ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองปราบปราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anony6699 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
กองบังคับการปราบปราม ตั้งอยู่ที่ 1096 [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงจอมพล [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900
กองบังคับการปราบปราม ตั้งอยู่ที่ 1096 [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงจอมพล [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]] 10900


== ประวัติ ==
ก่อนที่จะได้ชื่อว่า “ กองปราบปราม” มีกองตำรวจที่ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกองปราบปรามมาก่อน ซึ่งถือได้ว่า
ก่อนที่จะได้ชื่อว่า “ กองปราบปราม” มีกองตำรวจที่ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกองปราบปรามมาก่อน ซึ่งถือได้ว่า
กองตำรวจเหล่านั้นเป็นต้นกำเนิดของกองปราบปรามในปัจจุบัน กองตำรวจดังกล่าวคือ
กองตำรวจเหล่านั้นเป็นต้นกำเนิดของกองปราบปรามในปัจจุบัน กองตำรวจดังกล่าวคือ
บรรทัด 84: บรรทัด 85:


* [http://www.csd.go.th/htn_csd/p1_195.htm ที่มา]
* [http://www.csd.go.th/htn_csd/p1_195.htm ที่มา]

== รายนามผู้บังคับการ ==
== รายนามผู้บังคับการ ==
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:23, 12 มีนาคม 2564

กองบังคับการปราบปราม (อังกฤษ: Crime Suppression Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน ป้องกัน และปราบปราม ทั่วประเทศไทย ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ยกเว้นคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, คดีเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรง

กองบังคับการปราบปราม
ตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตรากองบังคับการ
ภาพรวมหน่วยงาน
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม, ผู้บังคับการ

กองบังคับการปราบปรามก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป จึงถือว่าวันที่ 1 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนากองบังคับการปราบปราม

กองบังคับการปราบปรามแบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น กองกำกับการ 1-6 และอีก 1 กองกำกับการสนับสนุน และกลุ่มงานสอบสวน ทั้งหมดขึ้นตรงกับ กองบังคับการปราบปราม ผู้บังคับการปราบปรามคนปัจจุบันคือ พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม

กองบังคับการปราบปราม ตั้งอยู่ที่ 1096 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ประวัติ

ก่อนที่จะได้ชื่อว่า “ กองปราบปราม” มีกองตำรวจที่ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับกองปราบปรามมาก่อน ซึ่งถือได้ว่า กองตำรวจเหล่านั้นเป็นต้นกำเนิดของกองปราบปรามในปัจจุบัน กองตำรวจดังกล่าวคือ

ตำรวจภูบาล ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตราระเบียบการปกครองแผ่นดิน เป็น 4 เหล่า เรียกว่า “จตุสดมภ์” ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งพร้อมกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการตำรวจขึ้นด้วย โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง มีการกำหนดศักดินาของข้าราชการตำรวจตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ในบทพระอัยการเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนตำรวจภูบาลทำหน้าที่คล้ายตำรวจกองปราบปรามและตำรวจสันติบาลร่วมกันคือ สืบสวนสอบสวนคดีเมือง สอดส่องพฤติกรรมของเจ้านายที่ทุจริต ปราบปรามข้าราชการทุจริต ทำการช่วยเหลือตำรวจท้องที่คือ ตำรวจภูธรและนครบาลสืบจับผู้กระทำผิดคดีสำคัญ นอกจากนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับพิสูจน์หลักฐานและลายพิมพ์นิ้วมืออย่างกองวิทยาการเดี๋ยวนี้ด้วย

ตำรวจพิเศษมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นตำรวจส่วนกลางทำหน้าที่อย่างตำรวจสอบสวนกลาง คือ ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายทั้งในหัวเมืองและจังหวัดพระนคร และยังมีหน้าที่ทางทะเบียนและสถิติอีกด้วย เช่นการตรวจโรงรับจำนำ ออกรูปพรรณของหาย รับจดทะเบียนรถยนต์ จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิมพ์ลายนิ้วมือ การปล่อยนักโทษ การเนรเทศ

กองตำรวจภูธรกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีหน้าที่อย่างกองปราบปรามเดี๋ยวนี้คือสืบสวนสอบสวนคดีอุกฉกรรจ์ ที่ตกค้างในท้องที่ตำรวจภูธรที่ยังจับกุมไม่ได้ ปราบปรามผู้ร้ายที่กำเริบในท้องที่ของภูธรทั่วราอาณาจักร

กองตำรวจสันติบาล หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2475 กิจการตำรวจให้แบ่งเป็น 4 ส่วน คือหน่วยบริหารงานส่วนกลาง ตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร ตำรวจสันติบาลกองตำรวจสันติบาลนี้ ได้รวมตำรวจภูบาล ตำรวจกองพิเศษ กองตำรวจภูธรกลางเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 5 กอง กอง 1 สืบสวนปราบปราม กอง 2 สืบราชการพิเศษ กอง 5 ตำรวจสรรพสามิต

กองตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2484 มีฐานะเป็นกองบังคับการ เป็นการแยกหน้าที่การสืบสวนปราบปราม ออกมาจากตำรวจสันติบาล ตำรวจสันติบาลคงมีหน้าที่เกี่ยวกับคดีการเมืองเท่านั้น กองตำรวจสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 3 กองกำกับการ กองกำกับการ 1 ทำหน้าที่อย่างกองปราบปราม คือค้นคว้าเกี่ยวกับสมุฎฐาน การประทุบร้ายต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคดีการเมือง กองปราบปราม ตั้งครั้งแรกเมือ พ.ศ. 2491 โดยได้มีการยกฐานะของกองสอบสวนกลาง เป็นกองบัญชาการสอบสวนกลาง กองกำกับต่าง ๆ จึงยกขึ้นเป็นกองชั้นกองบังคับการด้วย กองกำกับการ 1 ได้ยกเป็นกองบังคับการ ขนานนามว่า “ กองปราบปราม” แยกงานสถิติไปไว้ที่กองวิทยาการทั้งหมด จึงดูเหมือนกองปราบปรามเป็นกองที่ตั้งขั้นใหม่จริง ๆ การตั้งกองปราบปรามนี้ได้ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2491 มาตรา 2 กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 31 สิงหาคม 2491 เป็นต้นไปดังนั้นวันสถาปนากองปราบปราม จึงเป็นวันที่ 1 กันยายน ในการจัดตั้งดังกล่าวนี้ได้แบ่งกองปราบปรามออกเป็น 5 กองกำกับการ กองกำกับการละ 3 แผนก พ.ศ. 2496 ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการในกองปราบปราม ใหม่ให้เหมาะสม แต่ยังคงมี 5 กองกำกับการเหมือนเดิม คือ กองกำกับการ 1 คดีอาญา แบ่งเป็น 5 แผนก กองกำกับการ 2 จู่โจม แบ่งออกเป็น 3 แผนก และมีตำรวจสุนัขเป็นหน่วยฝาก กองกำกับการ 3 ต่างจังหวัด แบ่งออกเป็น 3 แผนก กองกำกับการ 4 ข้าราชการทุจริตแบ่งออกเป็น 4 แผนก และกองกำกับการ 5 ภาษีอากร แบ่งออกเป็น 3 แผนก

พ.ศ. 2503 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 กันยายน 2503 ให้เปลี่ยนชื่อ กองปราบปราม เป็น “ กองสืบสวนสอบสวน” ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการสอบสวนกลางแบ่งออกเป็น 6 กองกำกับการ กองกำกับการละ 5 แผนก

พ.ศ. 2504 ได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2504 ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน 2504 ได้มีการปรับปรุงกองปราบปรามขึ้นใหม่โดยเพิ่ม กองกำกับการ 7 ทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับยาเสพย์ติดให้โทษ และเปลี่ยนแปลงชื่อกองสืบสวนสอบสวน กลับมาเป็น กองปราบปราม ดังเดิม

พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 10 พ.ศ. 2525 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2525 ตั้งกองกำกับการ 8 เพิ่มเติม แบ่งส่วนราชการเป็น 8 แผนก มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาทั่ว ๆ ไป ที่ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศ

พ.ศ. 2525 ในปีเดียวกันนี้ ได้มีคำสั่งกรมตำรวจที่ 250/2525ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2525 ตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามความผิดทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนและความมั่นคงของชาติ

พ.ศ. 2533 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.) ในการประชุมครั้งที่ 14/2533 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2533 กำหนดให้มีหน่วยงานเพิ่มอีก 1 หน่วย คือ ฝ่ายอำนวยการ ประกอบงาน 13 งาน

พ.ศ. 2534 ได้มีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ( ก.ตร.)ในการประชุมครั้งที่ 9/2534 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2534 ให้ยกฐานะกองกำกับการ 6 ขึ้นเป็นส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยให้ขึ้นกับกรมตำรวจ และให้ขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในเวลาต่อมา และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 17 พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 ยกเลิก กองกำกับ 8 โดยยกฐานะเป็นกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว สังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

พ.ศ. 2535 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 18 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ยกเลิกกองกำกับการ 7 โดยยกฐานะเป็นกองบัญชาการ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และในปีเดียวกันได้มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2535 ให้ไว้ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2535 ยกเลิกกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากร โดยตั้งเป็นกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ

การยกเลิกกองกำกับการ 6, 7 และ 8 และการตั้งกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ ทำให้กองปราบปรามไม่ต้องรับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามที่เกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ ยาเสพติด ตำรวจท่องเที่ยว และความผิดทางเศรษฐกิจโดยตรงอีกต่อไป

พ.ศ. 2539 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 ให้ไว้ ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2539 โดยแบ่ง กองปราบปรามเป็น 6 กองกำกับการ คือกองกำกับการ 1 – 5 และกก.ฝอ.

พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ยกเลิกส่วนราชการเดิมตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วจัดตั้งส่วนราชการใหม่ จึงใช้ชื่อ "กองบังคับการปราบปราม" ดังในเช่นปัจจุบัน...

พ.ศ. 2552 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552และประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจความรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการ โดยกองบังคับการปราบปรามประกอบด้วย 1 กองกำกับการฝ่ายอำนวยการ , กองกำกับการ 1-6 , กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ และกลุ่มงานสอบสวน

นับตั้งแต่จัดตั้งกองปราบปรามมาเป็นเวลา 72 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการและรักษาการผู้บังคับการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวน 35 ท่านคือ

รายนามผู้บังคับการ

แหล่งข้อมูลอื่น