ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 239: บรรทัด 239:
====รายชื่อสถานี====
====รายชื่อสถานี====
{| border="1" cellpadding="2" cellspacing="0" class="wikitable"
{| border="1" cellpadding="2" cellspacing="0" class="wikitable"
! colspan = "1" rowspan = "2" | รหัสสถานี !! colspan = "2" rowspan = "2" | สถานี !! rowspan = "2" | โครงสร้าง !! rowspan = "2" | กม.<br> จากบางซื่อ !! colspan = "2" | ขบวนที่จอด !! rowspan = "2" | เชื่อมต่อกับ !! colspan = "2" | ที่ตั้ง
! colspan = "1" rowspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| รหัสสถานี !! colspan = "2" rowspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| สถานี !! rowspan = "2"style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white" | โครงสร้าง !! rowspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| กม.<br> จากบางซื่อ !! colspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| ขบวนที่จอด !! rowspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| เชื่อมต่อกับ !! colspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| ที่ตั้ง
|-
|-
! style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"|รถไฟฟ้า || style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"|รถทางไกล || colspan = "2" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"| จังหวัด
! รถไฟฟ้า || รถทางไกล || colspan = "2" | จังหวัด
|-
|-
|- style = "background:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}; height: 2pt"
! colspan="16" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white"|หัวลำโพง - มหาชัย <ref>[http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/47/47_605.pdf โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง]</ref>
| colspan=12 |
|-
! colspan=12 |หัวลำโพง - มหาชัย <ref>[http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/47/47_605.pdf โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง]</ref>
|-
|- style = "background:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}; height: 2pt"
| colspan=12 |
|-
|-
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "10" |อุโมงค์ลอดใต้[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "10" |อุโมงค์ลอดใต้[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
บรรทัด 288: บรรทัด 282:
| [[ไฟล์:SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg|20px]] RS24 || {{ส|มหาชัย}} || Maha Chai || align=right | n/a || align="center" | ● || align="center"| ● ||
| [[ไฟล์:SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg|20px]] RS24 || {{ส|มหาชัย}} || Maha Chai || align=right | n/a || align="center" | ● || align="center"| ● ||
|-
|-
! colspan="11" style="background-color:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}};color:white" | มหาชัย - ปากท่อ <ref>[http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/47/47_605.pdf โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง]</ref> <ref>[http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=85การศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง] www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
|- style = "background:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}; height: 2pt"
| colspan=11 |
|-
! colspan=11 | มหาชัย - ปากท่อ <ref>[http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/3transport/47/47_605.pdf โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง]</ref> <ref>[http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=85การศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง] www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
</ref>
</ref>
|-
|- style = "background:#{{SRT color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}; height: 2pt"
| colspan=11 |
|-
|-
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "10" |สะพานข้าม[[แม่น้ำท่าจีน]]
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "10" |สะพานข้าม[[แม่น้ำท่าจีน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:45, 11 พฤศจิกายน 2563

รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
สัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการ
ไฟล์:SRT Commuter Rail Dark Red and Light Red Line.jpg
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ขบวนแรก ได้รับการทดสอบที่โรงงานฮิตาชิประเทศญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม 2562
ข้อมูลทั่วไป
สถานะทดสอบระบบ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ราชบุรี
ปลายทาง
  • บ้านภาชี
  • ปากท่อ
จำนวนสถานี10 (ปัจจุบัน)
8 (โครงการ)
43 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟรางหนัก
ระบบรถไฟชานเมือง
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนเข้าร่วมประมูล
ขบวนรถฮิตาชิ ซีรีส์ 1000 (คลาส 1000)
ประวัติ
เปิดเมื่อ1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (กลางบางซื่อ–รังสิต)[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง22.6 km (14.04 mi) (ระยะที่ 1)
30.4 km (18.89 mi) (ระยะที่ 2)
รางกว้าง1.000 เมตร
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว160 km/h (99 mph)
อาณัติสัญญาณอีทีซีเอส ทาเลส อาลแทรค
แผนที่เส้นทาง

กม.
รฟท. สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนต่อขยายด้านเหนือ
90.496
บ้านภาชี
76.80
พระแก้ว
71.40
มาบพระจันทร์
67.10
บ้านม้า
63.50
อยุธยา
55.20
บ้านโพธิ์
50.40
บางปะอิน
44.30
เชียงรากน้อย
38.40
นวนคร
32.60
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ศูนย์รังสิต
29.90
เชียงราก
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
26.20
คลองหนึ่ง
22.60
รังสิต
คลองรังสิต
19.90
หลักหก
แกรนด์ คาแนล
13.80
ดอนเมือง
11.80
การเคหะ
( สายสีชมพู )
9.9
หลักสี่
7.10
ทุ่งสองห้อง
5.60
บางเขน
4.10
วัดเสมียนนารี
2.60
จตุจักร
ไป ตลิ่งชัน
รฟท. สายใต้
ชุมทางบางซื่อ
0.0
กลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สายสีน้ำเงิน
ประดิพัทธิ์
2.70
สามเสน
3.70
ราชวิถี
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ไป สุวรรณภูมิ
ไป หัวหมาก
ยมราช
รฟท. สายตะวันออก
5.40
ยมราช
อุรุพงษ์
6.50
ยศเส
7.50
หัวลำโพง
กรุงเทพ
สายสีน้ำเงิน
ส่วนต่อขยายด้านใต้
ส่วนต่อขยายด้านใต้
แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองสาน
สายสีลม
สายสีม่วง
12.530
วงเวียนใหญ่
รฟท. ทางรถไฟสายแม่กลอง
17.190
ตลาดพลู
สายสีลม
วุฒากาศ
วุฒากาศ
นางนอง
เอกชัย 10
39.690
วัดไทร
50.070
วัดสิงห์
เอกชัย 48
63.415
ตลาดบางบอน
การเคหะ
79.065
รางสะแก
96.915
รางโพธิ์
115.945
สามแยก
136.595
พรมแดน
158.420
ทุ่งศรีทอง
181.575
บางน้ำจืด
คอกควาย
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยคอกควาย
บ้านขอม
คลองจาก
มหาชัย
แม่น้ำท่าจีน
บ้านแหลม
ท่าฉลอม
บ้านชีผ้าขาว
นกเล็ก
สีคต
บางกระเจ้า
บ้านบ่อ
บางโทรัด
บ้านกาหลง
บ้างนาขวาง
บ้างนาโคก
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยนาโคก
บ้านเขตเมือง
ลาดใหญ่
บางตะบูน
แม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
บางขันทอง
ปลายโพงพาง
วัดเพลง
ปากท่อ
(รถไฟสายใต้)

รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม (บ้านภาชี–ปากท่อ) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแนวเส้นทางตามแกนหลักทิศเหนือ–ใต้และตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่โครงการส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โครงการมีระยะทางทั้งหมด 114.3 กม. มีจำนวนสถานี 36 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ–ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง, รังสิต, ปทุมธานีและอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอนและมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง (หัวลำโพง) โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ โครงข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอก ตามแนวคิดผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี ในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับสถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือแห่งใหม่อีกด้วย โครงการสามารถแก้ปัญหาจุดตัดระหว่างถนนและรถไฟในเขตเมือง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของระบบราง และลดความล่าช้าในการเดินทางบนโครงข่ายถนนได้

ปัจจุบันรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ได้เริ่มดำเนินการนำขบวนรถออกทดสอบบางส่วนแล้ว ได้แก่ ทดสอบระบบการจ่ายไฟฟ้าให้กับขบวนรถ การวัดระยะห่างระหว่างขบวนรถกับชานชาลาตัวสถานี[2][3]

ประวัติ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเงินกู้ 2.4 หมื่นล้านบาท จากรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับการก่อสร้างโครงการนี้ระยะทาง 67 กิโลเมตร[4][5] โดยระยะทางตั้งแต่ บางซื่อ ถึง รังสิต ได้รับการอนุมัติในปี พ.ศ. 2553 แต่เกิดการล่าช้าเนื่องจากข้อพิพาททางสัญญาที่ซับซ้อน 2.5 ปี

โครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง ระยะทาง 21.6 กม. ตั้งแต่สถานีรังสิตถึงบางซื่อ จำนวน 9 สถานี เริ่มต้นก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 หลังจากเซ็นสัญญาใหม่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556[6] ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี แต่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2556 โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จแค่ร้อยละ 3 เท่านั้นและล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้หลายเดือน เนื่องจากใช้เวลาไปกับการรื้อถอนเสาตอม่อโฮปเวลล์[7] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 รฟท. ได้ขอเงินเพิ่มอีก 8.14 พันล้านบาท เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้มเป็น 4 รางแทนที่จะเป็น 3 ราง และออกแบบสถานีใหม่ทั้งหมด และให้สถานีบางซื่อมีชานชาลาที่ยาวขึ้น เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต[8] โดยจำนวนเงิน 8.14 พันล้านบาทนั้น แบ่งเป็น สัญญาที่ 1 มูลค่า 4.32 พันล้านบาท (ปรับเปลี่ยนให้สถานีบางซื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง), สัญญาที่ 2 มูลค่า 3.35 พันล้านบาท (รางที่ 4 และการออกแบบสถานีใหม่) และ สัญญาที่ 3 มูลค่า 473 ล้านบาท

เป็นที่น่าสังเกตว่างบประมาณสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มระยะที่ 1 ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความล่าช้าจำนวนมากและการออกแบบใหม่เพิ่มเติม จากเดิม 5.989 หมื่นล้านบาทในปี 2550 เป็น 7.555 หมื่นล้านบาทในปี 2552 และเป็น 8.038 หมื่นล้านบาทในปี 2555 ส่วนเงินที่ขอเพิ่มเติม 8.14 พันล้านบาท ทำให้งบประมาณปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 8.852 หมื่นล้านบาท

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติส่วนต่อขยายแรกทางด้านทิศใต้ของโครงการ ตั้งแต่ บางซื่อ ถึง หัวลำโพง อย่างไรก็ตามส่วนต่อขยายด้านเหนือ ระยะทาง 10 กม. จำนวน 4 สถานี จากรังสิตไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะสร้างขึ้นก่อนและคาดว่าจะประมูลได้ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561[9] แต่เกิดการล่าช้า ทำให้การเสนอราคาเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2562[10] อย่างไรก็ตาม การประกวดราคายังล่าช้าออกไปอีกจนถึงปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ร้องขอให้กรมรางตรวจสอบการดำเนินการประกวดราคาแบบ PPP สำหรับส่วนต่อขยายนี้[11]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 รฟท. ประกาศว่าสายสีแดงเข้มจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยอัตราค่าโดยสารระหว่าง 14-45 บาท[12] แต่ว่า สถานีกลางบางซื่อ จะยังไม่เปิดให้บริการจนถึงปี พ.ศ. 2565

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
ภาชี / ไผ่ล้อม / กระจิว ภาชี พระนครศรีอยุธยา
ข้าวเม่า อุทัย
หนองปลิง นครหลวง
บ้านเกาะ / หอรัตนไชย / กะมัง / เกาะเรียน พระนครศรีอยุธยา
นอนหลวง / บ้านโพธิ์ / บางกระสัน / เชียงรากน้อย บางปะอิน
คลองหนึ่ง คลองหลวง ปทุมธานี
ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี
หลักหก เมืองปทุมธานี
สีกัน / สนามบิน / ดอนเมือง ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ตลาดบางเขน หลักสี่
ลาดยาว / จตุจักร จตุจักร
บางซื่อ บางซื่อ
สามเสนใน พญาไท
สวนจิตรลดา ดุสิต
รองเมือง ปทุมวัน
มหาพฤฒาราม / บางรัก บางรัก
คลองต้นไทร / คลองสาน คลองสาน
บางยี่เรือ / ตลาดพลู ธนบุรี
บางค้อ / บางขุนเทียน จอมทอง
คลองบางบอน / บางบอนใต้ บางบอน
แสมดำ บางขุนเทียน
บางน้ำจืด / คอกกระบือ / โคกคาม / มหาชัย / ท่าฉลอม / ท่าจีน / บางกระเจ้า / บ้านบ่อ / บางโทรัด / กาหลง / นาโคก เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
ลาดใหญ่ / บางแก้ว / แม่กลอง / ท้ายหาด / บางขันแตก เมืองสมุทรสงคราม สมุทรสงคราม
สวนหลวง / ปลายโพงพาง / วัดประดู่ อัมพวา
วัดยางงาม / ปากท่อ ปากท่อ ราชบุรี

แนวเส้นทางของโครงการ

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม มีแนวเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อวิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนพ้นพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามทางพิเศษศรีรัช และถนนรัชดาภิเษกช่วงใกล้ ๆ กับทางแยกต่างระดับรัชวิภา จากนั้นเมื่อผ่านสถานีวัดเสมียนนารีไป แนวเส้นทางจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการคร่อมบนถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งปรับแก้มาจากแนวเส้นทางเดิมเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการโฮปเวลล์เดิม ระหว่างทางจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน, รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง คือสายเหนือ, สายอีสาน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ที่สถานีดอนเมืองบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงกลับไปวิ่งตามทางรถไฟสายเหนือตลอดทางจนกระทั่งสิ้นสุดเส้นทางในส่วนเหนือที่สถานีรถไฟบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อวิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช ก่อนผุดขึ้นมาอยู่ในแนวถนนเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับลงใต้ดินและวิ่งแนวตรงมาทางใต้ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ ใกล้ ๆ กับศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี เข้าสู่ฝั่งธนบุรี และลอดใต้โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ เข้าสู่ถนนเจริญรัถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน จากนั้นวิ่งใต้ถนนเจริญรัถไปจนถึงวงเวียนใหญ่เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้ววิ่งต่อตามแนวทางรถไฟสายแม่กลอง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีวุฒากาศ จากนั้นจึงไต่ระดับกลับขึ้นมาเป็นรถไฟฟ้ายกระดับแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีมหาชัยใหม่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นเส้นทางจะข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วยกระดับข้ามแม่น้ำแม่กลองแล้ววิ่งต่อในแนวขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 แล้วสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

รูปแบบของโครงการ

ทางวิ่งและขบวนรถ

สายไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่เหนือราง
  • เป็นระบบไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น (1) ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - สถานีหัวลำโพง - สถานีวงเวียนใหญ่ รถไฟฟ้าจะลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวถนนบริเวณใต้ถนนกำแพงเพชร 5 หลังออกจากสถานีกลางบางซื่อ (2) ช่วงเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อ ทางวิ่งจะยกระดับที่ความสูงประมาณ 7 เมตรแล้วจะไต่ระดับความสูงขึ้นไปที่ 17 เมตรก่อนเข้าสถานีจตุจักร (3) ช่วงเข้าสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะยกระดับขึ้นจาก 17 เมตรเป็น 19 เมตร เพื่อเข้าชานชาลาชั้น 4 ของสถานีดอนเมือง และ (4) ช่วงดอนเมือง - รังสิต หลังจากออกจากสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะค่อยๆ ลดระดับกลับมาอยู่ที่ 17 เมตร แล้วค่อยลดระดับลงไปที่ระดับดินเข้าสถานีหลักหก จากนั้นจะยกระดับกลับไปที่ความสูง 12 เมตรเพื่อเข้าสถานีรังสิต
  • ขนาดราง 1 เมตร (Meter guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.86 เมตร ยาว 20 เมตร ต่อตู้ สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน โดย แบบ 6 ตู้จะยาว 121.2 เมตร และ แบบ 4 ตู้จะยาว 81.2 เมตร[13] ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบางซื่อ (เทอดดำริ) ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 18,213 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีบ้านนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางบางซื่อ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางบางซื่อ

สถานี

การก่อสร้างสถานีรังสิตเมื่อปี พ.ศ. 2560

มีทั้งหมด 9 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางบางซื่อ) เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี และเป็นสถานีระดับดิน 1 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ บางส่วนของโครงการใช้โครงสร้างเดิมของโครงการโฮปเวลล์เป็นเสายึดโครงสร้างของโครงการ

ขบวนรถไฟฟ้า

ไฟล์:SRT Commuter Rail Dark Red and Light Red Line.jpg
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ผลิตจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่นสั่งเฉพาะ โดยนำดีไซน์มาจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 6 ตู้ ผลิตโดย ฮิตาชิ จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รายชื่อสถานี

ชื่อสถานี รหัสสถานี ขบวนที่จอด จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
รังสิต RN10 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ปทุมธานี
หลักหก (มหาวิทยาลัยรังสิต) RN09 -
ดอนเมือง RN08 สายซิตี้ สถานีดอนเมือง (กำลังก่อสร้าง) กรุงเทพมหานคร
การเคหะ RN07 -
หลักสี่ RN06 - สายสีชมพู สถานีหลักสี่
ทุ่งสองห้อง RN05 -
บางเขน RN04 - สายสีน้ำตาล สถานีบางเขน (โครงการ)
วัดเสมียนนารี RN03 -
จตุจักร RN02 -
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
RN01
RS01
สายสีแดงอ่อน (สถานีร่วม)
สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ
สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)

ส่วนต่อขยาย

ส่วนต่อขยายด้านเหนือ

ส่วนต่อขยายรังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิต

ส่วนต่อขยายธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี

รายชื่อสถานี

สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
ธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี [14]
RN15 นวนคร Navanakorn ระดับดิน 38.400 - จังหวัดปทุมธานี
RN16 เชียงรากน้อย Chiang Rak Noi 44+300 - จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
RN17 บางปะอิน Bang Pa-In 50+400 -
RN18 บ้านโพธิ์ Ban Pho 55+200 -
RN19 อยุธยา Ayutthaya 63+500 รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน, รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ
RN20 บ้านม้า Ban Ma 67+100 -
RN21 มาบพระจันทร์ Nap Phra Chan 71+400 -
RN22 พระแก้ว Phra Kai 77+800 -
RN23 บ้านภาชี Baan Pa-Chi 90+469

ส่วนต่อขยายด้านใต้

ส่วนต่อขยายบางซื่อ - หัวลำโพง

ส่วนต่อขยายหัวลำโพง - มหาชัย

ส่วนต่อขยายมหาชัย - ปากท่อ

รายชื่อสถานี

colspan = "1" rowspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| รหัสสถานี colspan = "2" rowspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| สถานี rowspan = "2"style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white" | โครงสร้าง rowspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| กม.
จากบางซื่อ
colspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| ขบวนที่จอด rowspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| เชื่อมต่อกับ colspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| ที่ตั้ง
style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"|รถไฟฟ้า style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"|รถทางไกล colspan = "2" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"| จังหวัด
colspan="16" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white"|หัวลำโพง - มหาชัย [15]
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
RS08 คลองสาน Khlong San ใต้ดิน n/a แม่แบบ:BTS Lines : คลองสาน กรุงเทพมหานคร
RS09 วงเวียนใหญ่ Wongwian Yai n/a แม่แบบ:BTS Lines แม่แบบ:BTS Lines วงเวียนใหญ่ (โครงการ)
RS10 ตลาดพลู Talat Phlu ระดับดิน n/a แม่แบบ:BTS Lines ตลาดพลู
RS11 วุฒากาศ Wutthakat ยกระดับ n/a แม่แบบ:BTS Lines วุฒากาศ
RS12 จอมทอง Chom Thong n/a
RS13 วัดไทร Wat Sai n/a
RS14 วัดสิงห์ Wat Sing n/a
RS15 บางบอน Bang Bon n/a
RS16 รางสะแก Rang Sakae n/a
RS17 รางโพธื์ Rang Pho n/a
RS18 สามแยก Sam Yaek n/a
RS19 พรมแดน Phrom Daen n/a สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร
RS20 ทุ่งสีทอง Thung Si Thong n/a - สมุทรสาคร
RS21 บางน้ำจืด Bang Nam Chuet n/a -
RS22 คอกควาย Khok Khwai n/a -
RS23 บ้านขอม Ban Khom n/a -
RS24 มหาชัย Maha Chai n/a
colspan="11" style="background-color:#แม่แบบ:SRT color;color:white" | มหาชัย - ปากท่อ [16] [17]
สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน
RS25 ท่าฉลอม Tha Chalom ยกระดับ 41+100 สมุทรสาคร
RS26 นกเล็ก Nok Lek 44+300 -
RS27 สีคต Si Khot 45+400 -
RS28 บางกระเจ้า Bang Krachao 47+400 -
RS29 บ้านบ่อ Baan Bo 49+000
RS30 บางโทรัด Bang Tho Rat 51+300 -
RS31 บ้านกาหลง Baan Ka Long 53+300 -
RS32 บ้านนาขวาง Baan Na Khwang 54+600 -
RS33 บ้านนาโคก Baan Na Khok 57+700
RS34 บ้านเขตเมือง Baan Khet Mueang 61+700 - สมุทรสงคราม
RS35 ลาดใหญ่ Lat Yai 66+200 -
RS36 บางตะบูน Bang Tabun 68+100 -
RS37 แม่กลอง Mae Klong 70+800
สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง
RS38 บางขันทอง Bang Khan Thong ยกระดับ 77+500 - สมุทรสงคราม
RS39 ปลายโพงพาง Plai Phong Phang 83+200 - ราชบุรี
RS40 วัดเพลง Wat Pleang 87+600 -
RS41 ปากท่อ Pak Tho ระดับดิน 92+600 แม่แบบ:SRT Lines

แผนการก่อสร้าง

อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม แบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้[18]

ระยะที่ ช่วง ระยะทาง สถานะ
1 ธรรมศาสตร์-บางซื่อ 36 กม. กำลังก่อสร้างช่วง บางซื่อ-รังสิต และเตรียมเปิดประมูลช่วง รังสิต-ธรรมศาสตร์
2 บางซื่อ-หัวลำโพง 11 กม. รวมงานโยธาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
3 หัวลำโพง-บางบอน 18 กม. เตรียมเปิดประมูล
4 บางบอน-มหาชัย 20 กม. เลื่อนการดำเนินการออกไปอย่างไม่มีกำหนด
5 มหาชัย-แม่กลอง 56 กม. ทบทวนการศึกษา
6 แม่กลอง-ปากท่อ 22 กม.
7 ธรรมศาสตร์-บ้านภาชี 22 กม. ยังเป็นเพียงแค่แผนงาน ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน จะดำเนินการก่อสร้างสถานีอยุธยาให้แล้วเสร็จก่อน

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า
(ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562[19][20])
1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรไฟฟ้า
ควบคู่งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับช่วงบางซื่อ-จตุจักร
ระยะทาง 6.20 กม. (3.85 ไมล์) รวมปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานี
งานก่อสร้างทางเข้าออกสถานี งานต่อเติมทางพิเศษศรีรัชเข้าสู่ตัวสถานี
และงานรื้อถอนโครงสร้างโฮปเวลล์ในพื้นที่
29,826.9 กิจการร่วมค้า เอส.ยู.จอยท์เวนเจอร์
(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ
บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
100 % (อยู่ระหว่างตรวจการรับงาน)
2 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงจตุจักร-รังสิต
ระยะทาง 20.15 กม. (12.52 ไมล์)
รวมงานปรับปรุงหรือรื้อถอนโครงสร้างโฮปเวลล์ในพื้นที่
21,235.4 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ 100 % (อยู่ระหว่างตรวจการรับงาน)
3 งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล รวมงานจัดหาตู้รถไฟฟ้า
ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการสื่อสาร
ตลอดจนบำรุงรักษาโครงการ
32,399.9 กิจการร่วมค้าเอ็มเอชเอสซี
(Mitsubishi Heavy Industries, Ltd., Hitachi Ltd., และ Sumitomo Corporation)
ว่าจ้างทั้งสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน 55.20% (เร็วกว่า 2.00%)
4 งานเดินรถไฟฟ้า ควบคู่งานก่อสร้างโครงสร้างส่วนต่อขยายอันได้แก่
  • ช่วงรังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. (5.49 ไมล์)
  • ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. (9.2 ไมล์)
    รวมงานก่อสร้างสถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีสะพานพระราม 6
  • ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. (3.54 ไมล์)
    รวมงานก่อสร้างและปรับปรุงสถานีรถไฟร่วมศิริราชเพื่อเชื่อมต่อสายสีส้ม
  • ช่วงบางซื่อ - หัวหมาก ระยะทาง 18 กม. (11.18 ไมล์)
  • ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง ระยะทาง 7.50 กม. (4.66 ไมล์)

รวมงานบริหารเชิงพาณิชย์ และงานบริหารซ่อมบำรุงสถานีกลางบางซื่อ

170,000
(ราคาประเมิน)
สัญญาร่วมลงทุนแบบ PPP-Net Cost

อ้างอิง

  1. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/898558?anm
  2. เริ่มทดสอบระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง บน MAIN LINE - YouTube
  3. รถไฟฟ้าสายสีแดงประเดิมความเร็วจาก10อัพสปีด140 - ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์ , สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563
  4. "Abhisit wins backing for train deal". Bangkok Post. 7 February 2009.
  5. "B23bn MRT loan inked". Bangkok Post. 30 March 2009.
  6. "Contracts signed for Red Line stations". The Bangkok Post. Bangkok. 31 January 2013.
  7. "ไล่ทุบซากตอม่อ "โฮปเวลล์" รับรถไฟฟ้าสายใหม่ "บางซื่อ-รังสิต"". Prachachat. 6 January 2014.
  8. "SRT seeks extra B8bn for Red Line". The Bangkok Post. Bangkok. 27 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
  9. "Ministry to forward plans for 2 Red Line extensions". Bangkok Post. 19 January 2017.
  10. "SRT eyeing B40bn budget". Bangkok Post. 9 June 2019.
  11. ""ศักดิ์สยาม" เปิดปมทำไม "รถไฟฟ้าสายสีแดง" เลื่อนเปิดปี'64". Prachachat. 19 July 2020.
  12. "Red Line set for October 2020 launch". Bangkok Post. 26 May 2018.
  13. รฟท.รับมอบ “รถไฟฟ้าสายสีแดง” ชุดแรก 1 พ.ย.62 พร้อมทดสอบเดินรถไตรมาส 3/63 วันที่ 21/10/2019 https://www.kaohoon.com/content/322178
  14. ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
  15. โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง
  16. โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง
  17. ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
  18. http://mrt-progress.otp.go.th/MRT/?q=node/74
  19. [1]
  20. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2297627803617485&set=a.1957785667601702&type=3&theater

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น