ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
แต่ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ขายหุ้นทั้ง 59.99% ในบีอีซี-เทโรฯ กลับไปให้ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ถือหุ้นทั้งหมดจำนวน 100% ทำให้บีอีซี-เทโรฯ พ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบีอีซีเวิลด์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์''' '''จำกัด (มหาชน)'''<ref>{{Cite web|last=|first=|date=8 ธันวาคม 2563|title=ช่อง 3 ตัดสินใจขาย “บีอีซี-เทโร” ทั้งหมดให้กับ “ไบร์อัน ลินด์เซ มาร์การ์” ในราคา 15 ล้านบาท|url=https://www.songsue.co/11685/?fbclid=IwAR1pSYOe5-6dSQY2wmcEs9-mSwfL9wbrqHDynbaicwQDwIuwbQ6ibWSYEfQ|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=9 ธันวาคม 2563|website=ส่องสื่อ}}</ref>
แต่ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ขายหุ้นทั้ง 59.99% ในบีอีซี-เทโรฯ กลับไปให้ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ถือหุ้นทั้งหมดจำนวน 100% ทำให้บีอีซี-เทโรฯ พ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบีอีซีเวิลด์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์''' '''จำกัด (มหาชน)'''<ref>{{Cite web|last=|first=|date=8 ธันวาคม 2563|title=ช่อง 3 ตัดสินใจขาย “บีอีซี-เทโร” ทั้งหมดให้กับ “ไบร์อัน ลินด์เซ มาร์การ์” ในราคา 15 ล้านบาท|url=https://www.songsue.co/11685/?fbclid=IwAR1pSYOe5-6dSQY2wmcEs9-mSwfL9wbrqHDynbaicwQDwIuwbQ6ibWSYEfQ|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=9 ธันวาคม 2563|website=ส่องสื่อ}}</ref>


ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกัน ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ได้ส่งผู้บริหารบางส่วนไปบริหารใน[[แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น|บริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)]] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ[[ช่อง 7 เอชดี]] เช่น เวลล์ เนล ทอมบ์สัน อดีตรองกรรมการผู้จัดการของเทโรฯ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ และคมกริช ศิริรัตน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการของไทยทิคเก็ตเมเจอร์ บริษัทลูกของเทโร เป็นกรรมการบริษัทแม็ทชิ่งฯ ก่อนที่กลุ่มของไบรอันทั้งหมดจะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ ร่วมกันด้วย<ref>{{Cite web|date=2021-01-16|title=ไบรอัน มาร์การ์ ซบ “กฤตย์” นายใหญ่ 7 สี ร่วมบริหาร “แม็ทชิ่ง” ลุยธุรกิจเอ็นเตอร์เทน|url=https://www.tvdigitalwatch.com/news-brian-marcar-16-1-64/|url-status=live|access-date=2021-02-23|website=TV Digital Watch|language=th}}</ref> ดังนั้นเทโรฯ จึงถอนรายการที่เทโรผลิตใน[[ช่อง 3 เอชดี]] ออกจากผังของช่องทั้งหมดในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ยกเว้น[[เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง]] [[เรื่องเล่าเช้านี้]] และ[[เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์]] ที่เปลี่ยนไปให้[[ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี|ฝ่ายข่าวของช่อง]]ผลิตเอง และให้[[ไร่ส้ม|บริษัท ไร่ส้ม จำกัด]] ของ[[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]] ร่วมผลิตรายการเช่นเดิม ทั้งนี้ รายการแรกของเทโรฯ ที่ออกอากาศทางช่อง 7 เอชดี คือ [[ขบวนการซ่า ฮายกล้อ]]<ref>{{Cite web|date=2021-02-15|title=เทโรฯ โร่ซบบ้านใหม่ช่อง 7 ใต้ปีก “กฤต รัตนรักษ์”|url=https://www.tvdigitalwatch.com/news-tero-15-2-64/|url-status=live|access-date=2021-02-23|website=TV Digital Watch|language=th}}</ref>
ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกัน ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ได้ส่งผู้บริหารบางส่วนไปบริหารใน[[แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น|บริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)]] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ[[ช่อง 7 เอชดี]] เช่น เวลล์ เนล ทอมบ์สัน อดีตรองกรรมการผู้จัดการของเทโรฯ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ และคมกริช ศิริรัตน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการของไทยทิคเก็ตเมเจอร์ บริษัทลูกของเทโร เป็นกรรมการบริษัทแม็ทชิ่งฯ ก่อนที่กลุ่มของไบรอันทั้งหมดจะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ ร่วมกันด้วย<ref>{{Cite web|date=2021-01-16|title=ไบรอัน มาร์การ์ ซบ “กฤตย์” นายใหญ่ 7 สี ร่วมบริหาร “แม็ทชิ่ง” ลุยธุรกิจเอ็นเตอร์เทน|url=https://www.tvdigitalwatch.com/news-brian-marcar-16-1-64/|url-status=live|access-date=2021-02-23|website=TV Digital Watch|language=th}}</ref> ดังนั้นเทโรฯ จึงถอนรายการที่เทโรผลิตใน[[ช่อง 3 เอชดี]] ออกจากผังของช่องทั้งหมดในหลังสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ยกเว้น[[เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง]] [[เรื่องเล่าเช้านี้]] และ[[เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์]] ที่เปลี่ยนไปให้[[ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี|ฝ่ายข่าวของช่อง]]ผลิตเอง และให้[[ไร่ส้ม|บริษัท ไร่ส้ม จำกัด]] ของ[[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]] ร่วมผลิตรายการเช่นเดิม<ref>{{Cite web|date=2021-02-15|title=เทโรฯ โร่ซบบ้านใหม่ช่อง 7 ใต้ปีก “กฤต รัตนรักษ์”|url=https://www.tvdigitalwatch.com/news-tero-15-2-64/|url-status=live|access-date=2021-02-23|website=TV Digital Watch|language=th}}</ref>


== คณะผู้บริหาร ==
== คณะผู้บริหาร ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:52, 28 กุมภาพันธ์ 2564

บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทสื่อสารมวลชน
อุตสาหกรรมสื่อประสม การแสดง และกีฬา
รูปแบบสื่อประสม
ก่อนหน้าบจก.เวิลด์มีเดียซัพพลายส์
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
บมจ.บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
27 มีนาคม พ.ศ. 2541 (26 ปี)
ก่อตั้ง8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (3 ปี)
ผู้ก่อตั้งไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์
สำนักงานใหญ่ชั้น 21-22/25-28 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์
เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4
แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์ดูในบทความ
บริการรับจัดกิจกรรม
จำหน่ายบัตรผ่านประตู
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.teroasia.com

บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ของไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ โดยประกอบกิจการ และรับจ้างบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อประสม, จัดการแสดงหรือกิจกรรมบันเทิง/กีฬาครบวงจร รวมถึงบริการจำหน่ายบัตรผ่านประตู ทั้งนี้บริษัทฯ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การประกวดนางงามเวทีมิสไทยแลนด์เวิลด์ และเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ชั้น 25-28 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และมีคำขวัญว่า "เชื่อมติดทุกชีวิตบันเทิง" (Passion United)[1]

ประวัติ

เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก่อตั้งขึ้นในชื่อ บริษัท เวิลด์มีเดียซัพพลายส์ จำกัด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อเป็น บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)[2] เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541 พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมทุนกับไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายเมียนมาร์ โดยบีอีซีเวิลด์ถือหุ้นใหญ่ในบีอีซี-เทโรฯ ที่ร้อยละ 59.99[3] ซึ่งกิจการตั้งต้นของบีอีซี-เทโรฯ คือผลิตรายการโทรทัศน์ สำหรับออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ในเครือเดียวกัน, จัดหาการแสดง/คอนเสิร์ตมาแสดงในประเทศไทย, จัดกิจกรรมต่างๆ, ผลิตภาพยนตร์, ให้บริการผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ และร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อประกอบกิจการบันเทิงหลายประเภท โดยเฉพาะทรูวิชั่นส์[4]

แต่ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ขายหุ้นทั้ง 59.99% ในบีอีซี-เทโรฯ กลับไปให้ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ถือหุ้นทั้งหมดจำนวน 100% ทำให้บีอีซี-เทโรฯ พ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบีอีซีเวิลด์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)[5]

ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกัน ไบรอัน ลินด์เซย์ มาร์การ์ ได้ส่งผู้บริหารบางส่วนไปบริหารในบริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือช่อง 7 เอชดี เช่น เวลล์ เนล ทอมบ์สัน อดีตรองกรรมการผู้จัดการของเทโรฯ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ และคมกริช ศิริรัตน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการของไทยทิคเก็ตเมเจอร์ บริษัทลูกของเทโร เป็นกรรมการบริษัทแม็ทชิ่งฯ ก่อนที่กลุ่มของไบรอันทั้งหมดจะเข้าไปมีอำนาจในการบริหารบริษัทแม็ทชิ่งฯ ร่วมกันด้วย[6] ดังนั้นเทโรฯ จึงถอนรายการที่เทโรผลิตในช่อง 3 เอชดี ออกจากผังของช่องทั้งหมดในหลังสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ยกเว้นเรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เรื่องเล่าเช้านี้ และเรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์ ที่เปลี่ยนไปให้ฝ่ายข่าวของช่องผลิตเอง และให้บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา ร่วมผลิตรายการเช่นเดิม[7]

คณะผู้บริหาร

บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) มีคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน ดังต่อไปนี้[1]

กลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ

บริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จำแนกประเภทของการประกอบธุรกิจ ออกเป็น 8 กลุ่มหลัก ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  • กลุ่มธุรกิจจัดหารายการแสดงและจัดกิจกรรม - ธุรกิจกลุ่มนี้ จำแนกเป็นช่วงวัยของผู้ชม 3 กลุ่มคือ กิจกรรมสำหรับครอบครัว (Family Events) เช่น การแสดงของดิสนีย์ หรือการแสดงมายากล, กิจกรรมสำหรับเยาวชน (Youth Events) เช่นการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงสมัยใหม่ จากต่างประเทศ และ กิจกรรมร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Contemporary) เช่นการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ หรือการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงยุคอดีต จากต่างประเทศ[1]
  • กลุ่มธุรกิจวิทยุกระจายเสียง - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท เทโร เรดิโอ จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือเทโรฯ เพื่อดำเนินการผลิต รายการวิทยุตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันมีสัมปทานอยู่ใน 3 คลื่นความถี่ คือเอฟเอ็ม 95.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เวอร์จินฮิตซ์ (Virgin Hitz) ปัจจุบันชื่อว่า Hitz 955 (ฮิตซ์ เก้าห้าห้า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545, เอฟเอ็ม 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เวอร์จิ้นสตาร์ (Virgin Star) ปัจจุบันชื่อ Star FM. (สตาร์ เอฟเอ็ม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และเอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ อีซีเอฟเอ็ม (Eazy FM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 นอกจากนี้ ยังดำเนินการส่งวิทยุกระจายเสียง ผ่านออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.teroradio.com ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 อีกจำนวน 3 ช่องรายการคือ แร็ดเรดิโอ (Rad Radio), ร็อกออนเรดิโอ (Rock on Radio) และ โตฟุป๊อปเรดิโอ (Tofu Pop Radio) ซึ่งผู้ฟังสามารถสื่อสารกับนักจัดรายการวิทยุ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งสามารถเข้าใช้ด้วยสมาร์ตโฟน และแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟน[8]
  • กลุ่มธุรกิจดนตรี - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท เทโร มิวสิก จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือเทโรฯ เพื่อรับสิทธิในการบริหารลิขสิทธิ์ และจัดจำหน่ายงานดนตรี รวมถึงการประชาสัมพันธ์ศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในสังกัดโซนีมิวสิก, วายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์, ฮอตเท็ต และเบเกอรีมิวสิก ทั้งร่วมผลิตผลงานดนตรี และบริหารศิลปินในสังกัดเลิฟอีส นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ www.qikplay.com เพื่อจำหน่ายเพลงไทยสากล และเพลงสากลในรูปไฟล์ดิจิทัล และจำหน่ายของที่ระลึกจากศิลปิน[4]
  • ธุรกิจบริการบัตรผ่านประตู - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ซึ่งเกิดจากเทโรฯ เข้าร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้บริการรับจอง และจำหน่ายบัตรผ่านประตู อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย[9] โดยมีสาขาจำหน่ายบัตร ซึ่งดำเนินการเอง มากกว่า 300 แห่ง ทั้งมีสาขาร่วมกับธุรกิจอื่น เช่นศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีระบบจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ www.thaiticketmajor.com, ศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wap)[4]
  • กลุ่มธุรกิจกีฬา - ธุรกิจกลุ่มนี้ ดำเนินกิจการในสถานะของ ผู้จัดรายการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่นเทนนิสรายการไทยแลนด์โอเพน ของสมาคมเทนนิสอาชีพ (Association of Tennis Professionals; ATP), ตะกร้อรายการซูเปอร์ซีรีส์ ของสหพันธ์ตะกร้อนานาชาติ (International Sepaktakraw Federation; ISTAF) รวมทั้งรับจ้างเป็นผู้จัดกิจกรรมเชิงกีฬา ให้แก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เช่นการแข่งขันโปโลคิงส์คัพ เป็นต้น[1] นอกจากนี้ยังโดยดำเนินการพัฒนา มาตรฐานของนักฟุตบอลไทย ร่วมกับ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีกด้วย[4]
  • กลุ่มธุรกิจและบริการอื่น - นอกเหนือจากธุรกิจกลุ่มหลัก ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เทโรฯ ยังดำเนินกิจการอื่นอีกคือ บริการจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์, รับจ้างบริการประชาสัมพันธ์ทั่วไป, รับจ้างผลิตและจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งดำเนินงานการกุศล ภายใต้ชื่อ เทโร แคร์ (Tero Care) นอกจากนี้ ยังจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณด้วย[1]

บริษัทลูก

ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[3]

  • บริษัท เทโร เรดิโอ จำกัด (99.99)
  • บริษัท เทโร เมียนมาร์ จำกัด (99.99)
  • บริษัท เทโร แอ๊พพ์ (40.00)

บริษัทร่วมทุน

ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[3]

บริษัทร่วมดำเนินธุรกิจ

ละครโทรทัศน์

ชื่อ วันที่ ผลิตร่วมกับ
แกะรอยรัก 2 สิงหาคม - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 -
ปราสาทมืด 18 กันยายน - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ลับ ลวง หลอน 3 กันยายน - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เงาะแท้แซ่ฮีโร่ 1 มกราคม - 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
มิสเตอร์บ้านนา 6 มีนาคม - 16 เมษายน พ.ศ. 2556
รักข้ามเส้น 21 มีนาคม - 23 เมษายน พ.ศ. 2556
ยัยบุญกับหมอทึ่ม 17 เมษายน - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แสนซนค้นรัก 13 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กองร้อยกระทะเหล็ก 2 สิงหาคม - 26 กันยายน พ.ศ. 2556
หลบผี ผีไม่หลบ 27 กันยายน - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
มาเฟียตาหวาน 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 28 มกราคม พ.ศ. 2557
คุณชายรักเร่ 29 มกราคม - 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 บริษัท จันทร์ 25 จำกัด
ธิดาแดนซ์ 27 มีนาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งชื่นใจ 28 สิงหาคม - 25 กันยายน พ.ศ. 2558 -
ซีรีส์เหลี่ยมโจร 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559
ครั้งนั้นไม่ลืม 18 กุมภาพันธ์ - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 เกี่ยวกับเรา ในเว็บไซต์ของเทโรฯ
  2. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสโมสรบีอีซี-เทโร ศาสน
  3. 3.0 3.1 3.2 โครงสร้างกลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ จากเว็บไซต์ของบีอีซีเวิลด์
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 เกี่ยวกับเรา ในเว็บไซต์ บีอีซี-เทโร ทรูวิชันส์[ลิงก์เสีย]
  5. "ช่อง 3 ตัดสินใจขาย "บีอีซี-เทโร" ทั้งหมดให้กับ "ไบร์อัน ลินด์เซ มาร์การ์" ในราคา 15 ล้านบาท". ส่องสื่อ. 8 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ไบรอัน มาร์การ์ ซบ "กฤตย์" นายใหญ่ 7 สี ร่วมบริหาร "แม็ทชิ่ง" ลุยธุรกิจเอ็นเตอร์เทน". TV Digital Watch. 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "เทโรฯ โร่ซบบ้านใหม่ช่อง 7 ใต้ปีก "กฤต รัตนรักษ์"". TV Digital Watch. 2021-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. เกี่ยวกับเรา ในเว็บไซต์ เทโร เรดิโอ
  9. เกี่ยวกับเรา ในเว็บไซต์ ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
  10. อังเคิล ปิดฟิล์มบางกอก หลังทำภาพยนตร์หลายเรื่องแล้วเจ๊ง, 2 ตุลาคม 2546, สยามโซนดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น