ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงบัว กิติยากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขเนื้อหา จาก พระราชชนนี เป็น พระราชมารดา ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 9169397 สร้างโดย 49.228.154.139 (พูดคุย) ก็แปลว่าแม่เหมือนกัน ?
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
}}
}}


'''หม่อมหลวงบัว กิติยากร''' (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 − 19 กันยายน พ.ศ. 2542) หรือชื่อในการแสดงว่า '''ประทุม ชิดเชื้อ'''<ref>{{cite web |url= http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3394/categoryId/87/--.aspx |title= เรื่องเก่าเล่าสนุก : ‘แหวนวิเศษ’ ภาพยนตร์ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ |author= โรม บุนนาค |date= 20 มกราคม 2557 |work= All Magazine |publisher=|accessdate= 25 มีนาคม 2561}}</ref> เป็นธิดาของ[[เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)]] กับ[[ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)]] เป็นหม่อมใน[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ]] และเป็นที่รู้จักในฐานะพระราชมารดาใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
'''หม่อมหลวงบัว กิติยากร''' (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 − 19 กันยายน พ.ศ. 2542) หรือชื่อในการแสดงว่า '''ประทุม ชิดเชื้อ'''<ref>{{cite web |url= http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3394/categoryId/87/--.aspx |title= เรื่องเก่าเล่าสนุก : ‘แหวนวิเศษ’ ภาพยนตร์ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ |author= โรม บุนนาค |date= 20 มกราคม 2557 |work= All Magazine |publisher=|accessdate= 25 มีนาคม 2561}}</ref> เป็นธิดาของ[[เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)]] กับ[[ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)]] เป็นหม่อมใน[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ]] และเป็นที่รู้จักในฐานะพระราชชนนีใน[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:06, 12 ธันวาคม 2563


บัว กิติยากร

เกิดหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452
เสียชีวิต19 กันยายน พ.ศ. 2542 (89 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (2471−2496)
บุตรหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์
บุพการีเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
ลายมือชื่อ

หม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 − 19 กันยายน พ.ศ. 2542) หรือชื่อในการแสดงว่า ประทุม ชิดเชื้อ[1] เป็นธิดาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นหม่อมในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และเป็นที่รู้จักในฐานะพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ประวัติ

ชีวิตช่วงต้น

หม่อมหลวงบัว กิติยากร มีนามเดิมว่าหม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 เป็นธิดาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดาได้แก่ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ทั้งยังมีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดาอีก 12 คน[3]

หม่อมหลวงบัวเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญา และโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย[4] ภายหลังได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เข้าถวายงาน เป็นนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อ พ.ศ. 2471[5] ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างภาพยนตร์เงียบขาวดำ ชื่อเรื่อง แหวนวิเศษ และทรงให้หม่อมหลวงบัว รับบทเป็น "นางพรายน้ำ" นางเอกของเรื่อง [5] หม่อมหลวงบัวเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ความว่า "ขณะที่แสดงเรื่องนี้อายุประมาณ 17-18 ปี ดำน้ำแต่ละครั้งไม่นาน แต่ดำหลายครั้งกว่าจะถ่ายเสร็จ"[6]

เสกสมรส

หม่อมหลวงบัวสมรสกับหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร (ต่อมาคือพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสกสมรสให้เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2471 มีพระโอรส-พระธิดา หนึ่งพระองค์กับสามคนดังนี้ [5]

  1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (20 กันยายน พ.ศ. 2472 − 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดาสองคน [7]
  2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 − 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) สมรสกับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (พระนามเดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)[8] มีธิดาสองคน[9][10]
  3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2475) ราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชบุตรสี่พระองค์
  4. ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2477) สมรสครั้งแรกกับหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ สมรสครั้งที่สองกับนาวาเอกสุรยุทธ สธนพงศ์ มีธิดาจากการสมรสครั้งแรกหนึ่งคน[11][12]

พิราลัย

หม่อมหลวงบัวถึงแก่พิราลัยด้วยอาการนิ่วในถุงน้ำดีเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542 ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร[13] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้คำว่าถึงแก่พิราลัยเสมอเจ้าประเทศราชและสมเด็จเจ้าพระยา โดยให้ตั้งศพที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง และโปรดเกล้าฯ พระราชทานฉัตรโหมดทอง 5 ชั้น และโกศกุดั่นน้อยประกอบเกียรติยศศพ[14] เทียบชั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และพระราชทานเพลิงศพ

เคยมีการคาดการณ์ว่าอาจมีการสถาปนาอัฐิหม่อมหลวงบัว กิติยากรเป็นเจ้านาย ในฐานะพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชได้คัดพระนามถวายไว้ล่วงหน้าว่าสมเด็จพระปทุมาวดี ศรีสิริกิติ์ราชมาตา แต่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่มีการสถาปนาแต่อย่างใด[15]

สถานที่อันเนี่องมาจากนาม

  • ห้องประชุมหม่อมหลวงบัว กิติยากร ชั้น 15 อาคารศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ทายาท

พระนาม/นาม พระราชสมภพ/เกิด ถึงแก่อนิจกรรม อภิเษกสมรส/สมรส หลาน
หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร 20 กันยายน 2472 15 พฤษภาคม 2530 ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร
หม่อมหลวงสิริณา จิตตาลาน
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร 2 พฤศจิกายน 2473 5 พฤษภาคม 2547 ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
หม่อมหลวงสราลี กิติยากร
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2477 หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย
นาวาเอกสุรยุทธ สธนพงศ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. โรม บุนนาค (20 มกราคม 2557). "เรื่องเก่าเล่าสนุก : 'แหวนวิเศษ' ภาพยนตร์ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์". All Magazine. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528
  3. อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  4. ""ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล" มองความผิดกาลเทศะของ "เสธ.อ้าย" และเหตุใด "ไพร่" จึงเป็นคำ "โก้"". มติชนออนไลน์. 6 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 ประวัติ หม่อมหลวงบัว กิติยากร
  6. พฤทธิสาณ ชุมพล, รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ (กรกฎาคม 2559). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (PDF). พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. p. 67.
  7. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i474.html
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
  9. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  10. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i75.html
  11. http://www.newswit.com/news/2006-08-30/1506-
  12. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  13. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  14. พันโทสุจิตร ตุลยานนท์ (14 มีนาคม 2562). ""สตรี" ที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศเป็นพิเศษ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ถาวร สิกขโกศล (8 มิถุนายน 2562). "เจ้านายทรงกรม". ศิลปวัฒนธรรม 40:8, หน้า 132
  16. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25 ง): 1805. 2 พฤษภาคม 2493.
  17. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (208 ง ฉบับพิเศษ): 1. 28 พฤศจิกายน 2534.
  18. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (22 ข): 1. 4 ธันวาคม 2539.
  19. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 2567. 20 พฤศจิกายน 2470.
  20. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ง): 1010. 10 มีนาคม 2496.