ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่านสยาม"

พิกัด: 13°44′44″N 100°32′3″E / 13.74556°N 100.53417°E / 13.74556; 100.53417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎ประวัติ: เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับความร่วมมือทางการค้า
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== คำอธิบาย ==
== คำอธิบาย ==
ย่านสยามตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 จากหัวมุมของแยกปทุมวัน ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับ[[ถนนพญาไท]] ไปยังแยกเฉลิมเผ่า ที่บรรจบกับ[[ถนนอังรีดูนังต์]] [[สยามสแควร์]]คือตึกทั้งหมดที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของถนนไปจนถึง[[ซอยจุฬาลงกรณ์ 64]] ในขณะที่ศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม คือสยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน อยู่ทางทิศเหนือของถนน จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกตามลำดับ ส่วนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแยกปทุมวัน ในขณะที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บนที่ดินของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ถัดจากเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ไปทางทิศตะวันตกเป็น[[กรีฑาสถานแห่งชาติ (ไทย)|กรีฑาสถานแห่งชาติ]] ส่วนทางทิศตะวันออกของแยกเฉลิมเผ่าเป็นวัดปทุมวนารามราชวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศเหนือของถนน เป็นการแยกสยามพารากอนออกจากเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์ และมี[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)|สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]อยู่ตรงข้ามวัดปทุมวนารามราชวรวิหารทางด้านทิศใต้
ย่านสยามตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 จากหัวมุมของแยกปทุมวัน ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับ[[ถนนพญาไท]] ไปยังแยกเฉลิมเผ่า ที่บรรจบกับ[[ถนนอังรีดูนังต์]] [[สยามสแควร์]]คือตึกทั้งหมดที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของถนนไปจนถึง[[ซอยจุฬาลงกรณ์ 64]] ในขณะที่ศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม คือสยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน อยู่ทางทิศเหนือของถนน จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกตามลำดับ ถัดจากนั้นทางตอนเหนือเป็นวังสระปทุม กินพื้นที่ยาวไปจนถึง[[สะพานหัวช้าง]] ส่วนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแยกปทุมวัน ในขณะที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถัดจากเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ไปทางทิศตะวันตกเป็น[[กรีฑาสถานแห่งชาติ (ไทย)|กรีฑาสถานแห่งชาติ]] ส่วนทางทิศตะวันออกของแยกเฉลิมเผ่าเป็นวัดปทุมวนารามราชวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศเหนือของถนน เป็นการแยกสยามพารากอนออกจากเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์ และมี[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)|สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]อยู่ตรงข้ามวัดปทุมวนารามราชวรวิหารทางด้านทิศใต้


{{Clear}}
{{Clear}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:53, 1 มีนาคม 2564

พื้นที่สยามกับสยามสแควร์ ศูนย์การค้าแนวราบที่มุมขวาล่าง นอกเหนือจากเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสแล้วทางซ้ายมือยังมีสยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และด้านหลังคือพื้นที่สีเขียวของวังสระปทุม

ย่านสยาม (อังกฤษ: Siam area) เป็นย่านศูนย์การค้าสำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ชิดกับทั้ง 2 ฝั่งของถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ตั้งแต่แยกปทุมวัน ถึงแยกเฉลิมเผ่า เลยไปบรรจบกับย่านราชประสงค์ที่อยู่ติดกัน ย่านนี้เป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง และเมื่อรวมกับย่านราชประสงค์ จึงเป็นรูปแบบที่เรียกว่า "ย่านการค้าใจกลางเมือง" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นใจกลางเมืองสมัยใหม่ในด้านธุรกิจและการค้าของกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ดังกล่าวตั้งชื่อตามสยามสแควร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ค้าปลีกแนวราบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของและผู้พัฒนา รวมถึงศูนย์การค้าที่อยู่ตรงข้ามอีกจำนวน 3 แห่ง ซึ่งล้วนแต่มี สยาม เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ ได้แก่ สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน ซึ่งมาแทนที่โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ในปี พ.ศ. 2545 รวมถึงต่อมาศูนย์การค้าทั้ง 3 แห่งดังกล่าวถูกเรียกว่า "วันสยาม" ที่ดินดังกล่าวเช่ามาจากวังสระปทุม ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์จักรีในสายราชสกุลมหิดล ซึ่งเป็นสายของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียงยังมีเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ตรงข้ามแยกปทุมวัน

การพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่เริ่มแรกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ควบคู่ไปกับย่านราชประสงค์ และพวกเขาก็ค่อย ๆ แทนที่ย่านวังบูรพา ในฐานะศูนย์กลางของการค้าปลีกในเมืองและวัฒนธรรมของเยาวชน นอกจากนี้รถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 และมีสถานีสยามเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ ยังช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับย่านนี้

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างพระราชวังและพระอารามหลวง (วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร) ใกล้กับพื้นที่สยามในปัจจุบันในช่วงประมาณ พ.ศ. 2398 ในขณะที่พื้นที่ที่ตั้งของย่านสยามในปัจจุบันได้รับพระราชทานมาจากองค์สืบทอดคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 สำหรับการสร้างวังบริเวณด้านทิศเหนือของถนนพระรามที่ 1 (หรือเรียกว่า ถนนสระปทุม หรือ ถนนปทุมวัน) เพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และกลายเป็นวังสระปทุม[1] ส่วนบริเวณทิศใต้ของถนนมีพระราชดำริที่จะพระราชทานให้เป็นที่ดินสำหรับก่อสร้างวังวินด์เซอร์ เพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร แต่พระองค์เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน และในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานที่ดินของวังให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2460[2]

พื้นที่ริมถนนฝั่งใต้เดิมถูกปล่อยทิ้งไว้โดยมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ใช้งาน กลายเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบชุมชนแออัด เป็นสวนผัก จนกระทั่งเกิดไฟไหม้ในปี พ.ศ. 2505 ชาวบ้านจึงออกจากพื้นที่ และนิสิตมหาวิทยาลัยได้ช่วยกันคุมพื้นที่ไม่ให้ชาวบ้านกลับเข้ามาอีก จากนั้นพื้นที่บริเวณนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นย่านค้าปลีกแนวราบและเปิดเป็นสยามสแควร์ ในปี พ.ศ. 2506 ในช่วงเวลาเดียวกันกับการพัฒนาที่คล้ายคลึงกันในแยกราชประสงค์ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีศูนย์การค้าปรับอากาศที่มีชื่อเสียงคือไทยไดมารู ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2507 โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ฝั่งตรงข้ามของถนนพระรามที่ 1 สร้างขึ้นบนที่ดินที่เช่าจากวังสระปทุม โดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือโรงแรมหรูระดับนานาชาติของสายการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์ และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2509 ดำเนินการโดย บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด (BIHC) และยังสร้างศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์เพิ่มด้วย ซึ่งเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2516 ส่วนศูนย์การค้ามาบุญครอง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มบีเคเซ็นเตอร์) เปิดบนที่ดินของมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2528 ซึ่งเป็นปีเดียวกับเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (ปัจจุบันคือเซ็นทรัลเวิลด์) ในย่านราชประสงค์ และทำให้เกิดการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและการค้าที่น่ากลัวใน 2 ย่านนี้ ต่อมา BIHC เปิดศูนย์การค้าแห่งที่ 2 คือสยามดิสคัฟเวอรี ในปี พ.ศ. 2540 ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเงิน และการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสในปีนั้น[3][4]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ย่านสยามและสยามสแควร์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งวิถีชีวิตหลักสำหรับวัยรุ่นในเมือง โดยเข้ามามีบทบาทแทนพื้นที่วังบูรพาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950-1960[3] การเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2542 โดยมีจุดเชื่อมต่อส่วนกลางที่สถานีสยาม ทำให้ความโดดเด่นของย่านสยามนี้มีมากขึ้น และเมื่อรวมกับย่านราชประสงค์แล้วจึงถูกมองว่าเป็นรูปแบบที่เรียกว่า "ย่านการค้าใจกลางเมือง"[5] สยามอินเตอร์คอนติเนนตัลปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2545 และถูกแทนที่ด้วยสยามพารากอน ซึ่งถือเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในย่านสยาม ซึ่งเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2548[6] รวมถึงยังมีหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2551

ด้วยความเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองทำให้ผู้ประท้วงกลุ่มคนเสื้อแดงใช้พื้นที่นี้เข้ายึดครองในปี พ.ศ. 2553 ก่อนจะจบลงด้วยการสลายการชุมนุมที่บริเวณใกล้เคียง

ต่อมากลุ่มธุรกิจการค้าทั้งหมด ทั้ง บมจ.เอ็มบีเค, สยามพิวรรธน์ และกลุ่มธุรกิจของสยามสแควร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยาม เพื่อร่วมกันพัฒนาย่านสยามให้เป็นย่านการค้าปลีกระดับโลก สะท้อนแนวคิดของกรุงเทพมหานครที่เป็น "มหานครแห่งความทันสมัยที่หลากหลาย"[7] โดยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558[8] ส่งผลให้เกิดการพัฒนาในย่านสยามเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมถึงสามารถดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในย่านสยามได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย[9]

คำอธิบาย

ย่านสยามตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 จากหัวมุมของแยกปทุมวัน ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพระรามที่ 1 กับถนนพญาไท ไปยังแยกเฉลิมเผ่า ที่บรรจบกับถนนอังรีดูนังต์ สยามสแควร์คือตึกทั้งหมดที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของถนนไปจนถึงซอยจุฬาลงกรณ์ 64 ในขณะที่ศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม คือสยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน อยู่ทางทิศเหนือของถนน จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกตามลำดับ ถัดจากนั้นทางตอนเหนือเป็นวังสระปทุม กินพื้นที่ยาวไปจนถึงสะพานหัวช้าง ส่วนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแยกปทุมวัน ในขณะที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถัดจากเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ไปทางทิศตะวันตกเป็นกรีฑาสถานแห่งชาติ ส่วนทางทิศตะวันออกของแยกเฉลิมเผ่าเป็นวัดปทุมวนารามราชวรวิหารตั้งอยู่ทางทิศเหนือของถนน เป็นการแยกสยามพารากอนออกจากเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์ และมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ตรงข้ามวัดปทุมวนารามราชวรวิหารทางด้านทิศใต้

อ้างอิง

  1. คณะทำงานหนังสือวัดปทุมวนารามราชวิหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2011). วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร. Chulalongkorn University Press. Reproduced in "เขตประทุมวัน : โดย บัณฑิต จุลาสัย และ รัชดา โชติพานิช". Matichon Online. 29 April 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  2. พีรศรี โพวาทอง (8 June 2020) [Originally published June 2005]. "วังใหม่ที่ปทุมวัน : ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม "ความทรงจำอันเลือนราง"". Silpa Wattanatham. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  3. 3.0 3.1 Prepanod Nainapat (4 April 2017). "'สยามสแควร์' ถนนวัยรุ่นสู่วัยรุ่นอีกรุ่น". The Matter.
  4. อรวรรณ บัณฑิตกุล (April 2002). "42 ปี บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส". Manager. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
  5. McGrath, Brian (2005). "Bangkok's CSD". ใน Benites, Cecilia; Lyster, Clare (บ.ก.). Regarding Public Space. New York: Princeton Architectural Press. pp. 46–53. ISBN 9781568985442.
  6. ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์ (25 December 2005). "สยามพารากอน....อีกก้าวหนึ่งของประเทศไทยไปสู่สวรรค์แห่งการชอปปิ้ง". Manager Daily. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
  7. "เกี่ยวกับเรา". สมาคมการค้าพลังสยาม. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ""แลนด์มาร์ก" ค้าปลีก 5 ย่าน 5 ทำเล...แห่ยึดใจกลางเมือง". สนุก.คอม. 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

13°44′44″N 100°32′3″E / 13.74556°N 100.53417°E / 13.74556; 100.53417