ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข่าวในพระราชสำนัก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


* '''[[ททบ. 5 เอชดี 1]]'''
* '''[[ททบ. 5 เอชดี 1]]'''
** [[กันตชาติ เกษมสันต์ ณ อยุธยา]]
** [[บุณฑริกา เอี่ยมคงศรี]]
** [[ปาจรีย์ สวนศิลป์พงศ์]]
** [[ปาจรีย์ สวนศิลป์พงศ์]]
** [[ปาริชาติ ไวกวี กมลอาสน์]]
** [[ปาริชาติ ไวกวี กมลอาสน์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:04, 2 มีนาคม 2564

ข่าวในพระราชสำนัก เป็นช่วงเวลาที่สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินทุกช่องในประเทศไทย ซึ่งกระจายเสียงและแพร่ภาพจากเสาอากาศบนบก จะนำเสนอการรายงานข่าวพระราชกรณียกิจหรือพระกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีการกำหนดร่วมกับสำนักพระราชวัง ไว้ที่เวลาประมาณ 20:00 น. ของทุกวัน ริเริ่มขึ้นในราวต้นพุทธทศวรรษที่ 2500 ตามดำริของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง] และทั้งนี้ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2543 เริ่มมีการต่อด้วยข่าวภารกิจของผู้แทนพระองค์ เช่น ราชเลขานุการในพระองค์ นางสนองพระโอษฐ์ หัวหน้าหน่วยงานในพระบรมราชูปถัมภ์ และองคมนตรี เป็นต้น

ตามประกาศคณะการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556 วางกรอบของข่าวในพระราชสำนักเอาไว้ว่าต้องจัดให้ออกอากาศข่าวในพระราชสำนักทุกวัน ระหว่างเวลา 19.00-20.30 น. ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ออกอากาศระหว่างเวลา 18.00-22.00 ได้ ทั้งนี้ตามที่กรมราชเลขานุการในพระองค์ สำนักพระราชวังกำหนด หรือตามหลักเกณฑ์อื่น[1]

ลำดับการนำเสนอข่าว

ข่าวในพระราชสำนักจะเสนอตามลำดับฐานันดรศักดิ์ในแต่ละพระองค์ ซึ่งกรมราชเลขานุการในพระองค์ สำนักพระราชวังได้จัดไว้ ดังนี้[2]

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  4. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  5. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  6. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
  7. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
  8. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
  9. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
  10. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
  11. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
  12. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
  13. ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน
  14. ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน
  15. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

รายชื่อผู้ประกาศข่าวในพระราชสำนัก

ปัจจุบัน

ในอดีต

ข่าวในพระราชสำนักในโอกาสพิเศษ

พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อ พ.ศ. 2549 มีพระประมุขและผู้แทนพระประมุขเดินทางมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และแต่ละพระองค์มีหมายกำหนดการทั้งส่วนพระองค์และกำหนดการอย่างเป็นทางการ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จึงจัดช่วงข่าวในพระราชสำนักพิเศษ โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องในเครือข่ายจะถ่ายทอด รายการข่าวในพระราชสำนักจากศูนย์รายงานกลาง โดยมีผู้ประกาศข่าวในพระราชสำนักจากทุกช่อง สลับหมุนเวียนอ่านข่าวในแต่ละวัน ซึ่งการนำเสนอข่าวของพระประมุขและผู้แทนพระประมุข จะเสนอหลังจากพระบรมวงศานุวงศ์ไทย โดยจะออกอากาศในช่วงพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ระหว่างวันที่ 8-14 มิถุนายน พ.ศ. 2549

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้จัดทำข่าวในพระราชสำนักเป็นกรณีพิเศษ โดยหมอบหมายให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องดึงสัญญาณจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยออกอากาศในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 2 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค[3]

การออกอากาศก่อนและหลังเวลา 20.00 น.

ในกรณีถ่ายทอดสดรายการสำคัญ ทางสถานีจะขอเลื่อนเวลาออกอากาศข่าวในพระราชสำนัก ให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้เป็นรายครั้ง เช่น ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ดำเนินการถ่ายทอดสด พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. และตามกำหนดการของทางฝ่ายจัดการแข่งขันจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ทางสถานีฯ จึงเลื่อนการออกอากาศข่าวในพระราชสำนักเป็นเวลา 18.30 น. เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาเมื่อ กสทช.ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ เพื่อแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 แล้วนั้น ยังคงมีเพียงบางช่องโทรทัศน์ รวมถึงช่องโทรทัศน์ดาวเทียมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวและการเมือง ซึ่งมีความพร้อมในการบันทึก รายการข่าวในพระราชสำนัก จากสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบแอนะล็อกเดิม ซึ่งนำเสนอในเวลา 20:00 น.ของทุกวัน มาออกอากาศซ้ำทางช่องของตน โดยส่วนมากจะกำหนดไว้ที่เวลา 20:00 น.-21:00 น. ของทุกวัน ส่วนบางช่องจะออกอากาศข่าวในพระราชสำนักพร้อมกันกับสถานีโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิมในเวลา 21:00 น.

สถานีวิทยุที่นำเสนอข่าวในพระราชสำนัก

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอข่าวในพระราชสำนัก ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงอีก 4 เครือข่ายด้วย ดังนี้

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/027/22.PDF ราชกิจจานุเบกษา 27 กุมภาพันธ์ 2556
  2. พระปรมาภิไธย, พระนามาภิไธย และพระนาม จากเว็บไซต์[http://www.ohmpps.go.th สำนักราชเลขาธิการ
  3. ข่าวในพระราชสำนัก พระราชพิธีบรมราชาภิเษภ พุทธศักราช 2562, เฟซบุ๊กเพจ ยามเฝ้าจอ เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  4. กระจายเสียงทางสถานีวิทยุในการกำกับถึง 127 สถานีทั่วประเทศ โดยรับสัญญาณการถ่ายทอดคลื่นความถี่เสียง จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

แหล่งข้อมูล