ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเขมราฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PepeBonus (คุย | ส่วนร่วม)
Xpanderz (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 184: บรรทัด 184:
=== รถยนต์ ===
=== รถยนต์ ===


*'''เส้นทางที่ 1''' [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1]] (ถนนพหลโยธิน) ผ่าน[[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสระบุรี]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2]] ผ่าน[[อำเภอปากช่อง]] [[อำเภอสีคิ้ว]] [[อำเภอสูงเนิน]] [[อำเภอเมืองนครราชสีมา]] [[อำเภอโนนสูง]] [[อำเภอโนนแดง]] [[อำเภอประทาย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] และเลี้ยวขวาเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202]](ถนนอรุณประเสริฐ) ผ่าน[[อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์]] [[อำเภอพุทธไธสง|อำเภอพุทธไธสงค์]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย]] [[จังหวัดมหาสารคาม]] [[อำเภอเกษตรวิสัย]] [[อำเภอสุวรรณภูมิ]] [[จังหวัดร้อยเอ็ด]] [[อำเภอเมืองยโสธร]] [[อำเภอป่าติ้ว]] [[จังหวัดยโสธร]] [[อำเภอเมืองอำนาจเจริญ]] [[อำเภอปทุมราชวงศา]] และเข้าสู่[[อำเภอเขมราฐ]] รวมระยะทาง 654 กิโลเมตร
*'''เส้นทางที่ 1''' [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1]] (ถนนพหลโยธิน) ผ่าน[[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสระบุรี]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2]] ผ่าน[[อำเภอปากช่อง]] [[อำเภอสีคิ้ว]] [[อำเภอสูงเนิน]] [[อำเภอเมืองนครราชสีมา]] [[อำเภอโนนสูง]] [[อำเภอโนนแดง]] [[อำเภอประทาย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] และเลี้ยวขวาเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202]](ถนนอรุณประเสริฐ) ผ่าน[[อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์]] [[อำเภอพุทธไธสง|อำเภอพุทธไธสง]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย]] [[จังหวัดมหาสารคาม]] [[อำเภอเกษตรวิสัย]] [[อำเภอสุวรรณภูมิ]] [[จังหวัดร้อยเอ็ด]] [[อำเภอเมืองยโสธร]] [[อำเภอป่าติ้ว]] [[จังหวัดยโสธร]] [[อำเภอเมืองอำนาจเจริญ]] [[อำเภอปทุมราชวงศา]] และเข้าสู่[[อำเภอเขมราฐ]] รวมระยะทาง 654 กิโลเมตร
*'''เส้นทางที่ 2''' [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1]] (ถนนพหลโยธิน) ผ่าน[[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสระบุรี]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2]] ผ่าน[[อำเภอปากช่อง]] [[อำเภอสีคิ้ว]] [[อำเภอสูงเนิน]] เลี้ยวขวาเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24]] (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ผ่าน[[อำเภอปักธงชัย]] [[อำเภอโชคชัย]] [[อำเภอหนองบุนมาก]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] [[อำเภอหนองกี่]] [[อำเภอนางรอง]] [[อำเภอประโคนชัย]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[อำเภอปราสาท]] [[อำเภอสังขะ]] [[จังหวัดสุรินทร์]] [[อำเภอขุขันธ์]] [[อำเภอกันทรลักษ์]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2178]] (ถนนวารินชำราบ-กันทรลักษ์) ผ่าน[[อำเภอเบญจลักษ์]] [[อำเภอโนนคูณ]] [[จังหวัดศรีสะเกษ]] [[อำเภอสำโรง]] [[อำเภอวารินชำราบ]] [[อำเภอเมืองอุบลราชธานี]] เข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2050]] (ถนนอุบลราชธานี-ตระการพืชผล-เขมราฐ) ผ่านอำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอตระการพืชผล และเข้าสู่[[อำเภอเขมราฐ]] รวมระยะทาง 705 กิโลเมตร
*'''เส้นทางที่ 2''' [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1]] (ถนนพหลโยธิน) ผ่าน[[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสระบุรี]] เลี้ยวซ้ายเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2]] ผ่าน[[อำเภอปากช่อง]] [[อำเภอสีคิ้ว]] [[อำเภอสูงเนิน]] เลี้ยวขวาเข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24]] (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ผ่าน[[อำเภอปักธงชัย]] [[อำเภอโชคชัย]] [[อำเภอหนองบุนมาก]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] [[อำเภอหนองกี่]] [[อำเภอนางรอง]] [[อำเภอประโคนชัย]] [[จังหวัดบุรีรัมย์]] [[อำเภอปราสาท]] [[อำเภอสังขะ]] [[จังหวัดสุรินทร์]] [[อำเภอขุขันธ์]] [[อำเภอกันทรลักษ์]] [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2178]] (ถนนวารินชำราบ-กันทรลักษ์) ผ่าน[[อำเภอเบญจลักษ์]] [[อำเภอโนนคูณ]] [[จังหวัดศรีสะเกษ]] [[อำเภอสำโรง]] [[อำเภอวารินชำราบ]] [[อำเภอเมืองอุบลราชธานี]] เข้าสู่[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2050]] (ถนนอุบลราชธานี-ตระการพืชผล-เขมราฐ) ผ่านอำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอตระการพืชผล และเข้าสู่[[อำเภอเขมราฐ]] รวมระยะทาง 705 กิโลเมตร



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 13 กุมภาพันธ์ 2564

อำเภอเขมราฐ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khemarat
คำขวัญ: 
ต้นตำรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม มะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเขมราฐ
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอเขมราฐ
พิกัด: 16°2′24″N 105°12′24″E / 16.04000°N 105.20667°E / 16.04000; 105.20667
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด526.75 ตร.กม. (203.38 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)
 • ทั้งหมด81,933 คน
 • ความหนาแน่น155.54 คน/ตร.กม. (402.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34170
รหัสภูมิศาสตร์3405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเขมราฐ ถนนอรุณประเสริฐ ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 34170
เว็บไซต์http://www.khemarat.net
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขมราฐ หมายถึง ดินแดนแห่งความเกษมสุข[1] เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอ อำเภอเขมราฐเป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่สำคัญ โดยฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เขมราฐเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพแม่น้ำโขงที่สวยงาม หาดทรายที่มีชื่อเสียงคือ หาดทรายสูง ประเพณีที่สำคัญของอำเภอคือประเพณีแข่งเรือยาวซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูน้ำหลาก

ประวัติศาสตร์

เมื่อปี พ.ศ. 2357 เจ้าอุปราช (ก่ำ) แห่งเมืองอุบลราชธานี ขอแยกออกมาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่บ้านโคกก่งดงพะเนียง ต่อมาเจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี พระองค์ที่ 2 (ต้นสกุลพรหมวงศานนท์) จึงมีใบบอกลงไปกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาทราบพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านโคกก่งดงพะเนียง ขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า เขมราษฎร์ธานี ดำรงสถานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ตามที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์กราบบังคมทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าอุปราช (ก่ำ) ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าพระวรราชภักดี พระนัดดาพระเจ้าสุวรรณปางคำ อันสืบมาจากราชวงศ์สุวรรณปางคำ เป็นที่พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานีพระองค์แรก (พ.ศ. 2357-2369) ปกครองเมืองเขมราษฎร์ธานีโดยร่มเย็นสืบมา

ชื่อบ้านนามเมือง เขมราษฎร์ธานี หรือ เขมราฐ แต่ก็มีความหมายเดียวกันคือ

  • เขม เป็นคำมาจากภาษาบาลี หมายถึง ความเกษมสุข โดยคำที่เทียบเคียงคือคำว่า "เกษม" ที่มาจากภาษาสันสกฤต
  • ราษฎร เป็นคำที่มาจากภาษาลีสันสกฤตมีความหมายตรงกับ “รัฐ” หรือ “รัฏฐ” ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง แว่นแคว้น หรือดินแดนนั้นเอง

ดังนั้น คำว่า "เขมราษฎร์ธานี" หรือ "เขมราฐ" จึงมีความหมายรวมว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข

ระหว่างปี พ.ศ. 2369 เกิดศึกระหว่างกรุงเทพมหานครกับนครเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์ ได้บัญชาการให้เจ้าราชบุตรแห่งนครจำปาศักดิ์ ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี แลขอให้พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เข้าร่วมตีกรุงเทพฯ ด้วย แต่ทว่าพระเทพวงศานั้นไม่ยินยอมจะเข้าด้วยกับแผนการ และการศึกครั้งนี้ จึงเป็นเหตุให้พระเทพวงศาถูกจับประหารชีวิต คล้ายกับเหตุการณ์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) แห่งเมืองชัยภูมิ จึงทำให้เมืองเขมราษฎร์ธานีว่างเว้นเจ้าผู้ครองเมือง โดยพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) นั้น ท่านมีบุตร และบุตรี 4 คน คือ

  1. ท้าวบุญจันทร์
  2. ท้าวบุญเฮ้า
  3. ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ (แดง) ต่อมาเป็นที่พระกำจรจาตุรงค์ (แดง) เจ้าเมืองวารินทร์ชำราบ คนที่ 1
  4. นางหมาแพง

ปี พ.ศ. 2371 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญจันทร์ บุตรพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 2 (พ.ศ. 2371-2395) ซึ่งพระเทพวงศา (บุญจันทร์) ท่านมีบุตรชาย 2 คน คือ ท้าวบุญสิงห์ และท้าวบุญชัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียม และเมืองเสมี๊ยะ ขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองจำปาสัก มาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราษฎร์ธานี

ปี พ.ศ. 2396 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญเฮ้า บุตรพระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 3 (พ.ศ. 2396-2408)

ปี พ.ศ. 2408 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญสิงห์ บุตรพระเทพวงศา (บุญจันทร์) เป็นที่พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี คนที่ 4 (พ.ศ. 2408-2428) และถือต้นสานสกุลอมรสิน และอมรสิงห์) มีบุตร 2 คน คือ ท้าวจันทบรม (เสือ) และท้าวขัตติยะ (พ่วย)

ปี พ.ศ. 2388 เมื่อโปรดเกล้าให้ตั้งบ้านคำเมืองแก้วขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว และปี พ.ศ. 2401 ยกบ้านค้อใหญ่ขึ้นเป็นเมืองอำนาจเจริญ ให้ท้าวจันทบรม (เสือ) บุตรพระเทพวงศา (บุญสิงห์) เป็นที่พระอมรอำนาจ เจ้าเมืองอำนาจเจริญคนแรก โดยให้เมืองทั้งสองขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ

ปี พ.ศ. 2428 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวขัตติยะ (พ่วย) บุตรพระเทพวงศา (บุญสิงห์) เป็นที่พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี ลำดับที่ 5 (พ.ศ. 2428-2435)

ปี พ.ศ. 2440-2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโพธิสาร (คำบุ) เป็นที่พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ ผู้ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเขมราฐ ให้ท้าวโพธิราช (หล้า) เป็นที่พระเขมรัฐศักดิ์ชนาบาล ตำแหน่งปลัดเมือง ให้ท้าวโพธิสารราช (ห้อ) เป็นที่พระเขมรัฐกิจบริหาร ตำแหน่งยกกระบัตรเมือง และหลวงจำนงค์ (แสง) เป็นที่หลวงเขมรัฐการอุตส่าห์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง

ปี พ.ศ. 2445 ทางราชการได้ปรับลดฐานะเมืองโขงเจียม เมืองคำเขื่อนแก้ว เมืองอำนาจเจริญ และเมืองวารินทร์ชำราบ ที่เคยขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ให้เป็นอำเภอแต่คงให้ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐเช่นเดิม ส่วนเมืองเขมราฐให้แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ อำเภออุไทยเขมราฐ และอำเภอปจิมเขมราฐ มี * พระเขมรัฐเดชชนารักษ์ (คำบุ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองเขมราฐ

  • พระเขมรัฐศักดิ์ชนาบาล (หล้า) เป็นปลัดเมือง
  • พระเขมรัฐกิจบริหาร (ห้อ) เป็นยกระบัตรเมือง
  • ท้าวสิทธิกุมาร รักษาการแทนนายอำเภออุไทยเขมราฐ
  • ท้าวมหามนตรี รักษาการแทนนายอำเภอปจิมเขมราฐ
  • หลวงธรรโมภาสพัฒนเดช (ทอง) รักษาการแทนนายอำเภออำนาจเจริญ
  • ท้าวจารจำปา รักษาการแทนนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว
  • ท้าวสน รักษาการแทนนายอำเภอโขงเจียม
  • ราชวงศ์ (บุญ) รักษาการแทนนายอำเภอวารินทร์ชำราบ

อันมีอำนาจปกครอง 6 อำเภอ แสดงให้เห็นว่าเมืองเขมราฐยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก

ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ เพื่อให้บังเกิดผลตามที่กำหนดใน “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116” มณฑลอีสานถูกแบ่งออกเป็น 8 บริเวณ สำหรับเมืองอุบลราชธานี มีอยู่ 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองยโสธร และเมืองเขมราฐ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 ทางราชการได้ยุบอำเภอปจิมเขมราฐ และอำเภอคำเขื่อนแก้ว โดยให้ไปรวมกับอำเภออุไทยเขมราฐ และในปลายปี พ.ศ. 2452 ทางราชการได้ถูกลดฐานะเมืองเขมราฐลงเป็นอำเภอเขมราฐ ส่วนอำเภอที่เคยขึ้นตรงต่อก็ให้โอนไปอยู่ในเขตการปกครองของเมืองยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. พ.ศ. 2455 อำเภอเขมราฐจึงถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีจนถึงกระทั่งปัจจุบัน โดยมีพระเกษมสำราญรัฐ เป็นนายอำเภอคนแรก[2]

ปี พ.ศ. 2511 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอชานุมาน

พ.ศ. 2525 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอโพธิ์ไทร

พ.ศ. 2537 แบ่งพื้นที่อำเภอเขมราฐจัดตั้งเป็นอำเภอนาตาล

กรณีจัดตั้งจังหวัดเขมราษฎร์ธานี

การยกฐานะอำเภอเขมราฐขึ้นเป็นจังหวัดเขมราษฏร์ธานี โดยอ้างอิงถึงหนังสือของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ถึงนายอำเภอตระการพืชผล อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอกุดข้าวปุ้น และนายอำเภอนาตาล โดยข้อความในหนังสือ มีดังนี้ ด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับรายงานจากอำเภอเขมราฐว่า มีความประสงค์จะจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ เป็นจังหวัดเขมราษฎร์ธานี โดยมีอำเภอในเขตการปกครอง จำนวน 7 อำเภอ ประกอบด้วย เขมราฐ ตระการพืชผล ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม โพธิ์ไทร กุดข้าวปุ้น และนาตาล แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในทุกๆ ด้าน

รายนามเจ้าผู้ครองเมือง

รายนามเจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี

รายนามเจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานี
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ) พ.ศ. 2357-2371
2. พระเทพวงศา (บุญจันทร์) พ.ศ. 2371-2395
3. พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) พ.ศ. 2396-2408
4. พระเทพวงศา (บุญสิงห์) พ.ศ. 2408-2428
5. พระเทพวงศา (พ่วย) พ.ศ. 2428-2435
อ้างอิง:[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเขมราฐตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด 105 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 750 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังนี้

ภูมิประเทศ

อำเภอเขมราฐมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับเนินเขา ลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย และมีสภาพเป็นดินเหนียวตาไหล่เขา มีป่าไม้เบญจพรรณอยู่ทั่วไปเป็นลักษณะป่าโปร่ง มีแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวชายแดนด้านทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกตลอดแนวประมาณ 43 กิโลเมตร และมีห้วยบังโกย ไหลผ่านตัวเมืองเขมราฐอีกด้วย ส่วนฤดูกาล โดยทั่วไป มี 3 ฤดูคือ

  • ฤดูร้อน

ช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนพฤษภาคม อากาศจะแห้ง และมีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป

  • ฤดูฝน

ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนตุลาคม มีฝนตกโดยทั่วไปในท้องที่และมีน้ำหลาก

  • ฤดูหนาว

ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน - เดือนมีนาคม อุณหภูมิในอากาศค่อย ๆ ลดระดับลง เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเขมราฐแบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 123 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่. ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย จำนวนหมู่บ้าน ประชากร
1. Khemarat เขมราฐ 22 11,763
2. Kham Pom ขามป้อม 17 9,101
3. Chiat เจียด 9 4,713
4. Nong Phue หนองผือ 14 9,184
5. Na Waeng นาแวง 13 6,919
6. Kaeng Nuea แก้งเหนือ 10 6,056
7. Nong Nok Tha หนองนกทา 13 5,557
8. Nong Sim หนองสิม 10 4,903
9. Hua Na หัวนา 16 12,263

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเขมราฐประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเขมราฐ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขมราฐ
  • เทศบาลตำบลเทพวงศา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขมราฐ (นอกเขตเทศบาลตำบลเขมราฐ)
  • เทศบาลตำบลขามป้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขามป้อมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผือทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวนาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองนกทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองนกทาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจียดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก้งเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสิมทั้งตำบล

สถานศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลตำบลเขมราฐ

  • โรงเรียนเขมราฐพิทยาคม โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
  • โรงเรียนเขมราฐ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา
  • โรงเรียนอนุบาลบ้านเหนือเขมราฐ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา

โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษาอื่น ๆ

  • โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม (ตำบลแก้งเหนือ) โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
  • โรงเรียนบ้านหนองผือ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมต้น
  • โรงเรียนบ้านนาแวง โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมต้น
  • โรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา (ภาคเอกชน)

ฯลฯ

วิทยาลัย มหาวิทยาลัย

การคมนาคม

รถยนต์

อำเภอเขมราฐ มีทางหลวงแผ่นดิน 6 เส้นทาง ดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ) ชัยภูมิ–เขมราฐ
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2034 (ถนนมุกดาหาร–บรรจบทางหลวงหมายเลข 202 บ้านหนองผือ)
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2050 (ถนนอุบลราชธานี-ตระการพืชผล–เขมราฐ)
  4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2112 แยกทางหลวงหมายเลข 2050 (เขมราฐ) –โขงเจียม
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2232 แยกทางหลวงหมายเลข 202 (หนองผือ) –กุดข้าวปุ้น
  6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2242 แยกทางหลวงหมายเลข 2034 (บุ่งเขียว) –บรรจบทางหลวงหมายเลข 202 (เขมราฐ)

รถไฟ

อำเภอเขมราฐไม่มีเส้นทางรถไฟผ่าน และต้องอาศัยการเดินทางมายังสถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นสามารถโดยสารรถประจำทางหรือรถขนส่งร่วมบริการมายังอำเภอเขมราฐ ด้วยระยะทาง 110 กิโลเมตร

อากาศยาน

ต้องเดินทางด้วยเครื่องบินลงมาที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี แล้วต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถตู้มายังอำเภอเขมราฐ ระยะทาง 106 กิโลเมตร หากมีการก่อสร้างท่าอากาศยานเลิงนกทา มีระยะทาง 97 กิโลเมตร หรือท่าอากาศยานมุกดาหาร ระยะทาง 103 กิโลเมตร

สถานที่ราชการสำคัญ

  • ที่ว่าการอำเภอเขมราฐ
  • โรงพยาบาลเขมราฐ
  • ที่ทำการด่านศุลกากรเขมราฐ
  • สถานีตำรวจภูธรเขมราฐ
  • การประปาส่วนภูมิภาค สาขาเขมราฐ
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาเขมราฐ
  • สถานีไฟฟ้าเขมราฐ
  • โครงการก่อสร้างศาลจังหวัดเขมราฐ
  • สำนักงานเกษตรอำเภอเขมราฐ
  • สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเขมราฐ
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ
  • สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเขมราฐ
  • สำนักงานสรรพากรจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเขมราฐ
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเขมราฐ
  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเขมราฐ
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี สาขาเขมราฐ
  • สถานีเรือ นรข.เขต อบ. เขมราฐ
  • กองร้อย ตชด.๒๒๗
  • ชุดประสานงานที่ 1กองกำลังสุรนารี (เขมราฐ)
  • สถานีตำรวจน้ำ 4 เขมราฐ กองกำกับการ 10 กองบังคับการตำรวจน้ำ
  • หมวดการทางเขมราฐ
  • หมวดบำรุงทางหลวงชนบทเขมราฐ

สถานที่ท่องเที่ยว

  • หาดทรายสูง ที่ตั้ง บ้านลาดหญ้าคา หมู่ที่ 10 ต.นาแวง
  • แก่งช้างหมอบ ที่ตั้ง บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 10 ต.เขมราฐ
  • ภูอ่าง ที่ตั้ง บ้านหลักเขต หมู่ที่ 9 ต.หนองนกทา
  • แก่งพะลานเหล็ก ที่ตั้ง บ้านสามแยกถ้ำเสือ หมู่ที่ 17 ต.เขมราฐ
  • ภูรัง ที่ตั้ง บ้านบาก ม.2 ต.หัวนาและ บ้านดอนโด่ ม.10 ต.หัวนา
  • ภูพนมดี ที่ตั้ง บ้านแก้งหลักด่าน ม.7 และบ้านพนมดี ม.10 ต.หนองผือ
  • ภูยอ ที่ตั้ง บ้านคำสง่า ม.11 ต.หนองนกทา
  • พระเจ้าใหญ่องค์แสน ที่ตั้ง วัดโพธิ์ หมู่ที่ 7 ต.เขมราฐ
  • พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น ที่ตั้ง วัดบ้านอุบมุง หมู่ที่ 5 ต.เขมราฐ
  • พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ (ล้าน) ที่ตั้ง วัดพระโต บ้านปากแซง หมู่ที่ 3 ต.พะลาน
  • พระหยกไซมีเรีย ที่ตั้ง วัดโพธิ์ หมู่ที่ 7 ต.เขมราฐ
  • ดอนสโงม ที่ตั้ง บ้านนาแวง หมู่ 2 ต.นาแวง

เทศกาลและประเพณี

  • แข่งเรือยาวประเพณีสองฝั่งโขง ไทย-ลาว ลำน้ำโขง หน้าเทศบาล ต.เขมราฐ เดือนตุลาคมของทุกปี
  • ประเพณีสงกรานต์ แก่งช้างหมอบ เทศบาลตำบลเทพวงศา 13-15 เมษายน
  • ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เทศบาลตำบลเขมราฐ เดือนกรกฎาคม
  • ถนนคนเดินอำเภอเขมราฐ ทุกวันเย็นเสาร์

ธนาคารในอำเภอ

  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ธนาคารกสิกรไทย

ผลิตภันฑ์สินค้าส่งออก

  • กล้วยตาก นางวัชมี อุ่นจิตร
  • สมุนไพร นางมาลา มัธยามาศ
  • สมุนไพร นางสมคิด ดงศรี หมู่ 1 ตำบลขามป้อม
  • ผ้าทอมือ นางสมภพ บุ้งทอง 30 ม.6 ต.นาแวง
  • ขนมนางเล็ด กลุ่มแม่บ้านบ้านเหนือเขมราฐ
  • แหนมใบมะยม กลุ่มแม่บ้านบ้านเหนือเขมราฐ
  • กล้วยฉาบ และกล้วยฉาบเส้น กลุ่มแม่บ้านหนองวิไล หมู่ 11 ตำบลเขมราฐ
  • กลุ่มสานกระติบข้าว หมู่ 13 ตำบลขามป้อม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. อำเภอเขมราฐ อ่านว่า เข-มะ-ราด. เมือง "เขมราษฎร์ธานี" ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น "เขมราฐ" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีความหมายเดียวกัน คือ "ดินแดนแห่งความเกษมสุข" (ราษฎร์ = รัฐ, รัฎฐ์ = แว่น แคว้น หรือ ดินแดน ส่วนคำว่า "เขม" หมายถึง ความเกษมสุข) (ที่มา : นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี)
  2. ประวัติศาสตร์อีสาน,เติม วิภาคย์พจนกิจ ,ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2,2530,น.118
  3. http://www.yasothon.go.th/web/file/menu2.html