ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสาทร"

พิกัด: 13°43′14″N 100°31′43″E / 13.720464°N 100.528699°E / 13.720464; 100.528699
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toonnat (คุย | ส่วนร่วม)
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


ปัจจุบัน ถนนสาทรถือว่าเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญอีกสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ด้วยแวดล้อมไปด้วยบริษัทห้างร้านและอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึง[[คอนโดมิเนียม]]และอาคารชุด เช่นเดียวกับ[[ถนนสีลม]]ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมี[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]] ยกระดับเหนือคลองสาทร โดยสถานีรถไฟฟ้าบนถนนสาทรอยู่ 2 สถานี คือ[[สถานีสุรศักดิ์]] และ[[สถานีสะพานตากสิน]]
ปัจจุบัน ถนนสาทรถือว่าเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญอีกสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ด้วยแวดล้อมไปด้วยบริษัทห้างร้านและอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึง[[คอนโดมิเนียม]]และอาคารชุด เช่นเดียวกับ[[ถนนสีลม]]ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมี[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม]] ยกระดับเหนือคลองสาทร โดยสถานีรถไฟฟ้าบนถนนสาทรอยู่ 2 สถานี คือ[[สถานีสุรศักดิ์]] และ[[สถานีสะพานตากสิน]]
== รายชื่อทางแยก ==

{{ทางแยก/เริ่ม
|ประเภท=ถนน
|ชื่อ= สาทร
|ทิศทาง =วิทยุ–เฉลิมพันธ์ (ซ้าย: สาทรใต้ , ขวา: สาทรเหนือ)
}}
{{ทางแยก/ส่วน
| ประเภท = ถนน
| ชื่อ= [[ไฟล์:Seal Bangkok Metropolitan Admin (green).svg|20px|link=ถนนสาทร]] ถนนสาทรเหนือ/ใต้
| ทิศทาง = (วิทยุ–เฉลิมพันธ์)
}}
{{ทางแยก
| จังหวัด = กรุงเทพมหานคร
| pspan = 10
| ชื่อ = [[แยกวิทยุ]]
| ขนาด = 2
| กม. = 0+000
| จาก = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนวิทยุ]]
}}
{{ทางแยก
| ต่อ = yes
| ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนพระรามที่ 4]] ไป[[แยกหัวลำโพง|หัวลำโพง]]
| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนพระรามที่ 4]] ไป[[แยกคลองเตย|คลองเตย]]
}}
{{ทางแยก
| ชื่อ = [[แยกสาทร-นราธิวาส|แยกนรินทร]]
| กม. =
| ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] ไป[[ถนนสีลม|สีลม]]
| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] ไป[[ถนนจันทร์|จันทร์]]
}}
{{ทางแยก
| ชื่อ = [[แยกสาทร-สุรศักดิ์]]
| ขนาด = 3
| กม. =
| จาก = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนสุรศักดิ์]]
}}
{{ทางแยก
| ต่อ = yes
| ขวา = {{ป้ายทางหลวง|E|ศรีรัช}} [[ทางพิเศษศรีรัช]] ไปบางโคล่<br>[[เขตบางนา|บางนา]] - คาวคะนอง
}}
{{ทางแยก
| ต่อ = yes
| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนเจริญราษฎร์]]ไป[[ถนนพระรามที่ 3]]
}}
{{ทางแยก
| ชื่อ =
| ขนาด = 2
| กม. =
| ซ้าย = {{ป้ายทางหลวง|E|ศรีรัช}} [[ทางพิเศษศรีรัช]] ไป[[เขตดินแดง|ดินแดง]]<br>[[ถนนพระราม 9|ถนนพระราม ๙]] - [[ถนนแจ้งวัฒนะ|แจ้งวัฒนะ]]
}}
{{ทางแยก
| ต่อ = yes
| ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนจรูญเวียง]]
}}
{{ทางแยก/สะพาน
| ชื่อ = [[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]
| ข้าม = [[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
| กม. =
}}
{{ทางแยก
| ชื่อ = [[แยกเฉลิมพันธ์]]
| กม. =
| ซ้าย = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนเจริญกรุง]] ไป[[แยกถนนตก|ถนนตก]]
| ขวา = [[ไฟล์:Seal of Bangkok Metro Authority.png|20px]] [[ถนนเจริญกรุง]] ไป[[แยกบางรัก|บางรัก]]
}}
{{ทางแยก/จบ}}
== สถานที่สำคัญ ==
== สถานที่สำคัญ ==
[[ไฟล์:Bangkok Tuk-Tuk.jpg|thumb|250px|จุดกลับรถของถนนสาทร บริเวณช่วงหน้า[[ตึกหุ่นยนต์]] (ปัจจุบันคือสำนักงานใหญ่ของ[[ธนาคารยูโอบี]]) รูปในปี พ.ศ. 2543 โดยเห็นป้ายหาเสียงของ[[การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543|ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ในช่วงนั้น]]
[[ไฟล์:Bangkok Tuk-Tuk.jpg|thumb|250px|จุดกลับรถของถนนสาทร บริเวณช่วงหน้า[[ตึกหุ่นยนต์]] (ปัจจุบันคือสำนักงานใหญ่ของ[[ธนาคารยูโอบี]]) รูปในปี พ.ศ. 2543 โดยเห็นป้ายหาเสียงของ[[การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543|ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ในช่วงนั้น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:26, 12 พฤศจิกายน 2563

ถนนสาทรเหนือมุมมองจากบริเวณเหนือซอยศึกษาวิทยา เมื่อปี พ.ศ. 2562

ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก

กายภาพ

ถนนสาทร ราวปี พ.ศ. 2543

ถนนสาทร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 4 เข้ากับถนนเจริญกรุง และเป็นเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมกับฝั่งธนบุรีโดยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานสาทร) โดยแบ่งได้เป็น 2 ฝั่ง ซึ่งแบ่งโดยใช้คลองสาทร ได้แก่ ฝั่งเหนือคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และฝั่งใต้คือ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร

แนวเส้นทางจะเริ่มจากถนนพระรามที่ 4 บริเวณแยกวิทยุ ต่อเนื่องจากถนนวิทยุ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เลียบคลองสาทรทั้ง 2 ฝั่ง ตัดกับถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และไปสิ้นสุดที่ถนนเจริญกรุง บริเวณท่าเรือสาทรริมแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกระดับข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปบรรจบกับถนนกรุงธนบุรีที่เขตคลองสานอีกด้วย

ประวัติ

ถนนสาทรเป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ. 2431 คหบดีชาวจีนที่ชื่อ "เจ้าสัวยม" ได้อุทิศที่ดินระหว่างถนนสีลมและถนนบ้านหวายเพื่อขุดคลอง โดยจ้างกรรมการชาวจีนเพื่อทำการขุด โดยขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปบรรจบกับคลองถนนตรงหรือคลองวัวลำพอง (ปัจจุบันถูกถมเป็นถนนพระรามที่ 4) เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า "คลองเจ้าสัวยม" (คลองสาทรในปัจจุบัน) และได้นำดินที่ขุดคลองมาทำเป็นถนนอีกด้วย ต่อมาเจ้าสัวยมได้รับบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น "หลวงสาทรราชายุตก์" จึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนนี้ว่า "ถนนสาทรราชายุตก์" รวมถึงคลอง คือ "คลองสาทรราชายุตก์" แต่ผู้คนนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "สาทร"

ในอดีตถนนสาทรมีต้นมะฮอกกานี ปลูกอยู่ริมคลองสาทรทั้ง 2 ด้าน เดิมเป็นถนนเพียง 1 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ ต่อมาขยายเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ และขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ โดยถนนช่องจราจรที่ 3 ได้กินพื้นที่ของคลองสาทรบางส่วนไปด้วย ทำให้คลองสาทรในปัจจุบันเล็กกว่าเดิมเกือบเท่าตัว ซึ่งการขยายถนนครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน

ในอดีตเคยใช้ตัวสะกดชื่อถนนว่า "สาธร" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "สาทร" ตามคำสะกดที่ถูกต้องเช่นในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ถนนสาทรถือว่าเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญอีกสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ด้วยแวดล้อมไปด้วยบริษัทห้างร้านและอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงคอนโดมิเนียมและอาคารชุด เช่นเดียวกับถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ยกระดับเหนือคลองสาทร โดยสถานีรถไฟฟ้าบนถนนสาทรอยู่ 2 สถานี คือสถานีสุรศักดิ์ และสถานีสะพานตากสิน

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนสาทร ทิศทาง: วิทยุ–เฉลิมพันธ์ (ซ้าย: สาทรใต้ , ขวา: สาทรเหนือ)
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสาทรเหนือ/ใต้ (วิทยุ–เฉลิมพันธ์)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกวิทยุ เชื่อมต่อจาก: ถนนวิทยุ
ถนนพระรามที่ 4 ไปหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 ไปคลองเตย
แยกนรินทร ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสีลม ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปจันทร์
แยกสาทร-สุรศักดิ์ เชื่อมต่อจาก: ถนนสุรศักดิ์
ไม่มี ทางพิเศษศรีรัช ไปบางโคล่
บางนา - คาวคะนอง
ไม่มี ถนนเจริญราษฎร์ไปถนนพระรามที่ 3
ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง
ถนนพระราม ๙ - แจ้งวัฒนะ
ไม่มี
ถนนจรูญเวียง ไม่มี
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
แยกเฉลิมพันธ์ ถนนเจริญกรุง ไปถนนตก ถนนเจริญกรุง ไปบางรัก
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

จุดกลับรถของถนนสาทร บริเวณช่วงหน้าตึกหุ่นยนต์ (ปัจจุบันคือสำนักงานใหญ่ของธนาคารยูโอบี) รูปในปี พ.ศ. 2543 โดยเห็นป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในช่วงนั้น
อาคารหอการค้าไทย-จีน

การเดินทาง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • pongsakornlovic (2011-03-08). "CHN_253_ถนนสาทร.flv". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.
  • "11 ทำเลเด่น กรุงเทพฯปริมณฑล ปี 2559". ฐานเศรษฐกิจ. 2016-01-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′14″N 100°31′43″E / 13.720464°N 100.528699°E / 13.720464; 100.528699