ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chanchai0875009082 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
| tree = [[อโศกอินเดีย|อโศกเซนต์คาเบรียล]]
| tree = [[อโศกอินเดีย|อโศกเซนต์คาเบรียล]]
| colours = <span style="color:blue">██</span> [[สีน้ำเงิน]] <br/> <span style="color:white">██</span> [[สีขาว]] <br/> <span style="color:red">██</span> [[สีแดง]]
| colours = <span style="color:blue">██</span> [[สีน้ำเงิน]] <br/> <span style="color:white">██</span> [[สีขาว]] <br/> <span style="color:red">██</span> [[สีแดง]]
| ที่ตั้ง = '''วิทยาเขตหัวหมาก''' <br> ซอยรามคำแหง 24 [[ถนนรามคำแหง]] [[แขวงหัวหมาก]] [[เขตบางกะปิ]] [[กรุงเทพมหานคร]] <br> '''วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) ''' <br> [[ถนนบางนา-ตราด]] ตำบลบางเสาธง [[อำเภอบางเสาธง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]<br>'''City Campus ''' <br> ชั้น 14 อาคารเซน เวิลด์ 4,4/5 [[ถนนราชดำริ]] แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
| ที่ตั้ง = '''วิทยาเขตหัวหมาก''' <br> ซอยรามคำแหง 24 [[ถนนรามคำแหง]] [[แขวงหัวหมาก]] [[เขตบางกะปิ]] [[กรุงเทพมหานคร]] <br> '''วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา) ''' <br> [[ถนนบางนา-ตราด]] ตำบลบางเสาธง [[อำเภอบางเสาธง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]<br>'''City Campus ''' <br> ชั้น 14 อาคารเซน เวิลด์ 4,4/5 [[ถนนราชดำริ]] แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (ปิดทำการปี 2563 เนื่องจากหมดสัญญาเช่า)
| เว็บไซต์ = [https://www.au.edu www.au.edu]
| เว็บไซต์ = [https://www.au.edu www.au.edu]
|สัญลักษณ์สำคัญ=แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ ( The Seat of Wisdom)}}
|สัญลักษณ์สำคัญ=แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ ( The Seat of Wisdom)}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:06, 12 ธันวาคม 2563

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ชื่อย่อมอช. / AU
คติพจน์Labor Omnia Vincit
(วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึงความสำเร็จ)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา16 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
นายกสภาฯภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์
อธิการบดีภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ
ที่ตั้ง
วิทยาเขตหัวหมาก
ซอยรามคำแหง 24 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
วิทยาเขตสุวรรณภูมิ (บางนา)
ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
City Campus
ชั้น 14 อาคารเซน เวิลด์ 4,4/5 ถนนราชดำริ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (ปิดทำการปี 2563 เนื่องจากหมดสัญญาเช่า)
สี██ สีน้ำเงิน
██ สีขาว
██ สีแดง
ฉายาAU / ABAC (เอแบค)
มาสคอต
ม้า
เว็บไซต์www.au.edu

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (อังกฤษ: Assumption University) หรือที่เรียกกันติดปากว่า เอแบค (ABAC) จัดอยู่ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร, วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ 2 ศูนย์การศึกษา city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การศึกษา ACC Campus มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย[1]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ พัฒนามาจาก "โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2481 และได้รับวิทยฐานะเป็น "โรงเรียนอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ" ในปี พ.ศ. 2515 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ย้ายสังกัดมาอยู่ทบวงมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ " หรือ Assumption Business Administration College ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเอแบค (ABAC) และเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย และได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ"[2] โดยมหาวิทยาลัยได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า มอช. และภาษาอังกฤษว่า "AU" ซึ่งทำให้อักษรชื่อย่อของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีความสัมพันธ์ กับสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au (ทองคำ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิทยาเขตสุวรรณภูมิเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2543 ภายใต้วางรากฐานของ เจษฎาจารย์ ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ ผู้กอบกู้และสถาปนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Cathedral of Learning*

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ชื่อมหาวิทยาลัย : Assumption หมายถึง เหตุการณ์ที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ การทับศัพท์ในภาษาไทยว่า "อัสสัมชัญ" มีประวัติความเป็นมาและความหมายดังนี้ แรกเริ่มคุณพ่อกอลเบอต์ใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศส "Le Collège de L' Assomption" และใช้ชื่อภาษาไทยว่า "โรงเรียนอาซมซานกอเลิศ" (Assumption College) แต่ปรากฏว่าคนทั่วไปมักจะเรียก และเขียนชื่อโรงเรียนผิดเสมอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2453 ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (หนึ่งในห้าภราดาที่เดินทางมาช่วยรับช่วงดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญต่อจากบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์) จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมศึกษา กระทรวงธรรมการ ขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "อาศรมชัญ" ดังนั้นชื่อ "อัสสัมชัญ" จึงเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2453 เป็นต้นมา ซึ่ง "อัสสัมชัญ" มีความหมายในภาษาไทยดังนี้ "อัสสัม" เป็นคำบาลีมคธว่า "อัสสโม" แปลงเป็นไทยว่า "อาศรม" หมายถึง "กุฏิทีถือศีลกินพรต" ส่วนคำว่า "ชัญ" เมื่อแยกตามรากศัพท์เดิมเป็น "ช" แปลว่า เกิด และ "ญ" แปลว่า ญาณ ความรู้ รวมคำได้ว่า ชัญ คือ ที่สำหรับเกิดญาณความรู้ เมื่อรวมทั้งสองคือ "อัสสัม"และ"ชัญ" เป็น "อัสสัมชัญ" แปลว่า ตำหนักที่สำหรับหาวิชาความรู้

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นอโศก (Ashoka Tree) คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดีย และศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเพราะ

  1. เป็นต้นไม้ที่เขียวอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความสดชื่นร่มเย็น ความคงเส้นคงวาต่อความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หมายความว่า มหาวิทยาลัยจะมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุพันธกิจ ในการให้การศึกษาที่ดีเลิศ โดยไม่ย่อท่อต่ออุปสรรคใดๆ
  2. เป็นต้นไม้ที่รูปทรงสวยงาม เหมือนสถูปเจดีย์
  3. เป็นมงคลนาม หมายถึง ไม่มีความทุกข์ความโศก และยังเป็นชื่อของกษัตย์อินเดียผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างอาณาจักรที่เกรียงไกรให้กับอินเดีย และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญสูงสุดในยุคนั้น
  4. เป็นต้นไม้ที่นำจากอินเดียสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิภราดาคณะเซนต์คาเบรียล โดยนำมาปลูกพร้อมกันครั้งแรกที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และกรมป่าไม้

แม่พระองค์แห่งปรีชาญาณ หรือ Sedes Sapientiæ (The Seat of Wisdom) ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาวิทยาลัยโดยมีความหมายว่า พระนางมารีย์พรหมจารีเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัย ที่คอยโอบอุ้มนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเปรียบเสมอองค์พระกุมารเยซูที่ประทับนั่งอยู่บนตักของแม่พระ

อธิการบดี

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ภารดา สมพงษ์ ชีรานนท์ พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516
2 อาจารย์วันเพ็ญ นพเกตุ พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2518
3 ศาสตราจารย์ ดร.ชุบ กาญจนประกร พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521
4 ภราดา ดร. ประทีป ม. โกมลมาศ พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2545
5 ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ (สมัยที่ 1) พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2559
ดร.มัทนา สานติวัตร พ.ศ. 2559 ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี
ดร.ธนู กุลชล พ.ศ. 2559 ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี
6 ภารดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ (สมัยที่ 2) พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

การจัดอันดับ

Webometrics

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อยู่ในอันดับที่ 899 ของโลก อันดับที่ 97 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย [3][4]

การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities

การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2016 ได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศไทย

การจัดอันดับโดย FIND-MBA

การจัดอันดับโดย FIND-MBA ทำขึ้นเพื่อจัดลำดับความนิยมของ MBA program ในแต่ละมหาวิทยาลัยทั่วโลก. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญถูกจัดอันดับความนิยมเป็นอันดับที่ 47 ของเอเชีย และ อันดับ 1 ของประเทศไทย

คณะ

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

ศูนย์ฝึกการบินนานาชาติแพนแอมประเทศไทย

วันที่ 24 ก.ย. 57 เวลา 16.00 น. ANA Holdings หรือ สายการบินออลนิปปอน แอร์เวย์ หนึ่งในสายการบินชั้นนำของโลกสัญชาติญี่ปุ่น และสายการบินนกแอร์ สายการบินโลว์คอสชั้นนำสัญชาติไทย ได้จับมือร่วมลงทุนกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดศูนย์ฝึกการบินนานาชาติแพนแอมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ โดยความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการพลิกโฉมวงการธุรกิจการบินไทย ที่จะสร้างศูนย์ฝึกการบินที่ได้มาตราฐานสากล และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมให้บริการฝึกอบรมนักบินให้แก่สายการบินต่างๆ เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ปัจจุบันมี เครื่องฝึกบินจำลอง Full Flight Simulator (FFS) แบบแอร์บัส A320 จำนวน 1 เครื่อง เพื่อใช้ฝึกนักบิน และในอนาคตมีแผนจะเพิ่มอีก 3 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่อง FFS แบบแอร์บัส A320 อีกจำนวน 1 เครื่อง และแบบโบอิ้ง B-737NG จำนวน 2 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 4 เครื่อง ขณะนี้ศูนย์การบินฯ แพนแอมไทย สามารถเปิดให้บริการทั้งในส่วนของการฝึกการบินให้แก่นักบินและบุคลากรการบินในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Cabin Crew Training) , Dry Simulator Rental, Type rating training, Ab Initio Pilot w/ Airline Transition, Maintenance Training, Aircraft Dispatcher Training และ Aviation English Training เป็นต้น

สถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา

ภาควิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ

เอแบคโพลล์

บัณฑิตวิทยาลัย

ACC School of Commerce

สถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Tsinghua - ABAC AEC Research Institute)

ภารดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ กับ Mr. Zheng Yan Kang (Tsinghua University) และ Mr. Bai He Lin (China Railways) จัดตั้ง สถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Tsinghua - ABAC AEC Research Institute) ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ วัตถุประสงค์หลักของสถาบันวิจัยชิงหัว - เอแบค เพื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 1. เพื่อการแสวงหาความรู้ ความจริง เพื่อได้มาซึ่งปัญญาทางการตลาด การท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาองค์กร และด้านสังคมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. เพื่อการสร้างความรู้โดยใช้กระบวนการ วิจัย วินิจฉัย เพื่อเป็นฐานรากแห่งปัญญา 3. เพื่อการนำความรู้ที่ได้ผ่านกระบวนการ กลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อสร้างให้เป็นความรู้เชิงลึกและเชิงปฏิบัติการ 4. เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดซึ่งปัญญาทางการตลาดที่เลือกเฟ้นสู่ผู้ประกอบการโดยมุ่งเป้าไปที่วิสาหกิจการขนาดกลางและย่อม และธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน 

ศูนย์ ABAC SIMBA (ABAC Social Innovation in Management and Business Analysis)

เป็นศูนย์วิจัยที่ให้ความรู้และข้อมูลงานวิจัยทางด้านการเมืองสังคมและธุรกิจ

ศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ หรือ ICE CENTER, Innovation, Creativity and Enterprise

เป็นศูนย์ให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไป

ABAC Consumer Index

โครงการสำรวจข้อมูลดัชนีผู้บริโภค เก็บรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างคลังข้อมูลดัชนีผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนในปี 2011 โดยอิงอยู่กับการให้บริการสังคมของมหาวิทยาลัย 2 ระดับ คือ ระดับอาจารย์ โดยนำความรู้ไปเผยแพร่สู่สาธารณชน และส่วนของสถาบันคือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมให้บริการสังคม

Institute for Research and Academic Services (IRAS)

ศูนย์วิจัยทางธุรกิจที่ให้บริการแก่ หน่วยงาน, องค์กรธุรกิจระหว่างประเทศในไทย โดย จัดทำงานวิจัยทางธุรกิจเป็น วงกว้าง เพื่อ ตอบสนองความต้องการแต่ละหน่วยงาน หน่วยงานได้ถูกก่อตั้งในปี 1982 โดย Dr. Federic L. Ayer, อดีตรองประธานกลุ่มงานวิจัย คนแรก.

ศูนย์พัฒนาองค์กร หรือ ODI (Organization Development Institute)

ให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรขององค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน

สถาบันขงจื่อ (Confucius Institute)

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้รับทราบจากห้องเรียนขงจื่อโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ ว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคณะผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้น (The Office of Chinese Language Council International : Hanban)มีนโยบายก่อตั้งสถาบันขงจื่อเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น มีการทำความตกลงร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศจีน มีนักศึกษาจากประเทศจีนสนใจเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาจีนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี และภาษาจีนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันมากในประชาคมอาเซียน จึงเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยในเบื้องแรกได้ลงนามทำความตกลงร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือ ฮั่นปั้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557 เพื่อจัดตั้งสถาบันขงจื่อที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Confucius Institute) และต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจิน ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อดำเนินการจัดตั้งสถาบันขงจื่อร่วมกัน ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญโดยภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ ศาสตราจารย์ Wang Shuo อธิการบดี มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจิน เป็นผู้ลงนาม

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเทียนจินนั้น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำขนาดใหญ่ เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 จัดการเรียนการสอนในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จำนวนกว่า 168 หลักสูตร ในจำนวนนี้มีหลักสูตรการสอนภาษาจีนสำหรับชาวช่างชาติ (Teaching Chinese as Foreign Language) ปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 23,000 คน มีคณาจารย์ 2,189 คน

ABAC Study Abroad Center

บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ด้านศาสนา
ด้านพระบรมวงศานุวงศ์
ด้านวงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านการเมือง
ด้านบุคคลากรทางการศึกษา
ด้านวงการทหาร
ด้านวงการตำรวจ
ด้านวงการแพทย์
ด้านวงการราชการพลเรือน
ด้านวงการผู้ประกาศข่าว
ด้านวงการธุรกิจ
ด้านวงการอื่นๆ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

https://www.au.edu/