ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 158: บรรทัด 158:


==== ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน ====
==== ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน ====
{{ดูเพิ่มที่|การทุจริตในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม}}
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ได้แก่ [[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] และ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์|บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)]] และ [[ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น|บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)]]
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ได้แก่ [[ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ|บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] และ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์|บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)]] และ [[ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น|บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 4 มีนาคม 2564

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
ไฟล์:Capture-20130508-111808.jpg
ภาพจำลองวีดิทัศน์ในปี 2556
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี)
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี29 (ทั้งโครงการ)
  • 17 (ก่อสร้าง)
  • 12 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนร่วมประมูล
ขบวนรถยังไม่เปิดเผย
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2567
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง35.9 กิโลเมตร (22.3 ไมล์)
รางกว้าง1435
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ไฟฉาย – บางยี่ขัน
บางขุนนนท์
ศิริราช
แม่น้ำเจ้าพระยา
สนามหลวง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บางขุนพรหม – สามยอด
หลานหลวง
สายธานีรัถยา ยศเส – ราชวิถี
ยมราช
ราชเทวี พญาไท – สยาม
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ พญาไท – มักกะสัน
ราชปรารภ
ดินแดง
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ห้วยขวาง – พระราม 9
ศูนย์ซ่อมบำรุง
รฟม.
นวศรี – ศูนย์วิจัย
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กกท.
รามคำแหง 40
สนามกีฬาคลองจั่น
บางกะปิ – ศรีกรีฑา
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์พัฒนา
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า(สุวินทวงศ์)

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน และยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟสายสายธนบุรี (ทางรถไฟสายใต้เดิม) แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองก่อนออกไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์และออกสู่ย่านชานเมืองถนนรามคำแหง มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มจากเดิมกลายเป็นตลิ่งชัน - มีนบุรี และใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - มีนบุรี

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี - แยกร่มเกล้า โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงตะวันออกเป็นอันดับแรก ส่วนโครงการช่วงตะวันตกอยู่ในระหว่างการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการ คาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการครบทั้งสายภายใน พ.ศ. 2570

ภาพรวม

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านย่านที่สำคัญในพื้นที่เมืองเก่าเขตดุสิต และเขตพระนคร ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช ท้องสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นเข้าสู่ย่านการค้าใจกลางเมืองบริเวณแยกประตูน้ำ แล้วมุ่งขึ้นทางเหนือเข้าสู่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ (อาคารธานีนพรัตน์) ชุมชนประชาสงเคราะห์ ออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ถนนพระราม 9 และถนนรามคำแหง สิ้นสุดโครงการบริเวณชานเมืองทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์ รวมระยะทางประมาณ 34.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เน้นการขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทิศตะวันออกเข้าสู่ใจกลางเมืองและย่านเมืองเก่าทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แขวง เขต จังหวัด
ศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พระบรมมหาราชวัง / บ้านพานถม พระนคร
คลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย
สวนจิตรลดา ดุสิต
ทุ่งพญาไท / ถนนพญาไท / มักกะสัน / สามเสนใน ราชเทวี
ดินแดง ดินแดง
ห้วยขวาง / บางกะปิ ห้วยขวาง
หัวหมาก บางกะปิ
สะพานสูง / ราษฎร์พัฒนา สะพานสูง
มีนบุรี / แสนแสบ มีนบุรี

รูปแบบของโครงการ

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) [1]
  • ทางวิ่ง ช่วงบางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า จะเป็นเส้นทางใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นอุโมงค์คู่ตีขนานตลอดทาง ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยวซ้อนกัน และช่วงคลองบ้านม้า - สุวินทวงศ์ จะเป็นเส้นทางยกระดับจากพื้นถนน ไล่ความสูงจากปลายอุโมงค์ที่สถานีคลองบ้านม้า มาจนถึงความสูงที่ 12-15 เมตรจากผิวถนนที่สถานีสัมมากร และไล่ขึ้นไปจนถึงความสูงปกติของโครงการที่ 17 เมตรจากผิวถนน[1]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[1]
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[1] จำนวน 40 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[1]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บนพื้นที่ขนาด 155 ไร่ ภายในอาณาบริเวณของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถนนเทียมร่วมมิตร (ติดกันกับที่ทำการของ สำนักสาขา 2 (รถไฟฟ้า) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ที่สถานีมีนบุรี สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสถานีคลองบ้านม้า [1]

สถานี

มีทั้งหมด 29 สถานี โดยสถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงทุกสถานี ออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 22 สถานี (บางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า) ส่วนสถานียกระดับมีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน มีทั้งหมด 7 สถานี (สัมมากร - แยกร่มเกล้า) ทุกสถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี ชานชาลามีทั้งรูปแบบชานชาลาเกาะกลาง และชานชาลาด้านข้าง สลับกันไปตามแต่ละพื้นที่[1]

เส้นทาง

โครงการช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - แยกร่มเกล้า) (กำลังก่อสร้าง)

ช่วงที่ 1 : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับสายเฉลิมรัชมงคล ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ

เส้นทางส่วนนี้เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร[2][3]

ช่วงที่ 2 : บางกะปิ - แยกร่มเกล้า

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[4] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552

เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีสัมมากร ที่ความสูง 10-12 เมตรจากผิวดิน จากนั้นยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงความสูงปกติที่ 15 เมตร ผ่านหมู่บ้านสัมมากร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณก่อนถึงแยกสุวินทวงศ์ ในพื้นที่แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - แยกร่มเกล้า จะประกอบไปด้วยสัญญาการก่อสร้างของ รฟม. ควบคู่สัญญาการก่อสร้างท่อร้อยไฟฟ้าใต้ดินของ การไฟฟ้านครหลวง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างแบบควบคู่ทั้งโครงการ

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล ความคืบหน้า
(ภาพรวม 76.09 % เร็วกว่าแผน 0.84 %
ณ สิ้นเดือน มกราคม 2564
[5])
1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12
ระยะทาง 6.29 กม. (3.91 ไมล์)
20,698 กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
85.16 %
2 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-รามคำแหง 34
ระยะทาง 3.4 กม. (2.11 ไมล์)
21,572 74.41 %
3 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 34-คลองบ้านม้า
ระยะทาง 4.04 กม. (2.51 ไมล์)
18,589.66 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ 74.17 %
4 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-แยกร่มเกล้า
ระยะทาง 8.8 กม. (5.47 ไมล์)
9,999 บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน 65.04 %
5 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 4,901 กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
78.40 %
6 งานวางระบบราง 3,750 บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน 71.65 %
7 งานระบบรถไฟฟ้า (ตลิ่งชัน-สุวินทวงศ์) คณะกรรมการ รฟม. มีมติให้รวมงานเดินรถเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการก่อสร้างของโครงการส่วนตะวันตก

โครงการช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) (อยู่ระหว่างการประมูล)

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ใน พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงโครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน ทำให้เส้นทางสายสีส้มส่วนนี้ต้องเปลี่ยนจาก บางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็น ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนเป็นครั้งที่ 3 โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสิ้นสุดที่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทั้งหมดทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2557 เกิดการคัดค้านการเวนคืนที่ดินหลายจุด เนื่องจากชุมชนประชาสงเคราะห์ไม่ยินยอมให้เวนคืนเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะจัดทำถนนขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นครั้งที่ 4 จากเดิมช่วงดินแดง - ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็น ดินแดง - พระราม 9 แทน ทำให้เส้นทางสายสีส้มตะวันตกกลายเป็น บางขุนนนท์ - พระราม 9 แต่หลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท พ.ศ. 2554 เนื่องจากเส้นทางเดิมส่วนใหญ่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และประชาชนรับทราบกันมาตั้งแต่ออกแผนแม่บทนี้เรียบร้อยแล้ว

แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งเข้าอาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และลอดใต้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดใต้โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ด้วยการลอดใต้ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มช่วงตะวันตกจะเป็นการมอบสัมปทานทั้งโครงการใหักับเอกชนผู้ประมูลงานทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยรวมงานเดินรถทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันภายใต้สัญญาฉบับเดียวด้วย โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 6 เดือน แบ่งเนื้องานเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้อง 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) และการออกแบบควบคู่การก่อสร้าง 6 ปี อันเป็นการดำเนินการแบบควบคู่กัน และระยะที่ 2 ดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 30 ปี โดยมีรายละเอียดสัญญาดังนี้

ลำดับที่ เนื้องาน
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า
ก. งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก
ระยะเวลา 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ข. งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร
งานวางรางวิ่ง ระบบไฟฟ้า การจัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก
ระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1 งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกอย่างเป็นทางการ จนสิ้นสุดสัญญาการร่วมลงทุน

ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้มีมติยกเลิกการประมูลลงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เนื่องจากมีคดีฟ้องร้องโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ต่อศาลปกครองกลาง ในเรื่องของการทุจริตโครงการจากการเปลี่ยนกติกาการประมูลที่เป็นส่วนสาระสำคัญ อาจทำให้คณะกรรมการฯ สามารถใช้ดุลพินิจส่วนตัวในการมอบงานให้เอกชนที่มีความใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงว่าจะประมูลโครงการไม่ได้แทน ซึ่งบีทีเอสซียืนยันต่อศาลปกครองกลางว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์ทางตรงเนื่องจากบริษัทได้เข้าซื้อซองและเอกสารเชิญชวนเข้าร่วมลงทุนในโครงการอย่างถูกต้อง ทำให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองการประมูลโดยให้ คณะกรรมการฯ ต้องกลับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบเดิม คือพิจารณาจากวงเงินขอรับสนับสนุนจากรัฐบาลแทน ทำให้คณะกรรมการฯ มีมติเลื่อนการเปิดประมูลออกไปเพื่อขออุทธรณ์คดี แต่จากความล่าช้าในการพิพากษาคำอุทธรณ์ และความเสี่ยงในการดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ทำให้คณะกรรมการฯ ตัดสินใจล้มการประมูลในที่สุด

ชื่อบริษัทฯ ผลการยื่นข้อเสนอ
คุณสมบัติทั่วไป ข้อเสนอทางเทคนิค ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน
(เงินที่รัฐฯ ร่วมลงทุนในโครงการ)
(ล้านบาท)
ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม

งบประมาณ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

รายชื่อสถานี

ตัวเอียง คือโครงการในอนาคต

รหัส ชื่อสถานี กม.ที่ โครงสร้าง เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
ไทย อังกฤษ แขวง เขต จังหวัด
OR01 บางขุนนนท์ Bang Khun Non 0+000 ใต้ดิน แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางขุนนนท์
แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางขุนนนท์
บางขุนศรี บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
OR02 ศิริราช Siriraj 1+160 แม่แบบ:BTS Lines สถานีศิริราช
แม่แบบ:BTS Lines ท่าวังหลัง (พรานนก)
ศิริราช
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
OR03 สนามหลวง Sanam Luang 2+370 ใต้ดิน พระบรมมหาราชวัง พระนคร กรุงเทพมหานคร
OR04 ผ่านฟ้า Phan Fa 3+590 แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
แม่แบบ:BTS Lines ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
วัดบวรนิเวศ
OR05 หลานหลวง Lan Luang 4+420 วัดโสมนัส ป้อมปราบศัตรูพ่าย
OR06 ยมราช Yommarat 05.25 แม่แบบ:BTS Lines สถานียมราช สี่แยกมหานาค ดุสิต
OR07 ราชเทวี Ratchathewi 6+530 แม่แบบ:BTS Lines สถานีราชเทวี
แม่แบบ:BTS Lines ท่าสะพานหัวช้าง
ถนนเพชรบุรี ราชเทวี
OR08 ประตูน้ำ Pratu Nam 7+350 แม่แบบ:BTS Lines สถานีชิดลม
แม่แบบ:BTS Lines แม่แบบ:BTS Lines สถานีสยาม
แม่แบบ:BTS Lines ท่าประตูน้ำ
ถนนพญาไท
OR09 ราชปรารภ Ratchaprarop 8+090 แม่แบบ:BTS Lines สถานีราชปรารภ มักกะสัน
OR10 รางน้ำ Rang Nam 8+800 ถนนพญาไท
OR11 ดินแดง Din Daeng 10+630 ดินแดง ดินแดง
0R12 ประชาสงเคราะห์ Pracha Songkhro 11+840 แม่แบบ:BTS Lines สถานีประชาสงเคราะห์
OR13 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย Thailand Cultural Center 13.09 แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
อาคารจอดแล้วจร
ห้วยขวาง ห้วยขวาง
OR14 รฟม. MRTA 14+600 ศูนย์ซ่อมบำรุง
OR15 วัดพระราม 9 Wat Phra Ram 9 16+170 แม่แบบ:BTS Lines สถานีพระราม 9 บางกะปิ
OR16 รามคำแหง 12 Ramkhamhaeng 12 18+320 แม่แบบ:BTS Lines ท่าเดอะมอลล์ 3 หัวหมาก บางกะปิ
OR17 มหาวิทยาลัยรามคำแหง Ramkhamhaeng University 19+530 แม่แบบ:BTS Lines ท่า ม.รามคำแหง
OR18 ราชมังคลา Rajamangala 20+480 แม่แบบ:BTS Lines ท่าสะพานมหาดไทย
OR19 รามคำแหง 34 Ramkhamhaeng 34 21+750
OR20 แยกลำสาลี Yaek Lam Sali 22+750 แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี
แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี

แม่แบบ:BTS Lines ท่าเดอะมอลล์บางกะปิ
OR21 ศรีบูรพา Si Burapha 24+110
OR22 คลองบ้านม้า Khlong Ban Ma 25.30 อาคารจอดแล้วจร สะพานสูง สะพานสูง
OR23 สัมมากร Sammakorn 26+280 ยกระดับ
OR24 น้อมเกล้า Nom Klao 28.21 ราษฎร์พัฒนา
OR25 ราษฎร์พัฒนา Rat Phatthana 29+500
OR26 มีนพัฒนา Min Phatthana 30+640 มีนบุรี มีนบุรี
OR27 เคหะรามคำแหง Kheha Ramkhamhaeng 32+140
OR28 มีนบุรี Min Buri 33+400 แม่แบบ:BTS Lines สถานีมีนบุรี
อาคารจอดแล้วจร
OR29 แยกร่มเกล้า Yaek Rom Klao 34+180 แสนแสบ

การปรับเปลี่ยนเส้นทาง

  • ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2538 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายบางกะปิ - สามเสน -ราษฎร์บูรณะ แต่ในภายหลังได้มีการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เส้นทางช่วงสามเสน - ราษฎร์บูรณะกลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่ - บางซื่อ - สามเสน - ราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่ปรับปรุงมาจากเส้นทางสายสีส้มเดิมและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม (บางใหญ่ - บางซื่อ) จากนั้นได้ต่อขยายเส้นทางสายสีส้มจากสามเสนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นเส้นทางบางกะปิ - สามเสน - บางบำหรุ ต่อมาเส้นทางส่วนต่อขยายที่ต่อเนื่องมาจากสายสีส้มตามแนวถนนรามคำแหงช่วงบางกะปิ - มีนบุรีได้ถูกแยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เมื่อปี พ.ศ. 2548
  • ปี พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามปรับแผนแม่บทโดยเสนอแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วยระบบบีอาร์ที ในเส้นทางบางกะปิ-รามคำแหง-คลองตัน เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนแทนการเชื่อมต่อกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากบีอาร์ทีแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะให้ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) แทนในเส้นทางช่วงนี้เพื่อให้สามารถก่อสร้างเส้นทางในเขตทางของถนนรามคำแหงที่แคบได้ ขณะที่เส้นทางเข้าสู่ใจกลางเมืองมุ่งหน้าบางบำหรุได้มีข้อเสนอแนะให้ทดแทนด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงสถานีรถไฟมักกะสัน-ยมราช ต่อเนื่องไปยังระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ช่วงยมราช - ถนนพิษณุโลก - สามเสน - ราชวิถี - ซังฮี้ - บางบำหรุ เนื่องจากเส้นทางสายสีส้มมีแนวเส้นทางคู่ขนานกับสายสีแดงอ่อนอยู่แล้ว[6] แต่แนวคิดที่จะยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มพร้อมกับสายสีม่วงในครั้งนั้นมีประชนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ต่อมาก็ไม่ปรากฏเส้นทางทดแทนสายสีส้มนี้ในแผนงานอื่นใดอีก
  • ปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช พยายามปรับแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มจากบางกะปิไปถึงมีนบุรี และจากบางบำหรุผ่านสถานีตลิ่งชัน ไปสิ้นสุดที่สถานีศาลายา ซึ่งเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีทับซ้อนกับเส้นทางสายสีน้ำตาล และช่วงบางบำหรุ - ศาลายาทับซ้อนกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน และส่วนต่อขยายที่มีอยู่ในแผนแม่บทก่อนหน้านั้น แต่ในเวลาต่อมาทาง สนข. ไม่ได้นำเอาเส้นทางดังกล่าวไปบรรจุในแผนแม่บท เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน[7]
  • ปี พ.ศ. 2552 การปรับแผนแม่บทฯ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เส้นทางสายสีน้ำตาลกลับมารวมกันกับเส้นทางสายสีส้มอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม โดยสลับกับเส้นทางสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง จากช่วงตลิ่งชัน - มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ - มักกะสัน ส่งผลให้ต้องมีการเสนอการเปลี่ยนแปลงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ การปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางครั้งมีส่งผลดี คือเพิ่มความสามารถในการให้บริการประชาชน เนื่องจากสายสีส้มมีลักษณะเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดหนัก มีความถี่ของการเดินรถและสถานีมากกว่ารูปแบบรถไฟชานเมืองของสายสีแดงอ่อน จึงสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ดังกล่าวที่มีการเดินทางสูง (ต่างจากลักษณะการเดินทางตามแนวถนนราชวิถี-สิรินธรที่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรถไฟชานเมือง) สายสีส้มจะมีแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอื่นได้มากขึ้น ทำให้เดินทางสะดวก มีการเปลี่ยนต่อรถไฟฟ้าน้อยลง และเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามแนวถนนเพชรบุรีและราชปรารภ ทั้งยังเป็นการทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวอ่อน ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนกในอดีตที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง
  • ปี พ.ศ. 2554 สนข. มีการลดระยะทางเปลี่ยนสถานีปลายทางจากสถานีตลิ่งชัน เป็นสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากทับซ้อนกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน - ศาลายา
  • ปี พ.ศ. 2555 มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางในช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ จากเดิมที่เมื่อออกจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแล้ว จะเข้าสู่ถนนเทียมร่วมมิตร แล้วตัดข้ามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่ซอยนวศรี (รามคำแหง 21) เป็นเมื่อออกจากศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. แล้ว จะเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการ รฟม. มุ่งหน้าแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แทน เนื่องจากถนนเทียมร่วมมิตร มีพื้นที่จำกัด อาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคต อีกทั้งถนนพระราม 9 ยังสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น [8]
  • ปี พ.ศ. 2557 มีการต่อต้านการก่อสร้างโครงการภายในพื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์อันเป็นที่ตั้งของ สถานีประชาสงเคราะห์ โดยแกนนำให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเวนคืนที่ดินไปเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่ทำโดยผ่านชุมชน และตัดถนน เพิ่มขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีประชาชนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ภายหลัง รฟม. ได้จัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นในการก่อสร้างโครงการ ซึ่งชุมชนยังคงให้เสียงเดียวกันว่า ต้องการให้รถไฟฟ้าไปผ่านถนนหลัก และเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนตรงนั้นแทน หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 รฟม. ได้มีการจัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นอีกครั้ง เพื่อสอบถามว่าต้องการให้รถไฟฟ้าผ่านทางเส้นทางไหน ซึ่งได้แก่ เส้นทางเดิม รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยเส้นทางเดิมจะมีการปรับพื้นที่ของสถานีประชาสงเคราะห์ ไปใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา ที่เลิกกิจการไปแล้ว กับเส้นทางใหม่ซึ่งก็คือ รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 โดยเอาสถานีประชาสงเคราะห์ออก ย้ายสถานีดินแดงมาตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และสถาบันราชานุกูล (ใช้ชื่อว่า สถานีเคหะดินแดง) และย้ายสถานีเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินจากเดิมสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นสถานีพระราม 9 แต่จะไม่เชื่อมกับสถานีเดิมโดยตรง เนื่องจากสถานีพระราม 9 ใหม่จะตั้งอยู่ด้านหน้าซอยพระราม 9 ซอย 3 (ด้านหน้าโครงการ แกรนด์ พระราม 9) บริเวณถนนพระราม 9 แต่การก่อสร้างเส้นทางนี้ จะต้องมีการปิดถนนพระราม 9 เพื่อเปิดหน้าดิน ซึ่งกลุ่มชุมชนก็ให้ความเห็นว่าย้ายไปถนนพระราม 9 ที่มีความต้องการในการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า จะเป็นการให้ผลประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด หลังจากนั้นจึงมีการพิจารณาปรับเส้นทางให้กลายเป็น รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 ในเวลาต่อมา และมีผลทำให้เส้นทาง มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่กำลังจะประมูลงานก่อสร้าง ต้องมีการพิจารณาเส้นทางเพื่อปรับไปใช้ถนนพระราม 9 จนกลายเป็น มีนบุรี - พระราม 9 ตะวันออก อีกครั้ง
  • พ.ศ. 2558 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มีมติติให้ยึดการก่อสร้างเส้นทางช่วง รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตามเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนเส้นทางใดๆ ตามที่ รฟม. เคยประกาศทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่มีการสำรวจเส้นทาง ศึกษาแผนงาน และประกาศเส้นทางให้รับทราบมานาน มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นเส้นทางที่ได้รับความเห็นชอบด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเป็นเส้นทางที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับโครงการและประชาชนมากที่สุด เนื่องจากผ่านย่านชุมชนที่สำคัญ อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และอยู่ใกล้กับอาคารธานีนพรัตน์ หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางทางราชการของกรุงเทพมหานครในอนาคต[9]

ความคืบหน้า

  • พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางกะปิ - บางบำหรุ ปรากฏในแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้า 7 สาย สมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2548 สมัยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีการเพิ่มเติมเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทางในแผนแม่บทฯ รวมเป็น 10 เส้นทาง รวมถึงสายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ - มีนบุรี ที่เคยเป็นส่วนต่อขยายของสายสีส้ม
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. ได้พิจารณาวงเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ[10]
  • แผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2549-2555 ตามมติ ครม. วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย แต่ไม่ปรากฏเส้นทางสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ
  • ช่วงปี พ.ศ. 2551 ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รฟม. ได้เสนอเส้นทางช่วงบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อสร้างเป็นช่วงแรก เพื่อขยายโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วออกสู่ย่านบางกะปิ[11] โดยชั้นชานชาลาของสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ได้ออกแบบให้มีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์เพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะช่วยรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเฉลี่ย 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน[7]
  • การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้า 9 สายขึ้น โดยกำหนดให้เส้นทางรถไฟฟ้าศาลายา - มีนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ที่เกิดจากการรวมเส้นทางสายสีน้ำตาลช่วงบางกะปิ-มีนบุรี, สายสีส้มช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และสายสีแดงอ่อนช่วงบางบำหรุ-ศาลายาเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ที่จะเริ่มประกวดราคาในปี พ.ศ. 2552[12] แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้นในเวลาดังกล่าว ขณะที่เส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ของ รฟท. ที่ทับซ้อนกับเส้นทางช่วงบางบำหรุ-ศาลายาได้เริ่มการประกวดราคาไปก่อนหน้านั้นแล้ว
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดยให้เส้นทางสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 10 ปี (เปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2562)
  • วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี - บางกะปิ - ศูนย์วัฒนธรรม - ตลิ่งชัน อาจจะแบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง เนื่องจากช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว แต่ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน มีการปรับแนวเส้นทางใหม่จึงต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกประมาณ 1-2 ปี
  • วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ - บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในเส้นทางตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรม - บางกะปิ - มีนบุรี ให้สามารถดำเนินการได้ในปีพ.ศ. 2555 เนื่องจากมีความพร้อมในการดำเนินการ และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว[13]
  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้เสร็จภายใน 7-8 ปี ทุกสายทางจะเริ่มต้นก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปีนี้ โดยสำหรับสายสีส้มจะสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ - มีนบุรี ก่อนเพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดิน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นจึงน่าจะเริ่มต้นดำเนินการไปได้หลังจากปีพ.ศ. 2558 ไปแล้ว[14]
  • วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535[15]
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เตรียมจะเสนอโครงการนี้ให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจจารณาภายในสิ้นปีพ.ศ. 2557และเปิดประมูลช่วงต้นปีพ.ศ. 2558
  • วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ให้เตรียมกระบวนการประกวดราคาภายใน 6 เดือน และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยมีประมาณการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565[16][17] พร้อมทั้งได้ให้แนวทางเพิ่มเติมให้ออกแบบงานก่อสร้างแบบประหยัด และเน้นการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในส่วนที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจในประเทศรองรับการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบรางในอนาคต[18]
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้จัดพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม จำนวน 6 สัญญา โดยจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2566
  • วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาและปรับรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก จากเดิมที่รัฐเป็นผู้ลงทุนงานโยธา และเอกชนลงทุนในส่วนระบบงานรถไฟฟ้า ให้เปลี่ยนเป็น เอกชนลงทุนเอง 100% ทั้งงานโยธาและงานเดินรถในรูปแบบ PPP-Net Cost เช่นเดียวกับสายสีชมพูและสายสีเหลือง คาดว่าใช้เวลา 1-2 เดือนถึงจะได้ข้อสรุปเรื่องการลงทุนในส่วนนี้ โดยสาเหตุของมติดังกล่าวคือคณะรัฐมนตรีเล็งเห็นว่าส่วนตะวันตกเป็นโครงการใต้ดินทั้งโครงการ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง การให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเอง 100% จะช่วยเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐได้
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ผู้ชนะการประมูลงานก่อสร้างเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการตามแนวถนนรามคำแหง และถนนพระราม 9 โดยยกเว้นพื้นที่บริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรฟม. และศูนย์ซ่อมบำรุง เนื่องมาจากทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือขสมก. ได้ขอใช้พื้นที่ในการจอดรถโดยสารประจำทางแบบใช้ก๊าซเอ็นจีวีที่ได้มาจากความร่วมมือกับ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งต่อมากรมสรรพากรได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลให้ เบสท์ริน กรุ๊ป ดำเนินการจ่ายภาษีนำเข้ารถย้อนหลัง แต่ทางเบสท์ริน กรุ๊ป กลับอ้างว่ารถดังกล่าวได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของ ขสมก. แล้ว ทำให้รถถูกทิ้งเอาไว้ที่พื้นที่ รฟม. พระราม 9 โดยไม่มีการนำออกมาใช้งาน ซึ่งต่อมา รฟม. ได้ฟ้องร้องให้ ขสมก. และ เบสท์ริน กรุ๊ป ดำเนินการย้ายรถออกจากพื้นที่ แต่ทั้งคู่ขอยื่นอุทธรณ์เนื่องจากกลัวเสียรูปคดี ซึ่งปัจจุบัน รฟม. ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ด้วยสาเหตุนี้
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีการจัดการประชุมนัดพิเศษ และมีมติเห็นชอบในรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และการให้ผู้ให้บริการรายเดียวเดินรถครบทั้งสายมูลค่าการลงทุนรวม 143,000 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบสัญญาการร่วมลงทุน PPP-Net Cost โดยจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เสนอให้คณะรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบภายในปีนี้ และเปิดประมูลโครงการอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2562 เพื่อให้การดำเนินการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออกสามารถเปิดดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2566 โดยในร่างสัญญาเอกชนผู้ประมูลงานจะต้องเสนอราคาค่าก่อสร้างงานโยธาโดยรวมทั้งระบบภายใต้งบประมาณไม่เกิน 96,000 ล้านบาท และเสนอความคุ้มค่าและความเสี่ยงในการรับภาระส่วนแบ่งค่าโดยสาร[19]
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ คณะกรรมการพีพีพี มีมติไม่อนุมัติการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกภายใต้กรอบวงเงิน 128,000 ล้านบาท หลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีข้อกังขาในเรื่องการเปิดประมูลโครงการด้วยการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว จากเดิมที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ดำเนินการโครงสร้างส่วนตะวันออกโดยการเปิดประมูลแยกเป็นรายสัญญาไป ว่าการประมูลจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน หรืออาจเป็นการสมยอมราคากันหรือไม่ จึงขอให้ รฟม. ทบทวนรูปแบบการลงทุนใหม่เพื่อหาความเหมาะสมร่วมกัน[20]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2562 นายประคิน อรุโณทอง Senior Vice President สายงานการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 3 (โครงสร้างใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า) ได้จัดพิธีเริ่มดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ โดยมีนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นประธานในพิธี การก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นที่สถานีคลองบ้านม้า ถนนรามคำแหง มุ่งหน้าไปถนนพระราม 9 และสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาที่ 3 ที่สถานีหัวหมาก ทั้งนี้อิตาเลียนไทยคาดว่ากระบวนการก่อสร้างอุโมงค์แรกจะใช้เวลาทั้งหมด 12 เดือน หลังจากนั้นจะดำเนินการรื้อถอนอุปกรณ์ทั้งหมดกลับมาติดตั้งที่สถานีคลองบ้านม้า แล้วดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ที่สองต่อทันที คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี พ.ศ. 2564[21]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2562 นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม. ยืนยันที่จะเปิดประมูลโครงการส่วนตะวันตกทั้งหมดภายใต้สัญญาเดียว มูลค่าการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท หลังจากที่เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการพีพีพีมีมติไม่อนุมัติโครงการเนื่องจากสภาพัฒน์มีข้อกังขาเรื่องการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว โดยทางสภาพัฒน์เกรงว่าหากรวมเป็นสัญญาเดียวจะทำให้มีเอกชนเข้าร่วมประมูลน้อยราย ดังเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่มีเอกชนเข้ามาซื้อซองกว่า 31 ราย แต่มีผู้เข้าประมูลจริงเพียง 2 กลุ่มกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเอกชนเพียง 8 รายเท่านั้น ทั้งนี้ รฟม. ได้อธิบายให้สภาพัฒน์เข้าใจและเห็นชอบในรายละเอียดโครงการแล้ว โดยระบุว่าด้วยตัวเลขของวงเงินลงทุนที่เอกชนต้องลงทุน จะทำให้รัฐฯ ได้เอกชนที่มีศักยภาพในการลงทุนและดำเนินงานเข้ามาบริหารจัดการโครงการอย่างเป็นระบบ[22]
  • 21 มกราคม พ.ศ. 2562 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการพีพีพีครั้งที่ 1/2561 ว่า ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี ภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติให้ดำเนินโครงการภายใต้รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนกรรมสิทธิ์และการจัดสรรที่ดินสำหรับโครงการ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเฉพาะส่วนตะวันตก จัดหาระบบรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตก บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี และจัดเก็บค่าโดยสารภายใต้กรอบระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มเดินรถในส่วนตะวันออก[23]
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร รวมทั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และเดินรถไฟฟ้าตลอดสายรวม 35.9 กิโลเมตร ภายใต้กรอบวงเงินลงทุนรวม 122,067 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost สัญญาเดียว เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยรัฐบาลจะอุดหนุนเอกชนภายใต้วงเงินไม่เกิน 96,012 ล้านบาท และจะผ่อนผันคืนเอกชนเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เริ่มเดินรถในส่วนตะวันออก คาดว่าจะเปิดคัดเลือกเอกชนอย่างเป็นทางการภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 และจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการภายในต้นปี พ.ศ. 2564[24]
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บอร์ด รฟม. มีมติอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พรบ.ร่วมทุน และมีมติเร่งรัดการดำเนินการเรื่องเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะสามารถเผยแพร่เอกสารประกวดราคาได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ให้เวลาเอกชนทำข้อเสนอ 60 วัน และยื่นข้อเสนอทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติพร้อมลงนามสัญญาสัมปทานได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อที่จะได้สามารถก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 การประมูลจะเป็นรูปแบบ International Bidding เช่นเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดย รฟม. คาดว่าหลังเซ็นสัญญา จะสามารถเปิดให้บริการสายสีส้มส่วนตะวันออกได้ก่อน ใน พ.ศ. 2567 และจะเปิดให้บริการครบทั้งระบบได้ใน พ.ศ. 2570 โดยเบื้องต้นจะจัดซื้อรถไฟฟ้าสำหรับให้บริการ 40 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้[25]
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติไม่เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อใช้ดำเนินกิจการก่อสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้เหตุผลว่าการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังไม่เรียบร้อย และมีข้อร้องเรียนจากประชาชน โดยเฉพาะประชาชนย่านชุมชนประชาสงเคราะห์ที่ยื่นขอให้ทบทวนโครงการ จึงขอให้ รฟม. นำรายละเอียดทั้งหมดกลับเข้ากระบวนการพิจารณาให้เรียบร้อยเสียก่อน และขอให้ระงับการดำเนินงานทั้งหมดโดยเฉพาะการหาผู้รับจ้าง เพราะหากลงนามสัญญาไป จะเกิดปัญหาผู้รับจ้างไม่สามารถเริ่มงานได้ เนื่องจากยังไม่ได้พื้นที่ก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหาย และจะมีค่าโง่ตามมา[26]
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) และรายละเอียดการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ โดยมีกำหนดการประกาศเชิญชวนฯ ระหว่างวันที่ 3–9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จำหน่ายเอกสารระหว่างวันที่ 10–24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือน กันยายน พ.ศ. 2563 คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการฯ (RFP: Request for Proposal) โดยมีเอกชนแสดงความสนใจเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 10 ราย
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบให้เลื่อนกำหนดการยื่นข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน เป็นภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เนื่องจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำร้องท้วงติงกติกาผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยขอให้มีการพิจารณาผู้ชนะการประมูลจากเดิมข้อเสนอทางการเงิน 100% เป็น ผลคะแนนจากข้อเสนอทางเทคนิค 30% และข้อเสนอทางการเงิน 70% เพื่อให้ได้เอกชนที่มีคุณภาพและประสบการณ์งานใต้ดินมากที่สุด พร้อมทั้งปรับการยื่นซองข้อเสนอเป็น 4 ซองเหมือนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่จะให้ยื่นเพียง 3 ซอง[27]
  • 14 กันยายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนกติกาการคัดเลือกเอกชน จากเดิมพิจารณาข้อเสนอทางการเงิน เป็น ผลคะแนนจากซองที่ 2 และซองที่ 3 โดยข้อเสนอทางเทคนิค พิจารณาจากรายละเอียดและเทคนิคในการดำเนินการ มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน และข้อเสนอทางการเงิน พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ซึ่งเกิดขึ้นจาก (1) จำนวนเงินที่ขอรับอุดหนุนจากรัฐบาลไม่เกิน 96,000 ล้านบาท (2) ผลตอบแทนที่รัฐฯ จะได้รับตลอดอายุสัญญา จำนวนเงิน NPV จะเปลี่ยนเป็นคะแนน มีคะแนนเต็ม 70 คะแนน แล้วนำคะแนนทั้งสองส่วนมารวมกัน ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ที่ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนโครงการดีที่สุด และเพื่อเป็นการปรับปรุง คณะกรรมการฯ มีมติให้ทำหนังสือแจ้งให้เอกชนผู้ซื้อซองประมูลถึงการเปลี่ยนแปลงกติกาการพิจารณาข้อเสนอ และยืดระยะเวลาการจัดทำข้อเสนอใหม่ออกไปอีก 45 วัน เป็นเข้ายื่นซองในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
  • 17 กันยายน พ.ศ. 2563 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้มีการคุ้มครองการประมูล และปรับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบเดิมก่อนการลงมติเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 เนื่องจากเจตนาส่อใช้ดุลพินิจมอบงานให้เอกชนที่มีความใกล้ชิดเกี่ยวข้องมากที่สุด[28]
  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมจนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา[29]
  • 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมต่อศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้หากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนศาลปกครองกลางเดิม รฟม. อาจประกาศยกเลิกการประมูลในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เพื่อจัดทำเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะเปิดขายเอกสารได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ยื่นซองประมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้เอกชนร่วมลงทุนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 และลงนามในสัญญาสัมปทานได้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งจะส่งผลให้การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออกเลื่อนไปอีก 1 ปี เป็น พ.ศ. 2567[30]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - เปิดรับซองประมูล โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน))
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเลื่อนการเปิดซองพิจารณาผลการประมูลออกไปอย่างไม่มีกำหนด หรือไม่เกินราคายืนประมูล 270 วันตามที่กฎหมายกำหนด จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาในคดีพิพาทกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์)[31]
  • 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติยกเลิกการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและให้ รฟม. จัดส่งซองข้อเสนอทั้งหมดคืนผู้ยื่นซองเข้าประมูล อันได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) รวมถึงเพิกถอนคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้ คณะกรรมการ ม.36 มีความเห็นว่าการยกเลิกการประมูลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือ คณะกรรมการฯ สามารถจัดทำเงื่อนไขเพื่อเฟ้นหาเอกชนที่มีศักยภาพได้อย่างรัดกุมมากขึ้นโดยการใช้คะแนนเทคนิคร่วมกับคะแนนทางการเงิน และไม่จำเป็นต้องรอผลการตัดสินของศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้พิพากษากลับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบใหม่ ส่วนข้อเสียคือการดำเนินโครงการจำเป็นต้องเลื่อนออกไปอีก 6-9 เดือน เพื่อจัดทำการสำรวจตลาด ประชาพิจารณ์ และขออนุมัติโครงการใหม่[32]
  • 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งหมด ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ในกรณีที่คณะกรรมการ ม.36 ได้มีคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงกฎและเงื่อนไขการประมูลในส่วนสาระสำคัญภายหลังจากการเปิดขายซองรับข้อเสนอแก้เอกชน ซึ่งระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางตามหมายเลขคดีดำที่ 2280/2563 และศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ รฟม. ระงับการใช้ข้อบังคับดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีการตัดสินเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการ ม.36 ได้มีมติยกเลิกการประมูลโครงการด้วยเหตุผลว่าการฟ้องร้องและการยื่นขออุทธรณ์ทำโครงการล่าช้า ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในฐานะเอกชนผู้เข้าประมูลโครงการจึงได้รับความเสียหายทางธุรกิจ โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำสั่งประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท.30/2564[33]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  2. ทำรถไฟฟ้าบางขุนนนท์-มีนบุรี เวนคืนอื้องบพุ่ง ถึง1.78แสนล้าน
  3. แผนที่เส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ฉบับใหม่)
  4. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีน้ำตาล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
  5. https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/2722166404666743
  6. ปรับรายวันรถไฟฟ้าสีม่วง ยึดแนวเดิมเข้าบางซื่อ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548
  7. 7.0 7.1 หั่นเส้นทางรถไฟฟ้าใยแมงมุม ที่ปรึกษาชี้ไม่มีข้อมูลรองรับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  8. รฟม.ทุ่มเพิ่ม 2 พันล้าน ปรับเส้นทางเดินรถไฟสายสีส้ม
  9. คจร.สรุปก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้มยึดแนวเดิม
  10. รฟม.จ้างเอกชนผุดส่วนต่อ 3 เส้นทาง กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
  11. รฟม. ชงรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงแรก 12 กม.แสน ล. มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  12. วันที่รอคอย รถไฟฟ้า "สมัคร 1" เปิดหวูดเฟสแรก 7 เส้นทาง 3 แสนล้าน ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551
  13. คมนาคมพร้อมชงครม.ใหม่ เดินหน้ารถไฟฟ้าสารพัดสี ทั้งสีส้ม ชมพู เหลือง
  14. เพื่อไทยรื้อแผนปชป. ตัดทิ้งรถไฟฟ้า2สาย เส้นวัชรพล-พระราม9 และดินแดง-ยศเส สีส้มตัดระยะทางเหลือ 20 ก.ม.
  15. 'จารุพงศ์'ย้ำสร้างมูลค่าเพิ่มแนวรถไฟฟ้า
  16. http://www.posttoday.com/biz/gov/403973
  17. http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135400
  18. http://www.thairath.co.th/content/546386
  19. บอร์ดรฟม. ไฟเขียวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก คาดประมูลได้ปี’62
  20. สภาพัฒน์ขวางแผนลงทุนสายสีส้มค่างาน 1.3 แสนล.
  21. กดปุ่มเจาะอุโมงค์ใต้ดินสายสีส้มช่วง “หัวหมาก-คลองบ้านม้า” ITD ทุ่ม400ล้าน เร่งงานเสร็จ2ปี
  22. รฟม.ยันโมเดล PPP สายสีส้มตะวันตก เอกชนลงทุนทั้งโยธา-ระบบ
  23. “สมคิด” ไฟเขียวเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก 2.35 แสนล้านบาท แบบ PPP Fast Track
  24. ฉลุย! ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.22 แสนล้าน ดึงเอกชนลงทุน PPP 30 ปี
  25. รฟม.เร่งรถไฟฟ้าสีส้ม เปิดประมูล เม.ย.นี้-ตอกเข็มกลาง 64
  26. งานเข้า!! รถไฟฟ้าสีส้ม(ตก)”ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” ครม. ตีกลับร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน มีแววเลื่อนยาว/เปิดประมูลเจอค่าโง่
  27. รฟม.แก้ทีโออาร์”สายสีส้ม” เปลี่ยนใช้รวมคะแนน”เทคนิค-การเงิน”ตัดสิน เพื่อประโยชน์สูงสุด
  28. ‘BTS’ ลุ้น ศาล สั่ง ล้มประมูล รถไฟฟ้า “สายสีส้ม”
  29. ศาลสั่งคุ้มครองบีทีเอส ให้ รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตามเกณฑ์เดิม
  30. จับตา รฟม.อุทธรณ์ประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม"
  31. ด่วน! รฟม.เลื่อนเปิดซอง ”รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ไม่มีกำหนด
  32. รฟม.ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
  33. 'BTS' ยื่นฟ้อง 'รฟม.' ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มกลางอากาศ บริษัทเสียหาย

แหล่งข้อมูลอื่น