องที่มีลม (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) กับเสียงไม่ก้องที่ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k <sup>ʔ</sup>b <sup>ʔ</sup>d <sup>ʔ</sup>j ʔ/) และมีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *B2 (เอก-ก้อง) และ *C1 (โท-ไม่ก้อง) อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า [[wikt:ค่า|ค่า]] กับ [[wikt:ข้า|ข้า]] หรือคำว่า [[wikt:น่า|น่า]] กับ [[wikt:หน้า|หน้า]] จึงออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันในภาษาไทยถิ่นกลาง แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือและอีสานที่มีการแตกตัวและยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากนี้ จึงออกเสียงวรรณยุกต์ของทั้งสองคำนี้ต่างกันไปด้วย
ภาษาไทยถิ่นกลางมีการแตกตัวและการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งแยกได้จากภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ได้แก่ การแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ *A ออกเป็นสองเสียงที่ต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงไม่ก้องที่มีลม (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) กับเสียงไม่ก้องที่ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k <sup>ʔ</sup>b <sup>ʔ</sup>d <sup>ʔ</sup>j ʔ/) และมีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *B2 (เอก-ก้อง) และ *C1 (โท-ไม่ก้อง) อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า [[wikt:ค่า|ค่า]] กับ [[wikt:ข้า|ข้า]] หรือคำว่า [[wikt:น่า|น่า]] กับ [[wikt:หน้า|หน้า]] จึงออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันในภาษาไทยถิ่นกลาง แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือและอีสานที่มีการแตกตัวและยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากนี้ จึงออกเสียงวรรณยุกต์ของทั้งสองคำนี้ต่างกันไปด้วย


สำหรับภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสำเนียงอยุธยา (สำเนียงมาตรฐาน) มีการยุบรวมเสียงวรรณยุกต์ *A1 ของพยัญชนะเสียงไม่ก้อง ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k <sup>ʔ</sup>b <sup>ʔ</sup>d <sup>ʔ</sup>j ʔ/) กับเสียงวรรณยุกต์ *A2 ของพยัญชนะเสียงก้อง (/b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/) ด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า [[wikt:กา|กา]] กับ [[wikt:คา|คา]] จึงออกเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน (เสียงสามัญ) แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากคำว่า [[wikt:ขา|ขา]] ซึ่งเป็นเสียงจัตวา ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีการออกเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า [[wikt:กา|กา]] กับ [[wikt:คา|คา]] ที่ต่างกันอยู่ นั่นคือยังไม่มีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *A1 และ *A2 ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ภาษาไทยอยุธยาปัจจุบันมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 หน่วยเสียง และสำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง
สำหรับภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงอยุธยา เป็นต้น มีการยุบรวมเสียงวรรณยุกต์ *A1 ของพยัญชนะเสียงไม่ก้อง ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k <sup>ʔ</sup>b <sup>ʔ</sup>d <sup>ʔ</sup>j ʔ/) กับเสียงวรรณยุกต์ *A2 ของพยัญชนะเสียงก้อง (/b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/) ด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า [[wikt:กา|กา]] กับ [[wikt:คา|คา]] จึงออกเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน (เสียงสามัญ) แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากคำว่า [[wikt:ขา|ขา]] ซึ่งเป็นเสียงจัตวา ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีการออกเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า [[wikt:กา|กา]] กับ [[wikt:คา|คา]] ที่ต่างกันอยู่ นั่นคือยังไม่มีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *A1 และ *A2 ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ภาษาไทยกรุงเทพปัจจุบันมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 หน่วยเสียง และสำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง


รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ของภาษาไทยสำเนียงอยุธยา และสำเนียงสุพรรณบุรี สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้ (ให้เสียงวรรณยุกต์เดียวกันมีสีเดียวกัน และวรรณยุกต์ที่ปรากฏในตารางเป็นเสียงวรรณยุกต์ในปัจจุบัน)
รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ของภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงสุพรรณบุรี สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้ (ให้เสียงวรรณยุกต์เดียวกันมีสีเดียวกัน และวรรณยุกต์ที่ปรากฏในตารางเป็นเสียงวรรณยุกต์ในปัจจุบัน)


{| class="wikitable"
{| class="wikitable"
|+สำเนียงอยุธยา, สำเนียงกาญจนบุรี
|+สำเนียงกรุงเทพ, สำเนียงอยุธยา, สำเนียงกาญจนบุรี
!colspan="2" |
!colspan="2" |
!colspan="3" | คำเป็น
!colspan="3" | คำเป็น
บรรทัด 907: บรรทัด 907:
|}
|}


วรรณยุกต์ที่ 1-5 ในภาษาไทยสำเนียงอยุธยาในตาราง คือวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ
วรรณยุกต์ที่ 1-5 ในภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพในตาราง คือวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ


แม้ว่าจะมีการการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์จากภาษาไทยเก่ามาเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ แต่อักขรวิธีของภาษาไทยยังคงรูปเขียนเช่นเดิม ทำให้รูปเขียนและเสียงอ่านมีความไม่สอดคล้องกันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ข้า กับ ค้า ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ทั้งๆ ที่มีรูปวรรณยุกต์โทเช่นเดียวกัน เกิดจากการที่ทั้งสองคำนี้เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน แต่มีเสียงพยัญชนะต้นที่แตกต่างกัน คือเสียง ข /kʰ/ และ ค /g/ ในภาษาไทยเก่า ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปเขียนและเสียงอ่าน ทำให้เกิดระบบ[[ไตรยางศ์]] ขึ้น โดยเป็นระบบการจัดหมวดหมู่รูปพยัญชนะอักษรไทยที่จัดให้รูปวรรณยุกต์หนึ่งๆ มีการออกเสียงที่แตกต่างกันได้เป็น 2 เสียง ขึ้นอยู่กับรูปพยัญชนะต้นของคำนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบการแตกตัวและยุบรวมของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระข้างต้น
แม้ว่าจะมีการการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์จากภาษาไทยเก่ามาเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ แต่อักขรวิธีของภาษาไทยยังคงรูปเขียนเช่นเดิม ทำให้รูปเขียนและเสียงอ่านมีความไม่สอดคล้องกันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ข้า กับ ค้า ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ทั้งๆ ที่มีรูปวรรณยุกต์โทเช่นเดียวกัน เกิดจากการที่ทั้งสองคำนี้เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน แต่มีเสียงพยัญชนะต้นที่แตกต่างกัน คือเสียง ข /kʰ/ และ ค /g/ ในภาษาไทยเก่า ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปเขียนและเสียงอ่าน ทำให้เกิดระบบ[[ไตรยางศ์]] ขึ้น โดยเป็นระบบการจัดหมวดหมู่รูปพยัญชนะอักษรไทยที่จัดให้รูปวรรณยุกต์หนึ่งๆ มีการออกเสียงที่แตกต่างกันได้เป็น 2 เสียง ขึ้นอยู่กับรูปพยัญชนะต้นของคำนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบการแตกตัวและยุบรวมของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระข้างต้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:42, 7 เมษายน 2564

ภาษาไทย
ออกเสียง/pʰāːsǎːtʰāj/
ประเทศที่มีการพูดไทย
จำนวนผู้พูด20 ล้านคน (ภาษาแม่)  (2543)
44 ล้านคน (ภาษาที่สอง) (พ.ศ. 2544)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย, อักษรเบรลล์ไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ไทย
 อาเซียน[2]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน กัมพูชา (เกาะกง)
 มาเลเซีย (เกอดะฮ์, กลันตัน)
 พม่า (ตะนาวศรี)
ผู้วางระเบียบสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
รหัสภาษา
ISO 639-1th
ISO 639-2tha
ISO 639-3tha
Linguasphere47-AAA-b

ภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไทซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ

ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485

ชื่อภาษาและที่มา

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี – สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ประวัติ

ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท (Tai languages) ภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท ภาษาไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาษาในสาขาไทจะวันตกเฉียงใต้ภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาลาว ภาษาผู้ไท ภาษาคำเมือง ภาษาไทใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภาษาตระกูลไทอื่นๆ เช่น ภาษาจ้วง ภาษาเหมาหนาน ภาษาปู้อี ภาษาไหล ที่พูดโดยชนพื้นเมืองบริเวณไหหนาน กวางสี กวางตุ้ง กุ้ยโจว ตลอดจนยูนนาน ไปจนถึงเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งสันนิษฐานว่าจุดกำเนิดของภาษาไทยน่าจะมาจากบริเวณดังกล่าว

ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ได้มีการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มไทลงมาจากจีนตอนใต้ มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำพาภาษากลุ่มไทลงมาด้วย ภาษาที่ชนกลุ่มไทกลุ่มนี้พูดได้รับการสืบสร้างเป็นภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก ที่พูดโดยชาวออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) และอยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เดิม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากภาษาทางวรรณกรรม คือ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาบาลี จนพัฒนามาเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน

ภาษาไทยเก่า

ภาษาไทยในอดีตมีระบบเสียงที่แตกต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบันอย่างชัดเจน ซึ่งมีประเด็นสำคัญต่อไปนี้[3]

  • มีการแบ่งแยกระหว่างเสียงก้องและเสียงไม่ก้องในแทบทุกฐานกรณ์ และทุกๆ ลักษณะการเกิดเสียง (manner of articulation) นั่นคือ มีเสียงพยัญชนะ /b d d͡ʑ g/ ซึ่งแบ่งแยกจาก /p t t͡ɕ k/ อย่างชัดเจน รวมถึงมีการแบ่งแยกระหว่างเสียงนาสิกแบบก้องและแบบไม่ก้องด้วย (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊/ หรือ /ʰm ʰn ʰɲ ʰŋ/ กับ /m n ɲ ŋ/ →ตัวอย่าง1) รวมถึงเสียงเปิด (/ʍ l̥/ กับ /w l/) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ได้สูญหายไปในภาษาไทยปัจจุบัน
→ตัวอย่าง1
ไท-กะไดเก่า ไทยเก่า ไทยปัจจุบัน ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
ʰma: ʰma: หมา /ma:/ ໝາ /ma:/ ma /ma:/ ma /ma:/
ʰmi: ʰmi: หมี /mi:/ ໝີ /mi:/ mi /mi:/ mwi /mɯi/
ʰmu: ʰmu: หมู /mu:/ ໝູ /mu:/ mu /mu:/ mou /mou/
ʰnu: ʰnu: หนู /nu:/ ໜູ /nu:/ nu /nu:/ nou /nou/
ʰna: ʰna: หนา /na:/ ໜາ /na:/ na /na:/ na /na:/
ʰni: ʰni: หนี /ni:/ ໜີ /ni:/ ni /ni:/ nei /nei/
ʰɲa: ʰɲa: หญ้า /ja:/ ຫຍ້າ /ɲa:/ yaj /่ja:/ nywj /ɲɯ:/
ʰɲaɯ ʰɲaɯ ใหญ่ /jai/ ໃຫຍ່ /ɲai/ yawq /่jaɯ/ -
ʰŋɯ:ak ʰŋɯ:ak เหงือก /ŋɯ:ak/ ເຫງືອກ /ŋɯ:ak/ hwek /hɯ:ak/ hwek /hɯ:ak/
ʰŋo:k ʰŋo:k หงอก /ŋo:k/ ຫງອກ /ŋo:k/ hok /ho:k/ ngok /ŋo:k/
ʰŋa:i ʰŋa:i หงาย /ŋa:i/ ຫງາຍ /ŋa:i/ mai /ma:i/ ngai /ŋa:i/
  • มีเสียงกักเส้นเสียงนำมาก่อน (pre-glottalized) หรือเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosive) ได้แก่ /ʔb/, /ʔd/,/ʔj/ →ตัวอย่าง2
→ตัวอย่าง2
ไท-กะไดเก่า ไทยเก่า ไทยปัจจุบัน ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
ʔba: ʔba: บ่า /ba:/ ບ່າ /ba:/ mbaj /ba:/ mbaj /ʔba:/
ʔbɯ:a ʔbɯ:a เบื่อ /bɯ:a/ ເບື່ອ /bɯ:a/ mbwaq /bɯ:a/ mbwq /ʔbɯ:/
ʔbaɯ ʔbaɯ ใบ /bai/ ໃບ /bai/ mbaw /baɯ/ mbaw /ʔbaɯ/
ʔbau ʔbau เบา /bau/ ເບົາ /bau/ mbau /bau/ mbau /ʔbau/
ʔba:n ʔba:n บ้าน /ba:n/ ບ້ານ /ba:n/ mbanj /ba:n/ mbanj /ʔba:n/
ʔda: ʔda: ด่า /da:/ ດ່າ /da:/ ndaq /da:/ ndaq /ʔda:/
ʔdai ʔdai ได้ /dai/ ໄດ້ /dai/ ndaej /dai/ ndaej /ʔdai/
ʔda:u ʔda:u ดาว /da:u/ ດາວ /da:u/ ndau /da:u/ ndau /ʔda:u/
ʔdi: ʔdi: ดี /di:/ ດີ /di:/ ndei /dei/ ndei/ ʔdei/
ʔdaŋ ʔdaŋ ดัง /daŋ/ (จมุก) ດັງ ดัง /daŋ/ ndaeng /daŋ/ ndaeng/ʔdaŋ/
ʔja: ʔja: /ja:/ อย่า ຢ່າ /ja:/ yaq /ja:/ จบ,อย่านะ yaq /ja:/ จบ,อย่านะ
ʔju: ʔju: /ju:/ อยู่ ຢູ່ /ju:/ yuq /ju:/ youq /jou/
ʔja:k ʔja:k /ja:k/ อยาก ຢາກ /ja:k/ yag /ja:k/ หิว,อยาก yieg /jiek/ หิว,อยาก
ʔja:ŋ ʔja:ŋ /ja:ŋ/ อย่าง ຢ່າງ /ja:ŋ/ ywengz /jɯ:aŋ/ yiengz /jieŋ/
  • มีเสียงเสียดแทรกเพดานอ่อน (ฃ /x/ และ ฅ /ɣ/) ซึ่งต่างจากเสียงกักเพดานอ่อนอย่างชัดเจน (ข /kʰ/ และ ค /g/) →ตัวอย่าง3
→ตัวอย่าง3
ไท-กะไดเก่า ไทยเก่า ไทยปัจจุบัน ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
xo:n ฆ้อน /xo:n/ ค้อน /kho:n/ ຄ້ອນ /kho:n/ *honj /ho:n/ *ronj /ɣo:n/
xa: ฆ่า /xa:/ ฆ่า /kha:/ ຂ້າ /kha:/ kaj /kha/ haj /ha:/
ɣon ฅน /ɣon/ คน /khon/ ຄົນ /khon/ koenz /khən//khon/ vunz /wun/
ɣwa:m ฅวาม /ɣwa:m/ ความ /khwa:m/ ຄວາມ /khwa:m/ vamz /wa:m/ vamz /wa:m/
ɣam ฅำ /ɣam/ คำ /kham/ ຄຳ /kham/ kaemz /kham/ *gaemz /kam/
ɣa: ฅา /ɣa:/ หญ้าคา /kha/ ຄາ /kha/ haz /ha:/ raz /ɣa:/
ɣlam ฅ่ำ /ɣam/ ค่ำ /kham/ ຄ່ຳ /kham/ hamq /ham/ hamq /ham/
ɣɯn ฅืน /ɣɯn/ คืน /khɯn/ ຄືນ /khɯn/ hwn /hən/ hwn /hən/
ɣe:ŋ แฅ่ง /ɣe:ŋ/ แข้ง/khe:ŋ/ ແຄ່ງ /khe:ŋ/ hengh /he:ŋ/ rengh /ɣe:ŋ/
kʰwa ฃวา kʰwa ขวา /kʰwa ຂວາ kʰwa sva /sa//swa/ gva /kwa/
kʰo ฃอ /kʰo/ ขอ /kʰo/ ຂໍ /kʰo/ ho /ho/ ho /ho/
kʰo:ŋ ฃอง /kʰo:ŋ/ ของ /kʰo:ŋ/ ຂອງ /kʰo:ŋ/ kong /kʰo:ŋ/ *hoeng /hoŋ/
kʰra:ŋ ฃ้าง /kʰa:ŋ/ ข้าง /kʰa:ŋ/ ຂ້າງ /kʰa:ŋ/ hangj /ha:ŋ/ hangj /ha:ŋ/
kʰla:t ฃาด /kʰa:t/ ขาด /kʰa:t/ ຂາດ /kʰa:t/ kat /kʰa:t/ gat /ka:t/
kʰa:i ฃาย /kʰa:i/ ขาย /kʰa:i/ ຂາຍ /kʰa:i/ kai /kʰa:i/ gai /ka:i/
kʰəi เฃย /kʰəi/ เขย /kʰəi/ ເຂີຍ /kʰəi/ kwi /kʰəi/ gui /kui/
kʰlut ฃุ่ด /kʰut/ ขุด /kʰut/ ຂຸດ /kʰut/ hot /ho:t//kʰut/ gud /kut/
kʰun ฃุน /kʰun/ ขุน /kʰun/ (ให้อาหาร) ຂຸນ /kʰun/ kun /kʰun/ *gun/kun/
  • มีเสียงพยัญชนะ /ɲ/ ซึ่งเขียนแทนด้วย เสียงพยัญชนะนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [j] ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันกับ →ตัวอย่าง4
→ตัวอย่าง4
ไท-กะไดเก่า ไทยเก่า ไทยปัจจุบัน ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
ɲi: ɲi:ญี่ (สอง) ญี่ /ji:/ (โบราณ), ยี่ ɲi: ຍີ່ yih /ji:/ (สอง) nyeih /ɲei/ (ngeih)
ʰɲa: ɲa: หญ้า /ja:/ ຫຍ້າ /ɲa:/ yaj /่ja:/ nywj /ɲa:/
ʰɲaɯ ɲaɯ ใหญ่ /jai/ ໃຫຍ່ /ɲai/ yawq /่jaɯ/ -
ʰɲiŋ ɲiŋ หญิง /jiŋ/ ຍິງ /ɲiŋ/ *ying /jiŋ/ nyingz /ɲiŋ/
ɲin ɲin ยิน /jin/ ຍິນ /ɲin/ yinz /jin/ nyi /ɲi/
ɲo:t ɲo:t ยอด /jo:t/ ຍອດ /ɲo:t/ yod /jo:t/ nyod /ɲo:t/
ɲuŋ ɲuŋ ยุง /juŋ/ ຍຸງ /ɲuŋ/ yungz /juŋ/ nyungz /ɲuŋ/
ɲu: ɲu: ญู ไม่มี ຍູ /ɲu:/ yuz /ju:/ (ฟางข้าว) nyouz /ɲou/ (ฟางข้าว)
ɲep ɲep เย็บ /jep/ ເຍັບ /ɲep/ yeb /jep/ nyib /ɲip/
  • มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก และเสียงโท (หรือเขียนแทนด้วย *A, *B และ *C ตามลำดับ) ในพยางค์เป็น (unchecked syllable) จะมีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้ 3 เสียง ส่วนพยางค์ตาย (checked syllable) มีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้เพียงเสียงเดียว คือเสียงเอก
  • นอกจากอักษรควบกล้ำทั่วไปย่าง(กร-ฅร-ขร-คร-ตร-ปร-พร/กล-ฅล-ขล-คล-ปล-พล/กว-คว-ฅว)แล้วยังมีอักษรควบกล้ำพิเศษอีก 4 ตัว ก็คือ (*bd บด, *pt ผต, *mr/ml มร/มล, *thr ถร) ตามผลการวิจัยของนักภาษาศาสตร์ภาษาไทกะไดเช่น André-Georges Haudricourt และ Li Fang-Kuei ปัจจุบันสามารถหาหลักฐาลจากภาษาไทกะไดต่างๆได้
ไท-กะไดเก่า ไทยปัจจุบัน ภาษาแสก ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
*bdi: บดี /di:/ ดี /di:/ /di:/ /bi:/
*bdo:k บดอก /do:k/ ดอก /do:k/ /bjo:k/ */bjo:k/
*bdɯ:an เบดือน /dɯ:an/ เดือน /dɯ:an/ /bɯ:an/ /dɯ:an/
*pta:k ผตาก /ta:k/ ตาก /pra:k/ /ta:k/ /phja:k/ /ta:k/
*pte:ŋ แผตง /te:ŋ/ แตง /preŋ/ /te:ŋ/ /phe:ŋ/ /te:ŋ/
*pte:n แผตน /te:n/ แตน /pren/ /te:n/ /phe:n/ /te:n/
*pte:k แผตก /te:k/ แตก /prek/ /te:k/ /phe:k/ /te:k/
*pto:k ผตอก /to:k/ ตอก /pruk/ /to:k/ /phjo:k/ /to:k/
*ptak ผตัก /tak/ ตั๊ก /prak/ /tak/ /rak/ /tak/
*pta: ผตา /ta:/ ตา /pra/ /ta:/ /tha:/ /ta:/
*pta:i ผตาย /ta:i/ ตาย /prai/ /ta:i/ /tha:i/ /ta:i/
  • มีเสียงสระประสม /aɰ/ ซึ่งเขียนแทนด้วยไม้ม้วน (ใ) เสียงสระนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [aj] สำหรับสระอื่นๆ โดยหลักๆ ไม่มีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบัน →ตัวอย่าง5
→ตัวอย่าง5
ไท-กะไดเก่า ไทยเก่า ไทยปัจจุบัน ลาวปัจจุบัน จ้วงใต้ปัจจุบัน จ้วงเหนือปัจจุบัน
klaɯ klaɯ ใกล้ /klai/ ໄກ້, ໃກ້ /kai/ gyawj(cawj) /kjaɯ//tsaɯ/ gyawj /kjaɯ/
glaɯ khlaɯ ใคร /khrai/ ไม่มี kaw /kaɯ/ (ใคร/ไหน) lawz /laɯ/
graɯ khraɯ ใคร่ /khrai/ ໃຄ່ /khai/ - -
gaɯ *khaɯ *ใค่ /khai/(บวม) ໃຄ່(บวม) /khai/ kawq /khaɯ/ gawq /kaɯ/
gaɯ *khaɯ *ใค่ /khai/(แห้ง) ໃຄ່(แห้ง) /khai/ kawh /khaɯ/ gawh /kaɯ/
tɕaɯ tsaɯ ใจ /tsai/ ໃຈ /tsai/ *jaw /tsaɯ/ *cawz /saɯ/
dʑaɯ tshaɯ ใช่ /tshai/ ໃຊ່ /sai/ cwh /sɯ/ cawh /saɯ/
dʑaɯ tshaɯ ใช้ /tshai/ ໃຊ້ /sai/ cawj /tshaɯ/ cawj /tshaɯ/
ʔdaɯ daɯ ใด /dai/ ໃດ /dai/ nawz /naɯ/ lawz /laɯ/
taɯ taɯ ใต้ /tai/ ໃຕ້ /tai/ dawj /taɯ/ dawj /taɯ/
taɯ taɯ ใต→ไต/tai/ ໃຕ→ໄຕ/tai/ daw /taɯ/ daw /taɯ/
ʔbaɯ baɯ ใบ /bai/ ໃບ /bai/ mbaw /baɯ/ ʔbaw /baɯ/
ʔbaɯ baɯ ใบ้ /bai/ ໃບ້ /bai/ - -
paɯ phaɯ ใภ้ /phai/ ໃພ້ /phai/ - bawj /paɯ/
faɯ faɯ ใฝ่ /fai/ ໃຝ່ /fai/ pawj /phaɯ/(เฝ้ามอง ดูแล) bawj /paɯ/(เฝ้ามอง ดูแล)
haɯ haɯ ให้ /hai/ ໃຫ້ /hai/ hwj /hɯ/ hawj /haɯ/
ɲaɯ ɲaɯ ใย /yai/ ໃຍ /ɲai/ *yaiq /ja:i/ *nyaiq /ɲa:i/
/ʔdaɯ/ naɯ ใน /nai/ ໃນ /nai/ naw ndaw /ʔdaɯ/
ʰlaɯ laɯ ใหล /lai/ (ไม่ใช้ลำพัง, ใช้ใน หลงใหล, หลับใหล) ໃຫລ, ໃຫຼ /lai/ lawq /laɯ/(เผลอ ไม่ตั้งใจ) lawq /laɯ/(เผลอ ไม่ตั้งใจ)
*raɯ raɯ ไร่ /rai/ ໄຮ່ /hai//rai/ rawq /raɯ/ (นาไร่) (สองไร่นา) rawq /raɯ/
saɯ saɯ ใส /sai/ สะอาด ໃສ /sai/ saw /saɯ/ saw /saɯ/
caɯ *caɯ - ໃສ /sai/ kaw /kaɯ/ gaw /kaɯ/
saɯ saɯ ใส่ /sai/ ໃສ່ /sai - -
ŋaɯ *ŋaɯ - ໃງ່ /ŋai/(ขี้ฝุ่น) ngawq /ŋaɯ/(สิ่งเล็กๆในน้ำ) ngawq /ŋaɯ/(สิ่งเล็กๆในน้ำ)
ʰɲaɯ ɲaɯ ใหญ่ /jai/ ໃຫຍ່ /ɲai/ *yawq /่jaɯ/ -
ʰmaɯ maɯ ใหม่ /mai/ ໃໝ່ /mai/ mawq /maɯ/ moq /mo/

สามารถสรุประบบเสียงพยัญชนะภาษาไทยเก่าได้ดังนี้

ระบบเสียงพยัญชนะ (35-37 หน่วยเสียง)
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
กัก ไม่ก้อง ไม่มีลม ป /p/ ต /t/ จ /c/ (หรือ /t͡ɕ/) ก /k/
ไม่ก้อง มีลม ผ /pʰ/ ถ /tʰ/ ฉ /cʰ/ (หรือ /t͡ɕʰ/) ข /kʰ/
ก้อง พ /b/ ท /d/ ช /ɟ/ (หรือ /d͡ʑ/) ค /ɡ/
กักเส้นเสียง บ /ʔb/ (หรือ /ɓ/) ด /ʔd/ (หรือ /ɗ/) อย /ʔj/ อ /ʔ/
เสียดแทรก ไม่ก้อง ฝ /f/ ส /s/ ฃ /x/ ห /h/
ก้อง ฟ /v/ ซ /z/ ฅ /ɣ/
นาสิก ไม่ก้อง หม /hm/ หน /hn/ หญ /hɲ/ (หง /hŋ/)
ก้อง ม /m/ น /n/ ญ /ɲ/ ง /ŋ/
เสียงไหลและกึ่งสระ ไม่ก้อง หว /hw/ (หร /hr/)
หล /hl/
ก้อง ว /w/ ร /r/
ล /l/
ย /j/
  • สีเขียว สีชมพู และสีฟ้า คือหน่วยเสียงพยัญชนะที่จะพัฒนาไปเป็นอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ ในอนาคต ตามลำดับ

ระบบเสียงข้างต้นมีความสอดคล้องกันกับอักษรในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นั่นคือ มีการใช้อักษร ฃ และ ฅ แยกกับ ข และ ค อย่างชัดเจน บ่งบอกว่าภาษาไทยในสมัยที่มีการสร้างจารึกดังกล่าว หน่วยเสียงพยัญชนะเหล่านี้ต้องแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังอธิบายได้ว่า เหตุใดวรรณยุกต์ในภาษาไทยในจารึกสมัยสุโขทัยจึงมีวรรณยุกต์เพียง 2 รูป (เอกและโท) เท่านั้น เป็นเพราะว่าภาษาไทยเก่ามีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น (เสียงสามัญไม่เขียนรูปวรรณยุกต์)

อย่างไรก็ตาม หน่วยเสียง /x/ และ /ɣ/ น่าจะมีการสูญหายไปในอย่างรวดเร็วในสมัยพระยาลิไท โดยเกิดการรวมกับหน่วยเสียง /kʰ/ และ /g/ โดยสังเกตได้จากการใช้รูปพยัญชนะ ฃ สลับกับ ข และ ฅ สลับกับ ค ในศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท บ่งบอกว่าหน่วยเสียงทั้งสองคู่ไม่มีความแตกต่างกันอีกต่อไป ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ตัวอักษร และ

ระบบเสียงวรรณยุกต์สามเสียงสอดคล้องกับฉันทลักษณ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นการบังคับเอกโทในโคลงสี่สุภาพ ในวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่เขียนในโคลงสี่สุภาพ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำเอกโทษหรือโทโทษเกิดขึ้น จึงสันนิษฐานได้ว่าระบบเสียงของภาษาไทยที่ใช้ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงเป็นระบบเสียงแบบเก่าอยู่ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยต่อไปในสมัยอยุธยาตอนกลาง อนึ่ง เสียงสระ ใ /aɰ/ และ ไ /aj/ ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงรักษาความแตกต่างไว้ได้เช่นกัน โดยสังเกตได้จากการที่คำที่มีรูปสระ ไ และ ใ จะไม่สัมผัสกัน

การเปลี่ยนแปลงระบบเสียงที่สำคัญ

ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 21) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยเก่าขึ้น[3] นับเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากภาษาไทยเก่าไปเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ โดยมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  1. หน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 เสียง (*A, *B และ *C) ได้แตกตัวออกเป็นเสียงละ 2 เสียง รวมทั้งหมดเป็น 6 เสียง (*A1, *A2, *B1, *B2, *C1 และ *C2) ขึ้นอยู่กับความก้องของเสียงพยัญชนะต้น แต่หน่วยเสียงที่แตกตัวออกมาเป็นคู่ๆ เหล่านั้นยังคงมีความแตกต่างกันเพียงในระดับหน่วยเสียงย่อย เท่านั้น
    • เสียงวรรณยุกต์ชุดแรก *A1, *B1 และ *C1 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงไม่ก้อง และเสียงกักเสีนเสียง ได้แก่ /p pʰ t tʰ t͡ɕ t͡ɕʰ k kʰ ʔ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/
    • เสียงวรรณยุกต์ชุดที่สอง *A2, *B2 และ *C2 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงก้อง ได้แก่ /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/
  2. เกิดการยุบรวม (merger) ของหน่วยเสียงพยัญชนะต่อไปนี้
    • เสียงกัก ก้อง (/b d d͡ʑ g/) ได้ยุบรวมกับเสียงกัก มีลม ไม่ก้อง (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ/)
    • เสียงเสียดแทรก ก้อง (/v z/) ได้ยุบรวมกับเสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง (/f s/)
    • เสียงกังวาน (sonorant) ไม่ก้อง (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) ยุบรวมกับเสียงกังวาน ก้อง (/m n ɲ ŋ w l/)
  3. คู่ของเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 คู่ มีการแบ่งแยกความแตกต่างมากขึ้น จนไปถึงระดับหน่วยเสียง (phoneme)
  4. มีการแตกตัวและการรวมของเสียงวรรณยุกต์ต่อไป

ภาษาไทยถิ่นกลางมีการแตกตัวและการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งแยกได้จากภาษาถิ่นภาคอื่นๆ ได้แก่ การแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ *A ออกเป็นสองเสียงที่ต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงไม่ก้องที่มีลม (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) กับเสียงไม่ก้องที่ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) และมีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *B2 (เอก-ก้อง) และ *C1 (โท-ไม่ก้อง) อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า ค่า กับ ข้า หรือคำว่า น่า กับ หน้า จึงออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันในภาษาไทยถิ่นกลาง แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือและอีสานที่มีการแตกตัวและยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากนี้ จึงออกเสียงวรรณยุกต์ของทั้งสองคำนี้ต่างกันไปด้วย

สำหรับภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงอยุธยา เป็นต้น มีการยุบรวมเสียงวรรณยุกต์ *A1 ของพยัญชนะเสียงไม่ก้อง ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) กับเสียงวรรณยุกต์ *A2 ของพยัญชนะเสียงก้อง (/b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/) ด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า กา กับ คา จึงออกเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน (เสียงสามัญ) แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากคำว่า ขา ซึ่งเป็นเสียงจัตวา ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีการออกเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า กา กับ คา ที่ต่างกันอยู่ นั่นคือยังไม่มีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *A1 และ *A2 ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ภาษาไทยกรุงเทพปัจจุบันมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 หน่วยเสียง และสำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง

รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ของภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงสุพรรณบุรี สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้ (ให้เสียงวรรณยุกต์เดียวกันมีสีเดียวกัน และวรรณยุกต์ที่ปรากฏในตารางเป็นเสียงวรรณยุกต์ในปัจจุบัน)

สำเนียงกรุงเทพ, สำเนียงอยุธยา, สำเนียงกาญจนบุรี
คำเป็น คำตาย
กลุ่มพยัญชนะ เสียงพยัญชนะเดิม สามัญเดิม
(*A)
เอกเดิม
(*B)
โทเดิม
(*C)
สระยาว
(*DL)
สระสั้น
(*DS)
พยัญชนะไม่ก้อง มีลม (อักษรสุง) /pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/ 5 2 3 2 2
พยัญชนะไม่ก้อง ไม่มีลม (อักษรกลาง) /p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/ 1
พยัญชนะก้อง (อักษรต่ำ) /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/ 3 4 3 4
สำเนียงสุพรรณบุรี
คำเป็น คำตาย
กลุ่มพยัญชนะ เสียงพยัญชนะเดิม สามัญเดิม
(*A)
เอกเดิม
(*B)
โทเดิม
(*C)
สระยาว
(*DL)
สระสั้น
(*DS)
พยัญชนะไม่ก้อง มีลม (อักษรสุง) /pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/ 5 2 3 2 2
พยัญชนะไม่ก้อง ไม่มีลม (อักษรกลาง) /p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/ 1.1
พยัญชนะก้อง (อักษรต่ำ) /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ ่r w l j/ 1.2 3 4 3 4

วรรณยุกต์ที่ 1-5 ในภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพในตาราง คือวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ

แม้ว่าจะมีการการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์จากภาษาไทยเก่ามาเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ แต่อักขรวิธีของภาษาไทยยังคงรูปเขียนเช่นเดิม ทำให้รูปเขียนและเสียงอ่านมีความไม่สอดคล้องกันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ข้า กับ ค้า ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ทั้งๆ ที่มีรูปวรรณยุกต์โทเช่นเดียวกัน เกิดจากการที่ทั้งสองคำนี้เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน แต่มีเสียงพยัญชนะต้นที่แตกต่างกัน คือเสียง ข /kʰ/ และ ค /g/ ในภาษาไทยเก่า ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปเขียนและเสียงอ่าน ทำให้เกิดระบบไตรยางศ์ ขึ้น โดยเป็นระบบการจัดหมวดหมู่รูปพยัญชนะอักษรไทยที่จัดให้รูปวรรณยุกต์หนึ่งๆ มีการออกเสียงที่แตกต่างกันได้เป็น 2 เสียง ขึ้นอยู่กับรูปพยัญชนะต้นของคำนั้นๆ ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบการแตกตัวและยุบรวมของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระข้างต้น

เสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยา

หลักฐานที่บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีน้อยมาก ระบบไตรยางศ์แบบเดียวกันกับภาษาไทยปัจจุบันนี้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างช้าสุดในตำราจินดามณี จากการสืบสร้างเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณี พบว่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง และมีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์คล้ายคลึงกับภาษาไทยปัจจุบัน แต่ระดับเสียงและรูปร่างเสียงวรรณยุกต์ (contour) ยังคงมีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบันอยู่พอสมควร เสียงวรรณยุกต์สมัยนี้อาจมีความคล้ายคลึงกับสำเนียงพากย์โขน (วริษา กมลนาวิน, 2546) [4]

พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2559) ได้เสนอการสืบสร้างระบบเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณีดังต่อไปนี้[5]

หน่วยเสียง ระดับเสียงจากจินดามณี เทียบระดับเสียงปัจจุบัน
สามัญ กลาง กลาง
เอก กลาง ถึง สูง* กึ่งต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว
โท กลาง-ตก สูง-ตก
ตรี สูง** กึ่งสูง-ขึ้น หรือ สูงอย่างเดียว
จัตวา สูง** ต่ำ-ขึ้น
  • * ระบุระดับเสียงไม่ได้ชัดเจน
  • ** ระบุความแตกต่างของสองเสียงนี้ไม่ได้ชัดเจน

และได้เสนอว่าระบบวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีรูปแบบการแตกตัวที่ต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบัน คือ เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่มีอักษรต่ำ คำตาย เสียงสระสั้น กับ พยางค์ที่มีอักษรต่อ คำตาย เสียงยาว มีเสียงเดียวกัน (ตัวอย่างเช่น คำว่า คัด กับ คาด เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน) ซึ่งสรุปการแตกตัวได้ดังนี้

คำเป็น คำตาย
สามัญเดิม
(*A)
เอกเดิม
(*B)
โทเดิม
(*C)
สระยาว
(*DL)
สระสั้น
(*DS)
อักษรสุง 5 2 3 2
อักษรกลาง 1
อักษรต่ำ 3 4 3

สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้

  • ตัดพยัญชนะ แล้วใช้ ตามลำดับแทน
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น

หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง [6]

ความเชื่อมโยงกับภาษาเย่ว์โบราณ

ภาษาไทยสืบทอดมาจากภาษาขร้า-ไทดั้งเดิม ซึ่งสันนิษฐานว่ามีจุดกำเนิดอยู่ที่หุบเขาแยงซีตอนล่าง เอกสารจีนสมัยโบราณมีการกล่าวถึงภาษาที่พูดกันในบริเวณนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นภาษาจีนว่า "ภาษาเย่ว์". แม้ว่าภาษานี้จะสาบสูญไปแล้ว แต่ร่องรอยของภาษานี้ยังคงเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นในจารึกที่ถูกขุดค้นพบในบริเวณนี้, เอกสารจีนโบราณที่กล่าวถึงในบริเวณนี้ และคำยืมจากภาษาชั้นล่าง (substratum) ที่ไม่ใช่ภาษากลุ่มจีน ที่ปรากฏในภาษาจีนตอนใต้ ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูลขร้า-ไท ถูกนำไปใช้เปรียบเทียบกับภาษาโบราณเหล่านี้ในเชิงภาษาศาสตร์ประวัติศาสตร์ โดยหวังว่าภาษาไทยอาจจะมีความเชื่อมโยงบางอย่างกับภาษาโบราณในจีนตอนใต้

บทเพลงของคนพายเรือชาวเย่ว์ (Song of the Yue Boatman) เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งในหลักฐานเพียงไม่กี่ชิ้นที่เขียนขึ้นในภาษาดังกล่าว ซึ่งได้รับการถ่ายเสียงเป็นอักษรจีนโบราณเมื่อ 528 ปีก่อนคริสตศกราช ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 80 นักภาษาศาสตร์ชาวจ้วง เหวย ชิ่งเหวิน (Wéi Qìngwén) ได้เทียบเสียงที่สืบสร้างจากอักษรจีนโบราณในบทเพลงดังกล่าวกับภาษาจ้วงปัจจุบัน พบว่ามีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างยิ่ง ต่อมานักภาษาศาสตร์ชาวจีน เจิ้งจาง ช่างฟาง (Zhèngzhāng Shàngfāng) ได้เดินรอยตามเหวย ชิ่งเหวิน แต่เห็นว่าอักษรไทยปัจจุบันนั้นยังรักษาอักขรวิธีที่สะท้อนถึงระบบเสียงในภาษาไทยเก่าในพุทธศตวรรษที่ 18 อยู่ (ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับระบบเสียงของภาษาไทดั้งเดิม) [7] จึงนำเสียงที่ถ่ายมาจากบทเพลงของคนพายเรือชาวเย่ว์มาเปรียบเทียบกับอักษรไทยปัจจุบัน พบว่ามีความคล้ายคลึงกัน

ด้านล่างนี้คือการถ่ายเสียงอย่างง่ายจากบทเพลงของคนพายเรือชาวเย่ว์ แถวบนสุดคือข้อความต้นฉบับในอักษรจีน แถวถัดมาคือการออกเสียงในภาษาจีนโบราณ แถวที่สามคือการถอดอักขรวิธีภาษาไทยให้อยู่ในรูปสัทอักษรสากล แถวล่างสุดคือความหมายของคำนั้นๆ

 
ɦgraams ɦee brons tshuuʔ ɦgraams
glamx ɦee blɤɤn cɤɤ, cɤʔ glamx
คล้ำ แฮ เพลิน เจอะ/เจอ คล้ำ
evening ptl. joyful to meet evening
Oh, the fine night, we meet in happiness tonight!
la thjang < khljang gaah draag la thjang tju < klju
raa djaangh kraʔ - ʔdaak raa djaangh cɛɛu
รา ช่าง กระ ดาก รา ช่าง แจว
we, I be apt to shy, ashamed we, I be good at to row
I am so shy, ah! I am good at rowing.
𩜱 胥 胥
tju khaamʔ tju jen ɦaa dzin sa
cɛɛu khaamx cɛɛu jɤɤnh ɦaa djɯɯnh saʔ
แจว ข้าม แจว เยิ่น ฮา ชื่น สะ/สา
to row to cross to row slowly ptl. joyful satisfy, please
Rowing slowly across the river, ah! I am so pleased!
moons la ɦaa tjau < kljau daans dzin lo
mɔɔm raa ɦaa caux daanh djin ruux
มอม รา ฮา เจ้า ท่าน ชิน รู้
dirty, ragged we, I ptl. prince Your Excellency acquainted know
Dirty though I am, ah! I made acquaintance with your highness the Prince.
srɯms djeʔ < gljeʔ sɦloi gaai gaa
zumh caï rɯaih graih gaʔ
ซุ่ม ใจ เรื่อย ใคระ คะ
to hide heart forever, constantly to yearn ptl.
Hidden forever in my heart, ah! is my adoration and longing.

สัทวิทยา

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[8] คือ

  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

ภาษาไทยมาตรฐานแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้

  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม

หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง

เสียงพยัญชนะต้นมี 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น

ริมฝีปากทั้งสอง ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ณ, น
[ŋ]
เสียงกัก ก้อง [b]
[d]
ฎ, ด, ฑ**
ไม่ก้อง ไม่มีลม [p]
[t]
ฏ, ต
[tɕ]
[k]
[ʔ]
ไม่ก้อง มีลม [pʰ]
ผ, พ, ภ
[tʰ]
ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ**
[tɕʰ]
ฉ, ช, ฌ
[kʰ]
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ*
เสียงเสียดแทรก [f]
ฝ, ฟ
[s]
ซ, ศ, ษ, ส
[h]
ห, ฮ
เสียงเปิด [w]
[l]
ล, ฬ
[j]
ญ, ย
เสียงรัวลิ้น [r]

* และ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร

** มีอยู่สองเสียง คือ [tʰ] เมื่อเป็นคำเป็น และ [d] เมื่อเป็นคำตาย

พยัญชนะสะกด

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป

ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก และ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36

  ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
  [ŋ]
 
เสียงกัก [p̚]
บ, ป, พ, ฟ, ภ
[t̚]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ,
ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ,
  [k̚]
ก, ข, ค, ฆ
[ʔ]*
-
เสียงเปิด [w]
  [j]
   

* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง [ʔ] จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย

ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน
พยัญชนะเดี่ยว [p]
[pʰ]
ผ, พ
[t]
[k]
[kʰ]
ข, ฃ, ค, ฅ
เสียงรัว [r]
[pr]
ปร
[pʰr]
พร
[tr]
ตร
[kr]
กร
[kʰr]
ขร, ฃร, คร
เสียงเปิด [l]
[pl]
ปล
[pʰl]
ผล, พล
[kl]
กล
[kʰl]
ขล, คล
[w]
[kw]
กว
[kʰw]
ขว, ฃว, คว, ฅว

พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกหกเสียงจากคำยืมภาษาต่างประเทศ ได้แก่

  • /br/ (บร) เช่น บรอนซ์, เบรก
  • /bl/ (บล) เช่น บล็อก, เบลอ
  • /dr/ (ดร) เช่น ดราฟต์, ดริงก์
  • /fr/ (ฟร) เช่น ฟรักโทส, ฟรี
  • /fl/ (ฟล) เช่น ฟลูออรีน, แฟลต
  • /tʰr/ (ทร) เช่น จันทรา, แทรกเตอร์

เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ

เสียงสระในภาษาไทยมาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

  ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ลิ้นยกสูง [i]
–ิ
[iː]
–ี
[ɯ]
–ึ
[ɯː]
–ื
[u]
–ุ
[uː]
–ู
ลิ้นกึ่งสูง [e]
เ–ะ
[eː]
เ–
[ɤ]
เ–อะ
[ɤː]
เ–อ
[o]
โ–ะ
[oː]
โ–
ลิ้นกึ่งต่ำ [ɛ]
แ–ะ
[ɛː]
แ–
    [ɔ]
เ–าะ
[ɔː]
–อ
ลิ้นลดต่ำ     [a]
–ะ
[aː]
–า
   
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • เ–ีย [iːa] ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ [ɯːa] ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว [uːa] ประสมจากสระ อู และ อา ua

ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเสียงสั้น สระเสียงยาว สระเกิน
ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด มีตัวสะกด
–ะ –ั–1, -รร, -รร- –า –า– –ำ (ไม่มี)
–ิ –ิ– –ี –ี– ใ– (ไม่มี)
–ึ –ึ– –ือ –ื– ไ– (ไม่มี)
–ุ –ุ– –ู –ู– เ–า (ไม่มี)
เ–ะ เ–็–, เ––2 เ– เ–– ฤ, –ฤ ฤ–, –ฤ–
แ–ะ แ–็–, แ––2 แ– แ–– ฤๅ, –ฤๅ (ไม่มี)
โ–ะ –– โ– โ–– ฦ, –ฦ ฦ–, –ฦ–
เ–าะ –็อ–, -อ-2 –อ –อ–, ––3 ฦๅ, –ฦๅ (ไม่มี)
–ัวะ –็ว– –ัว –ว–
เ–ียะ (ไม่มี) เ–ีย เ–ีย–
เ–ือะ (ไม่มี) เ–ือ เ–ือ–
เ–อะ เ–ิ–4,
เ––4
เ–อ เ–ิ–,
เ––5,
เ–อ–6

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้

  • –ำ [am, aːm] am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
  • ใ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
  • ไ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
  • เ–า [aw, aːw] ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
  • [rɯ] rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางคำเปลี่ยนเป็น [ri] (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ [rɤː] (เรอ) เช่นฤกษ์
  • ฤๅ [rɯː] rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • [lɯ] lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ [lɯː] lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)

บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

  1. คำที่สะกดด้วย –ั + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
  2. สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
  3. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
  4. สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ[9] เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
  5. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
  6. พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์

คำเป็น

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานจำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่

เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง
เสียง ระดับเสียง อักษรไทย สัทอักษรสากล
หน่วยเสียง เสียง
สามัญ กลาง นา /nāː/ [naː˧]
เอก กึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว หน่า /nàː/ [naː˨˩]
โท สูง-ต่ำ น่า/หน้า /nâː/ [naː˥˩]
ตรี กึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว น้า /náː/ [naː˦˥]
จัตวา ต่ำ-กึ่งสูง หนา /nǎː/ [naː˩˩˦]
คำตาย

เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว เช่น

เสียง สระ ตัวอย่าง
อักษรไทย หน่วยเสียง เสียง
เอก สั้น หมัก /màk/ [mak̚˨˩]
ยาว หมาก /màːk/ [maːk̚˨˩]
ตรี สั้น มัก /mák/ [mak̚˦˥]
โท ยาว มาก /mâːk/ [maːk̚˥˩]

แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย เช่น

เสียง สระ ตัวอย่าง
อักษรไทย หน่วยเสียง เสียง
อังกฤษ
ตรี ยาว มาร์ก /máːk/ [maːk̚˦˥] Marc, Mark
สตาร์ต /sa.táːt/ [sa.taːt̚˦˥] start
บาส (เกตบอล) /báːt (.kêt.bɔ̄n) / [baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)] basketball
โท สั้น เมคอัพ /méːk.ʔâp/ [meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩] make-up

รูปวรรณยุกต์

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่

รูปวรรณยุกต์ ชื่อ
ไทย สัทอักษร
-่ ไม้เอก /máːj.ʔèːk/
-้ ไม้โท /máːj.tʰōː/
-๊ ไม้ตรี /máːj.trīː/
-๋ ไม้จัตวา /máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/

การเขียนเสียงวรรณยุกต์

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

รูปวรรณยุกต์
ไม่เขียน -่ -้ -๊ -๋
อักษร สูง เสียงจัตวา เสียงเอก เสียงโท - -
ตัวอย่าง ขา ข่า ข้า - -
กลาง เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา
ตัวอย่าง ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า
ต่ำ เสียงสามัญ เสียงโท เสียงตรี - -
ตัวอย่าง คา ค่า ค้า - -

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้าคำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ

คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ

ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

วากยสัมพันธ์

ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างใดก็ดี ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น เช่น

กรณี ลำดับคำ ตัวอย่าง
ธรรมดา
(unmarked)
ประธาน-กริยา-กรรม วัวกินหญ้าแล้ว
เน้นกรรม
(object topicalization)
กรรม-ประธาน-กริยา หญ้านี้ วัวกินแล้ว
หรือ
หญ้าเนี้ย วัวกินแล้ว

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไทด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน

บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น

  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทฺธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทฺธิ ऋद्धि (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน

คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้

รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี: วชิร [vajira]), วัชระ (สันส: วชฺร वज्र [vajra])
  • ศัพท์ (สันส: ศพฺท शब्द [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สทฺท [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส: อคฺนิ अग्नि [agni] บาลี: อคฺคิ [aggi])
  • โลก (โลก) – บาลี: โลก [loka] (สันสกฤต: लोक โลก)
  • ญาติ (ยาด) – บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti]
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริย และมาจาก วิริย อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรฺย वीर्य [vīrya], บาลี:วิริย [viriya])
  • พฤกษา หรือ พฤกษ์ (สันส:วฺฤกฺษ वृक्ष [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: वस्तु [vastu] (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ) )
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หรติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] वस्तु (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพฺพ))

ภาษาอังกฤษ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น[10]

  • ประปา จากคำว่า วอเตอร์ซัปพลาย (water supply)
  • สถานี จากคำว่า สเตชัน (station)
  • รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
  • เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
  • ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Thai at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. "Languages of ASEAN". สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
  3. 3.0 3.1 Pittayaporn, Pittayawat. (2009a). The Phonology of Proto-Tai (Doctoral dissertation). Department of Linguistics, Cornell University.
  4. วริษา กมลนาวิน. การวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ของชาวกรุงศรีอยุธยาจากเสียงเจรจาโขนและจินดามณี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3 (2), 28 - 54. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/29103.
  5. Pittayawat Pittayaporn. Chindamani and reconstruction of Thai tones in the 17th century. Diachronica 33(2):187-219. [1]
  6. โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน
  7. Zhengzhang 1991, pp. 159–168.
  8. ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปล ; ปรีมา มัลลิกะมาส, นริศรา จักรพงษ์, ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ บรรณาธิการ, พจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์ บุ๊คส์ อังกฤษไทย, River Books, 2549, หน้า 1041
  9. http://www.thai-language.com/ref/vowels#monophthong-chart
  10. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ น่า ๗๘๖ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง กำหนดให้เรียกคำบางคำในภาษาอังกฤษ เป็นคำภาษาไทย คือคำว่าวอเตอร์สัปพลาย ให้เรียกว่าประปา คำว่าสเตชัน ให้เรียกว่าสถานี คำว่ารถมอเตอร์คาร์ ให้เรียกว่ารถยนต์ คำว่าเรือมอเตอร์ ให้เรียกว่าเรือยนตร์
  11. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๑๒๘ เล่ม ๖๖ น่า ๑๐๖๐ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง ให้กำหนดเรียกคำว่า ประมวล แทนคำที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า โค้ด
  • กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2533.
  • นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ISBN 978-974-571-929-3.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และ กัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. 2549.“การเน้นพยางค์กับทำนองเสียงภาษาไทย” (Stress and Intonation in Thai) วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2549) หน้า 59-76
  • สัทวิทยา : การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. 2547. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Gandour, Jack, Tumtavitikul, Apiluck and Satthamnuwong, Nakarin.1999. “Effects of Speaking Rate on the Thai Tones.” Phonetica 56, pp.123-134.
  • Tumtavitikul, Apiluck, 1998. “The Metrical Structure of Thai in a Non-Linear Perspective”. Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994, pp. 53-71. Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul, eds. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies, Arizona State University.
  • Apiluck Tumtavitikul. 1997. “The Reflection on the X’ category in Thai”. Mon-Khmer Studies XXVII, pp. 307-316.
  • อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2539. “ข้อคิดเกี่ยวกับหน่วยวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 4.57-66.
  • Tumtavitikul, Appi. 1995. “Tonal Movements in Thai”. The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences, Vol. I, pp. 188-121. Stockholm: Royal Institute of Technology and Stockholm University.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1994. “Thai Contour Tones”. Current Issues in Sino-Tibetan Linguistics, pp.869-875. Hajime Kitamura et al, eds, Ozaka: The Organization Committee of the 26th Sino-Tibetan Languages and Linguistics, National Museum of Ethnology.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “FO – Induced VOT Variants in Thai”. Journal of Languages and Linguistics, 12.1.34 – 56.
  • Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “Perhaps, the Tones are in the Consonants?” Mon-Khmer Studies XXIII, pp.11-41.

แหล่งข้อมูลอื่น