ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสีลม"

พิกัด: 13°43′29″N 100°31′26″E / 13.7248357433°N 100.524001121°E / 13.7248357433; 100.524001121
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
|ประเภท = ถนน
|ประเภท = ถนน
|ชื่อ = สีลม
|ชื่อ = สีลม
|ทิศทาง = พระรามที่ 4 – เจริญกรุง
|ทิศทาง = ศาลาแดง–บางรัก
}}
}}
{{ทางแยก/ส่วน
{{ทางแยก/ส่วน
| ประเภท = ถนน
| ประเภท = ถนน
| ชื่อ= [[ไฟล์:Seal Bangkok Metropolitan Admin (green).svg|20px|link=ถนนสีลม]]
| ชื่อ= [[ไฟล์:Seal Bangkok Metropolitan Admin (green).svg|20px|link=ถนนสีลม]] ถนนสีลม
| ทิศทาง = (ศาลาแดง–บางรัก)
| ทิศทาง = พระรามที่ 4 – เจริญกรุง (ถนนสีลม)
}}
}}
{{ทางแยก
{{ทางแยก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:48, 8 พฤศจิกายน 2563

สีลม
ประติมากรรมเครื่องสีลม
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว2.780 กิโลเมตร (1.727 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
จากถนนพระรามที่ 4 / ถนนราชดำริ ในเขตบางรัก / เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
 
ถึงถนนเจริญกรุง ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ไฟล์:7wonder-silom1.jpg
ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ใน พ.ศ. 2544

ถนนสีลม (อังกฤษ: Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดกับถนนศาลาแดง ถนนคอนแวนต์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนเดโช ถนนปั้น ถนนประมวญ ถนนสุรศักดิ์และถนนมเหสักข์ ทางพิเศษศรีรัช และไปสิ้นสุดที่ถนนเจริญกรุง สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน

ประวัติ

ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "ถนนคนเดินของกรุงเทพฯ" โดยถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน และเป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าบีทีเอสแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ที่สถานีศาลาแดง และเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนสีลม ทิศทาง: ศาลาแดง–บางรัก
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนสีลม (ศาลาแดง–บางรัก)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกศาลาแดง เชื่อมต่อจาก: ถนนราชดำริ จากราชประสงค์
ถนนพระรามที่ 4 ไปวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 ไปอังรีดูนังต์
ถนนศาลาแดง ไปถนนสาทรเหนือ ไม่มี
แยกคอนแวนต์ ถนนคอนแวนต์ ไปถนนสาทรเหนือ ไม่มี
แยกพิพัฒน์ ซอยสีลม 3 (พิพัฒน์) ไปถนนสาทรเหนือ ไม่มี
แยกสีลม–นราธิวาส ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปสาทร ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปถนนสุรวงศ์
แยกเดโช ไม่มี ถนนเดโช ไปถนนสุรวงศ์
ถนนปั้น ไปถนนสาทรเหนือ ไม่มี
แยกประมวญ ถนนประมวญ ไปถนนสาทรเหนือ ไม่มี
แยกสุรศักดิ์ ถนนสุรศักดิ์ ไปสาทร ถนนมเหสักข์ ไปถนนสุรวงศ์
แยกด่วนสีลม ทางพิเศษศรีรัช ไปดาวคะนอง, บางนา ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง, แจ้งวัฒนะ
ถนนจรูญเวียง ไปถนนสาทรเหนือ ถนนจรูญเวียง ไป
แยกบางรัก ถนนเจริญกรุง ไปบางรัก, ถนนตก ถนนเจริญกรุง ไปสี่พระยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′29″N 100°31′26″E / 13.7248357433°N 100.524001121°E / 13.7248357433; 100.524001121