ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Anonimeco/กระบะทราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{กระบะทรายผู้ใช้}} <!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทควา..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน ย้อนด้วยมือ
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ภาพ:Cotyledon-Cercis siliquastrum.jpg|thumb|ใบเลี้ยงจากต้นอ่อนของ ''[[Cercis siliquastrum]]'']]
{{กระบะทรายผู้ใช้}}
[[ภาพ:Mimosa pudica - cotyledon.jpg|thumb|ต้นอ่อน[[ไมยราบ]] (''Mimosa pudica'') มีใบเลี้ยง 2 ใบ และใบแท้แรก 6 ใบ]]
<!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทความใต้บรรทัดนี้ -->

'''ใบเลี้ยง''' ({{lang-en|cotyledon}}) เป็นส่วนสำคัญใน[[เอ็มบริโอ]]ภายใน[[เมล็ด]]พืช [[พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด]]นิยามใบเลี้ยงว่า "ใบอ่อนในพืชมีเมล็ด ซึ่งหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งใบจะปรากฏเป็นครั้งแรกจากเมล็ดที่กำลังงอก"{{sfn|OED|2019}} ใบเลี้ยงเป็นสิ่งหนึ่งที่นักพฤกษศาสตร์ใช้ในการจำแนก[[พืชดอก]]ออกเป็น[[พืชใบเลี้ยงเดี่ยว]] (monocots) และ[[พืชใบเลี้ยงคู่]] (dicots)

ใบเลี้ยงมีทั้งโรยไม่กี่วันหลังเมล็ดงอก หรือติดทนอย่างน้อยหนึ่งปี ใบเลี้ยงกักเก็บอาหารสะสมที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อต้นอ่อนใช้อาหารที่สะสมจนหมด ใบเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเพื่อทำหน้าที่[[สังเคราะห์ด้วยแสง]] หรือเหี่ยวเฉาเมื่อ[[ใบ]]แท้ทำหน้าที่ผลิตอาหารแทน<ref>{{cite web|url=https://sciencing.com/what-is-the-function-of-the-cotyledon-in-the-seed-12516786.html|title=What Is the Function of the Cotyledon in the Seed?|author=King, YaShekia|website=Sciencing|date=July 21, 2017|accessdate=February 14, 2021}}</ref>

ในกรณีของต้นอ่อนพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงจะทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายใบแท้ อย่างไรก็ตาม ใบเลี้ยงและใบแท้จะเจริญแยกกัน โดยใบเลี้ยงจะเจริญช่วง[[การเกิดเอ็มบริโอพืช|การเกิดเอ็มบริโอ]] พร้อมกับ[[เนื้อเยื่อเจริญ]]ของ[[ราก]]และ[[ลำต้น]]<ref name=Mr.Yuttana>{{Cite journal|last1=Goldberg|first1=Robert|last2=Paiva|first2=Genaro|last3=Yadegari|first3=Ramin|title=Plant Embryogenesis: Zygote to Seed|journal=Science|date=October 28, 1994|volume=266|issue=5185|pages=605–614|doi=10.1126/science.266.5185.605|pmid=17793455|bibcode=1994Sci...266..605G|s2cid=5959508}}</ref> ดังนั้นใบเลี้ยงจึงปรากฏในเมล็ดตั้งแต่ก่อนงอก ขณะที่ใบแท้เจริญหลังเมล็ดงอกจากเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายของลำต้น ซึ่งจะเจริญไปเป็นส่วนเหนือดินอื่น ๆ ของพืชในภายหลัง<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/science/apical-meristem|title=Apical meristem|website=Britannica|accessdate=February 14, 2021}}</ref>

ใบเลี้ยงของ[[หญ้า]]และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่น ๆ จำนวนมากเป็นใบที่เปลี่ยนรูปไปเป็น[[ใบเลี้ยงธัญพืช]]และ[[เนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด]] ใบเลี้ยงธัญพืช (scutellum) เป็นเนื้อเยื่อในเมล็ดที่มีหน้าที่พิเศษในการดูดซึมอาหารที่สะสมไว้จาก[[เอนโดสเปิร์ม]]ที่อยู่ใกล้กัน<ref>{{cite web|url=https://www.britannica.com/plant/Poaceae/Characteristic-morphological-features|title=Poaceae - Characteristic morphological features|website=Britannica|accessdate=February 14, 2021}}</ref> ส่วนเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด (coleoptile) ทำหน้าที่ปกป้องยอดแรกเกิด (plumule) หรือต้นอ่อนที่จะเจริญไปเป็นลำต้นและใบ<ref>{{cite web|url=https://www.merriam-webster.com/dictionary/coleoptile|title=Definition of coleoptile|website=Merriam-Webster|accessdate=February 14, 2021}}</ref>

ต้นอ่อน[[พืชเมล็ดเปลือย]]มีใบเลี้ยงเช่นกัน โดยจำนวนใบเลี้ยงมีตั้งแต่ 2–24 ใบ ใบเลี้ยงของพืชเมล็ดเปลือยจะก่อตัวเป็นวงที่ยอด[[ลำต้นใต้ใบเลี้ยง]] ล้อมรอบส่วนยอดแรกเกิด พืชเมล็ดเปลือยแต่ละชนิดมีจำนวนใบเลี้ยงต่างกัน เช่น [[สนมอนเทเรย์]] (''Pinus radiata'') มี 5–9 ใบ [[สนเจฟฟรีย์]] (''Pinus jeffreyi'') มี 7–13 ใบ แต่บางชนิดมีจำนวนแน่นอน เช่น [[ไซเปรสเมดิเตอร์เรเนียน]] (''Cupressus sempervirens'') มีใบเลี้ยง 2 ใบเสมอ มีรายงานว่าพืชเมล็ดเปลือยที่มีใบเลี้ยงมากที่สุดได้แก่ [[สนพินยอนโคนใหญ่]] (''Pinus maximartinezii'') มีใบเลี้ยง 24 ใบ<ref>{{cite web|url=https://www.conifers.org/pi/Pinus_maximartinezii.php|title=''Pinus maximartinezii'' (maxipiñon) description|website=The Gymnosperm Database|accessdate=February 14, 2021}}</ref>

ทั้งนี้คำว่า cotyledon ใช้ครั้งแรกโดย[[มาร์เซลโล มัลพิกี]] แพทย์และนักชีววิทยาชาวอิตาลี{{efn|The Oxford English Dictionary attributes it [[Carl Linnaeus|Linnaeus]] (1707–1778) "1751 Linnaeus ''Philos. Bot.'' 54. ''Cotyledon, corpus laterale seminis, bibulum, caducum''" {{sfn|Linnaeus|1751|loc=[https://archive.org/stream/philosophiabotan00linn#page/54/mode/2up p.&nbsp;54]}} and 89, {{sfn|Linnaeus|1751|loc=[https://archive.org/stream/philosophiabotan00linn#page/89/mode/1up p.&nbsp;89]}} by analogy with a similar structure of the same name in the [[Cotyledon (placenta)|placenta]].{{sfn|OED|2015}}}} มาจากคำ[[ภาษาละติน]] cotylēdōn และ[[ภาษากรีกโบราณ]] κοτυληδών (kotulēdṓn) แปลว่า โพรงรูปถ้วย<ref>{{cite web|url=https://www.merriam-webster.com/dictionary/cotyledon|title=Definition of cotyledon|website=Merriam-Webster|accessdate=February 14, 2021}}</ref> [[จอห์น เรย์]] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษเป็นบุคคลแรกที่สังเกตเห็นความแตกต่างของจำนวนใบเลี้ยงในพืชแต่ละชนิด และบันทึกว่าอาจใช้ใน[[การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์]]ในหนังสือ ''Methodus plantarum'' (ค.ศ. 1682)<ref name="Vines 1913">{{Citation | author = Vines, Sydney Howard | year = 1913 | chapter = Robert Morison 1620—1683 and John Ray 1627—1705 | pages = 8–43 | editor = Oliver, Francis Wall | editor-link = Francis Wall Oliver | title = Makers of British botany | publisher = Cambridge University Press| author-link = Sydney Howard Vines }}</ref><ref>Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983). ''Landmarks of Botanical History: Part 2''. Stanford: Stanford University Press, p. 1019, note 15, [https://books.google.com/books?id=AzGsAAAAIAAJ&lpg=PA497&hl=pt-BR&pg=PA1019#v=onepage&q&f=false].</ref> อย่างไรก็ตาม [[ทีโอแฟรสตัส]] (คริสต์ศตวรรษที่ 3–4 ก่อนคริสตกาล) และ[[อัลแบร์ตุส มาญุส]] (คริสต์ศตวรรษที่ 13) อาจทราบความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ก่อนหน้านั้น<ref>{{cite web|url=http://bioetymology.blogspot.com.br/2011/06/cotyledon-monocotyledon-plural-usually.html|title=Bioetymology: Origin in Biomedical Terms: cotyledon, monocotyledon (plural usually monocots), dicotyledons(plural usually dicot)|website=bioetymology.blogspot.com.br|access-date=6 April 2018}}</ref><ref>Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983), p. 1019, note 15.</ref>

{{commons category|Cotyledons (leaves)|ใบเลี้ยง}}
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

[[หมวดหมู่:ใบไม้]]
[[หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช]]
[[หมวดหมู่:สัณฐานวิทยาของพืช]]
{{โครงพืช}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:00, 14 กุมภาพันธ์ 2564

ใบเลี้ยงจากต้นอ่อนของ Cercis siliquastrum
ต้นอ่อนไมยราบ (Mimosa pudica) มีใบเลี้ยง 2 ใบ และใบแท้แรก 6 ใบ

ใบเลี้ยง (อังกฤษ: cotyledon) เป็นส่วนสำคัญในเอ็มบริโอภายในเมล็ดพืช พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดนิยามใบเลี้ยงว่า "ใบอ่อนในพืชมีเมล็ด ซึ่งหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งใบจะปรากฏเป็นครั้งแรกจากเมล็ดที่กำลังงอก"[1] ใบเลี้ยงเป็นสิ่งหนึ่งที่นักพฤกษศาสตร์ใช้ในการจำแนกพืชดอกออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocots) และพืชใบเลี้ยงคู่ (dicots)

ใบเลี้ยงมีทั้งโรยไม่กี่วันหลังเมล็ดงอก หรือติดทนอย่างน้อยหนึ่งปี ใบเลี้ยงกักเก็บอาหารสะสมที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อต้นอ่อนใช้อาหารที่สะสมจนหมด ใบเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเพื่อทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง หรือเหี่ยวเฉาเมื่อใบแท้ทำหน้าที่ผลิตอาหารแทน[2]

ในกรณีของต้นอ่อนพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงจะทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายใบแท้ อย่างไรก็ตาม ใบเลี้ยงและใบแท้จะเจริญแยกกัน โดยใบเลี้ยงจะเจริญช่วงการเกิดเอ็มบริโอ พร้อมกับเนื้อเยื่อเจริญของรากและลำต้น[3] ดังนั้นใบเลี้ยงจึงปรากฏในเมล็ดตั้งแต่ก่อนงอก ขณะที่ใบแท้เจริญหลังเมล็ดงอกจากเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายของลำต้น ซึ่งจะเจริญไปเป็นส่วนเหนือดินอื่น ๆ ของพืชในภายหลัง[4]

ใบเลี้ยงของหญ้าและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่น ๆ จำนวนมากเป็นใบที่เปลี่ยนรูปไปเป็นใบเลี้ยงธัญพืชและเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด ใบเลี้ยงธัญพืช (scutellum) เป็นเนื้อเยื่อในเมล็ดที่มีหน้าที่พิเศษในการดูดซึมอาหารที่สะสมไว้จากเอนโดสเปิร์มที่อยู่ใกล้กัน[5] ส่วนเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิด (coleoptile) ทำหน้าที่ปกป้องยอดแรกเกิด (plumule) หรือต้นอ่อนที่จะเจริญไปเป็นลำต้นและใบ[6]

ต้นอ่อนพืชเมล็ดเปลือยมีใบเลี้ยงเช่นกัน โดยจำนวนใบเลี้ยงมีตั้งแต่ 2–24 ใบ ใบเลี้ยงของพืชเมล็ดเปลือยจะก่อตัวเป็นวงที่ยอดลำต้นใต้ใบเลี้ยง ล้อมรอบส่วนยอดแรกเกิด พืชเมล็ดเปลือยแต่ละชนิดมีจำนวนใบเลี้ยงต่างกัน เช่น สนมอนเทเรย์ (Pinus radiata) มี 5–9 ใบ สนเจฟฟรีย์ (Pinus jeffreyi) มี 7–13 ใบ แต่บางชนิดมีจำนวนแน่นอน เช่น ไซเปรสเมดิเตอร์เรเนียน (Cupressus sempervirens) มีใบเลี้ยง 2 ใบเสมอ มีรายงานว่าพืชเมล็ดเปลือยที่มีใบเลี้ยงมากที่สุดได้แก่ สนพินยอนโคนใหญ่ (Pinus maximartinezii) มีใบเลี้ยง 24 ใบ[7]

ทั้งนี้คำว่า cotyledon ใช้ครั้งแรกโดยมาร์เซลโล มัลพิกี แพทย์และนักชีววิทยาชาวอิตาลี[a] มาจากคำภาษาละติน cotylēdōn และภาษากรีกโบราณ κοτυληδών (kotulēdṓn) แปลว่า โพรงรูปถ้วย[11] จอห์น เรย์ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษเป็นบุคคลแรกที่สังเกตเห็นความแตกต่างของจำนวนใบเลี้ยงในพืชแต่ละชนิด และบันทึกว่าอาจใช้ในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ในหนังสือ Methodus plantarum (ค.ศ. 1682)[12][13] อย่างไรก็ตาม ทีโอแฟรสตัส (คริสต์ศตวรรษที่ 3–4 ก่อนคริสตกาล) และอัลแบร์ตุส มาญุส (คริสต์ศตวรรษที่ 13) อาจทราบความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ก่อนหน้านั้น[14][15]

อ้างอิง

  1. OED 2019.
  2. King, YaShekia (July 21, 2017). "What Is the Function of the Cotyledon in the Seed?". Sciencing. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  3. Goldberg, Robert; Paiva, Genaro; Yadegari, Ramin (October 28, 1994). "Plant Embryogenesis: Zygote to Seed". Science. 266 (5185): 605–614. Bibcode:1994Sci...266..605G. doi:10.1126/science.266.5185.605. PMID 17793455. S2CID 5959508.
  4. "Apical meristem". Britannica. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  5. "Poaceae - Characteristic morphological features". Britannica. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  6. "Definition of coleoptile". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  7. "Pinus maximartinezii (maxipiñon) description". The Gymnosperm Database. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  8. Linnaeus 1751, p. 54.
  9. Linnaeus 1751, p. 89.
  10. OED 2015.
  11. "Definition of cotyledon". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  12. Vines, Sydney Howard (1913), "Robert Morison 1620—1683 and John Ray 1627—1705", ใน Oliver, Francis Wall (บ.ก.), Makers of British botany, Cambridge University Press, pp. 8–43
  13. Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983). Landmarks of Botanical History: Part 2. Stanford: Stanford University Press, p. 1019, note 15, [1].
  14. "Bioetymology: Origin in Biomedical Terms: cotyledon, monocotyledon (plural usually monocots), dicotyledons(plural usually dicot)". bioetymology.blogspot.com.br. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
  15. Greene, E. L. & Egerton, F. N. (ed.) (1983), p. 1019, note 15.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน