ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หงส์กู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
}}
}}


'''หงส์กู่''' หรือ '''หงส์ฮูปเปอร์''' ([[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Cygnus cygnus'') เป็น[[หงส์]]ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือใน[[ทวีปยูเรเชีย]] เป็นหงส์ชนิดคู่กันกับ[[หงส์แตร]]ใน[[อเมริกาเหนือ]] ที่คล้ายกันทางลักษณะ พฤติกรรม และถิ่นอาศัย (ซีกโลกเหนือ) และเป็น[[ชนิดต้นแบบ]]ของ[[หงส์|วงศ์หงส์]] ''(Cygnus)''
'''หงส์กู่''' หรือ '''หงส์ฮูปเปอร์''' ([[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Cygnus cygnus'') เป็น[[หงส์]]ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือใน[[ทวีปยูเรเชีย]] เป็นญาติสนิทกับ[[หงส์แตร]]ใน[[อเมริกาเหนือ]] ที่คล้ายกันทางลักษณะ พฤติกรรม และถิ่นอาศัย (ซีกโลกเหนือ) และเป็น[[ชนิดต้นแบบ]]ของ[[หงส์|วงศ์หงส์]] ''(Cygnus)''


== ลักษณะ ==
== ลักษณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:50, 1 กุมภาพันธ์ 2564

หงส์กู่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Cygnini
สกุล: Cygnus
สปีชีส์: C.  cygnus
ชื่อทวินาม
Cygnus cygnus
(Linnaeus, 1758)

     ช่วงฤดูผสมพันธุ์ (ฤดูร้อน)      ถิ่นอาศัยแบบตลอดปี      ช่วงฤดูหนาว

หงส์กู่ หรือ หงส์ฮูปเปอร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cygnus cygnus) เป็นหงส์ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคซีกโลกเหนือในทวีปยูเรเชีย เป็นญาติสนิทกับหงส์แตรในอเมริกาเหนือ ที่คล้ายกันทางลักษณะ พฤติกรรม และถิ่นอาศัย (ซีกโลกเหนือ) และเป็นชนิดต้นแบบของวงศ์หงส์ (Cygnus)

ลักษณะ

หงส์กู่มีขนาดตัวขนาดใหญ่ วัยโตเต็มที่ลำตัวยาวประมาณ 140-165 เซนติเมตร ด้วยช่วงกว้างปีก 205-275 เซนติเมตร น้ำหนักตัวโดยทั่วไปที่พบได้อยู่ที่ 7.4-14 กิโลกรัม เพศผู้มีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 9.8-11.4 กิโลกรัม เพศเมีย 8.2- .2 กิโลกรัม โดยสถิติน้ำหนักสูงสุดที่เคยบันทึกได้อยู่ที่ 15.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเพศผู้พบในฤดูหนาวของเดนมาร์ก นอกจากนี้ หงส์กู่ยังถือเป็นสัตว์ปีกที่บินได้ทนทานที่สุด[2][3] หากเทียบกับมาตรฐานของบรรดาสัตว์ปีกอพยพ ความกว้างของปีกอยู่ที่ 56.2 - 63.5 เซนติเมตร มีเท้าขนาด 10.4-13 เซนติเมตร และจะงอยปากขนาด 9.2-11.6 เซนติเมตร[4] ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะงอยปากจะเป็นสีเหลืองมากกว่าสีดำ

สัญลักษณ์

หงส์กู่ได้รับการนับถือมากในยุโรป[5] โดยที่หงส์กู่เป็นนกประจำชาติของฟินแลนด์ และยังปรากฏในเหรียญ 1 ยูโรของฟินแลนด์ ในขณะที่ชาวจีนในหมู่บ้านชาวประมงใกล้กับทะเลปั๋วไห่จะเรียกหงส์กู่อย่างเอ็นดูว่า "นางฟ้าหน้าหนาว" (冬季天使)[6]

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2012). "Cygnus cygnus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. Brazil, Mark, The Whooper Swan. Christopher Helm Ornithology (2003), ISBN 978-0-7136-6570-3
  3. CRC Handbook of Avian Body Masses by John B. Dunning Jr. (Editor). CRC Press (1992), ISBN 978-0-8493-4258-5.
  4. Madge, Steve, Waterfowl: An Identification Guide to the Ducks, Geese, and Swans of the World. Houghton Mifflin Harcourt (1992), ISBN 978-0-395-46726-8
  5. Mondadori, Arnoldo, บ.ก. (1988). Great Book of the Animal Kingdom. New York: Arch Cape Press. p. 183.
  6. "อัศจรรย์แดนมังกรตอนที่ 8". ช่อง 7. 13 October 2014. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus cygnus ที่วิกิสปีชีส์