ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิ เศวตศิลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 105: บรรทัด 105:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ป.จ.ฝ่ายหน้า|2539}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/007/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล)] เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑</ref>
{{ม.ป.ช.|2518}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/263/46.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘</ref>
{{ม.ว.ม.|2511}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/122/26.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511</ref>
{{ม.ว.ม.|2511}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/122/26.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511</ref>
{{ม.ป.ช.|2518}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/263/46.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘</ref>
{{ร.จ.พ.}}
{{ป.จ.ฝ่ายหน้า|2539}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/007/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล)] เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑</ref>
{{ร.จ.พ.|ไม่ปรากฏ}}
{{ภ.ป.ร.3}}
{{ภ.ป.ร.3}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:21, 23 มกราคม 2564

สิทธิ เศวตศิลา
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2533 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558
(25 ปี 87 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2529 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(0 ปี 202 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
(10 ปี 196 วัน)
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เปรม ติณสูลานนท์
ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าอุปดิศร์ ปาจรียางกูร
ถัดไปสุบิน ปิ่นขยัน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
(0 ปี 263 วัน)
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2462
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นสิทธิ เศวตศิลา.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพอากาศไทย
ยศ พลอากาศเอก[1]
บังคับบัญชา กองทัพอากาศไทย

พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา (7 มกราคม พ.ศ. 2462 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558) เป็นทหารอากาศและนักการเมืองชาวไทย อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[2] อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (พฤษภาคม พ.ศ. 2528) โดยควบตำแหน่งกับ หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี[3][4]

ประวัติ

พลอากาศเอก สิทธิ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2462 ที่จังหวัดพระนคร ในบ้านหลังวัดชนะสงคราม[5] เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) และคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (สกุลเดิม บุนนาค)[6] เป็นหลานปู่ของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ หลานตาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเหลนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) มีพี่น้อง ดังนี้

  • นายสุวรรณ เศวตศิลา
  • นายวันชัย (ทองดี) เศวตศิลา
  • นายบุญธรรม (ทองหล่อ) เศวตศิลา
  • พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา
  • นางสมจิตต์ สกลคณารักษ์
  • นางสมใจ อาสนจินดา ภรรยาของ สมชาย อาสนจินดา หรือ ส. อาสนจินดา ศิลปินแห่งชาติ นักแสดง ผู้กำกับ และผู้สร้างภาพยนตร์อาวุโส
  • ร้อยตรี สนั่น เศวตศิลา
  • นายสนิท เศวตศิลา
  • นายปั้น เศวตศิลา
  • นางประทิน จิตตินันท์
  • นางสุจิตรา อุณหสุวรรณ
  • นางพูนศรี พูนพิพัฒน์
  • นางฉวีวรรณ ภาสะวณิช
  • นางเจริญสุข แลร์
  • นางเฉลิมศรี เบิร์ด

พลอากาศเอก สิทธิ สมรสกับเภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่

  • นางธนิฏฐา เศวตศิลา มณีโชติ
  • นายธีรสิทธิ เศวตศิลา
  • นายธาดา เศวตศิลา สามีของมยุรา ธนบุตร นักแสดงหญิงและพิธีกรไทย
  • นางสุทธินี ญาณอมร

พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา สำเร็จการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนวัดสุทัศน์ จังหวัดพระนคร ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล, โรงเรียนวัดราชบพิธ, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา

ในระดับอุดมศึกษาพลอากาศเอก สิทธิ สอบเข้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยสอบได้เป็นที่ ๑ ของรุ่น เมื่อเรียนถึงปี ๓ ได้รับทุนกองทัพอากาศ ไปศึกษาวิชา Metallurgy Engineering สำเร็จการศึกษาได้ทั้ง ปริญญาตรี และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ โลหะวิทยา จากสถาบันเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology; ตัวย่อ: MIT) สหรัฐอเมริกา

ในระหว่างศึกษาที่สหรัฐอเมริกา เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทย ทำงานร่วมกับสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ (Office of Strategic Services; ตัวย่อ: OSS) ของสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด ขณะที่อายุเพียง 25 ปี โดยอาสาสมัครเองเป็นรุ่นที่ 2 ได้รับภารกิจกระโดดร่มลงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำคริสตัลหรือสมุดรหัสส่งต่อแก่ขบวนการเสรีภายในประเทศ ซึ่งมีส่วนที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากสภาพการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด[5]

บทบาททางการเมือง

พลอากาศเอก สิทธิ เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในฐานะล่ามแปลภาษาในคณะกรรมการนเรศวร ซึ่งเป็นคณะกรรมการรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้แก่กรมตำรวจ ในยุคที่มี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดี และต่อมาได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมประมวลราชการแผ่นดิน (ปัจจุบัน คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ) ในปี พ.ศ. 2497

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานยศพลอากาศจัตวาด้วยอายุเพียง 37 ปี นับว่าเป็นนายพลอายุน้อยที่สุดในกองทัพอากาศขณะนั้น [7] ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[8]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีเดียวกัน[9] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ขณะมียศพลอากาศตรี [10] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลอากาศโทเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 [11] ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์[12] และได้รับพระราชทานยศพลอากาศเอกเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2523 [13] ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์[14] ติดต่อกันนานถึง 10 ปี เป็นรองนายกรัฐมนตรี[15] รวมไปถึงรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[16] และ เป็นอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2528[17][18]

และได้เป็นสมาชิกพรรคกิจสังคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2529 และเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคม ก่อนที่จะยุติบทบาททางการเมืองในปี พ.ศ. 2534 หลังการรัฐประหาร กระทั่งวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีพร้อมกับนาย จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [19]

บทบาทในฐานะองคมนตรี

พลอากาศเอกสิทธิ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ต่อต้านอำนาจของทักษิณ ชินวัตร เขามีความไม่สบายใจต่อการดำรงอยู่ของอำนาจฝ่ายทักษิณอยู่ตลอดเวลา โดยเขามองว่าทักษิณ เป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อราชอาณาจักรที่มีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง

จากเอกสารโทรเลขในเว็บไซต์วิกิลีกส์ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2551 องคมนตรีสิทธิได้เสนอให้สมัคร สุนทรเวช ลาออก หรือยุบสภา แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นสิทธิจึงเตรียมแผนการที่จะถอดสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่ง[20] โดยวางตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปคืออานันท์ ปันยารชุน ในการนี้จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่ออนุญาตให้ผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งเตรียมเสนอแผนการณ์ดังกล่าวต่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วังไกลกังวล ในเย็นวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551 [20] แต่ในขั้นต้น นายอานันท์ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ยังไม่ตอบรับข้อเสนอของสิทธิ แผนการณ์นี้มีผู้ร่วมสนับสนุนหลายคน หนึ่งในนั้นปรากฏชื่อของ ปราโมทย์ นาครทรรพ และยังมีนายทหารอากาศระดับสูง ตลอดจนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง[20] อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานว่า แผนการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในอีก 6 วันต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้ปลดนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี องคมนตรีสิทธิมองว่าอภิสิทธิ์ใช้เวลาอยู่บนโพเดียมมากเกินไป จนไม่มีเวลาที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ[21] นอกจากนี้องคมนตรีสิทธิยังพยายามแทรกแซงให้กองทัพปลดพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งเขามองเป็น "ทหารนอกแถว" ออกจากราชการ องคมนตรีสิทธิมองว่าพลเอกอนุพงษ์ไร้ความสามารถในการควบคุมพลตรีขัตติยะ องคมนตรีสิทธิมองว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก น่าจะสามารถจัดการเรื่องต่างๆได้ดีกว่าพลเอกอนุพงษ์[21]

องคมนตรีสิทธิโจมตีทักษิณว่า พยายามใช้เงิน ผู้ชุมนุมเสื้อแดง และฮุนเซ็น เพื่อทำลายประเทศ[21] แต่สิทธิทำนายว่าทักษิณจะทำไม่สำเร็จ ทักษิณไม่เคยพยายามเจรจา สิทธิแนะนำว่า ข้อเรียกร้องทักษิณจะได้รับการตอบสนอง ถ้าเขากลับเข้าประเทศและรับโทษในคุกพอเป็นพิธี ทักษิณก็น่าจะได้รับการอภัยโทษอย่างรวดเร็ว[21] และได้รับการปล่อยตัวในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี

เกียรติคุณ

  • " .... ผลงานชิ้นเอกที่สุด [ของ พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา] มีอยู่สองชิ้น คือ การรวบรวมเสียงชาวโลกให้คว่ำบาตรเวียดนาม [ในการสกัดกั้นการขยายตัวของเวียดนามในอินโดจีน]เหมือนกับที่ [ประธานาธิบดี] จอร์จ [เอช ดับเบิลยู] บุช รวบรวมโลกคว่ำบาตรอิรัก และการริเริ่มโครงการให้ทูตไทยช่วยเป็นพ่อค้าขายสินค้าไทยในต่างประเทศ ซึ่งได้ผลเริ่มเปลี่ยนไทยเป็นประเทศส่งออก ...."
  • ได้รับเหรียญประกาศเกียรติคุณเสรีไทย จากสำนักงานประมวลข่าวกรองของสหรัฐ หรือซีไอเอ เพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
  • ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2539 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ถึงแก่อสัญกรรม

พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 05.30 น. ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด สิริอายุ 96 ปี 332 วัน

ยศทหารและยศกองอาสารักษาดินแดน

ยศทหารอากาศ

  • พ.ศ. 2517 พลอากาศตรี สิทธิ เศวตศิลา รับพระราชทานยศทหารอากาศเป็น พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา[22]
  • พ.ศ. 2523 พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา รับพระราชทานยศทหารอากาศเป็น พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา[23]

ยศกองอาสารักษาดินแดน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  3. http://self.gutenberg.org/articles/President_of_the_Security_Council
  4. https://archive.li/lbkAb
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ หน้า
  6. ชมรมสายสกุลบุนนาค สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 4 สายเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  9. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (นายโกศล ไกรฤกษ์ นายประยูร จินดาศิลป์ นายผัน บุญชิต นายโอภาส พลศิลป ลาออก นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และตั้ง พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถ
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  17. http://self.gutenberg.org/articles/President_of_the_Security_Council
  18. https://archive.li/lbkAb
  19. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
  20. 20.0 20.1 20.2 08BANGKOK2619 U.S. Embassy Bangkok. 3 September 2008. wikileaks.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 SECRET SECTION 01 OF 03 BANGKOK 000192 U.S. Embassy Bangkok. 25 January 2010. wikileaks.
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/218/1.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/025/551.PDF
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/068/1994_1.PDF
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 85 ตอนที่ 122 วันที่ 31 ธันวาคม 2511
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑

4. หนังสือ "ผ่านร้อน ผ่านหนาว พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา"

ก่อนหน้า สิทธิ เศวตศิลา ถัดไป
บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รองนายกรัฐมนตรี
(15 มกราคม พ.ศ. 2529– 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
พงส์ สารสิน
พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย
พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์
อุปดิศร์ ปาจรียางกูร ไฟล์:กระทรวงการต่างประเทศ.gif
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523)
สุบิน ปิ่นขยัน