ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใหญ่ ศวิตชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| name = ใหญ่ ศวิตชาติ
| name = ใหญ่ ศวิตชาติ
| image = ใหญ่ ศวิตชาติ.jpg
| image = ใหญ่ ศวิตชาติ.jpg
| honorific-suffix = <br>[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ป.ม.]]
| imagesize = 180px
<!----------ตำแหน่ง---------->
<!----------ตำแหน่ง---------->
| order = [[รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม]]
| order = [[รายนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:21, 16 มกราคม 2564

ใหญ่ ศวิตชาติ
ไฟล์:ใหญ่ ศวิตชาติ.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน พ.ศ. 2498 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2511 – 26 กันยายน พ.ศ. 2513
ก่อนหน้าชวลิต อภัยวงศ์
ถัดไปธรรมนูญ เทียนเงิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2450
อำเภออุไทยเก่า จังหวัดอุทัยธานี
เสียชีวิต12 มกราคม พ.ศ. 2525 (74 ปี)

นายใหญ่ ศวิตชาติ (7 ตุลาคม พ.ศ. 245012 มกราคม พ.ศ. 2525) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 8 สมัย

ประวัติ

นายใหญ่ ศวิตชาติ เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2450 ที่หมู่ 2 ตำบลหนองนางนวล อำเภออุไทยเก่า (ปัจจุบันคือ อำเภอหนองฉาง) จังหวัดอุทัยธานี เป็นบุตรชายของนายขาว และนางเปี่ยม ขามเทศ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนนามสกุลมาเป็น "ศวิตชาติ" สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี และสำเร็จการศึกษาวิชาครูมูล จากโรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดนครสวรรค์ และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2481 ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางเจริญใจ ศวิตชาติ

นายใหญ่ ศวิตชาติ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2525[1]

การทำงาน

นายใหญ่เริ่มเข้ารับราชการเป็นครูที่โรงเรียนประจำอำเภอหนองฉาง และต่อมาได้สอบได้เป็นปลัดอำเภอ ประจำอยู่ที่อำเภอลาดยาว และอำเภอเมืองนครสวรรค์ จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นตำรวจ ในยศร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) ต่อมาได้ย้ายกลับมาเป็นนายอำเภอลาดยาวอีกครั้ง แล้วจึงย้ายไปเป็นนายอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่จะย้ายไปเป็นนายอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

งานการเมือง

นายใหญ่ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ครั้งแรก ในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการแทนที่ขุนอนุกูลประชากร ผู้แทนราษฎรคนเก่าที่เสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยเหตุระเบิดที่หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2519 รวม 8 สมัย

นายใหญ่ ถือเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรฝีปากกล้า เพียงรับตำแหน่งเพียงสมัยเดียวก็อภิปรายรัฐบาลในรัฐสภาจนเป็นที่ประจักษ์ ในที่สุดเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง และเป็นนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมา นายใหญ่จึงได้รับตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มเติมด้วยการเป็นเลขานุการรัฐมนตรี และได้เข้าร่วมรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ในสมัยต่อมาด้วยการเป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม เมื่อรัฐบาลนายควงสิ้นสุดลง นายใหญ่จึงรวมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เช่น นายเลียง ไชยกาล, นายฟอง สิทธิธรรม, นายสมบุญ ศิริธร ร่วมกันก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2489 โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค และม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค โดยนายใหญ่เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย ในปี พ.ศ. 2489 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลองนายควง อภัยวงศ์[2]

ต่อมาหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 นายใหญ่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์อยู่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อได้มีกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาอย่างเป็นทางการ นายใหญ่จึงได้รับตำแหน่งเลขาธิาการพรรคประชาธิปัตย์ โดยบทบาทของผู้เป็นเลขาธิการพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องต่อสู้กับพรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างเข้มข้น ในฐานะเลขาธิการพรรค นายใหญ่ได้เดินทางไปช่วยผู้สมัครของพรรคหาเสียงตามจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนคัดเลือกผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้คนมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการทุจริตการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง อันเป็นเหตุที่ทำให้มีการรัฐประหารในปีเดียวกัน ซึ่งทำให้ไม่มีพรรคการเมืองและสภาผู้แทนราษฎรไปนานถึง 11 ปี

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2512 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรกถึงแก่กรรม ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคให้เป็นหัวหน้าพรรคต่อ นายใหญ่ก็ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคต่อมาอีกด้วย[1]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นายใหญ่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในปีเดียวกัน[3] และต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมกับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนแรก ก่อตั้งพรรคกิจสังคมขึ้นมา และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี พ.ศ. 2518[4]

นายใหญ่ ศวิตชาติ ยุติบทบาททางการเมืองลงอย่างสิ้นเชิงหลังแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายใหญ่ ศวิตชาติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดนครสวรรค์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดนครสวรรค์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดนครสวรรค์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6]
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดพรรคกิจสังคม

อ้างอิง