ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชมังคลากีฬาสถาน"

พิกัด: 13°45′16″N 100°37′20″E / 13.754377°N 100.622226°E / 13.754377; 100.622226
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Fridolin freudenfett (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 105: บรรทัด 105:
! บริการ !! สถานี !! สาย
! บริการ !! สถานี !! สาย
|-
|-
| rowspan="2"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_logo.svg|20px]] [[รถไฟฟ้ามหานคร]] || [[สถานีราชมังคลา]] || rowspan="2"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] [[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]]
| rowspan="2"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_logo.svg|20px]] [[รถไฟฟ้ามหานคร]] || [[สถานีราชมังคลา]] || rowspan="2"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] [[รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม]]
|-
|-
| [[สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
| [[สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:11, 17 พฤศจิกายน 2563

ราชมังคลากีฬาสถาน
แผนที่
ที่ตั้งสนามกีฬาหัวหมาก แขวงหัวหมาก
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เจ้าของการกีฬาแห่งประเทศไทย
ความจุ49,722 ที่นั่ง (จากเดิม 65,000 ที่นั่ง ในช่วงการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ปี 2541)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามพ.ศ. 2541
สถาปนิกรังสรรค์ ต่อสุวรรณ
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติไทย
เอเชียนเกมส์ 1998
กีฬาแห่งชาติ 2543
ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004
กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007
อัฒจันทร์ฝั่งป้ายไฟแสดงคะแนน
อัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง
ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว (ตุลาคม พ.ศ. 2554)

ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] โดยเป็นสนามกลางหรือสนามหลัก (Main Stadium) ภายในสนามกีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามได้รับการออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ

ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี(คอนเสิร์ต)กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์จำนวน 49,722 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้ทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย[2]

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร มีมติเห็นชอบด้วยกับโครงการจัดสร้างสนามกีฬาที่หัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ตามที่องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.) นำเสนอมา แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีงบประมาณ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการ กกท.คนแรก เสนอของบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสนามกีฬากลาง ขนาดความจุ 80,000 ที่นั่ง ภายในสนามกีฬาหัวหมาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา และใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติร่วมกับสนามศุภชลาศัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบ[3] โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกแบบ และทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดจ้าง บริษัท สยามซีเท็ค จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2531 จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 630 ล้านบาท

ต่อมาในระยะที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าให้ความร่วมมือตกแต่งรายละเอียด ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และระบบไฟส่องสว่าง ระบบเสียงเพิ่มเติม การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา พร้อมราวกันตก โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้รับจ้าง รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท แต่ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ตามนโยบายลดค่าใช้จ่ายของนายสุขวิช รังสิตพล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที13 และระยะที่ 3 ในช่วงก่อนเปิดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13[4]ประมาณ 1 เดือน คือการจัดทำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และตัวอักษรแสดงชื่อสนามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อติดตั้งบนกำแพงส่วนนอกอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง การตกแต่งบริเวณส่วนที่ประทับ และส่วนที่นั่งประธาน รวมทั้งการทาสีภายในบางส่วน ตลอดถึงการสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยรวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท

หลังจากแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นแล้ว มีการปรับปรุงต่อเติม ที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่างๆ ของ กกท.โดยรอบใต้ถุนอัฒจันทร์ ทำให้ยอดงบประมาณการก่อสร้างสนามแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท[5] ซึ่งในปัจจุบัน ใช้รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลทีมชาติไทย หรือสโมสรฟุตบอลของไทย กับฟุตบอลทีมต่างชาติ หรือสโมสรฟุตบอลจากต่างประเทศเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, ลีดส์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา และเชลซี เป็นต้น[6]

เหตุการณ์สำคัญ

กีฬา

คอนเสิร์ต

กิจกรรมทางการเมือง

การเดินทาง

รถไฟฟ้า

บริเวณถนนรามคำแหง มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยมีกำหนดเปิดใน พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสถานีใกล้เคียงราชมังคลากีฬาสถานดังนี้

บริการ สถานี สาย
รถไฟฟ้ามหานคร สถานีราชมังคลา รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

รถเมล์

สาย จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด
22 สวนสยาม บ่อนไก่
36ก สวนสยาม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
40 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) แยกลำสาลี
58 ตลาดมีนบุรี ประตูน้ำ
60 สวนสยาม ปากคลองตลาด
71 สวนสยาม วัดธาตุทอง
92 พัฒนาการ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
93 หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง ท่าน้ำสี่พระยา
99 ตลาดเทเวศร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
109 อู่คลองกุ่ม สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
113 ตลาดมีนบุรี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
115 สวนสยาม สีลม
122 เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว วัดเทพลีลา
126 อู่บางเขน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
137 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรัชดาภิเษก
168 อู่สวนสยาม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
171 การเคหะธนบุรี หมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง
182 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา
207 มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตหัวหมาก
501 ตลาดมีนบุรี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

ภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′16″N 100°37′20″E / 13.754377°N 100.622226°E / 13.754377; 100.622226