ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
พ.ศ. 2330 พระเมืองไชยได้ถูกนำตัวลงไปเฝ้ากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี จึงถูกกักตัวไว้ให้อยู่ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงไม่ไว้วางพระทัยต่อพระเมืองไชยที่เคยเป็นข้าเก่าผู้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีที่พระองค์เพิ่งได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และพระเมืองไชยเคยยกกองทัพเมืองแพร่เข้าร่วมกับพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 อีกทั้งพระเมืองไชยพร้อมครอบครัวเคยไปอยู่เมืองอังวะกับกษัตริย์พม่าเป็นเวลานาน
พ.ศ. 2330 พระเมืองไชยได้ถูกนำตัวลงไปเฝ้ากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี จึงถูกกักตัวไว้ให้อยู่ที่[[กรุงเทพมหานคร]] เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงไม่ไว้วางพระทัยต่อพระเมืองไชยที่เคยเป็นข้าเก่าผู้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีที่พระองค์เพิ่งได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และพระเมืองไชยเคยยกกองทัพเมืองแพร่เข้าร่วมกับพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 อีกทั้งพระเมืองไชยพร้อมครอบครัวเคยไปอยู่เมืองอังวะกับกษัตริย์พม่าเป็นเวลานาน


ในจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภวิรัตติ ซึ่งจารโดยพระเมืองไชย เรียกนามตนเองว่าขณะที่อยู่[[กรุงเทพมหานคร]] ว่า "พระเมืองไชย" และคัมถีร์ใบลานเรื่องภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกนามตนเองว่า "พระยานครไชยวงศา" แทน "พระยาศรีสุริยวงศ์" ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง
ในจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภวิรัตติ ซึ่งจารโดยพระเมืองไชย เรียกนามตนเองว่าขณะที่อยู่[[กรุงเทพมหานคร]] ว่า "พระเมืองไชย" และคัมภีร์ใบลานเรื่องภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกนามตนเองว่า "พระยานครไชยวงศา" แทน "พระยาศรีสุริยวงศ์" ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง


ภายหลังพระเมืองไชยได้กลับมาอยู่เมืองนครแพร่ ในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่จางวาง เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงได้แต่งตั้งพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่องค์ถัดมาแล้ว<ref>ภูเดช แสนสา.เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ใน หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ 6 ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล, พ.ศ. 2556.</ref>
ภายหลังพระเมืองไชยได้กลับมาอยู่เมืองนครแพร่ ในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่จางวาง เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ทรงได้แต่งตั้งพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่องค์ถัดมาแล้ว<ref>ภูเดช แสนสา.เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ใน หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ 6 ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล, พ.ศ. 2556.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:02, 13 มกราคม 2564

พระยาศรีสุริยวงศ์ (เมืองไชย)

พระเมืองไชย
200
เจ้าผู้ครองนครแพร่
เจ้าผู้ครองนครแพร่จางวาง
ครองราชย์ก่อน พ.ศ. 2309-2330
จางวาง พ.ศ. 2330-พ.ศ. 2348
รัชกาลถัดไปพระยาแสนซ้าย
พิราลัยพ.ศ. 2348
พระชายาแม่เจ้าบุษบาราชเทวี
พระนามเต็ม
พระบาทศรีสุริยวงศ์
พระบุตรเจ้านางสุชาดา
ราชวงศ์ราชวงศ์เมืองไชย

พระยาศรีสุริยวงศ์ หรือเจ้าหลวงนครไชยวงศา หรือพระเมืองไชย ในพงศาวดารไทยเรียก พญามังไชย ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 21 ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์พม่าในยุคพม่าปกครอง ภายหลังได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศตามแบบสยามเป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์”[1]

พระประวัติ

พระเมืองไชย หรือ เจ้ามังไชย (คำว่ามังไชยมาจากตำแหน่งพระเมืองไชย ทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเจ้าเมืองแพร่องค์นี้เป็นพม่า ที่มังมีความหมายว่าเจ้า) เชื้อสายและบรรพบุรุษนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน แต่มีการเสนอว่าพญาเชียงเลือ (เชียงเลอ) ผู้ถูกส่งมาปกครองเมืองแพร่เมื่อ พ.ศ. 2106 เป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครองนครแพร่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์มังรายแต่อย่างใด เดิมอาจเป็นเพียงขุนนางระดับ “เจ้าเมือง” หรือ “เจ้าพันนา” ที่ปกครองพันนาหนึ่งของเมืองเชียงใหม่เท่านั้น อีกทั้งในยุคพม่าปกครองมีการสับเปลี่ยนเจ้าเมืองหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อป้องกันการสั่งสมอำนาจ จึงเป็นไปได้น้อยมากที่พม่าจะปล่อยให้เชื้อสายของพญาเชียงเลือสืบทอดอำนาจกันปกครองเมืองแพร่มาจนถึงพระเมืองไชยกว่า 200 ปี และที่กล่าวว่าพระเมืองไชยเป็นเชื้อสายพม่า แต่จากเอกสารบันทึกฝ่ายสยามระบุว่าพระเมืองไชยเป็น “คนลาว” (คนล้านนา, ไทยวน) อีกทั้งคัมภีร์ใบลานที่จารขึ้นโดยพระเมืองไชยก็เป็นอักษรธรรมล้านนา พระเมืองไชยจึงเป็นขุนนางเชื้อสายไทยวน ที่กษัตริย์พม่าสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่มาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2309

ภายหลังพระเมืองไชยได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2313 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งยศตามแบบสยามเป็น “พระยาศรีสุริยวงศ์”

พ.ศ. 2330 พระเมืองไชยได้ถูกนำตัวลงไปเฝ้ากษัตริย์สยามรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี จึงถูกกักตัวไว้ให้อยู่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงไม่ไว้วางพระทัยต่อพระเมืองไชยที่เคยเป็นข้าเก่าผู้สวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีที่พระองค์เพิ่งได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แทน และพระเมืองไชยเคยยกกองทัพเมืองแพร่เข้าร่วมกับพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 อีกทั้งพระเมืองไชยพร้อมครอบครัวเคยไปอยู่เมืองอังวะกับกษัตริย์พม่าเป็นเวลานาน

ในจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานภวิรัตติ ซึ่งจารโดยพระเมืองไชย เรียกนามตนเองว่าขณะที่อยู่กรุงเทพมหานคร ว่า "พระเมืองไชย" และคัมภีร์ใบลานเรื่องภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกนามตนเองว่า "พระยานครไชยวงศา" แทน "พระยาศรีสุริยวงศ์" ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้ง

ภายหลังพระเมืองไชยได้กลับมาอยู่เมืองนครแพร่ ในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่จางวาง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงได้แต่งตั้งพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่องค์ถัดมาแล้ว[2]

พระเมืองไชย ถึงแก่พิราลัยประมาณปี พ.ศ. 2348 จากหลักฐานใบลานวัดหลวงที่แม่เจ้าบุษบาราชเทวีทำบุญในช่วงปี พ.ศ. 2348

ราชกรณียกิจ

ด้านปกครอง

  • เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปตีเชียงใหม่ พ.ศ. 2314 พระเมืองไชยเจ้าผู้ครองนครแพร่มาสวามิภักดิ์จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วเกณฑ์ไปตีเมืองเชียงใหม่ด้วย
  • พ.ศ. 2330 พระเมืองไชย ทรงร่วมกับเจ้าฟ้ากอง เจ้าฟ้าเมืองยอง ยกกองทัพไปตีพม่าที่ปกครองเมืองเชียงแสนจนได้รับชัยชนะ สามารถจับตัว อาปรกามณี (พะแพหวุ่น) เมียวหวุ่นเมืองเชียงแสน ส่งตัวไปถวายให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  • พระเมืองไชย ทรงรวบรวมไพร่พลคนเมืองแพร่ช่วยกองทัพจากกรุงเทพฯขับไล่ข้าศึกชาวพม่าในเขตล้านนา ได้แก่นครลำปาง นครลำพูน นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย นครแพร่ นครน่าน เมืองพะเยา จนหมดสิ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้พระเมืองไชยไปช่วยราชการที่ เมืองนครลำปาง
  • พระเมืองไชย ทรงอาสานำทัพจากลำปาง พ.ศ. 2352 ขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงและสามารถตีจนได้ชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดให้พระเมืองไชยกลับไปเมืองแพร่

ด้านศาสนา

  • พระเมืองไชย ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุช่อแฮ และทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ตลอดพระชนชีพ[3]
  • พระเมืองไชย ทรงจารคัมภีร์ธรรมภิกขุปาฏิโมกข์ ถวายวัดศรีชุม เมืองนครแพร่ พ.ศ. 2343

ราชโอรส-ธิดา

พระเมืองไชยมีราชเทวีคือแม่เจ้าบุษบา มีราชธิดาปรากฏนามองค์หนึ่งชื่อ "เจ้านางสุชาดา" ต่อมาได้เสกสมรสกับพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 23 และสถาปนาเป็นแม่เจ้าสุชาดาราชเทวี

อ้างอิง

  1. จังหวัดแพร่ .เจ้าผู้ครองนคร เจ้ามังไชย(พระยาศรีสุริยวงศ์)
  2. ภูเดช แสนสา.เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม ใน หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ 6 ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล, พ.ศ. 2556.
  3. วัดพระธาตุช่อแฮ .ประวัติและความเป็นมา