ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
|-
|-
| style = "border-bottom:solid 1px gray;"|ชานชาลา <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>'''2'''</font>
| style = "border-bottom:solid 1px gray;"|ชานชาลา <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>'''2'''</font>
| style = "border-bottom:solid 1px gray;"|{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} มุ่งหน้า [[สถานีคูคต]] ''(ไม่เปิดใช้งาน)''
| style = "border-bottom:solid 1px gray;"|{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} มุ่งหน้า [[สถานีคูคต]]
|-
|-
| style = "border-bottom:solid 1px gray;" rowspan=7 valign=top|'''U2<br />ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีชมพู<br>พื้นที่ขายบัตรโดยสาร'''
| style = "border-bottom:solid 1px gray;" rowspan=7 valign=top|'''U2<br />ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีชมพู<br>พื้นที่ขายบัตรโดยสาร'''
บรรทัด 263: บรรทัด 263:
==สถานีใกล้เคียง==
==สถานีใกล้เคียง==
{{เริ่มทางรถไฟ}}
{{เริ่มทางรถไฟ}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}|สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}|ก่อนหน้า=[[สถานีพหลโยธิน 59]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีคูคต]]''<br>''(ยังไม่เปิดใช้งาน) | ถัดไป = [[สถานีกรมทหารราบที่ 11]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีเคหะฯ]]''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}|สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}|ก่อนหน้า=[[สถานีพหลโยธิน 59]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีคูคต]]''<br>'' | ถัดไป = [[สถานีกรมทหารราบที่ 11]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีเคหะฯ]]''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}|สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}|ก่อนหน้า=[[สถานีราชภัฏพระนคร]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]'' | ถัดไป = [[สถานีรามอินทรา 3]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีมีนบุรี]]''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}|สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}|ก่อนหน้า=[[สถานีราชภัฏพระนคร]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี]]'' | ถัดไป = [[สถานีรามอินทรา 3]]<br />''มุ่งหน้า [[สถานีมีนบุรี]]''}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 2 ธันวาคม 2563

แม่แบบ:BTS infobox

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (อังกฤษ: Wat Phra Sri Mahathat Station, รหัส N17 (สายสุขุมวิท), PK16 (สายสีชมพู)) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าและจุดเปลี่ยนเส้นทางในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต และ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ตัวสถานีวางคร่อมอยู่เหนืออุโมงค์ลอดใต้วงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือวงเวียนหลักสี่ และวางขนาบข้างสะพานข้ามแยกหลักสี่ - รามอินทรา ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร นับเป็นสถานีเปลี่ยนสายที่สำคัญในย่านกรุงเทพมหานครตอนเหนือ

สถานีแห่งนี้อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสถานีตำรวจนครบาลบางเขน ปัจจุบันสถานีส่วนสายสุขุมวิทมีกำหนดเปิดใช้งานในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยเป็นสถานีสุดท้ายของการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะที่ 3 จำนวน 4 สถานี[1] และสถานีส่วนสายสีชมพู ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท จะตั้งตามแนวถนนพหลโยธิน โดยคร่อมอยู่เหนืออุโมงค์ลอดใต้วงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะขนาบข้างสะพานข้ามวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามแนวถนนรามอินทรา

ในแผนงานเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) สถานีแห่งนี้ในสายสีชมพูใช้ชื่อว่า สถานีวงเวียนหลักสี่ ตามชื่อทางแยก และ สถานีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามชื่ออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอันเป็นสัญลักษณ์ใหญ่ในพื้นที่ตั้ง แต่ในแผนการดำเนินการจริงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีการขยับตำแหน่งของทั้งสถานีวัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้ จากตำแหน่งเดิมคือด้านหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสีชมพูที่อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกริก ให้มาอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ และขยับตำแหน่งสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิท ให้ไปอยู่บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านราชตฤณมัย เขตบางเขนแทน ทำให้ที่สุดแล้ว สถานีวงเวียนหลักสี่ในสายสีชมพู ใช้ชื่อสุดท้ายว่าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเหมือนกับสายสุขุมวิท ทั้งนี้สถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิทในปัจจุบันคือสถานีพหลโยธิน 59

อนึ่ง ในคราวก่อสร้างสถานีแห่งนี้ ได้มี กลุ่มคนไม่ระบุหน่วยงาน เข้ามารื้อย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกไปจากพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างสถานี แต่ผู้ประท้วงมองว่าเป็นการลบสัญลักษณ์ทางการเมือง[2] ทั้งกรุงเทพมหานคร และรฟม. ได้ปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องการย้ายอนุสาวรีย์ออกไปจากพื้นที่ ภายหลังได้มีการทุบฐานอนุสาวรีย์ทิ้งทั้งหมด[3]และปรับปรุงใหม่เป็นสวนหย่อมเพื่อเพิ่มทัศนียภาพ

ในช่วงเปิดทำการ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จะทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางในส่วนเหนือ (Northbound Section) ของโครงการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 (สุขุมวิท) ไปจนกว่าการติดตั้งระบบในส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ระยะที่ 4 (วัดพระศรีมหาธาตุ - คูคต) จะแล้วเสร็จทั้งระบบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563

แผนผังของสถานี

ป้ายสถานีรถไฟฟ้า BTS วัดพระศรีมหาธาตุ
U3
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสุขุมวิท
ชานชาลา 1 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
ชานชาลา 1 - 2 ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีคูคต
U2
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีชมพู
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร
อาคารฝั่งเหนือ ทางออก 3 - 4, สกายวอลก์ไปเทสโก้ โลตัส สาขาหลักสี่, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางขึ้นชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines, สะพานข้ามชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines
ชานชาลา 1 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีมีนบุรี
สะพานข้ามแยกวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ชานชาลา 2 แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้า สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลา 2 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
อาคารฝั่งใต้ ทางออก 1 - 2, สกายวอลก์ไปฌาปณสถานกองทัพอากาศ , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางขึ้นชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines, สะพานข้ามชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines
G
ระดับถนน
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ป้ายรถประจำทาง, วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทรา, ถนนพหลโยธิน
ทางขึ้นชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines
จุดสังเกต
  • ชั้น U3 จะเป็นพื้นที่ของ แม่แบบ:BTS Lines ทั้งหมด
  • ชั้น U2 จะเป็นพื้นที่ร่วมของทั้ง แม่แบบ:BTS Lines และ แม่แบบ:BTS Lines โดย
    • พื้นที่สถานี แม่แบบ:BTS Lines ฝั่งสถานีตำรวจนครบาลบางเขน (มุ่งหน้า สถานีพหลโยธิน 59) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก (มุ่งหน้า สถานีรามอินทรา 3)
    • พื้นที่สถานี แม่แบบ:BTS Lines ฝั่งสำนักงานเขตบางเขน (มุ่งหน้า สถานีกรมทหารราบที่ 11) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลา แม่แบบ:BTS Lines มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก (มุ่งหน้า สถานีราชภัฏพระนคร)

ในบางช่วงเวลา ได้แก่ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.00 – 09.00 น. และ 17.00 – 20.00 น. รถไฟฟ้าจะมีการแบ่งการเดินรถออกเป็นสองช่วงสถานีปลายทาง คือหมอชิต-สำโรง และวัดพระศรีมหาธาตุ-เคหะฯ โดยปล่อยรถสลับตลอดช่วงเวลา ผู้โดยสารที่เดินทางมากับขบวนรถสถานีปลายทางหมอชิต จะต้องเปลี่ยนขบวนรถใหม่ที่สถานีสะพานควายเพื่อเดินทางเข้าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ หรือเปลี่ยนชานชาลาที่สถานีหมอชิต นอกช่วงเวลาดังกล่าวจะมีรถวิ่งเข้าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุตลอดทั้งวัน

และเนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง รวมถึงเปิดใช้ที่ชานชาลาที่ 1 เพียงชานชาลาเดียว ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีเคหะฯ จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีเคหะฯ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน

รายละเอียดของสถานี

สีสัญลักษณ์ของสถานี

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท จะใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบของสถานี

เป็นสถานียกระดับ วางคร่อมอยู่เหนือวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และสะพานข้ามแยกอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ การก่อสร้างสถานีจึงต้องเว้นพื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารตรงกลางสถานีในลักษณะเดียวกันกับสถานีแยกนนทบุรี 1 ของ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ตามความกว้างของสะพานข้ามแยกโดยรวมพื้นที่ของรางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าไปด้วย[4][5]

พื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน และยังทำหน้าที่เป็นชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูซึ่งเป็นชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform) ตามแนวของถนนรามอินทรา ส่วนชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอสจะอยู่ชั้นบนสุดที่ความสูง 17-18 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform) ตามแนวถนนพหลโยธิน

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • G ชั้นพื้นถนน และยังเป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู รวมถึงยังเป็นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในทิศทางตั้งฉากกันกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ตามแนวของถนนรามอินทรา
  • 3 ชั้นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

ทางเข้า-ออก

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่

  • 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, สำนักงานประปาสาขาบางเขน การประปานครหลวง, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาหลักสี่ (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
  • 2 สำนักงานเขตบางเขน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเมือง, ห้องสมุดประชาชน เขตบางเขน, โรงเรียนประชาภิบาล (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยแจ้งวัฒนะ 2, สถานธนานุเคราะห์ สาขา 15, ซิลค์เพลส พหลโยธิน-หลักสี่ (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
  • 4 สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, สวนรักษ์ธรรมชาติ, ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
  • Skywalk ทิศเหนือ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์, เทสโก้ โลตัส สาขาหลักสี่, ซอยพหลโยธิน 57
  • Skywalk ทิศใต้ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, ฌาปณสถานกองทัพอากาศ, ซอยพหลโยธิน 55, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, สถานีดับเพลิงบางเขน, การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณด้านหน้าสำนักงานเขตบางเขน และทางออก 4 บริเวณสวนรักษ์ธรรมชาติ

เวลาให้บริการ

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
colspan="7" style="background-color:#แม่แบบ:BTS color;color:white; height:25px" | สายสุขุมวิท
ชานชาลาที่ 1
เคหะฯ เต็มระยะ 05.15 23.28
ปลายทางสำโรง - 00.00

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า สะพานใหม่ รถขสมก. สาย 34 39 114 185 503 520 522 543 รถเอกชน สาย 39 356 รถทอ. มินิบัส สาย 34 39

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า เกษตร รถขสมก. สาย 26 34 39 59 95 107 114 129 185 503 522 543(ท่าน้ำนนท์) 543 รถเอกชน สาย 39 51 126 524 มินิบัส สาย34 39

ถนน แจ้งวัฒนะ รถขสมก. สาย 59 95ก รถเอกชน สาย 51 150 356 524 554 รถทอ.

ถนน รามอินทรา รถขสมก. สาย 26 95 95ก 520 รถเอกชน สาย 150 554

ถนนพหลโยธิน
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
26 มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
34 รังสิต หัวลำโพง วิ่งเส้นพหลโยธิน
39 ตลาดไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งเส้นพหลโยธิน
59 รังสิต สนามหลวง วิ่งเส้นวิภาวดีรังสิต
95 บางเขน มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิ่งเส้นรามอินทรา
95ก รังสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
107 บางเขน คลองเตย ขึ้นทางด่วนดินแดง
114 นครอินทร์ แยกลำลูกกา
129 บางเขน สำโรง ขึ้นทางด่วนดินแดง
185 รังสิต คลองเตย
503 รังสิต สนามหลวง วิ่งเส้นพหลโยธิน
520 ตลาดไท มีนบุรี
522 รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นทางด่วนงามวงค์วาน
543 บางเขน ลำลูกกา คลอง 7
543ก บางเขน ท่าน้ำนนทบุรี
รถเอกชนร่วมบริการ
34 รังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิ่งเส้นพหลโยธิน (มินิบัส)
39 รังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิ่งเส้นพหลโยธิน (มินิบัส)
39 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งเส้นพหลโยธิน
51 ปากเกร็ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
126 บางเขน มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิ่งเส้นทางรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว
150 ปากเกร็ด บางกะปิ
524 หลักสี่ สนามหลวง วิ่งเส้นทางประดิพัทธิ์-สามแสน
554 รังสิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วิ่งเส้นรามอินทรา


อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bts3rdwave
  2. "สัญลักษณ์ประชาธิปไตยล่องหน จากหมุดคณะราษฎรสู่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  3. "ฐานอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช ถูกทุบแล้ว หลังตัวอนุสาวรีย์หายไปปีกว่า". ประชาไท. 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  4. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ" (PDF). บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. {{cite conference}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |booktitle= ถูกละเว้น แนะนำ (|book-title=) (help)
  5. "โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู" (PDF). รายงานฉบับหลัก. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2011-08-22. {{cite conference}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |booktitle= ถูกละเว้น แนะนำ (|book-title=) (help)

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีพหลโยธิน 59
มุ่งหน้า สถานีคูคต
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีกรมทหารราบที่ 11
มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
สถานีราชภัฏพระนคร
มุ่งหน้า สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีรามอินทรา 3
มุ่งหน้า สถานีมีนบุรี