ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนวรรณวิทย์"

พิกัด: 13°44′17″N 100°33′21″E / 13.738187°N 100.555806°E / 13.738187; 100.555806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fridolin freudenfett (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{Infobox school
{{Infobox school
| name = โรงเรียนวรรณวิทย์
| name = โรงเรียนวรรณวิทย์
| image = [[ไฟล์:Seal of Wannawit School.png|190px|]]
| image = [[ไฟล์:Wannawit School logo.png|190px|]]
[[ไฟล์:Seal of Wannawit School ( colour ).png|190px|]]
[[ไฟล์:Seal of Wannawit School ( colour ).png|190px|]]
| en_name = Wannawit School
| en_name = Wannawit School

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:38, 2 มีนาคม 2564

โรงเรียนวรรณวิทย์
Wannawit School
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°44′17″N 100°33′21″E / 13.738187°N 100.555806°E / 13.738187; 100.555806
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ณ.ว. (WNW)
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
(ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)
สถาปนา20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (77 ปี)
ผู้ก่อตั้งหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
ผู้บริหารหม่อมราชวงศ์หญิงรุจีสมร สุขสวัสดิ์
ผู้จัดการหม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์
สีเขียว เทา
██████
เพลงมาร์ชวรรณวิทย์
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

โรงเรียนวรรณวิทย์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 16 ซอยสุขุมวิท 8 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีอายุ 77 ปี เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยรับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง และมีผู้อำนวยการและผู้จัดโรงเรียนคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ มีบุคลากรครูทั้งหมด 43 คน ส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียน[1] [2] ทางโรงเรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การใช้เสียงระฆังเป็นสัญลักษณ์ในการส่งสัญญาณเปลี่ยนคาบเรียน[1]

ประวัติ

โรงเรียนวรรณวิทย์ ก่อตั้งโดยหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เรือนไม้ชั้นเดียวในซอยสุขุมวิท 4 ถนนสุขุมวิท หรือ ซอยสมาหาร โรงเรียนวรรณวิทย์ ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คนเท่านั้น หม่อมผิว เป็นครูใหญ่เอง สั่งสอนอบรมนักเรียนเองด้วย โดยมีความมุ่งมั่นที่จะให้เป็นสถานศึกษา ที่ให้ทั้งวิชาความรู้ รวมทั้งอบรมสั่งสอนศิลธรรม จรรยา ขนบประเพณี และพลศึกษาไปด้วย ในระยะแรกเริ่มก่อตั้งมีนักเรียนเพียง 7 คน โดยหม่อมผิว เป็นครูใหญ่และทำการสอนด้วยตนเอง โดยไม่เก็บเงินบำรุงการศึกษาในการรับเข้าเรียนและอนุญาตให้ค้างค่าเล่าเรียนโรงเรียนได้ โรงเรียนวรรณวิทย์ขยายกิจการขึ้นเรื่อย ๆ มีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี และได้เพิ่มชั้นเรียนขึ้นจนถึงชั้นมัธยมสามัญตอนกลาง (ม.3 ในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2496

ต่อมาหม่อมผิว มีอายุมากขึ้น จึงให้ธิดาคนเล็กคือ หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ เป็นผู้จัดการ และครูใหญ่แทน โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2497 และในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2497 นี้กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะโรงเรียนวรรณวิทย์เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และในปีนี้โรงเรียนได้ซื้อที่ดินด้านหน้า ซอยสุขุมวิท 8 (ซอย ปรีดา) จึงเปลี่ยนทางเข้าออกและเลขที่มาเป็นด้านซอยสุขุมวิท 8 ส่วนประตูทางเข้าเดิมด้านซอยสมาหารเปลี่ยนเป็นประตูหลัง และได้ขยายอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก จากอาคารเรือนไม้ชั้นเดียวมาเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รูปตัวแอล

พ.ศ. 2505 ได้ก่อสร้างอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นที่ 2 และ 3 ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3

พ.ศ. 2508 ได้สร้างอาคารใต้ถุนสูงขึ้นอีก 1 หลังด้านหน้าโรงเรียน ชั้นล่างเปิดโล่งตลอดเป็นลานอเนกประสงค์ ชั้นบนเป็นห้องเรียน

ปัจจุบัน โรงเรียนมีพื้นที่ขนาด 3 ไร่ อาคารเรียนเป็นอาคารไม้สองชั้น มีนักเรียนประมาณ 500 คน ทางโรงเรียนคิดค่าเทอมเพียงเทอมละ 1,600 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าถูกมาก เนื่องจากนักเรียนส่วนมากเป็นบุตรหลานของผู้ที่มีรายได้น้อยในละแวกนี้ แม้จะมีผู้ขอซื้อที่ดินไปสร้างเป็นโรงแรมและคอนโดมิเนียมโดยให้ราคาสูงถึงพันล้านบาท แต่ทางหม่อมราชวงศ์รุจีสมรซึ่งเป็นผู้บริหารยืนยันที่จะไม่ขาย ด้วยต้องการจะให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่เด็ก ๆ ต่อไป [1]

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์

นางฟ้าถือคบเพลิง

สีประจำโรงเรียน

สีเขียว และ สีเทา

อักษรย่อ

ว.ณ.ว.

คติพจน์

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน

ต้นกระทิงทะเล

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

ลำดับ รูป รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ครูใหญ่และผู้จัดการ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2489 26 เมษายน พ.ศ. 2497
2 หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการ 27 เมษายน พ.ศ. 2497 ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "เรื่องเล่าเช้านี้". ช่อง 3. 16 January 2015. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015.
  2. รายงานเรื่องราวของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมขาดความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนวรรณวิทย์
  3. "ทำไมเงินซื้อไม่ได้ เปิดหัวใจ 'ม.ร.ว.รุจีสมร' ครูใหญ่วรรณวิทย์ ร.ร.ไม้ท่ามกลางดงยักษ์คอนกรีต". ไทยรัฐออนไลน์. 18 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′17″N 100°33′21″E / 13.738187°N 100.555806°E / 13.738187; 100.555806{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้