ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Person
{{Infobox Person
| name = เจ้าจอมมารดาอ่อน<br>ในรัชกาลที่ 5<br>{{small|[[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]]}}
| name = เจ้าจอมมารดาอ่อน
| honorific_suffix = [[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5|จ.ป.ร.2]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6|ว.ป.ร.2]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9|ภ.ป.ร.2]]
| image = เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค.jpg
| image = เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค.jpg
| caption =
| caption =
| birth_name = อ่อน บุนนาค
| birth_name = อ่อน บุนนาค
| birth_date = {{วันเกิด|2411|2|19}}
| birth_date = {{วันเกิด|2411|2|19}}
| birth_place = [[จังหวัดเพชรบุรี]] [[ประเทศไทย|สยาม]]
| birth_place = [[จังหวัดเพชรบุรี]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์|ประเทศสยาม]]
| residence =
| residence =
| death_date = {{วันตายและอายุ|2512|1|29|2411|2|19}}
| death_date = {{วันตายและอายุ|2512|1|29|2411|2|19}}
| death_place = [[กรุงเทพมหานคร]], [[ประเทศไทย|ไทย]]
| death_place = [[จังหวัดพระนคร]] [[ประเทศไทย]]
| nationality =
| nationality =
| known_for =
| known_for =
บรรทัด 24: บรรทัด 25:
}}
}}


'''เจ้าจอมมารดาอ่อน''' ป.จ. (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) พระสนมเอกใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระมารดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา]] และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์
'''เจ้าจอมมารดาอ่อน''' (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) พระสนมเอกใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระมารดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา]] และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์


เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2411) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของ[[เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)]] ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน [[เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค|เจ้าจอมเอี่ยม]] [[เจ้าจอมเอิบ บุนนาค|เจ้าจอมเอิบ]] [[เจ้าจอมอาบ บุนนาค|เจ้าจอมอาบ]] และ[[เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค|เจ้าจอมเอื้อน]] ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนาม'''[[เจ้าจอมก๊กออ]]'''
เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2411) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของ[[เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)]] ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน [[เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค|เจ้าจอมเอี่ยม]] [[เจ้าจอมเอิบ บุนนาค|เจ้าจอมเอิบ]] [[เจ้าจอมอาบ บุนนาค|เจ้าจอมอาบ]] และ[[เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค|เจ้าจอมเอื้อน]] ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนาม'''[[เจ้าจอมก๊กออ]]'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:17, 6 ธันวาคม 2563

เจ้าจอมมารดาอ่อน

ไฟล์:เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค.jpg
เกิดอ่อน บุนนาค
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411
จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต29 มกราคม พ.ศ. 2512 (100 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
บุพการีเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์

เจ้าจอมมารดาอ่อน (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์

เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2411) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนามเจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมมารดาอ่อนเป็นหลานของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ นามเดิม ดิศ บุนนาค ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลังในรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ฯลฯ เป็นผู้มีบทบาทในการต่างประเทศของสยามในรัชกาลที่ 3

เมื่อเจ้าจอมมารดาอ่อนอายุได้ 12 ปี ได้เข้าร่วมขบวนแห่โสกันต์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) ผู้เป็นหัวหน้าพระสนมทั้งปวง และได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย และได้ถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อ พ.ศ. 2427 เมื่ออายุ 17 ปี

เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้อง ๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายมาอยู่ที่ตำหนักสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์

สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงและสายที่แตกออกไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖

เจ้าจอมมารดาอ่อน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 ในสมัยรัชกาลที่ 9 สิริอายุ 101 ปี โดย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2512 [1]

เจ้าจอมมารดาอ่อน กับพระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา (ซ้าย) และพระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (ขวา)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ข่าวในพระราชสำนัก
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒, ตอน ๓๙ ง, ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘, หน้า ๑๔๐๐
  3. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (23ง): 677. 10 มีนาคม พ.ศ. 2507. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum