ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาอึลซา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับเกาหลี]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิเกาหลี]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:42, 28 ธันวาคม 2563

สนธิสัญญาอึลซา
สนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลีฉบับที่สอง
ประเภทสนธิสัญญาการอารักขารัฐ
วันลงนาม17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905
ที่ลงนามพระราชวังด็อกซุกอุง, กรุงฮันซอง, จักรวรรดิเกาหลี
วันตรา17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905
ผู้ลงนามจักรวรรดิเกาหลี อี วันยง
จักรวรรดิเกาหลี อี กวนแท็ก
จักรวรรดิเกาหลี อี จียอง
จักรวรรดิเกาหลี พัก เจซุน
จักรวรรดิเกาหลี กวอน จุงฮยอน
ภาคีจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
จักรวรรดิเกาหลี จักรวรรดิเกาหลี
ภาษาญี่ปุ่น และ เกาหลี

สนธิสัญญาอึลซา ([을사조약 อึลซา-โจยัค] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลีฉบับที่สอง (ญี่ปุ่น: 第二次日韓協約โรมาจิได-นิจิ-นิกกัน-เกียวยะกุ) เป็นสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง จักรวรรดิเกาหลี และ จักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1905 โดยมีการลงนามเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1905 สนธิสัญญาฉบับนี้ คือการที่เกาหลียินยอมอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นในฐานะรัฐในอารักขา ถือเป็นการรับรองสถานะของกองทหารญี่ปุ่นในเกาหลีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ญี่ปุ่นมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างประเทศของเกาหลีทั้งหมด แต่การปกครองภายในและนโยบายด้านอื่นยังดำเนินโดยข้าราชการชาวเกาหลี สนธิสัญญาฉบับนี้มีขึ้นภายหลังจากที่ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ที่ยุติไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า[1]

คำว่า "อึลซา" หรือ "อุลซา" (을사) ในภาษาเกาหลีนั้น มาจากการที่วันลงนามในสนธิสัญญานี้ เกิดขึ้นในปีที่ 42 ตามระบบแผนภูมิสวรรค์

การลงนาม

9 พฤศจิกายน 1905 อิโต ฮิโรบูมิ เดินทางถึงกรุงฮันซอง (กรุงโซล) และเข้าถวายพระราชสาสน์จากจักรพรรดิมุตสึฮิโตะแห่งญี่ปุ่นแก่จักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี เพื่อต้องการให้จักรพรรดิโกจงลงพระนามในสนธิสัญญา ซึ่งพระองค์ก็ไม่ยิมยอม ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน อิโตได้บัญชาให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าล้อมวังหลวงไว้ เพื่อกดดันให้พระองค์ทรงลงพระนาม

17 พฤศจิกายน พลเอก ฮาเซนาวะ โยชิมิชิ ผู้บัญชาการกองทหารรักษาการณ์ประจำเกาหลี พร้อมด้วย อิโต ฮิโรบูมิ และกองทหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่ง ได้เข้าไปยังพระที่นั่งจุงเมียงจอน ซึ่งเป็นพระที่นั่งสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่ตั้งอยู่ในพระราชวังด็อกซุกอุง เพื่อเกลี้ยกล่อมให้จักรพรรดิเกาหลีลงพระนามในสนธิสัญญา แต่พระองค์ก็ได้ปฏิเสธ ดังนั้น อิโต จึงบีบบังคับด้วยกำลังทหารให้คณะรัฐมนตรีเกาหลีลงนาม[2] อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเกาหลี ฮัน กยูซอล ปฏิเสธการลงนามอย่างเสียงดัง อิโตจึงสั่งให้ทหารนำตัวเขาไปขัง และขู่ว่าถ้าเขายังไม่หยุดโวยวายเสียงดังจะสังหารเขา[3] เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงมีรัฐมนตรีเกาหลี 5 คนซึ่งเรียกว่า "5 รัฐมนตรี" ยอมลงนาม คือ รัฐมนตรีศึกษาธิการ อี วันยง, รัฐมนตรีกองทัพ อี กวนแท็ก, รัฐมนตรีมหาดไทย อี จียอง, รัฐมนตรีต่างประเทศ พัก เจซุน และ รัฐมนตรีเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม กวอน จุงฮยอน โดยที่จักรพรรดิโกจงไม่ได้ทรงร่วมลงพระนาม

การไม่ยอมรับของจักรพรรดิโกจง

ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผ่านพ้น จักรพรรดิโกจงได้ทรงส่งราชสาสน์ส่วนพระองค์ไปยังบรรดาประมุขแห่งรัฐของประเทศมหาอำนาจ เพื่อขอแนวร่วมเพื่อต่อต้านการลงนามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[4] โดยพระองค์ได้ส่งราชสาสน์ลงตราราชลัญจกรไปยัง 8 ประมุขแห่งรัฐ คือ

  1. พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
  2. ประธานาธิบดี อาร์ม็อง ฟาลีแยร์ แห่งฝรั่งเศส
  3. จักรพรรดินีโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
  4. จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
  5. พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี
  6. สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
  7. จักรพรรดิกวังซวี่แห่งจักรวรรดิชิง
  8. จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

อ้างอิง

  1. Clare, Israel et al. (1910). Library of universal history and popular science, p. 4732., p. 4732, ที่ Google Books
  2. McKenzie, F. A. Korea's Fight for Freedom. 1920.
  3. 이토 히로부미는 직접~ :한계옥 (1998년 4월 10일). 〈무력을 앞장 세워 병탄으로〉, 《망언의 뿌리를 찾아서》, 조양욱, 1판 1쇄, 서울: (주)자유포럼, 97~106쪽쪽. ISBN 89-87811-05-0
  4. Lee Hang-bok. "The King's Letter," English JoongAng Daily. September 22, 2009.