ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยธวาทิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[File:Sergei Shoigu in Vietnam 05.jpg|thumb|กองทัพเวียดนาม]]
[[File:Sergei Shoigu in Vietnam 05.jpg|thumb|กองทัพเวียดนาม]]
[[File:Mattis Visits Jakarta, Indonesia.jpg|thumb|กองทัพอินโดนีเซีย]]
[[File:Mattis Visits Jakarta, Indonesia.jpg|thumb|กองทัพอินโดนีเซีย]]
'''โยธวาทิต''' ({{lang-en|military band}}) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย[[เครื่องเป่าลมไม้]] [[เครื่องเป่าทองเหลือง]] และ[[เครื่องกระทบ]] โยธกงในกองทัพ
'''โยธวาทิต''' ({{lang-en|military band}}) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย[[เครื่องเป่าลมไม้]] [[เครื่องเป่าทองเหลือง]] และ[[เครื่องกระทบ]]


คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดย[[มนตรี ตราโมท]]
คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดย[[มนตรี ตราโมท]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:01, 7 เมษายน 2564

กองทัพเวียดนาม
กองทัพอินโดนีเซีย

โยธวาทิต (อังกฤษ: military band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ

คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดยมนตรี ตราโมท

ประวัติ

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และทรัมเป็ต ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้ปิคโคโลกับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง

จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ. 1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้โยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยโยธวาทิต

หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่โยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้โยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

ลักษณะ.

โยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้

  1. วงเดินแถว (marching band) เป็นโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลงเพลงมาร์ช
  2. วงนั่งบรรเลง (concert band) หมายถึง การนำโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า วงซิมโฟนิค (Symphonic Band)
  3. วงแปรขบวน (display) หมายถึง การนำโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (show Band)

เครื่องดนตรีที่ใช้ในโยธวาทิต

ประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทิต มี 3 ประเภท ดังนี็

  1. เครื่องเป่าลมไม้ (woodwind instruments) ได้แก่ ปิคโคโล (piccolo) โอโบ (oboe) บาสซูน (bassoon) คลาริเน็ต (clarinet) เบสคลาริเน็ต (bass clarinet) อัลโตแซกโซโฟน (Alto saxophone) เทเนอร์แซกโซโฟน(tenor saxophone) บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone saxophone) ฟลูต (flute) และ อัลโตคลาริเน็ต (Alto clarinet)
  2. เครื่องเป่าทองเหลือง (brass instruments)ได้แก่ ทรัมเป็ต (trumpet) คอร์เน็ต (cornet) ทรอมโบน (trombone) เฟรนซ์ฮอร์น (French horn) บาริโทน (baritone) ยูโฟเนียม (euphonium) ทูบา (tuba) และซูซาโฟน (sousaphone)
  3. เครื่องกระทบ (percussion instruments) ได้แก่ กลองเล็ก (snare drum หรือ side drum) กลองเทเนอร์ (Tenor drum) กลองใหญ่ (bass drum) ฉาบ (cymbals) ไซโลโฟน (xylophone) กลอกเคินสปีล (glockenspiel) ไทรเองเกิล (triangle) กลองทอมบา (tomba) และกลองทิมปานี (timpani)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. วงโยธวาทิต. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. 2547