ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


== พระชนม์ชีพในวัยเยาว์ ==
== พระชนม์ชีพในวัยเยาว์ ==
เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ประสูติในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ใกล้กับเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ พระชนกของพระองค์คือ [[เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี]] พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน[[สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย]] และ [[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี]] ส่วนพระชนนีคือ [[ เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์|ดัชเชสแห่งออลบานี]] (''พระอิสริยยศเดิม'' เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์) พระองค์มีพระนามเรียกเล่นในหมู่พระประยูรญาติว่า "ชาร์ลี"
เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ประสูติในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ใกล้กับเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ พระชนกของพระองค์คือ [[เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี]] พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน[[สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย]] และ [[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี]] ส่วนพระชนนีคือ [[:en:Princess Helena of Waldeck and Pyrmont|ดัชเชสแห่งออลบานี]] (''พระอิสริยยศเดิม'' เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์) พระองค์มีพระนามเรียกเล่นในหมู่พระประยูรญาติว่า "ชาร์ลี"


เนื่องจากว่าพระชนกสิ้นพระชนม์ไปก่อนการประสูติ เจ้าชายจึงทรงสืบพระอิสริยยศทั้งหมดของพระชนกทันทีที่ประสูติและทรงดำรงพระอิสริยยศ '''สมเด็จเจ้าฟ้าชายดยุคแห่งออลบานี''' (His Royal Highness The Duke of Albany)
เนื่องจากว่าพระชนกสิ้นพระชนม์ไปก่อนการประสูติ เจ้าชายจึงทรงสืบพระอิสริยยศทั้งหมดของพระชนกทันทีที่ประสูติและทรงดำรงพระอิสริยยศ '''สมเด็จเจ้าฟ้าชายดยุคแห่งออลบานี''' (His Royal Highness The Duke of Albany)


หลังจากการประชวร พระองค์ทรงเข้ารับศีลล้างบาปเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ภายหลังการประสูติได้สองสัปดาห์ และอีกสี่เดือนต่อมาจึงเข้ารับศีลล้างบาปต่อสาธารณชนในวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ โบสถ์ประจำเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย [[เจ้าชายแห่งเวลส์]] (ในภายหลังคือ [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7]]) [[เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งสหราชอาณาจักร|เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์]] [[เจ้าหญิงหลุยส์ ดัชเชสแห่งอาร์ไจล์|มาร์ชเนสแห่งลอร์น]] [[เจ้าหญิงเฟรเดริกาแห่งฮันโนเฟอร์]] และเจ้าชายจอร์จ วิกเตอร์ เจ้าชายครองรัฐแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชปิตุลาได้พระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์การ์เตอร์ชั้นอัศวินให้แก่เจ้าชายในปี [[พ.ศ. 2445]]
หลังจากการประชวร พระองค์ทรงเข้ารับศีลล้างบาปเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ภายหลังการประสูติได้สองสัปดาห์ และอีกสี่เดือนต่อมาจึงเข้ารับศีลล้างบาปต่อสาธารณชนในวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2427]] ณ โบสถ์ประจำเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย [[เจ้าชายแห่งเวลส์]] (ในภายหลังคือ [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7]]) [[เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งสหราชอาณาจักร|เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์]] [[เจ้าหญิงหลุยส์ ดัชเชสแห่งอาร์ไจล์|เจ้าหญิงลูอีส มาร์เชเนสแห่งลอร์น]] [[:en:Princess Frederica of Hanover|เจ้าหญิงเฟรเดริกาแห่งฮันโนเฟอร์]] และเจ้าชายจอร์จ วิกเตอร์ เจ้าชายครองรัฐแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชปิตุลาได้พระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์การ์เตอร์ชั้นอัศวินให้แก่เจ้าชายในปี [[พ.ศ. 2445]]


*ทั้งนี้พระองค์ยังทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติฃั้นที่ 1 ใน [[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์]] เนื่องจากพระมารดาทรงเป็นพระขนิษฐาแท้ๆใน [[เอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์]]
*ทั้งนี้พระองค์ยังทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติฃั้นที่ 1 ใน [[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์]] เนื่องจากพระมารดาทรงเป็นพระขนิษฐาแท้ๆใน [[เอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์]]
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
== ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ==
== ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ==


ในปี [[พ.ศ. 2443]] ดยุคแห่งออลบานี ที่มีพระชนมายุ 14 พรรษาได้เสวยราชสมบัติในรัฐดยุคครองนครแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาสืบต่อ[[เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา]] พระปิตุลาซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วน[[เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินเบอระ]] (ซึ่งมีพระนามเรียกเล่น "แอฟฟี่หนุ่ม") พระโอรสองค์เดียวในดยุคแห่งเอดินเบอระสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2442]] และ[[เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุคแห่งคอนน็อต|ดยุคแห่งคอนน็อต]] พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงสละราชสิทธิ์การสืบราชสมบัติก่อนแล้ว [[เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต]] พระโอรสในเจ้าชายอาร์เธอร์ กำลังทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วิทยาลัยอีตันกับเจ้าชายชาร์ลส์ และทรงขู่ที่จะทำร้ายเจ้าชายชาร์ลส์หากไม่ทรงยอมรับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายทรงปกครองภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการโดยเจ้าชายแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กอยู่เป็นเวลาห้าปี เมื่อพระชนมายุครบกำหนดในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2448]] ดยุคแห่งออลบานีก็ทรงเถลิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่มีพระราชสถานะเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ในฐานะที่เป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของ[[แกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์]] เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]]) [[จักรพรรดินีอะเลคซันดรา ฟอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย|สมเด็จพระจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย]] [[สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย]] [[เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์|สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์]] [[เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก|สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน]] และ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์]] นอกจากนี้แล้วยังเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี]] แต่จากการดูแลพระญาติหนุ่มพระองค์นี้ของพระจักรพรรดิแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นรู้จักในฐานะพระราชโอรสองค์เจ็ดของพระองค์มากกว่า<ref>{{cite book |last=Sandner |first=Harold |others=Andreas, Prinz von Sachsen-Coburg und Gotha (preface) |title=Das Haus von Sachsen-Coburg und Gotha 1826 bis 2001 |origyear=2004 |publisher= Neue Presse GmbH |location=96450 Coburg |language= German |isbn=3000085254 |pages=195 |chapter=II.8.0 Herzog Carl Eduard |quote= Der deutsche Kaiser Wilhelm II. kummert sich persönlich um ihn, Carl Eduard ist wiederholt Gast am kaiserlich Hof in Berlin und wird der "siebte Sohn des Kaisers" genannt.}}</ref>
ในปี [[พ.ศ. 2443]] ดยุคแห่งออลบานี ที่มีพระชนมายุ 14 พรรษาได้เสวยราชสมบัติในรัฐดยุคครองนครแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาสืบต่อ[[เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา]] พระปิตุลาซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วน[[:en:Alfred, Hereditary Prince of Saxe-Coburg and Gotha|เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินเบอระ]] (ซึ่งมีพระนามเรียกเล่น "แอฟฟี่หนุ่ม") พระโอรสองค์เดียวในดยุคแห่งเอดินเบอระสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 2442]] และ[[เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสแตรธเอิร์น|ดยุคแห่งคอนน็อต]] พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงสละราชสิทธิ์การสืบราชสมบัติก่อนแล้ว [[เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต]] พระโอรสในเจ้าชายอาร์เธอร์ กำลังทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วิทยาลัยอีตันกับเจ้าชายชาร์ลส์ และทรงขู่ที่จะทำร้ายเจ้าชายชาร์ลส์หากไม่ทรงยอมรับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายทรงปกครองภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการโดยเจ้าชายแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กอยู่เป็นเวลาห้าปี เมื่อพระชนมายุครบกำหนดในวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2448]] ดยุคแห่งออลบานีก็ทรงเถลิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่มีพระราชสถานะเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ในฐานะที่เป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของ[[:en:Ernest Louis, Grand Duke of Hesse and by Rhine|แกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์]] เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ [[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]]) [[จักรพรรดินีอะเลคซันดรา ฟอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย|สมเด็จพระจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย]] [[สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย]] [[เจ้าหญิงม็อดแห่งเวลส์|สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์]] [[เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก|สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน]] และ[[สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์]] นอกจากนี้แล้วยังเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี]] แต่จากการดูแลพระญาติหนุ่มพระองค์นี้ของพระจักรพรรดิแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นรู้จักในฐานะพระราชโอรสองค์เจ็ดของพระองค์มากกว่า<ref>{{cite book |last=Sandner |first=Harold |others=Andreas, Prinz von Sachsen-Coburg und Gotha (preface) |title=Das Haus von Sachsen-Coburg und Gotha 1826 bis 2001 |origyear=2004 |publisher= Neue Presse GmbH |location=96450 Coburg |language= German |isbn=3000085254 |pages=195 |chapter=II.8.0 Herzog Carl Eduard |quote= Der deutsche Kaiser Wilhelm II. kummert sich persönlich um ihn, Carl Eduard ist wiederholt Gast am kaiserlich Hof in Berlin und wird der "siebte Sohn des Kaisers" genannt.}}</ref>


== อภิเษกสมรส ==
== อภิเษกสมรส ==
บรรทัด 79: บรรทัด 79:
ในวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2461]] สภาทหารและแรงงานแห่งเมืองโกทาได้ปลดดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาออกจากราชบัลลังก์ อีกห้าวันต่อมา พระองค์ได้ทรงลงนามในประกาศการสละราชสิทธิในการสืบราชสมบัติ เมื่อทรงกลายเป็นพลเรือนสามัญในขณะนี้ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดซึ่งได้ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ทรงเกี่ยวข้ององค์การทางการเมืองและลักษณะแบบทหารฝ่ายขวามากมาย<ref>อภิสิทธิ์ทางกฎหมายและสืบทอดตามสายเลือดต่างๆ ของราชวงศ์กษัตริย์ เจ้าครองรัฐ ดยุคและขุนนางเยอรมันสิ้นสุดลงในเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2462]] เมื่อรัฐธรรมนูญของ[[สาธารณรัฐไวมาร์]]มีผลบังคับใช้ แต่กระนั้นสาธารณรัฐไวมาร์ไม่ได้ห้ามการใช้พระอิสริยยศและราชทินนามชั้นสูงอย่างเช่น [[ประเทศออสเตรีย]] แต่รัฐสภาแห่งจักรวรรดิ (Reichstag) ได้ผ่านกฎหมายซึ่งให้เปลี่ยนพระอิสริยยศราชวงศ์และขุนนางที่เคยมีอยู่มาเป็นส่วนหนึ่งของนามสกุลแทน ดังนั้นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาจึงทรงกลายเป็น ''"คาร์ล เอดูอาร์ด แอร์ซ็อก ฟอน ซักเซิน-โคบวร์ค อุนด์ โกทา"''</ref> เมื่อปี [[พ.ศ. 2475]] พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งแนวร่วมฮาร์ซบูร์ก ซึ่งพรรค Deutschnationale Partei (พรรคแห่งชาติเยอรมัน) ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ[[พรรคนาซี]]โดยผ่านทางแนวร่วม พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีและเป็นสมาชิกของ Sturmabteilung (ซึ่งแปลว่า หน่วยพายุ หรือ พวกเสื้อน้ำตาล) โดยขึ้นถึงตำแหน่งของหัวหน้ากลุ่มอาวุโส (Obergruppenführer) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกในรัฐสภาจักรวรรดิตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2480]] ถึงปี [[พ.ศ. 2486]] และประธานสภากาชาดเยอรมันตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2476]] ถึงปี [[พ.ศ. 2488]] อีกด้วย พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2477]]
ในวันที่ [[18 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2461]] สภาทหารและแรงงานแห่งเมืองโกทาได้ปลดดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาออกจากราชบัลลังก์ อีกห้าวันต่อมา พระองค์ได้ทรงลงนามในประกาศการสละราชสิทธิในการสืบราชสมบัติ เมื่อทรงกลายเป็นพลเรือนสามัญในขณะนี้ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดซึ่งได้ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ทรงเกี่ยวข้ององค์การทางการเมืองและลักษณะแบบทหารฝ่ายขวามากมาย<ref>อภิสิทธิ์ทางกฎหมายและสืบทอดตามสายเลือดต่างๆ ของราชวงศ์กษัตริย์ เจ้าครองรัฐ ดยุคและขุนนางเยอรมันสิ้นสุดลงในเดือน[[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2462]] เมื่อรัฐธรรมนูญของ[[สาธารณรัฐไวมาร์]]มีผลบังคับใช้ แต่กระนั้นสาธารณรัฐไวมาร์ไม่ได้ห้ามการใช้พระอิสริยยศและราชทินนามชั้นสูงอย่างเช่น [[ประเทศออสเตรีย]] แต่รัฐสภาแห่งจักรวรรดิ (Reichstag) ได้ผ่านกฎหมายซึ่งให้เปลี่ยนพระอิสริยยศราชวงศ์และขุนนางที่เคยมีอยู่มาเป็นส่วนหนึ่งของนามสกุลแทน ดังนั้นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาจึงทรงกลายเป็น ''"คาร์ล เอดูอาร์ด แอร์ซ็อก ฟอน ซักเซิน-โคบวร์ค อุนด์ โกทา"''</ref> เมื่อปี [[พ.ศ. 2475]] พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งแนวร่วมฮาร์ซบูร์ก ซึ่งพรรค Deutschnationale Partei (พรรคแห่งชาติเยอรมัน) ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ[[พรรคนาซี]]โดยผ่านทางแนวร่วม พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีและเป็นสมาชิกของ Sturmabteilung (ซึ่งแปลว่า หน่วยพายุ หรือ พวกเสื้อน้ำตาล) โดยขึ้นถึงตำแหน่งของหัวหน้ากลุ่มอาวุโส (Obergruppenführer) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกในรัฐสภาจักรวรรดิตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2480]] ถึงปี [[พ.ศ. 2486]] และประธานสภากาชาดเยอรมันตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2476]] ถึงปี [[พ.ศ. 2488]] อีกด้วย พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2477]]


ในปี [[พ.ศ. 2479]] [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้ส่งดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาไปยังประเทศอังกฤษในฐานะประธานสมาคมมิตรภาพอังกฤษ-เยอรมัน ภารกิจของพระองค์คือ การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและเยอรมนีและสืบหาความเป็นไปได้ในการทำสัญญาระหว่างทั้งสองประเทศ ดยุคซึ่งทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศพของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]] ในชุดเครื่องแบบของหน่วยพายุ ทรงยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำสัญญาตกลงกับ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8]] พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากการเจรจาครั้งนี้ แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงส่งรายงานให้กำลังใจฮิตเลอร์เกี่ยวกับความฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมันอันแข็งแกร่งในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ ในภายหลังจาก[[วิกฤติการณ์การสละราชสมบัติ]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับอดีตพระมหากษัตริย์และพระชายา ซึ่งในขณะนี้ทรงเป็นดยุคและดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2481]]
ในปี [[พ.ศ. 2479]] [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้ส่งดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาไปยังประเทศอังกฤษในฐานะประธานสมาคมมิตรภาพอังกฤษ-เยอรมัน ภารกิจของพระองค์คือ การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและเยอรมนีและสืบหาความเป็นไปได้ในการทำสัญญาระหว่างทั้งสองประเทศ ดยุคซึ่งทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศพของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]] ในชุดเครื่องแบบของหน่วยพายุ ทรงยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำสัญญาตกลงกับ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8]] พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากการเจรจาครั้งนี้ แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงส่งรายงานให้กำลังใจฮิตเลอร์เกี่ยวกับความฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมันอันแข็งแกร่งในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ ในภายหลังจาก[[:en:Abdication of Edward VIII|วิกฤติการณ์การสละราชสมบัติ]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับอดีตพระมหากษัตริย์และพระชายา ซึ่งในขณะนี้ทรงเป็นดยุคและดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี [[พ.ศ. 2481]]


เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่าย[[นาซีเยอรมัน]] ในปี [[พ.ศ. 2489]] พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองซัคเซินและโคบวร์คถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต
เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่าย[[นาซีเยอรมัน]] ในปี [[พ.ศ. 2489]] พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองซัคเซินและโคบวร์คถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:48, 31 ตุลาคม 2563

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท
ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ครองราชย์30 กรกฎาคม พ.ศ. 244314 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ประสูติ19 กรกฎาคม พ.ศ. 2427
สิ้นพระชนม์6 มีนาคม พ.ศ. 2497
พระชายาเจ้าหญิงวิกตอเรีย อเดลไฮด์แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์
พระราชบุตรเจ้าชายโยฮันน์ เลโอโพลด์
เจ้าหญิงซิบิลลา
เจ้าชายฮิวเบอร์ตัส
เจ้าหญิงแคโรลีน มาธิลด์
เจ้าชายฟรีดริช โยซิอัส
พระนามเต็ม
เลโอโพลด์ คาร์ล เอดูอาร์ท เกออร์ค อัลแบร์ท
ราชวงศ์ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
พระบิดาเจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี
พระมารดาเจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (เยอรมัน: Charles Edward, Duke of Saxe-Coburg and Gotha) หรือพระนามเต็ม เลโอโพลด์ คาร์ล เอดูอาร์ท เกออร์ค อัลแบร์ท (เยอรมัน: Leopold Charles Edward George Albert) หรือพระนามแรกประสูติคือ เจ้าชายชาลส์ เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งออลบานี (อังกฤษ: Charles Edward, Duke of Albany) ทรงเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา องค์ที่สี่และสุดท้าย และในฐานะพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ผ่านทางสายพระราชโอรส พระองค์ทรงเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งอัลบานีอีกด้วย

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเทศอังกฤษ เนื่องจากการมีสถานภาพเป็นศัตรูในฐานะที่ทรงเป็นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา อันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ทรงถูกถอดถอนบรรดาศักดิ์ขุนนางและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2462[1] ในปี พ.ศ. 2461 พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และต่อมาได้ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีเยอรมัน ยังความเสื่อมเสียที่ใหญ่หลวงมาให้แก่เจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน ซึ่งเป็นพระภคินีเพียงพระองค์เดียว สมเด็จพระราชินีแมรี่ พระภคินีในพระเชษฐภรรดา รวมถึงสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ซึ่งเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งด้วย

พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ประสูติในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ใกล้กับเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ พระชนกของพระองค์คือ เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี พระราชโอรสองค์ที่สี่ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย และ เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี ส่วนพระชนนีคือ ดัชเชสแห่งออลบานี (พระอิสริยยศเดิม เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์) พระองค์มีพระนามเรียกเล่นในหมู่พระประยูรญาติว่า "ชาร์ลี"

เนื่องจากว่าพระชนกสิ้นพระชนม์ไปก่อนการประสูติ เจ้าชายจึงทรงสืบพระอิสริยยศทั้งหมดของพระชนกทันทีที่ประสูติและทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าชายดยุคแห่งออลบานี (His Royal Highness The Duke of Albany)

หลังจากการประชวร พระองค์ทรงเข้ารับศีลล้างบาปเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ณ ตำหนักแคลร์มอนต์ ภายหลังการประสูติได้สองสัปดาห์ และอีกสี่เดือนต่อมาจึงเข้ารับศีลล้างบาปต่อสาธารณชนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2427 ณ โบสถ์ประจำเมืองเอสเชอร์ มณฑลเซอร์เรย์ โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าชายแห่งเวลส์ (ในภายหลังคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7) เจ้าหญิงคริสเตียนแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ เจ้าหญิงลูอีส มาร์เชเนสแห่งลอร์น เจ้าหญิงเฟรเดริกาแห่งฮันโนเฟอร์ และเจ้าชายจอร์จ วิกเตอร์ เจ้าชายครองรัฐแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชปิตุลาได้พระราชทานเครื่องราชอิสรยาภรณ์การ์เตอร์ชั้นอัศวินให้แก่เจ้าชายในปี พ.ศ. 2445

ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา

ในปี พ.ศ. 2443 ดยุคแห่งออลบานี ที่มีพระชนมายุ 14 พรรษาได้เสวยราชสมบัติในรัฐดยุคครองนครแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาสืบต่อเจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา พระปิตุลาซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วนเจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินเบอระ (ซึ่งมีพระนามเรียกเล่น "แอฟฟี่หนุ่ม") พระโอรสองค์เดียวในดยุคแห่งเอดินเบอระสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2442 และดยุคแห่งคอนน็อต พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงสละราชสิทธิ์การสืบราชสมบัติก่อนแล้ว เจ้าชายอาร์เธอร์แห่งคอนน็อต พระโอรสในเจ้าชายอาร์เธอร์ กำลังทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วิทยาลัยอีตันกับเจ้าชายชาร์ลส์ และทรงขู่ที่จะทำร้ายเจ้าชายชาร์ลส์หากไม่ทรงยอมรับการสืบราชสมบัติ เจ้าชายทรงปกครองภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการโดยเจ้าชายแห่งโฮเฮ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กอยู่เป็นเวลาห้าปี เมื่อพระชนมายุครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ดยุคแห่งออลบานีก็ทรงเถลิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่มีพระราชสถานะเป็นดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ในฐานะที่เป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์เป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของแกรนด์ดยุคแอร์นส์ ลุดวิกแห่งเฮสส์และไรน์ เจ้าชายแห่งเวลส์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5) สมเด็จพระจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ยูจีเนียแห่งสเปน และสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี แต่จากการดูแลพระญาติหนุ่มพระองค์นี้ของพระจักรพรรดิแสดงให้เห็นว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงเป็นรู้จักในฐานะพระราชโอรสองค์เจ็ดของพระองค์มากกว่า[2]

อภิเษกสมรส

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ซึ่งในขณะนี้คือ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2448 ณ ปราสาทกลึกซ์บูร์ก มณฑลฮ็อลชไตน์ กับ เจ้าหญิงวิกตอเรีย อเดลไฮด์แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ (วิกตอเรีย อเดลไฮด์ เฮเลนา หลุยซา มารี ฟรีเดริเคอ; 31 ธันวาคม พ.ศ. 2428 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2513) พระธิดาในดยุคฟรีดริช แฟร์ดีนันด์ แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึกซ์บูร์ก ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและธิดา 5 พระองค์ดังนี้

สงครามโลกครั้งที่ 1

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงสนับสนุนประเทศเยอรมนีและทรงปฏิบัติราชการเป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมัน (แม้ว่าจะมิเคยทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการใหญ่) ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มีพระราชโองการให้ถอดถอนพระนามของเจ้าชายออกจากทะเบียนอัศวินแห่งการ์เตอร์ในปี พ.ศ. 2458 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 เพื่อที่จะออกจากพื้นเพที่เป็นเยอรมันของราชวงศ์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อพระราชวงศ์อังกฤษจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปีนั้นรัฐสภาอังกฤษได้ผ่านพระราชบัญญัติการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ซึ่งให้อำนาจสภาองคมนตรีที่จะสืบสวน "บุคคลใดก็ตามอันมีศักดิ์เป็นขุนนางหรือเจ้าชายอังกฤษ ซึ่งได้ถืออาวุธต่อต้านพระเจ้าอยู่หัวหรือพันธมิตรของพระองค์ หรือซึ่งร่วมเป็นภาคีกับศัตรูของพระเจ้าอยู่หัว" ภายใต้เงื่อนไขในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว พระบรมราชโองการตามคำแนะนำของคณะองคมนตรีลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2462 ได้ถอดถอนบรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ ดยุคแห่งออลบานี เอิร์ลแห่งคลาเรนซ์ และบารอนแห่งอาร์คโลว์ของเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ทออกอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้พระองค์และพระโอรสธิดายังทรงสูญเสียฐานันดรศักดิ์เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร รวมทั้งพระอิสริยยศในชั้นเจ้าฟ้า (Royal Highness) อีกด้วย[3]

พลเรือนสามัญ

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 สภาทหารและแรงงานแห่งเมืองโกทาได้ปลดดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาออกจากราชบัลลังก์ อีกห้าวันต่อมา พระองค์ได้ทรงลงนามในประกาศการสละราชสิทธิในการสืบราชสมบัติ เมื่อทรงกลายเป็นพลเรือนสามัญในขณะนี้ ดยุคคาร์ล เอ็ดวาร์ดซึ่งได้ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ทรงเกี่ยวข้ององค์การทางการเมืองและลักษณะแบบทหารฝ่ายขวามากมาย[4] เมื่อปี พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งแนวร่วมฮาร์ซบูร์ก ซึ่งพรรค Deutschnationale Partei (พรรคแห่งชาติเยอรมัน) ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคนาซีโดยผ่านทางแนวร่วม พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีและเป็นสมาชิกของ Sturmabteilung (ซึ่งแปลว่า หน่วยพายุ หรือ พวกเสื้อน้ำตาล) โดยขึ้นถึงตำแหน่งของหัวหน้ากลุ่มอาวุโส (Obergruppenführer) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นสมาชิกในรัฐสภาจักรวรรดิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ถึงปี พ.ศ. 2486 และประธานสภากาชาดเยอรมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ถึงปี พ.ศ. 2488 อีกด้วย พระองค์ทรงเข้าร่วมพรรคนาซีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2477

ในปี พ.ศ. 2479 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ส่งดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาไปยังประเทศอังกฤษในฐานะประธานสมาคมมิตรภาพอังกฤษ-เยอรมัน ภารกิจของพระองค์คือ การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างอังกฤษและเยอรมนีและสืบหาความเป็นไปได้ในการทำสัญญาระหว่างทั้งสองประเทศ ดยุคซึ่งทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศพของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในชุดเครื่องแบบของหน่วยพายุ ทรงยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการทำสัญญาตกลงกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากการเจรจาครั้งนี้ แต่กระนั้นพระองค์ยังทรงส่งรายงานให้กำลังใจฮิตเลอร์เกี่ยวกับความฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมันอันแข็งแกร่งในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ ในภายหลังจากวิกฤติการณ์การสละราชสมบัติ พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับอดีตพระมหากษัตริย์และพระชายา ซึ่งในขณะนี้ทรงเป็นดยุคและดัชเชสแห่งวินด์เซอร์ ในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2481

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลทางการทหารอเมริกันในรัฐบาวาเรีย ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลจอร์จ สมิธ แพ็ตตันได้ทำการกักบริเวณดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาอยู่ภายในพระตำหนักที่ประทับอันเนื่องมาจากการสนับสนุนฝ่ายนาซีเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงถูกพิพากษาคดีในศาลการกำจัดระบอบนาซีและทรงถูกปรับอย่างหนัก ทรัพย์สมบัติจำนวนมากในเมืองซัคเซินและโคบวร์คถูกยึดโดยกองทัพโซเวียต

ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาทรงดำรงพระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยความโดดเดี่ยว พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2497 ณ เมืองโคบวร์ค โดยเป็นพระราชนัดดาผู้ชายพระองค์ที่ทรงมีอาวุโสมากกว่าในสองพระองค์ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่ง คือ อเล็กซานเดอร์ เมานท์แบ็ตเต็น มาร์ควิสแห่งคาริสบรูค อดีตเจ้าชายแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503

พระอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระอิสริยยศ

ตราอาร์มประจำพระองค์
  • พ.ศ. 2427 - พ.ศ. 2443: ฮิสรอยัลไฮนิส ดยุคแห่งออลบานี (His Royal Highness The Duke of Albany)
  • พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2462: ฮิสรอยัลไฮนิส ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (His Royal Highness The Duke of Saxe-Coburg and Gotha)
  • พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2497: ฮิสไฮนิส ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (His Highness The Duke of Saxe-Coburg and Gotha)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อัศวินแห่งการ์เตอร์ (Knight of the Most Noble Order of the Garter)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชวิกตอเรีย ชั้นที่ 1 (Knight Grand Cross of the Royal Victorian Order)

อ้างอิง

  1. Fitzroy, Almeric (28 มีนาคม พ.ศ. 2462). "The Titles Deprivation Act, 1917". The London Gazette. HMSO (31255): 2. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2550. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. Sandner, Harold. "II.8.0 Herzog Carl Eduard". Das Haus von Sachsen-Coburg und Gotha 1826 bis 2001 (ภาษาGerman). Andreas, Prinz von Sachsen-Coburg und Gotha (preface). 96450 Coburg: Neue Presse GmbH. p. 195. ISBN 3000085254. Der deutsche Kaiser Wilhelm II. kummert sich persönlich um ihn, Carl Eduard ist wiederholt Gast am kaiserlich Hof in Berlin und wird der "siebte Sohn des Kaisers" genannt.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. ในฐานะพระราชนัดดาของพระประมุขแห่งอังกฤษ ผ่านทางพระราชโอรส เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ททรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ในฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า ตามพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียฉบับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2407 และวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 การงดเว้นบรรดาศักดิ์ขุนนางตามพระราชบัญญัติถอดถอนฐานันดรศักดิ์ไม่มีผลต่อลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษของเจ้าชาย ตามข้อกำหนดที่วางไว้เมื่อปี พ.ศ. 2258 พระโอรสและธิดาของเจ้าชาย ซึ่งเป็นพระราชปนัดดาในสายพระราชโอรสที่ถูกกฎหมายของพระประมุขแห่งอังกฤษ ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ฐานันดรศักดิ์ชั้นเจ้าฟ้า แต่กระนั้นสิทธิในการใช้พระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของอังกฤษได้ถูกยกเลิกโดยพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460
  4. อภิสิทธิ์ทางกฎหมายและสืบทอดตามสายเลือดต่างๆ ของราชวงศ์กษัตริย์ เจ้าครองรัฐ ดยุคและขุนนางเยอรมันสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 เมื่อรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไวมาร์มีผลบังคับใช้ แต่กระนั้นสาธารณรัฐไวมาร์ไม่ได้ห้ามการใช้พระอิสริยยศและราชทินนามชั้นสูงอย่างเช่น ประเทศออสเตรีย แต่รัฐสภาแห่งจักรวรรดิ (Reichstag) ได้ผ่านกฎหมายซึ่งให้เปลี่ยนพระอิสริยยศราชวงศ์และขุนนางที่เคยมีอยู่มาเป็นส่วนหนึ่งของนามสกุลแทน ดังนั้นดยุคครองรัฐแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทาจึงทรงกลายเป็น "คาร์ล เอดูอาร์ด แอร์ซ็อก ฟอน ซักเซิน-โคบวร์ค อุนด์ โกทา"

ดูเพิ่ม