ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aj.nattap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9255675 สร้างโดย Aj.nattap (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ถูกแทน ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ (ส่วนหัวหน้าทดลองเขียน)}}
{{กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ (ส่วนหัวหน้าทดลองเขียน)}}
{{กระบะทรายผู้ใช้}}


<!-- '''<big>การจัดการเรียนรู้</big>''' --><br>

การจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์และศิลป์ของผู้สอนที่ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องเรียนรู้และเข้าใจ ส่งผลให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องและเกิดสัมฤทธิ์ผล ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและ
นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่

* '''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้'''

*- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้
*- ความหมายของการจัดการเรียนรู้
*- ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้
*- ประเภทของการจัดการเรียนรู้
*- ลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่ดี
*- องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้

* '''ทฤษฎีการเรียนรู้'''

*- ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist)
*- ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist)
*- ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist)

* '''การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ'''

*- ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
*- หลักการพื้นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
*- บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
*- บทบาทของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
*- รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

* '''วิธีการจัดการเรียนรู้'''
* '''กระบวนการจัดการเรียนรู้'''

*- กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)
*- การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
*- มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
== 1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ==
'''1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้'''<br>
<ref>ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144)</ref>ฮู และ ดันแคน (Hough and Duncan 1970: 144) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่า หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ และมีความผาสุก ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่าง ๆ 4 ด้าน ดังนี้
<br>1) การจัดการหลักสูตร (Curriculum)
<br>2) การจัดการเรียนการสอน (Instruction)
<br>3) การวัดผล (Measuring)
<br>4) การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation) หลังการเรียนการสอน <br>
<ref>มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)</ref> มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ ว่าเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้<br>
<ref>ชัยรัตน์ บุมี (2557)</ref> ชัยรัตน์ บุมี (2557) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการของการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ที่ดีและบรรลุผลตามจุดประสงค์ของการสอน
สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ครูกับนักเรียนเกิดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้ กิจกรรม รวมทั้งทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด<br>
''' 1.2 ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้'''<br>
<ref>มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8)</ref> มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2557: 8) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ปรียบเสมือนเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักการเรียน ตั้งใจเรียนและเกิด
การเรียนรู้ขึ้นการเรียนของผู้เรียนจะไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความสำเร็จในชีวิตหรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนรู้ที่ดีของผู้สอน หรือผู้สอนด้วยเช่นกัน หากผู้สอนรู้จักเลือกใช้วิธีการจัการเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมแล้ว ย่อมจะมีผลตีต่อการเรียนของผู้เรียน ดังนี้ <br>

# มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้
# เกิดทักษะหรือมีความชำนาญใน เนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้
# เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เรียน
# สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกติใช้ในชีวิตประจำวันได้
# สามารถนำความรู้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปอีกได้ <br>
อนึ่ง การที่ผู้สอนจะส่งเสริมให้ผู้เรียนความเจริญงอกงามในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างทาย อารมณ์
สังคม และสติปัญญานั้น การส่งเสริมที่ดีที่สุดก็คือการให้การศึกษา ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:27, 13 กุมภาพันธ์ 2564