ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Prithsu (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9262950 สร้างโดย Prithsu (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Prithsu (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรูปภาพ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย
| ชื่อ = วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
| ชื่อ = วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
| ภาพ = [[ไฟล์:MSMU.png| 280px]]
| ภาพ = [[ไฟล์:College of Music, Mahidol University.svg|280px]]
| วันที่ก่อตั้ง = [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2537]]
| วันที่ก่อตั้ง = [[21 กันยายน]] [[พ.ศ. 2537]]
| คณบดี = ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ
| คณบดี = ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:29, 18 กุมภาพันธ์ 2564

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
College of Music, Mahidol University
ไฟล์:College of Music, Mahidol University.svg
ชื่อย่อMS (MSMU)
สถาปนา21 กันยายน พ.ศ. 2537
คณบดีดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ
ที่อยู่
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 25/25 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สี  สีเขียวอ่อน (Greenyellow) [#99ff33]
เว็บไซต์College of Music, Mahidol University

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: College of Music, Mahidol University) เป็นวิทยาลัยดนตรีที่ใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรี (ม.4 – ม.6) ไปจนถึงระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนวิชาดนตรีในระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ที่ชำนาญในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดโดยเฉพาะ เป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนทั้งด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล ปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันดนตรีแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสถาบันดนตรีในยุโรป ล่าสุดหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก MusiQuE ซึ่งเป็นมาตรฐานทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก

ประวัติ

การขยายการศึกษาสาขาวิชาดนตรี ก่อนที่จะมาเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์นั้น ได้มีบุคลากรที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีหลายท่าน อาทิ ศ. นพ.สุเอ็ด คชเสนี, ศ. นพ.สุพจน์ อ่างแก้ว, ศ. นพ.วราวุธ สุมาวงศ์, ศ. นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล และ ศ. นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ช่วยกันสนับสนุนผลักดัน ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เห็นความสำคัญของวิชาการดนตรี และมีการจัดสัมมนาวิชาการดนตรีขึ้น

บรรยากาศสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เรือนศิลปิน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530 ศ. นพ.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีในขณะนั้น ได้จัดตั้งโครงการพัฒนาวิชาการดนตรีขึ้น และได้โอนย้ายนายสุกรี เจริญสุข ซึ่งจบปริญญาเอกสาขาดนตรี ข้าราชการสังกัดวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นหัวหน้าโครงการ โดยเปิดสอนวิชาดนตรีให้เป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีขึ้น ประกอบด้วยวิชาดนตรีวิจักษ์ การขับร้องประสานเสียง วิชารวมวง มโหรี วงปี่พาทย์ มีวิชาดนตรีเป็นวิชาเลือกในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นครั้งแรก จัดสัมมนาวิชาการดนตรี ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างหลักสูตรมหาบัณฑิต แขนงดนตรี ขึ้นในแขนงวัฒนธรรมศึกษาด้วย

ในปีการศึกษา 2532 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวัฒนธรรมดนตรี โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาดนตรีแรกของไทย ในปีการศึกษา 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดนตรี” ขึ้นภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย โดยความช่วยเหลือจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยในขณะนั้น คือ รศ. นพ.มันตรี จุลสมัย เพื่อเปิดสอนแขนงวิชาดนตรีศึกษาและแขนงวิชาดนตรีวิทยา

ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ขึ้น โดยอธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ. นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ชื่อ “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” เป็นชื่อที่ ศ. นพ. อดุลย์ วิริยเวชกุล เป็นผู้เสนอและเป็นที่ยอมรับ หมายถึงวิทยาลัยดนตรีที่มุ่งสร้างนักดนตรีที่มีความสามารถในการเล่นดนตรี เป็นวิทยาลัยของผู้ที่มีศิลปะทางดนตรี

  • วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้น ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมีโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษารองรับ ซึ่งมีผู้ปกครองและผู้สนใจเข้าศึกษาในโครงการจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือได้พัฒนาการศึกษาดนตรีของเด็กตั้งแต่เล็ก และสร้างบรรยากาศการเรียนดนตรีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
  • ในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ. นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้ขยายการศึกษากว้างขวางขึ้น ทั้งการศึกษาและกิจกรรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนและวิจัยดนตรีทุกสาขา ได้จัดการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
  • ในปี พ.ศ. 2549 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมี “โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา” รองรับ
  • ในปี พ.ศ. 2550 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสร้างสวนพฤกษาดุริยางค์ เป็นสถานที่รวบรวมต้นไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรี 63 ชนิด ทั้งเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้นบ้าน รวมไปถึงเครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์
  • ในปี พ.ศ. 2552 อาคาร D สร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ใช้งานได้ พร้อมก่อตั้งสำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ College of Music, Mahidol University Publishing (CMMU publishing) เพื่อจัดพิมพ์หนังสือวิชาการเพลงดนตรีและวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดนตรี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ทำการเปิด ร้าน Music square เป็นร้านอาหารและสถานที่รับรองแขก ต่อมา วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เริ่มโครงการ “ศาลายาลิงก์” เพื่อรองรับการเดินทางในเส้นทางศาลายา – สถานีรถไฟฟ้า BTS วงเวียนใหญ่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถานีบางหว้า และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม โครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ ถนนศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ ได้ย้ายมาเปิดทำการ ณ ชั้น 4 ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ บนพื้นที่กว่า 1,100 ตารางเมตร
  • วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้ทำการวางศิลาฤกษ์อาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ดนตรีที่มีความสมบูรณ์และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์
  • วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 วางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างอาคารพัฒนาวิชาชีพดนตรีสู่ความเป็นเลิศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี (ประจำ) หลักสูตรนานาชาติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6[1]

ทำเนียบผู้อำนวยการ / คณบดี

โครงการพัฒนาวิชาการดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข พ.ศ. 2530พ.ศ. 2536
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข พ.ศ. 2537พ.ศ. 2551
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข 20 กันยายน พ.ศ. 255219 กันยายน พ.ศ. 2556 วาระที่ 1

20 กันยายน พ.ศ. 255620 กันยายน พ.ศ. 2560 วาระที่ 2

2. ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน[2]

หลักสูตร

ตํ่ากว่าปริญญาตรี[3]
ปริญญาตรี[4]
ปริญญาโท[5]
ปริญญาเอก[6]

ระดับเตรียมอุดมดนตรี ม.4 – ม.6

  • ดนตรีไทย
  • ดนตรีตะวันตก

สาขาดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

  • แขนงดนตรีไทย (Thai Music)
  • แขนงดนตรีปฏิบัติ (Classical Performance)
  • แขนงดนตรีแจ๊ส (Jazz Studies)
  • แขนงเทคโนโลยีดนตรี (Music Technology)
  • แขนงดนตรีสมัยนิยม (Music Entertainment)
  • แขนงธุรกิจดนตรี (Music Business)
  • แขนงการประพันธ์ดนตรี (Composition)
  • แขนงดนตรีศึกษา (Music Education)
  • แขนงการแสดงละครเพลง (Music Theatre)

สาขาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

  • แขนงวิชาเอกการแสดงดนตรีและการสอนดนตรี
  • แขนงวิชาเอกการประพันธ์และทฤษฎีดนตรี
  • แขนงวิชาเอกการอำนวยเพลง
  • แขนงวิชาเอกการบรรเลงเปียโนประกอบ
  • แขนงวิชาเอกดนตรีแจ๊ส

สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • แขนงดนตรีวิทยา
  • แขนงดนตรีศึกษา
  • แขนงดนตรีศึกษา (หลักสูตรภาคพิเศษ)
  • แขนงธุรกิจดนตรี
  • แขนงดนตรีบำบัติ

สาขาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • แขนงดนตรีศึกษา
  • แขนงดนตรีวิทยา

สาขาดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

  • แขนงวิชาเอกการแสดงดนตรีและการสอนดนตรี
  • แขนงวิชาเอกการประพันธ์และทฤษฎีดนตรี
  • แขนงวิชาเอกการอำนวยเพลง
การเรียนการสอนของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในวงการดนตรีในประเทศไทย

  • พิสุทธิ์ ประทีปะเสน (อ้น) สาขา Jazz Studies [มือแซกโซโฟน วง T-Bone] {ปริญญาตรี รุ่น 1}
  • ธรรศตะวัน ไขแสง (ตะวัน) สาขา Music Technology [อาจารย์ประจำสาขา Music Entertainment วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล] {ปริญญาตรี รุ่น 1}
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล ทิพยรัตน์ (นน) สาขา Musicology [คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์] {ปริญญาเอก รุ่นที่ 1}
  • ดร.ปัณญพัสตร์ ธรรมรัตน์ (ฟ้าใส) สาขา Classical Performance (นักร้อง วง Baba-e’, ครูประจำบ้าน AF) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
  • วรางคณิภา พวงธนะสาร (น็อตโตะ) สาขา Classical Performance (นักร้อง) {ปริญญาตรี รุ่น 1}
  • ธุรดี อารีรอบ (อิ๋งอิ๋ง) สาขา Classical Performance [ศิลปิน, นักร้อง, นักล่าฝัน AF4] {ปริญญาตรี รุ่น 1}
  • รวิษฎา สุกิตติวรกุล (แคท) {นักร้อง วง Baba-e’}
  • ตะวัน จิระศรีปัญญา (หวี) [มือเบส วง Kobe, อาจารย์ประจำสาขา Music Entertainment วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล]
  • ธีรัช เลาห์วีระพานิช (กุ๊ก) สาขา Jazz Studies [มือแซกโซโฟน วง T-Bone] {ปริญญาตรี รุ่น 2}
  • ชลาทิศ ตันติวุฒิ (เบน) [ศิลปิน, นักร้อง] {ปริญญาตรี รุ่น 3}
  • สุกฤษ์ ศรีเปารยะ (สุ่ม) [มือเบส วง Clash] {ปริญญาตรี รุ่น 3}
  • วีรณัฐ ทิพยมณฑล (แจ๊ป) สาขา Music Business [นักร้องนำและมือกีต้าร์ วง The Richman Toy] {ปริญญาตรี รุ่น 5}
  • วสุ ปาลิโพธิ (กิ๊ป) สาขา Music Technology [อดีตมือกีต้าร์ วง The Richman Toy] {ปริญญาตรี รุ่น 5}
  • นันทพร เทพภูษาวัฒนา (ฝัน) สาขา Music Entertainment [นักร้อง วง Baba-e’] {ปริญญาตรี รุ่น 5}
  • ประณัฐ ธรรมโกสิทธิ์ (แป๊บ) สาขา Music Technology [มือกีตาร์ วง Sweet Mullet] {ปริญญาตรี รุ่น 5}
  • นฤดม ตันทนานนท์ (อั๋น) สาขา Music Technology [มือกีตาร์ วง Sweet Mullet] {ปริญญาตรี รุ่น 5}
  • อัคราวิชญ์ พิริโยดม (เช่) สาขา Jazz Studies [มือเบส วง The Richman Toy, อาจารย์ประจำสาขา Music Entertainment วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล] {ปริญญาตรี รุ่น 6}
  • พัดชา เอนกอายุวัฒน์ (พัด) สาขา Music Technology (ศิลปิน, นักแสดง, นักร้อง, นักล่าฝัน AF2) {เตรียมอุดมดนตรีรุ่น 2, ปริญญาตรี รุ่น 6}
  • ศิรดา ใจประสงค์ (ปริญญ์) สาขา Composition [มือคีย์บอร์ด วง Senorita] {ปริญญาตรี รุ่น 6}
  • มุขพล จันทรวงศ์ (ดอดจ์) สาขา Music Technology [นักร้องนำและมือกีตาร์ วง Bogie Dodge] {ปริญญาตรี รุ่น 6}
  • สฤษฎ ตันเป็นสุข (สฤษฎ) สาขา Jazz Studies [มือทรัมเป็ต วง T-Bone] {ปริญญาตรี รุ่น 8}
  • เมธัส ตรีรัตนวารีสิน (แจ็ค) [ศิลปิน, นักร้อง, นักแสดง, นักล่าฝัน AF4] {ปริญญาตรี รุ่น 10}
  • จารุพัฒน์ ลีนานุพันธุ์ (จา) สาขา Music Technology [มือกีตาร์ วง Jida] {ปริญญาตรี รุ่น 10}
  • ณัฐวัจน์ ไกรพิชญ์ (ใหม่) สาขา Music Entertainment [มือกีตาร์ วง Jida] {ปริญญาตรี รุ่น 10}
  • ปัจจาพงศ์ ศุภชัยเจริญ (กั๊ป) สาขา Music Entertainment [มือเบส วง Jida] {ปริญญาตรี รุ่น 10}
  • ธชย ประทุมวรรณ (เก่ง) สาขา Thai Music [รองชนะเลิศอันดับ 1 รายการ The Voice Thailand] {ปริญญาตรี รุ่น 10}
  • ยศนันท์ วงษ์เซ็ง (ว่าน) [ศิลปิน, นักร้อง, นักล่าฝัน AF5] {เตรียมอุดมดนตรีรุ่น 7, ปริญญาตรี รุ่น 11}
  • ณภัทร วิสมิตะนันท์ (จั๊บ) สาขา Music Entertainment [แชมป์รายการ Teen Superstar] {ปริญญาตรี รุ่น 11}
  • ณัฐ เบญจรงค์รัตน์ (นัท) สาขา Music Entertainment [มือเบส วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010] {ปริญญาตรี รุ่น 11}
  • แทนทวิช ทวิชศรี (โซ่) สาขา Music Entertainment [มือกลอง วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010] {ปริญญาตรี รุ่น 11}
  • ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (ปุ๊น) สาขา Music Business [ศิลปิน, มือคีย์บอร์ด วง April Fools’ Day] {ปริญญาตรี รุ่น 11}
  • คนาวิน เชื้อแถว (โบ๊ท) สาขา Music Entertainment [นักร้องนำ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • ภูริช พันธุ์รุ่ง (บอส) สาขา Music Entertainment [มือกีต้าร์ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • ธนญ แสงเล็ก (นน) สาขา Music Entertainment [มือกีต้าร์ วง สมเกียรติ ผู้ชนะ Coke Music Awards 2010] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • ประวิทย์ ฮันสเตน (ยิ้ม) สาขา Music Entertainment [มือกลอง วง สมเกียรติ] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • พีระนัต สุขสำราญ (เงาะ) สาขา Music Entertainment [มือกีตาร์ วง The Richman Toy] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • วิภาวี เตชะสุรางค์ (วี) สาขา Music Entertainment [ตัวแทนภาคเหนือจากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 7] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • บุตรศรัณย์ ทองชิว (นํ้าตาล) สาขา Music Business [ศิลปิน, นักร้อง] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • ลินท์พิตา จินดาภู (หญิง) สาขา Music Business [รองชนะเลิศอันดับ 1 จากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11] {ปริญญาตรี รุ่น 12}
  • ภัทรภร แสงสำอางค์ (ซิน) สาขา Music Entertainment [ผู้เข้ารอบ 20 คนสุดท้ายจากรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 10 และ ปี 11] {ปริญญาตรี รุ่น 13}
  • ธันยชนิต ศรีสมเพชร (เต้ย) สาขา Music Entertainment [นักล่าฝัน AF10] {ปริญญาตรี รุ่น 13}
  • วทัญญู จิตติเสถียรพร (โฟนลิ้ง) สาขา Classical Performance {ปริญญาตรี รุ่น 13}
  • ยศพล ยศอมรสุนทร (ไอกี้) สาขา Music Technology {ปริญญาตรี รุ่น 14}
  • เกวลิน พูลภีไกร (เกรซ) สาขา Classical Performance [ศิลปิน, นักร้อง]
  • พณพงศ์ เพิ่มพูน (ท็อป) [ศิลปิน วง The Messenger]
  • ชนิษฐา โลจนานนท์ (ตาล) [มือกลอง วง Aliz]

เชิงอรรถ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น