ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็มบีเคเซ็นเตอร์"

พิกัด: 13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: เพิ่มความร่วมมือในนามกลุ่มพลังสยาม
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าเปลี่ยนชื่อเป็น ''เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์'' พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้งเป็น''บริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)'' เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น ''บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)'' รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[[เอ็มบีเคเซ็นเตอร์#cite%20note-background-3|<sup>[3]</sup>]]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าเปลี่ยนชื่อเป็น ''เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์'' พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้งเป็น''บริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)'' เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น ''บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)'' รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[[เอ็มบีเคเซ็นเตอร์#cite%20note-background-3|<sup>[3]</sup>]]


ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บมจ.เอ็มบีเค ได้รวมตัวกับ[[สยามพิวรรธน์]] และกลุ่มธุรกิจ[[สยามสแควร์]] ก่อตั้ง[[สมาคมการค้าพลังสยาม]]ขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าใน[[ย่านสยาม]]ให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก<ref name=":0">{{Cite web|last=|first=|date=2015-10-02|title=3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่|url=https://www.voicetv.co.th/watch/266157|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=[[วอยซ์ทีวี]]|language=th}}</ref><ref>{{Cite web|date=2015-09-30|title=พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน “ย่านสยาม” ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า|url=http://www.siam-synergy.com/th/topics/siam-district-collaboration/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=สมาคมการค้าพลังสยาม}}</ref> จากนั้น บมจ.เอ็มบีเค ก็ได้รับเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ในการใช้ปรับปรุงเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2559<ref>{{Cite web|last=|date=2016-09-13|title=รู้หรือไม่ “MBK Center” เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย|url=https://www.brandbuffet.in.th/2016/09/shopping-mall-mbk-center/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=Brand Buffet|language=th}}</ref><ref>{{Cite web|date=2016-12-31|title=[SR] โฉมใหม่รับปีใหม่ : ไปถ่ายไฟที่ MBK Center กัน !! … ลุยยยย !!|url=https://pantip.com/topic/35965472|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=[[พันทิป.คอม]]|language=th}}</ref>
<gallery mode=packed>

<gallery mode="packed">
ไฟล์:MBK Center Level 2 201801.jpg|ชั้น 2
ไฟล์:MBK Center Level 2 201801.jpg|ชั้น 2
ไฟล์:MBK Center Level 3 2011.JPG|ชั้น 3
ไฟล์:MBK Center Level 3 2011.JPG|ชั้น 3

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:48, 1 มีนาคม 2564

เอ็มบีเคเซ็นเตอร์
แผนที่
บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
ประเภทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
รูปแบบบริษัทมหาชน SET:MBK
ก่อนหน้าบจก.มาบุญครองอบพืชและไซโล
บมจ.เอ็มบีเคพรอพเพอร์ตีส์แอนด์ดีเวลอปเมนต์
บมจ.เอ็มบีเคดีเวลอปเมนต์
ก่อตั้ง25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
ผู้ก่อตั้งศิริชัย บูลกุล
สำนักงานใหญ่ชั้น 8 อาคารเอ็มบีเคเซ็นเตอร์
444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[1]
บุคลากรหลัก
บันเทิง ตันติวิท
ประธานกรรมการ
สุเวทย์ ธีรวชิรกุล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแลกรรมการผู้อำนวยการ
ศุภเดช พูนพิพัฒน์
ประธานกรรมการบริหารและรองประธานกรรมการ
บริการเอ็มบีเคเซ็นเตอร์
โรงแรมปทุมวันปรินเซส
ฯลฯ
เว็บไซต์www.mbk-center.co.th
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ โซนเอ (Atrium)

ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MBK Center) เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ดำเนินงานโดยบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ภายในอาคารขนาด 8 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของสี่แยกปทุมวัน ในย่านสยาม มีพื้นที่ใช้ทั้งหมด 270,685.57 ตารางเมตร ซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นพื้นที่เช่าค้าขาย จำนวนกว่า 2,500 ร้านค้า โดยมีสินค้าและบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ประวัติ

บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[2]  ดำเนินกิจการให้บริการพัก เก็บ อบ และขนถ่ายผลิตผลทางการเกษตร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2521[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 บริษัทฯ ดำเนินการเช่าที่ดินบริเวณสี่แยกปทุมวันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก่อสร้างอาคาร ศูนย์การค้ามาบุญครอง จนกระทั่งแล้วเสร็จ เริ่มเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528[2] ศูนย์การค้ามาบุญครอง นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ผนังอาคารทั้งหลัง บุด้วยหินอ่อนทั้งภายนอกและภายใน ทว่าบริษัทฯ ขอยุติการเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี พ.ศ. 2530[2]

จากนั้นปี พ.ศ. 2533 มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร[2] พร้อมทั้งชื่อใหม่เป็นบริษัท เอ็มบีเค พรอพเพอร์ตีส์ แอนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด ซึ่งเข้าจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537 เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า MBK-PD และเริ่มซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ปีเดียวกัน[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์การค้าเปลี่ยนชื่อเป็น เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงอาคาร โดยเปลี่ยนวัสดุผนังภายนอก และปรับปรุงทางหนีไฟ จากนั้น ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ อีกสองครั้งเป็นบริษัท เอ็ม บี เค ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเป็น บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) รวมทั้งเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น MBK เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[3]

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 บมจ.เอ็มบีเค ได้รวมตัวกับสยามพิวรรธน์ และกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[2][3] จากนั้น บมจ.เอ็มบีเค ก็ได้รับเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ในการใช้ปรับปรุงเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้น โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2559[4][5]

การจัดสรรพื้นที่

ห้างสรรพสินค้าโตคิว

เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค้าครบวงจรภายใต้ Concept “One Stop Shopping” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 23 ไร่ โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้

โดยมีสะพานลอยปรับอากาศเชื่อมศูนย์การค้ากับสยามสแควร์ ผ่านโซน A LA ART ที่ชั้น 2, ทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ที่ชั้น 2, 3 และสะพานลอยเชื่อมไปยังคณะสหเวชศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชั้น 3

พื้นที่จัดสรรในอดีต

  • ห้างสรรพสินค้าโตคิว (ย้ายมาจากอาคารศรีวราทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก หรืออาคารซีดับเบิลยูในปัจจุบัน ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 รายละเอียดบริษัท/หลักทรัพย์เซ็ทเทรดดอตคอม
  2. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "รู้หรือไม่ "MBK Center" เคยเป็นศูนย์การค้าแบรนด์เนม และเผยภารกิจใหญ่กับการเพิ่มลูกค้าไทย". Brand Buffet. 2016-09-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "[SR] โฉมใหม่รับปีใหม่ : ไปถ่ายไฟที่ MBK Center กัน !! … ลุยยยย !!". พันทิป.คอม. 2016-12-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 'เอ็มบีเค เสริมทัพแม่เหล็กฉีกออนไลน์หวังดึงลูกค้า'

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′40″N 100°31′49″E / 13.744471°N 100.530288°E / 13.744471; 100.530288