ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษีอากรในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เพิ่มรายการยาว
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีแหล่งที่มาของรายได้จาก 3 แหล่งสำคัญคือ (ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่จากยาสูบ นํ้ามันและโรงแรม (ข) รายได้ที่ได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลเก็บให้หรือแบ่งให้ท้องถิ่น และ (ค) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเองนั้นยังคิดได้เพียงร้อยละ 9–11 ของรายได้รวม อปท.<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|442}}
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีแหล่งที่มาของรายได้จาก 3 แหล่งสำคัญคือ (ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่จากยาสูบ นํ้ามันและโรงแรม (ข) รายได้ที่ได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลเก็บให้หรือแบ่งให้ท้องถิ่น และ (ค) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเองนั้นยังคิดได้เพียงร้อยละ 9–11 ของรายได้รวม อปท.<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|442}}

==การแบ่งประเภทของภาษีอากร==
ประเภทของภาษีอากร อาจแบ่งได้หลายวิธีขึ้นตามความเหมาะสม<ref>{{cite web|url= https://moneyhub.in.th/article/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3/ |title= ภาษี อากร|publisher=Money Hub|accessdate=22 ธันวาคม 2563}}</ref> อาทิ
# '''การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษีอากร''' แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
## '''ภาษีทางตรง (Direct Taxes)''' คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเป็นผู้รับภาระภาษีนั้นไว้เอง โดยจัดเก็บภาษีตรงจากผู้ที่ควรจะต้องเสียภาษีที่แท้จริง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมรดก และภาษีป้าย เป็นต้น
## '''ภาษีทางอ้อม (Indirect Taxes)''' คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย มีโอกาสจะผลักภาระภาษีดังกล่าวไปให้ผู้อื่นช่วยแบ่งเบาภาระภาษีนั้นได้ โดยผลักภาระเข้าไปในราคาของสินค้าหรือบริการโดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระภาษีนั้น ๆ แทน รัฐบาลไม่ได้จัดเก็บภาษีตรงจากผู้ที่ควรจะต้องเสียภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีสรรพสามิต หรือภาษีศุลกากร เป็นต้น<ref>อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้ามาเพื่อใช้เองเป็นภาษีทางตรง ในกรณีของภาษีศุลกากรกับภาษีมูลค่าเพิ่ม</ref>
# '''การแบ่งตามฐานภาษี''' โดยฐานภาษี หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีอากร ถ้าเอาฐานภาษีไปคำนวณกับอัตราภาษีแล้ว ก็จะได้ภาษีที่ต้องเสียหรือสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี แบ่งออกเป็น 3 ฐานภาษี คือ<ref>{{cite web|url= https://krulumyai.weebly.com/3650358836193591362636193657363435913586362935913585359836273617363436183616363436253637.html/ |title= โครงสร้างของภาษีอากร|publisher=นางลำใย เทียมมล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก|accessdate=22 ธันวาคม 2563}}</ref>
## '''ฐานรายได้ (Income Taxes)''' เป็นภาษีที่เก็บจาก[[เงินได้]] เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีการให้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือผลได้จากทุน (capital gains) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นต้น
## '''ฐานการบริโภค (Consumption)''' หมายถึง การนำค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าหรือบริการมาเป็นฐานในการเรียกเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์ และอากรศุลกากร เป็นต้น
## '''ฐานความมั่งคั่ง (Wealth)''' หรือภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Property Taxes) เป็นการจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินเฉพาะอย่าง เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีกองมรดก (Estate Tax) และภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) เป็นต้น
# '''การแบ่งตามอัตราภาษี''' (Tax Rate) อัตราภาษี หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษีเพื่อนำไปคำนวณผลลัพธ์ภาษีอากรที่จะต้องจ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
## '''อัตราคงที่ (Flat Rate หรือ Single Rate หรือ Proportional Rate)''' คือ การเสียภาษีในอัตราคงที่ตลอดไป ไม่ว่ากำไรสุทธิจะเป็นเท่าใด เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล เรียกเก็บร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิหรืออัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7.0 (รวมภาษีท้องถิ่น)
## '''อัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ''' ฐานภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
## '''อัตราถอยหลังหรือถดถอย (Regressive Rate) ''' ฐานภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีกลับลดลง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น


== ภาษีเงินได้ ==
== ภาษีเงินได้ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:01, 22 ธันวาคม 2563

ภาษีอากรในประเทศไทย อาจเกี่ยวข้องกับการจ่ายภาษีให้แก่ราชการสองระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และ กรมศุลกากร) และราชการส่วนท้องถิ่น รายได้ภาษีหลักของรัฐบาลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีงบประมาณ 2558 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประมาณการรายได้จากภาษีอากร 2.15 ล้านล้านบาท

ภาพรวม

กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานของกระทรวงการคลังซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษี รายได้ของรัฐได้มาจากภาษีอากรเกินร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอากรคิดเป็นร้อยละ 70 ของรายได้จากสามกรมที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร สัดส่วนของภาษีทางอ้อมต่อรายได้ทั้งหมดของรัฐค่อย ๆ ลดลงจากร้อยละ 62 ในพุทธทศวรรษ 2530 เหลือประมาณร้อยละ 50 ในปี 2557 ส่วนสัดส่วนของภาษีทางตรงต่อรายได้ทั้งหมดของรัฐเพิ่มขึ้นจากต่ำกว่าร้อยละ 30 ในช่วงเดียวกันเป็นประมาณร้อยละ 40 ในปี 2557

เมื่อแบ่งภาษีออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วยภาษีอากรจากทุน ภาษีอากรจากแรงงาน ภาษีอากรจากการบริโภค และภาษีอื่น ๆ พบว่าระหว่างปี 2533–2557 ภาษีอากรจากการบริโภคคิดเป็นร้อยละ 62.3 ของรายได้ภาษี ส่วนภาษีอากรจากทุนเพิ่มขึ้น 10 เท่าจาก 64,000 ล้านบาทเป็น 740,000 ล้านบาทในช่วงเดียวกัน

รายได้ภาษีทางอ้อมมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่ำกว่ารายได้ภาษีทางตรง คือ ร้อยละ 4.67 ต่อปีเทียบกับร้อยละ 8.35 ต่อปี ทั้งนี้ รายได้จากภาษีศุลกากรขาเข้าลดลงร้อยละ 2.7 ต่อปีระหว่างปี 2537 ถึง 2552 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าที่มีต่อองค์การการค้าโลก, เขตการค้าเสรีอาเซียน และความตกลงการค้าเสรีอื่น[1]: 441 

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีแหล่งที่มาของรายได้จาก 3 แหล่งสำคัญคือ (ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเอง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่จากยาสูบ นํ้ามันและโรงแรม (ข) รายได้ที่ได้จากการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลเก็บให้หรือแบ่งให้ท้องถิ่น และ (ค) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ที่ท้องถิ่นจัดหาเองนั้นยังคิดได้เพียงร้อยละ 9–11 ของรายได้รวม อปท.[1]: 442 

การแบ่งประเภทของภาษีอากร

ประเภทของภาษีอากร อาจแบ่งได้หลายวิธีขึ้นตามความเหมาะสม[2] อาทิ

  1. การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษีอากร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ภาษีทางตรง (Direct Taxes) คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องเป็นผู้รับภาระภาษีนั้นไว้เอง โดยจัดเก็บภาษีตรงจากผู้ที่ควรจะต้องเสียภาษีที่แท้จริง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมรดก และภาษีป้าย เป็นต้น
    2. ภาษีทางอ้อม (Indirect Taxes) คือ ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย มีโอกาสจะผลักภาระภาษีดังกล่าวไปให้ผู้อื่นช่วยแบ่งเบาภาระภาษีนั้นได้ โดยผลักภาระเข้าไปในราคาของสินค้าหรือบริการโดยผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระภาษีนั้น ๆ แทน รัฐบาลไม่ได้จัดเก็บภาษีตรงจากผู้ที่ควรจะต้องเสียภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีสรรพสามิต หรือภาษีศุลกากร เป็นต้น[3]
  2. การแบ่งตามฐานภาษี โดยฐานภาษี หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีอากร ถ้าเอาฐานภาษีไปคำนวณกับอัตราภาษีแล้ว ก็จะได้ภาษีที่ต้องเสียหรือสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี แบ่งออกเป็น 3 ฐานภาษี คือ[4]
    1. ฐานรายได้ (Income Taxes) เป็นภาษีที่เก็บจากเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีการให้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือผลได้จากทุน (capital gains) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นต้น
    2. ฐานการบริโภค (Consumption) หมายถึง การนำค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าหรือบริการมาเป็นฐานในการเรียกเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์ และอากรศุลกากร เป็นต้น
    3. ฐานความมั่งคั่ง (Wealth) หรือภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Property Taxes) เป็นการจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินเฉพาะอย่าง เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีกองมรดก (Estate Tax) และภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) เป็นต้น
  3. การแบ่งตามอัตราภาษี (Tax Rate) อัตราภาษี หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บจากฐานภาษีเพื่อนำไปคำนวณผลลัพธ์ภาษีอากรที่จะต้องจ่าย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1. อัตราคงที่ (Flat Rate หรือ Single Rate หรือ Proportional Rate) คือ การเสียภาษีในอัตราคงที่ตลอดไป ไม่ว่ากำไรสุทธิจะเป็นเท่าใด เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล เรียกเก็บร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิหรืออัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7.0 (รวมภาษีท้องถิ่น)
    2. อัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ฐานภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีก็เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
    3. อัตราถอยหลังหรือถดถอย (Regressive Rate) ฐานภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีกลับลดลง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น

ภาษีเงินได้

นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กิจการร่วมค้า มูลนิธิ และอื่น ๆ มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในกรอบบัญชีปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556

บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือภาษีที่เก็บจากบุคคลทั่วไปหรือจากหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ประเภทของเงินพึงได้ของบุคคลธรรมดา เช่น เงินได้เนื่องจากการทำงาน เงินได้จากการลงทุนในสินทรัพย์ เงินได้จากการให้เช่า และอื่น ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางประการ มีอัตราภาษีที่กำหนดแบบอัตราก้าวหน้า ระหว่างปี 2532 ถึง 2557 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนโครงสร้างอัตราภาษีแล้ว 3 ครั้ง และเริ่มมีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อปีในปี 2542 ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 80,000 บาทในปี 2546 และไม่เกิน 150,000 บาทในปี 2551[5]: 12–13 

ภาษีจากการบริโภค

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเป็นภาษีทางอ้อมชนิดหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าและบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ปัจจุบันจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 ทั้งนี้ เป็นการเก็บตามประมวลรัษฎากรร้อยละ 6.3 และตามกฎหมายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 0.7 (1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรจัดเก็บตามประมวลรัษฎากร)[5]: 16  ข้อมูลของกรมสรรพากรระบุว่าในปี 2551 จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 503,000 ล้านบาท และมีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 173,990 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.56 ของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มในปีนั้น[1]: 464 

ประมวลรัษฎากรยกเว้นกิจการบางประเภทที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการที่ขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์และผลพลอยได้ของสัตว์ การขายปุ๋ย การขายอาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัณฑ์สำหรับพืชหรือสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน การให้บริการขนส่ง การให้บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี[1]: 449  ยกเว้นการนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น พืชผลทางการเกษตรซึ่งรวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืช การนำเข้าปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ นค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมการส่งออก เป็นต้น[1]: 449  กิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่น สินค้าส่งออกที่ผลิตในเขตปลอดอากร การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกันหรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร เป็นต้น[1]: 449 

การศึกษาของ TDRI พบว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงนั้นเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 7 และลดลงตามรายได้ของผู้ประกอบการโดยต่ำสุดคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4[1]: 449  นอกจากนี้พบว่ากลุ่มสินค้าส่วนใหญ่มีโครงสร้างอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแท้จริงมีอัตราลักษณะถดถอย[1]: 450  แม้ว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีลักษณะก้าวหน้าเมื่อพิจารณาตามรายจ่ายครัวเรือน แต่การศึกษาหนึ่งพบว่า เมื่อพิจารณาภาระภาษีมูลค่าเพิ่มตามรายได้กลับพบว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นแบบถดถอย เนื่องจากผู้ประกอบการที่ผลักภาระภาษีให้ผู้บริโภคทั้งหมดทำให้ภาระภาษีของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดเพิ่มขึ้น[1]: 455 

ภาษีสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิตเก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการและอาจรวมถึงวัตถุดิบหรือสินค้าที่อยู่ในกระบวนการผลิต มีการเรียกเก็บจากสินค้า 15 ชนิด ประกอบด้วย นํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน เครื่องดื่ม เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วคริสตัล) แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ เรือยอชต์และยานพาหนะทางนํ้าที่ใช้เพื่อความสำราญ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง พรมและสิ่งทอปูพื้นทำด้วยขนสัตว์ หินอ่อนและหินแกรนิต (ปัจจุบันยกเว้นภาษี) รถจักรยานยนต์ แบตเตอรี่และถ่านไฟฉาย สถานบริการ สุรายา สูบและไพ่[1]: 480  เนื่องจากภาษีสรรพสามิตมีลักษณะเป็นภาษีฝังใน (inclusive tax) ทำให้อัตราภาษีแท้จริงสูงกว่าอัตราที่ประกาศ เช่น วิสกี้นำเข้าเสียภาษีแท้จริงร้อยละ 123[1]: 480  รายได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล น้ำมันและยาสูบคิดเป็นร้อยละ 70–80 ของภาษีสรรพสามิตที่เก็บได้[1]: 482  ทั้งสามเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคได้มาก เช่น ภาระภาษีของน้ำมันดีเซลตกที่ผู้บริโภคร้อยละ 95–96[1]: 489–90  โครงสร้างภาษีสรรพสามิตมีลักษณะถดถอยชัดเจนเมื่อใช้รายได้ครัวเรือนเป็นเกณฑ์[1]: 484 

เลิกใช้

ภาษีการขายเป็นภาษีที่เลิกใช้แล้วตั้งแต่ปี 2535 พบว่ามีข้อบกพร่อง ได้แก่ ความซ้ำซ้อนของภาษีและความบิดเบือนทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลเสียต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการส่งออก ภาษีการค้าหมดไปในที่สุดในปี 2547[5]: 16 

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 อนุชิตวรวงศ, ชัยสิทธิ์ (กุมภาพันธ์ 2554). "บทที่ 11 การกระจายของภาระภาษีทางอ้อม" (PDF). การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม. TDRI.
  2. "ภาษี อากร". Money Hub. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้ามาเพื่อใช้เองเป็นภาษีทางตรง ในกรณีของภาษีศุลกากรกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. "โครงสร้างของภาษีอากร". นางลำใย เทียมมล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 - 2557. สำนักงบประมาณของรัฐสภา. ฉบับที่ 7/2558.