ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริม บุนนาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
}}
}}


'''ปริม บุนนาค''' หรือ '''หม่อมปริม ยุคล ณ อยุธยา''' เป็นหม่อมใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] พระโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์]] กับ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล]] และเป็นอดีตนักแสดง
'''ปริม บุนนาค''' หรือ '''หม่อมปริม ยุคล ณ อยุธยา''' (13 กันยายน พ.ศ. 2466 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เป็นหม่อมใน[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล]] และเป็นอดีตนักแสดง


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:25, 5 กุมภาพันธ์ 2564

ปริม บุนนาค
เกิดปริม บุนนาค
13 กันยายน พ.ศ. 2466
เสียชีวิต4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (97 ปี)
คู่สมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
บุพการีพระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค)
คุณหญิงเปลื้อง บุนนาค

ปริม บุนนาค หรือ หม่อมปริม ยุคล ณ อยุธยา (13 กันยายน พ.ศ. 2466 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และเป็นอดีตนักแสดง

ประวัติ

ปริมเป็นธิดาพระยานิพัทธ์กุลพงศ์ (ชิน บุนนาค) กับคุณหญิงเปลื้อง บุนนาค (สกุลเดิม: นิพัทธ์กุลพงศ์) เป็นหลานปู่พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2466 เข้าเรียนที่โรงเรียนผดุงดรุณี และโรงเรียนมิชชันนารีพระคริสตธรรม จบระดับชั้นประถมศึกษา บิดาให้ออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้าน โดยท่านเป็นครูสอนวิชาต่างๆให้ โดยเริ่มหัดพิมพ์ดีดตั้งแต่เด็กจนพิมพ์ภาษาอังกฤษได้ และช่วยบิดาพิมพ์จดหมายโต้ตอบกับชาวต่างประเทศ

เริ่มเข้าสู่วงการแสดงเมื่ออายุประมาณ 16 ปี ได้แสดงภาพยนตร์ไทยเรื่อง "วันเพ็ญ" เป็นภาพยนตร์ขาวดำ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม กำกับการแสดงโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และมีชาญ บุนนาค พี่ชายเป็นผู้กำกับเสียง มีสนิท พุกประยูรเป็นพระเอก ประสบความสำเร็จสำหรับภาพยนตร์ไทยในสมัยนั้น ต่อมาแสดงละครการกุศลให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิราชประชาสมาศัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรื่อง "ฟ้าแจ้งจางปาง"

ในปีต่อมาปริมสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน

ต้นตำหรับลูกชุบ

ปริมเปิดร้านเสริมสวยชื่อ "โมฬี" และมีฝีมือในการทำอาหารคาวหวาน หลายอย่าง เนื่องจากชีวิตในวัยเด็กเคยอยู่ในบ้านท่านเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งท่านมีศักดิ์เป็นทวด ได้เคยช่วยงานประดิษฐ์และแกะสลักผลไม้ ทำขนมปั้นขลิบ และขนมลูกชุบ เป็นต้น เมื่อมีการประกวดการทำขนมลูกชุบในงาน "เคหสงเคราะห์" ของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่สวนอัมพร ประมาณปี พ.ศ. 2496 หม่อมปริมได้ส่งขนมลูกชุบ ฝีมือของตนเองเข้าประกวด และได้รับรางวัลที่ 1 หลังจากนั้นได้ทำขนมลูกชุบเป็นงานอดิเรก ฝากขายที่ร้านอาหารสุโขทัย เมื่อมีคนรู้จักสั่งมากขึ้น จึงรับทำตามสั่งอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะปั้นเป็นรูปผลไม้ต่างๆ โดยจดจำ สูตรจากคุณย่า คือ ท่านชื่น ภรรยาพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย) นอกจากนี้ยังทำท็อฟฟี่กะทิจากสูตรคุณหญิงเปลื้อง บุนนาค มารดาของหม่อมปริมอีกด้วย

หม่อมปริมถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สิริอายุ 100 ปี

โดยคงเหลือฝีมือเป็นเอกในการทำขนมไทยโบราณ โดยเฉพาะลูกชุบและท๊อฟฟี่กะทิ ฝีมือชาววังไว้

ผลงานการแสดง

  • วันเพ็ญ คู่กับ สนิท พุกประยูร
  • ฟ้าแจ้งจางปาง