ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาหางนกยูง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9054951 สร้างโดย 14.207.120.115 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ทุกอย่าง
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''ปลาหางนกยูง''' <gallery>
{{Taxobox
| name = ปลาหางนกยูง
| image = Trinidadian guppy (Poecilia reticulata) male and female.png
| image_caption = ปลาหางนกยูงตัวเมีย (ล่าง) และตัวผู้ (บน) ในแบบ[[ไวลด์ไทป์|สายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ]] ที่แหล่งน้ำใน[[ตรินิแดดและโตเบโก]]
| status = LC
| status_system = iucn3.1
| regnum = [[Animalia]]
| phylum = [[Chordate|Chordata]]
| classis = [[Actinopterygii]]
| ordo = [[Cyprinodontiformes]]
| familia = [[Poeciliidae]]
| genus = ''[[Poecilia]]''
| species = '''''P. reticulata'''''
| binomial = ''Poecilia reticulata''
| binomial_authority = [[Wilhelm Peters|Peters]], 1859
| range_map =GuppyMAPA.gif
| range_map_caption = แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
| synonyms =
* ''Acanthophacelus reticulatus''<br /><small>(Peters, 1859)</small>
* ''Girardinus reticulatus''<br /><small>(Peters, 1859)</small>
* ''Lebistes reticulatus''<br /><small>(Peters, 1859)</small>
* ''Poecilioides reticulatus''<br /><small>(Peters, 1859)</small>
* ''Girardinus guppii''<br /><small>[[Albert Günther|Günther]], 1866</small>
* ''Acanthophacelus guppii''<br /><small>(Günther, 1866)</small>
* ''Lebistes poecilioides''<br /><small>[[Filippo De Filippi|De Filippi]], 1861</small>
| synonoyms_ref = <ref>{{cite web |url=http://www.fishbase.org/Nomenclature/SynonymsList.php?ID=3228&GenusName=Poecilia&SpeciesName=reticulata |title=Synonyms of ''Poecilia reticulata'' |work=FishBase.org |accessdate=16 November 2013 |archiveurl=http://web.archive.org/web/20130922050250/http://www.fishbase.org/Nomenclature/SynonymsList.php?ID=3228&GenusName=Poecilia&SpeciesName=reticulata |archivedate=22 September 2013 |deadurl=no}}</ref>
}}

'''ปลาหางนกยูง''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Poecilia reticulata}}) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ใน[[วงศ์ปลาสอด]] (Poeciliidae)

==ลักษณะและความเป็นมา==
เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 [[เซนติเมตร (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)|เซนติเมตร]] มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า และยังมีปลาหางนกยูงที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน ทำให้สามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้

มีการกระจายพันธุ์บริเวณ[[ทวีปอเมริกากลาง]]จนถึง[[อเมริกาใต้]] อาศัยอยู่ในแหล่ง[[น้ำจืด]]จนถึง[[น้ำกร่อย]]ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้ง[[พืช]]และ[[สัตว์น้ำ]]รวมถึง[[แมลง]]หรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ใน[[ประเทศไทย]]ได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัย[[รัชกาลที่ 5]] โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่าง[[บัว]] เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้โดยเริ่มต้นจากตัวเดียว แต่อาจมีปัญหาในกางมองเห็นและเลี้ยงดู ทำให้ผู้คนไม่นิยมซื้อมาตัวเดียว จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้[[ออกซิเจน]]เหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่[[ปฏิสนธิ]]ภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 [[เดือน]]ขึ้นไป

ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ''"ทักซิโด้", "กร๊าซ", "คอบร้า", "โมเสก" , "หางดาบ", "นีออน"'' เป็นต้น

จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้[[กระทรวงสาธารณสุข]]ได้รณรงค์ให้[[คนไทย]]เลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่[[น้ำ]]ใน[[บ้าน]]เพื่อกินลูกน้ำและ[[ยุง]]เพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น]]ชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

นอกจากนี้แล้ว ในทางวิชาการ จากการทดลองของนักวิจัยจาก[[มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์]] ประเทศอังกฤษ ที่ได้ออกแบบสถานการณ์กระตุ้นระดับความเครียดของปลาหางนกยูงจากธรรมชาติในตรินิแดดและโตเบโก เพื่อสังเกตพฤติกรรมของปลาแต่ละตัว พบว่า ปลาหางนกยูงมีพฤติกรรมที่หลากหลายในการรับมือกับความเครียด เช่น บางตัวพยายามจะที่จะหลบหนีออกมา, บางตัวก็สังเกตอย่างระมัดระวัง สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปลาหางนกยูงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ทุกตัวจะเคร่งเครียดขึ้นในสถานการณ์ที่เครียดมากขึ้น

== รูปภาพ ==
<gallery>
ภาพ:Guppy breeds.jpg|สายพันธุ์ปลาหางนกยูงต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ภาพ:Guppy breeds.jpg|สายพันธุ์ปลาหางนกยูงต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ภาพ:Guppy coppia gialla.jpg|คู่ปลาหางนกยูงตัวผู้และตัวเมียสายพันธุ์คอบร้า
ภาพ:Guppy coppia gialla.jpg|คู่ปลาหางนกยูงตัวผู้และตัวเมียสายพันธุ์คอบร้า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:47, 26 พฤศจิกายน 2563

ปลาหางนกยูง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Poecilia reticulata ที่วิกิสปีชีส์