ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อินทุรัตนา บริพัตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 115: บรรทัด 115:
}}
}}


ทั้งนี้อินทุรัตนาเป็นพระราชนัดดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ชั้นพระองค์เจ้าพระองค์เดียวที่ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เป็นเจ้านายฝ่ายในที่พระชันษาสูงที่สุดในปัจจุบัน เป็นเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่พระชันษาสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นป้าของ[[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] อดีต[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]
ทั้งนี้อินทุรัตนาเป็นพระราชนัดดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ชั้นพระองค์เจ้าพระองค์เดียวที่ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เป็นพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่พระชันษาสูงที่สุดใน[[ราชวงศ์จักรี]] และเป็นป้าของ[[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] อดีต[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]


==ลำดับสาแหรก==
==ลำดับสาแหรก==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:09, 8 มีนาคม 2564

อินทุรัตนา บริพัตร
เกิดหม่อมเจ้าอินทุรัตนา
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 (102 ปี)
คู่สมรสสมหวัง สารสาส (2496–ไม่ทราบ; หย่า)
บุตรธรณินทร์ สารสาส
สินนภา สารสาส
สันติ สารสาส
บุพการีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา

อินทุรัตนา บริพัตร (ประสูติ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) มีนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอินทุรัตนา และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา และเป็นเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่มีพระชันษาสูงที่สุดในปัจจุบัน

ประวัติ

อินทุรัตนาเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา; ธิดาพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม ปาลกะวงศ์)) ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2465) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อประสูติดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าอินทุรัตนา" มีโสทรานุชาสององค์ คือ หม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์ และหม่อมเจ้าชาย(ยังไม่มีพระนาม; ถึงชีพิตักษัยหลังประสูติได้ 3-4 วัน ในปลายรัชกาลที่ 6)[1] และมีเจ้าพี่ต่างหม่อมมารดา 8 พระองค์

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอินทุรัตนา และหม่อมเจ้าสุขุมาภินันท์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีพระยศขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พร้อมกัน[2][3] ต่อมาขณะมีพระชันษา 10 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีโสกันต์และเกศากันต์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา และหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2474 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2475) นับเป็นพิธีโสกันต์และเกศากันต์ครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระราชพิธีนี้จะถูกยกเลิกไปในสามเดือนถัดมา หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ปัจจุบัน พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โสกันต์และเกศากันต์ต่างสิ้นพระชนม์และถึงชีพิตักษัยกันหมดแล้ว เหลืออินทุรัตนาที่ยังมีพระชนม์อยู่เพียงองค์เดียว

ชีวิตครอบครัว

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อสมรสกับร้อยเอกสมหวัง สารสาส[4] (บุตรพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์); และพี่ชายหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา[5] (หม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร))[6] โดยสมรสกันในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน ได้แก่[7]

  1. ธรณินทร์ สารสาส (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2496) สมรสกับสุนิตรา เรืองสมวงศ์
  2. สินนภา สารสาส (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) สมรสกับอนันต์ ตาราไต (หย่า)
  3. สันติ สารสาส (ชื่อเดิม พญาณินทร์; เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2507)

ต่อมาทั้งสองได้หย่ากัน โดยร้อยเอกสมหวังได้สมรสใหม่กับพนิดา สารสาส[8] (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์)[9]

ไฟล์:อินทุรัตนา2.jpg
อินทุรัตนา (กลาง) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พลเรือโทพิเชฐ ตานะเศรษฐ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ นำคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา เพื่อทูลเชิญให้เสด็จร่วมงานวันบริพัตร ในฐานะพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[ลิงก์เสีย]

ทั้งนี้อินทุรัตนาเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชั้นพระองค์เจ้าพระองค์เดียวที่ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เป็นพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่พระชันษาสูงที่สุดในราชวงศ์จักรี และเป็นป้าของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2517. 50 หน้า.
  2. "ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0ก): 253. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. "ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๑/๒๔๙๖ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15ก): 755. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~royalty/thailand/i606.html#I606
  6. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  7. เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิษณุโลกการพิมพ์, 2532, หน้า 434
  8. "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. 4 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ชั้นที่ ๖ สายเมืองนคร บุตรธิดาพระยานครกุลเชษฐมเหศรภักดี (เอียด)". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)