ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Siraphopsiam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Siraphopsiam (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
ปี พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนสงครามสงบในปี พ.ศ. 2488 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกระทรวง และในปี พ.ศ.2490 ได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงการคลังและออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเมื่อต้นปี พ.ศ. 2492
ปี พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนสงครามสงบในปี พ.ศ. 2488 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกระทรวง และในปี พ.ศ.2490 ได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงการคลังและออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเมื่อต้นปี พ.ศ. 2492


เมื่อออกจากราชการได้เป็นกรรมการในสมาคมสหายสงครามในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ร่วมบุกเบิกการทำป่าไม้ และเหมืองแร่ ซึ่งเป็นสัมปทาน ที่รัฐบาลให้แก่ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 หลวงสิริราชไมตรีเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงจนเมื่ออายุใกล้ 90 ปี ได้หกล้มกระดูกข้อสะโพกขวาหัก หลังจากหายป่วยไม่นานก็อ่อนกำลังลงเดินไม่ได้ และได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2534 รวมอายุได้ 93 ปี 2 เดือน
เมื่อออกจากราชการได้เป็นกรรมการในสมาคมสหายสงครามในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ร่วมบุกเบิกการทำป่าไม้ และเหมืองแร่ ซึ่งเป็นสัมปทาน ที่รัฐบาลให้แก่ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1


== ครอบครัว ==
== ครอบครัว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:30, 27 พฤศจิกายน 2563

อำมาตย์ตรี หลวงสิริราชไมตรี นามเดิม จรูญ สิงหเสนี เป็นอดีตอัครราชทูตไทยประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี และ สมาชิกคณะราษฎร

ประวัติ

หลวงสิริราชไมตรี มีนามเดิมว่า จรูญ สิงหเสนี เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2441 เป็นบุตรคนที่ 3 ของพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) กับคุณหญิงตุ่ม (บุตรสาวของนายเดช-นางใย สิงหเสนี)

เมื่อายุได้ 7 ปี ได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาที่โรงเรียนบพิตรพิมุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 2654) และโรงเรียนกฎหมาย ตามลำดับ ได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2457-2461) เมื่อสงครามสิ้นสุดจึงได้ยศสิบตรี (ส.ต.) เคยเป็นนักเรียนวิชากฎหมายในประเทศฝรั่งเศส ด้วยทุนกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตำแหน่งเลขานุการเอกอัครราชทูต

นายจรูญได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร เพื่อร่วมในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากการชักชวนของนายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ทุนกระทรวงยุติธรรมเช่นเดียวกัน จัดเป็นคณะราษฎรชุดแรกที่มีการก่อตัวขึ้น 7 คน และถือเป็นเพียงคนเดียวที่มิได้มีสถานภาพเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา อีกทั้งเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ศึกษาจบแล้ว ก็ได้เดินทางกลับสู่ประเทศสยาม แต่นายจรูญไม่ได้กลับมาด้วย[1] [2]

เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศสยาม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น หลวงสิริราชไมตรี ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2468[3]

ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว หลวงสิริราชไมตรีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีแทนที่ไม่ได้สังกัดกระทรวง (รัฐมนตรีลอย) และต่อมาได้เป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ปี พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนสงครามสงบในปี พ.ศ. 2488 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกระทรวง และในปี พ.ศ.2490 ได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงการคลังและออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเมื่อต้นปี พ.ศ. 2492

เมื่อออกจากราชการได้เป็นกรรมการในสมาคมสหายสงครามในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ร่วมบุกเบิกการทำป่าไม้ และเหมืองแร่ ซึ่งเป็นสัมปทาน ที่รัฐบาลให้แก่ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1

ครอบครัว

หลวงสิริราชไมตรี สมรสกับคุณหญิงอนงค์ (บุตรีพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม) มีบุตรด้วยกัน 5 คน ดังนี้

  1. นายอุดมพร สิงหเสนี (Pietro)
  2. นายพสุพร สิงหเสนี (Nickie)
  3. นายสิงพร สิงหเสนี (Georgie)
  4. นางสาวพรพงา สิงหเสนี (Suzanne)
  5. นางสาวพรระพี สิงหเสนี (Angela)

ประวัติการศึกษา

  • พ.ศ. 2450 โรงเรียนบพิตรพิมุข
  • พ.ศ. 2453 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2454 โรงเรียนราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2460 โรงเรียนกฏหมาย
  • พ.ศ. 2468 Ecole Libre des Sciences Politiques, Paris

ยศ

  • พ.ศ. 2459 มหาดเล็กวิเศษ
  • พ.ศ. 2465 รองอำมาตย์ตรี [4]
  • พ.ศ. 2468 อำมาตย์ตรี
  • 28 สิงหาคม พ.ศ.2468 หลวงสิริราชไมตรี [5]

ตำแหน่งหน้าที่

  • พ.ศ. 2459 นักเรียนล่ามกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2460 พลทหารรถยนต์กระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2461 นายสิบตรี
  • พ.ศ. 2462 เสมียนฝึกหัดกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2463 นักเรียนผู้ช่วยสถานทูต
  • พ.ศ. 2466 ผู้ช่วยชั้นหนึ่ง
  • พ.ศ. 2469 เลขานุการตรี
  • พ.ศ. 2475 เจ้ากรม
  • พ.ศ. 2476 รัฐมนตรีแทนเลขานุการคณะรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2476 รัฐมนตรีหัวหน้ากองการโฆษณา
  • พ.ศ. 2476 เจ้ากรมกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2477 เลขานุการเอก กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2477 เลขานุการเอกสถานทูต ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2477 ราชเลขานุการในพระองค์ ณ เมืองโลซานน์
  • พ.ศ. 2481 อัครราชทูตประจำประเทศอิตาลี
  • พ.ศ. 2489 อัครราชทูตประจำกระทรวง
  • พ.ศ. 2490 กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2492 ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเกียรติยศ

อ้างอิง

  • สายสกุลสิงหเสนี, บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ป.ภ., ท.ช., 3 พฤศจิกายน 2541, หน้า 181