ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วุฒิเฉลิม วุฒิชัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
|footnotes =
|footnotes =
|honorific prefix = [[คุณหญิง]]}}
|honorific prefix = [[คุณหญิง]]}}
คุณหญิง'''วุฒิเฉลิม วุฒิชัย''' (เดิม: หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย; ประสูติ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระธิดาในพลเอก พลเรือเอก [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร]] ประสูติแต่หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา
คุณหญิง'''วุฒิเฉลิม วุฒิชัย''' (เดิม: หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย; ประสูติ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระธิดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร]] ประสูติแต่หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 6 เมษายน 2564


วุฒิเฉลิม วุฒิชัย

เกิดหม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 (89 ปี)
รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย
อาชีพนักเขียน
คู่สมรสวิรัช ณ สงขลา (หย่า)[1]
อี. มอกัน กิลเบอร์ต (หย่า)
บุตร3 คน
บิดามารดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา

คุณหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (เดิม: หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย; ประสูติ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ประสูติแต่หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา

ประวัติ

หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงปีนัง เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ประสูติแต่หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชะตารุ่ง) ที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระบิดาแปรที่ประทับจากสยาม ในเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิมทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โปรดการวาดรูปและนิพนธ์หนังสือ มีงานอดิเรก คือทำสวน ตกแต่งที่ประทับ ออกแบบผ้าปักไหมและปักบนผ้าใบสำหรับแขวนกำแพง นิพนธ์หนังสือโดยใช้นามปากกาว่า “วุฒิเฉลิม” เช่น หนังสือ "ลายน้ำทอง” เขียนในรูปนวนิยายจากความทรงจำ เป็นเรื่องของชีวิตตอนปลายของพ่อ และเหตุการณ์ที่ประทับใจลูกตั้งแต่จำความได้จนสิ้นพ่อไป เป็นหนังสือได้รับรางวัลจากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2544

หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิมมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมหม่อมมารดา ได้แก่ หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย, วุฒิสวาท อนุมานราชธน และวุฒิวิฑู พี.เทอเสน

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พ.ศ. 2493 หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย ได้เชิญเครื่องเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ลำดับที่ 5 พระแส้หางช้างเผือก[2]

ไฟล์:Bhumbol coronation 6 may.jpg
พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

ชีวิตครอบครัว

หม่อมเจ้าวุฒิเฉลิม วุฒิชัย ทรงกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[3] เพื่อสมรสกับวิรัช ณ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 ภายหลังได้หย่ากัน และสมรสใหม่กับอี. มอแกน กิลเบอร์ต และปัจจุบันได้หย่ากัน มีบุตร-ธิดาสามคน ได้แก่

  1. เดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา สมรสกับหม่อมหลวงรจนาธร ณ สงขลา (ราชสกุลเดิม จิรประวัติ) มีบุตรหนึ่งคน
  2. ณัฐญาดา ณ สงขลา สมรสกับฤๅชา ขจรเนติกุล
  3. ทิพยเฉลิม กิลเบอร์ต วุฒิชัย

วุฒิเฉลิมเคยประทับที่ตำหนักกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร วังสะพานขาว ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นอาคารที่ทำการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย) และเคยพำนัก ณ ต่างประเทศ ปัจจุบันกลับมาพำนักยังประเทศไทยแล้ว

ทั้งนี้วุฒิเฉลิมนับเป็นพระราชนัดดาชั้นหม่อมเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. http://nasongkhla.com/download/NaSongKharFamily6.pdf
  2. กำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช และ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พุทธศักราช 2493http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/027/1937.PDF
  3. ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ 4/2499 เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย)