ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าคณะภาค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tonx (คุย | ส่วนร่วม)
Tonx (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 96: บรรทัด 96:


=== การรวมเขตภาคในคณะธรรมยุต ===
=== การรวมเขตภาคในคณะธรรมยุต ===
ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้
ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้<ref>{{cite web|url=http://mahathera.onab.go.th/files/mati_doc/c_01200164_1%20แบ่งเขตปกครองระดับภาคของคณะธรรมยุต.pdf|title=มติมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 เรื่อง ขออนุมัติแบ่งเขตการปกครองระดับภาคของคณะธรรมยุต|publisher=สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม|publication-date=26 มกราคม 2564|access-date=28 มกราคม 2564}}</ref>
{| class="wikitable"
{| class="wikitable"
|-
|-
! ลำดับที่ !! ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน !! จำนวนจังหวัดในเขตปกครอง
! ลำดับที่
! ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน
! จำนวนจังหวัดในเขตปกครอง
|-
|-
| 1 || '''ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3, ภาค 12, ภาค 13''' || 13 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล
| 1 || '''ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3''' || 9 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล
|-
|-
| 2 || '''ภาค 4, ภาค 5, ภาค 6, ภาค 7''' || 5 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล
| 2 || '''ภาค 4, ภาค 5''' || 5 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล
|-
|-
| 3 || '''ภาค 8''' || 5 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล
| 3 || '''ภาค 6, ภาค 7''' || 4 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|-
|-
| 4 || '''ภาค 9''' || 4 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล
| 4 || '''ภาค 8''' || 5 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล
|-
|-
| 5 || '''ภาค 10''' || 6 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล
| 5 || '''ภาค 9''' || 4 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล
|-
|-
| 6 || '''ภาค 11''' || 4 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล
| 6 || '''ภาค 10''' || 6 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล
|-
|-
| 7 || '''ภาค 14, ภาค 15''' || 6 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล
| 7 || '''ภาค 11''' || 4 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล
|-
|-
| 8 || '''ภาค 16, ภาค 17, ภาค 18''' || 7 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล
| 8 || '''ภาค 12, ภาค 13''' || 7 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|-
| 9 || '''ภาค 14, ภาค 15''' || 6 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล
|-
| 10 || '''ภาค 16''' || 3 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|-
| 11 || '''ภาค 17, ภาค 18''' || 4 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:58, 28 มกราคม 2564

เจ้าคณะภาค
จวนวัด
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยพระบรมราชโองการ
เงินตอบแทน17,100บาท[1]

เจ้าคณะภาค เป็นพระสังฆาธิการที่ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช โดยผ่านมติการเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ในเขตจังหวัดของตน เจ้าคณะภาค คือพระสังฆาธิการผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค[2]

อำนาจหน้าที่

ข้อ 10 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ กำหนดให้เจ้าคณะภาคมีอำนาจหน้าที่การปกครองคณะสงฆ์ในเขตภาคของตน ดังนี้[3]

  1. ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
  2. ควบคุมและส่งเสริมการรักษาความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ให้ดำเนินไปด้วยดี
  3. วินิจฉัยการลงนิคหกรรม วินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชั้นจังหวัด
  4. แก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นไปโดยชอบ
  5. ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส ตลอดถึงพระภิกษุสามเณรผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรืออยู่ในเขตปกครองของตน และชี้แจงแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ในบังคับบัญชา ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย
  6. ตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองของตน

คุณสมบัติ

ข้อ 6 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ กำหนดให้พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้[4]

  1. มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
  2. มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
  3. มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
  4. เป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
  5. ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคเรื้อน หรือเป็นวัณโรคในระยะอันตรายจนเป็นที่น่ารังเกียจ
  6. ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
  7. ไม่เคยถูกถอดถอนหรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน

และในข้อ 10 ได้กำหนดให้พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้

  1. มีพรรษา 20 พรรษาขึ้นไป และ
  2. กำลังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาคนั้นมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรือ
  3. กำลังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ในภาคนั้น ไม่ต่ำกว่า 4 ปี หรือ
  4. มีสมณศักดิ์ไม่ต่ำกว่าพระราชาคณะชั้นเทพ หรือ
  5. เป็นพระราชาคณะซึ่งเป็นพระคณาจารย์เอก หรือเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค
  6. ในกรณีที่คัดเลือกพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติขั้นต้นไม่ได้หรือได้แต่ไม่เหมาะสม มหาเถรสมาคมอาจผ่อนผันได้

เขตปกครอง

การแบ่งเขตปกครองภาค

ตามข้อ 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค กำหนดให้มีจำนวนภาค 18 ภาค และให้รวมเขตปกครองจังหวัดต่าง ๆ เป็นเขตปกครองภาค ดังต่อไปนี้[5]

คณะสงฆ์ จำนวนจังหวัด จังหวัดในเขตปกครอง
ภาค 1 4 จังหวัด กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ
ภาค 2 3 จังหวัด พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี
ภาค 3 4 จังหวัด ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี
ภาค 4 4 จังหวัด นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์
ภาค 5 4 จังหวัด สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก
ภาค 6 5 จังหวัด ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน
ภาค 7 3 จังหวัด เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
ภาค 8 6 จังหวัด อุดรธานี, หนองคาย, เลย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
ภาค 9 4 จังหวัด ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
ภาค 10 6 จังหวัด อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
ภาค 11 4 จังหวัด นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
ภาค 12 4 จังหวัด ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว
ภาค 13 4 จังหวัด ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
ภาค 14 4 จังหวัด นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร
ภาค 15 4 จังหวัด ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
ภาค 16 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฏร์ธานี
ภาค 17 5 จังหวัด ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง
ภาค 18 6 จังหวัด สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส

การรวมเขตภาคในคณะธรรมยุต

ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้[6]

ลำดับที่ ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน จำนวนจังหวัดในเขตปกครอง
1 ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3 9 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล
2 ภาค 4, ภาค 5 5 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล
3 ภาค 6, ภาค 7 4 จังหวัด อำเภอ ตำบล
4 ภาค 8 5 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล
5 ภาค 9 4 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล
6 ภาค 10 6 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล
7 ภาค 11 4 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล
8 ภาค 12, ภาค 13 7 จังหวัด อำเภอ ตำบล
9 ภาค 14, ภาค 15 6 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล
10 ภาค 16 3 จังหวัด อำเภอ ตำบล
11 ภาค 17, ภาค 18 4 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล

รายนาม

ฝ่ายมหานิกาย

ตำแหน่ง/ภาค เจ้าคณะ (ณ พ.ศ. 2562) วัด (จังหวัด) จังหวัดในเขตปกครอง
เจ้าคณะภาค 1 พระเทพสุธี (สายชล ฐานวุฑฺโฒ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ
รองเจ้าคณะภาค 1 พระเทพปริยัติมุนี (มีชัย วีรปญฺโญ) วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 2 พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต) วัดราชคฤห์ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี
รองเจ้าคณะภาค 2 -ว่าง- -
เจ้าคณะภาค 3 พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ) วัดบพิตรพิมุข กรุงเทพมหานคร ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี
รองเจ้าคณะภาค 3 พระราชปริยัติสุธี (ชลอ ปิยาจาโร) วัดธรรมามูล จังหวัดชัยนาท
เจ้าคณะภาค 4 พระวิสุทธาธิบดี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์
รองเจ้าคณะภาค 4 พระเทพมุนี (ประชัน ฐิตปญฺโญ) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 4 พระเทพปัญญาภรณ์ (ริด ริตเวที) วัดตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
เจ้าคณะภาค 5 พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถุ์, ตาก
รองเจ้าคณะภาค 5 พระพุทธิวงศมุนี (บำรุง ฐานุตฺตโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
เจ้าคณะภาค 6 พระเทพเวที (พล อาภากโร) วัดสังเวชวิศยาราม กรุงเทพมหานคร ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน
รองเจ้าคณะภาค 6 พระราชปัญญาภรณ์ (สิงห์คำ ชยวํโส) วัดนางชี กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 6 -ว่าง-
เจ้าคณะภาค 7 พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) วัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
รองเจ้าคณะภาค 7 พระธรรมเสนาบดี (ธงชัย สุวณฺณสิริ) วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
รองเจ้าคณะภาค 7 พระราชวิสุทธิเวที (นิกร มโนกโร) วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 8 พระธรรมคุณาภรณ์ (เก็ง อาสโภ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร อุดรธานี, หนองคาย, เลย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
รองเจ้าคณะภาค 8 พระเทพโสภณ (ปรีชา อภิวณฺโณ) วัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 8 พระราชเมธี (วิชา อภิปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 9 พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
รองเจ้าคณะภาค 9 พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี) วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 9 -ว่าง-[7]
เจ้าคณะภาค 10 พระเทพวิสุทธิโมลี (พรหมา สปฺปญฺโญ) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
รองเจ้าคณะภาค 10 พระราชวชิรโมลี (โสรัจจ์ มหาโสรจฺโจ) วัดสวนพลู กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 10 -ว่าง-
เจ้าคณะภาค 11 พระธรรมเจดีย์ (สมคิด เขมจารี) วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
รองเจ้าคณะภาค 11 พระเทพวิสุทธิเมธี (แผ่ว ปรกฺกโม) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
รองเจ้าคณะภาค 11 พระราชปัญญาสุธี (อุทัย ญาโนทโย)[8] วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 12 พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว
รองเจ้าคณะภาค 12 พระราชเวที (สุรพล ชิตญาโณ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 13 พระพรหมกวี (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
รองเจ้าคณะภาค 13 พระเทพวิสุทธิดิลก (ละเอียด กิตฺติสุขุโม) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 14 พระธรรมโพธิมงคล (สมควร ปิยสีโล) วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร
รองเจ้าคณะภาค 14 พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 15 พระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม) วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
รองเจ้าคณะภาค 15 พระเทพรัตนสุธี (ปัญญา สิริปญฺโญ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
เจ้าคณะภาค 16 พระธรรมวิมลโมลี (พงศ์สรร อสิญาโณ) วัดไตรธรรมาราม จังหวัดสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฏร์ธานี
รองเจ้าคณะภาค 16 -ว่าง-[9]
เจ้าคณะภาค 17 พระเทพกิตติเวที (ฉ่ำ ปุญฺญชโย) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง
รองเจ้าคณะภาค 17 พระเทพปัญญาโมลี (วิศิษฐ์ กนฺตสิริ) วัดประชุมโยธี จังหวัดพังงา
เจ้าคณะภาค 18 พระเทพสิทธิมุนี (บุญสิน อุตฺตมชาโต) วัดดุสิดาราม กรุงเทพมหานคร สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส
รองเจ้าคณะภาค 18 -ว่าง-[10] -ว่าง-

ฝ่ายธรรมยุต

ตำแหน่งภาค เจ้าคณะ (ณ พ.ศ. 2562) วัด (จังหวัด) จังหวัดในเขตปกครอง
เจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ กรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา,
อ่างทอง, สระบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี, ปราจีนบุรี, นครนายก,
ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
รองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
เจ้าคณะภาค 4-5-6-7 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, กำแพงเพชร-พิจิตร, สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถุ์, ตาก
รองเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 -ว่าง-[11]
เจ้าคณะภาค 8 พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) วัดประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี, เลย, หนองคาย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
รองเจ้าคณะภาค 8 พระเทพวรคุณ (ประศาสน์ ปญฺญาธโร) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
เจ้าคณะภาค 9 พระเทพดิลก (วัชรพันธ์ นนฺทิโย) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
รองเจ้าคณะภาค 9 -ว่าง- -
เจ้าคณะภาค 10 พระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อุบลราชธานี, ยโสธร, ศรีสะเกษ, นครพนม, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
รองเจ้าคณะภาค 10 -ว่าง- -
เจ้าคณะภาค 11 พระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร) วัดเครือวัลย์ กรุงเทพฯ นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์
รองเจ้าคณะภาค 11 -ว่าง-[12]
เจ้าคณะภาค 14-15 พระเทพเจติยาจารย์ (ยุทธศักดิ์ กิตฺติยุตฺโต) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ นครปฐม-สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร, ราชบุรี, เพชรบุรี,
สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
รองเจ้าคณะภาค 14-15 -ว่าง-[13]
เจ้าคณะภาค 16-17-18 พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต) วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่,
พังงา, ระนอง, สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส
รองเจ้าคณะภาค 16-17-18 พระเทพวินยาภรณ์ (สมปอง ปญฺญาทีโป) วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รองเจ้าคณะภาค 16-17-18 พระราชวินยาภรณ์ (เปลี่ยน โชตฺยาวตฺโต) วัดบุรณศิริมาตยาราม กรุงเทพฯ

การถอดถอน

ดูรายละเอียดที่ พระสังฆาธิการ

อ้างอิง

  1. "บัญชีนิตยภัต ฉบับปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 เป็นต้นไป". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต. 27 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 335 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  3. "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค". วัดโมลีโลกยาราม. 2553. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "มติมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 เรื่อง ขออนุมัติแบ่งเขตการปกครองระดับภาคของคณะธรรมยุต" (PDF). สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. 26 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. เนื่องจาก พระราชวิสุทธิโมลี (มนู สุมโน) ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาภาค 9
  8. https://www.facebook.com/264690833722118/photos/a.264697770388091.1073741829.264690833722118/421141228077077/?type=1&theater
  9. เนื่องจาก พระราชศิริธรรมเมธี (นิยม ยามเทโว) มรณภาพเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563
  10. เนื่องจาก พระราชศิริธรรมเมธี (สัมพันธ์ สุจิณฺโณ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18
  11. เนื่องจาก พระเทพมงคลโมลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธ.)
  12. เนี่องจาก พระเทพวราลังการ ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธ)
  13. เนื่องจาก พระธรรมวราภรณ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธ)