ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุยเรื่องวิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอให้ไอพีและผู้ใช้ใหม่สร้างหน้าฉบับร่างแทนบทความ"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Andiklin (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Andiklin (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Timekeepertmk
ป้ายระบุ: ถูกแทน ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
* '''ทดสอบการแก้ไข/ทดลองเขียน''' → [[วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน]]
* '''ทดสอบการแก้ไข/ทดลองเขียน''' → [[วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน]]
}}
}}

== หนังกลางแปลงในประเทศไทย ==

การเข้ามาของภาพยนตร์ในสยามเสียก่อน ภาพยนตร์เริ่มเข้ามาในสยามตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะละครเร่ชาวฝรั่งนามว่า เอส จี มาร์คอฟสกี (S.G. Marchovsky) ได้นำภาพยนตร์ฝรั่งเข้ามาจัดฉายสู่สายตาสาธารณะชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการนับตั้งแต่นั้นมาภาพยนตร์ได้กลายเป็นมหรสพใหม่ ด้วยความนิยมในการรับชมภาพยนตร์ที่เพิ่มมากขึ้นผนวกกับข้อจำกัดในเรื่องการฉายภาพยนตร์ที่ต้องฉายในสถานที่ปิด อาทิ โรงมหรสพ โรงแรม หรือโรงละครทำให้คณะหนังเร่เริ่มปรับและดัดแปลงรูปแบบการฉายหนังเพื่อให้คนดูเข้าถึงได้มากขึ้น จึงนำมาสู่การฉายหนังกลางแปลงมหรสพบันเทิงยามค่ำคืนของชาวสยาม

หนังกลางแปลงเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก แต่ด้วยชุดอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน โดยสหรัฐอเมริกายึดนโยบายเสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งตรงข้ามกับสหภาพโซเวียตที่ยึดอุดมการณ์สังคมนิยม แต่ละค่ายต่างพยายามแผ่ขยายอิทธิพลของตนเข้าสู่ประเทศต่างๆ โดยให้ความช่วยเหลือและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร ในช่วงระยะเวลานี้สหรัฐอเมริกามุ่งหวังให้ไทยเป็น “ป้อมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” จึงให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร

ส่งผลให้หนังกลางแปลงกลายเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนต่างใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง โดยจะเห็นได้จาก หน่วยเคลื่อนที่ประชาสัมพันธ์ที่โฆษณาข่าวสารจากรัฐและหนังขายยาที่โฆษณาและขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทตามหมู่บ้านและจังหวัดต่างๆ เป็นต้น

ในด้านของชื่อที่ใช้เรียกหนังกลางแปลงไม่ว่าจะเป็น “หนังล้อมผ้า/รั้ว หนังเร่ หนังขายยา หน่วยประชาสัมพันธ์” ในแต่ละชื่อที่ใช้เรียกหนังกลางแปลงนั้นต่างแสดงลักษณะเฉพาะ เช่น ลักษณะเด่นของหนังล้อมผ้าคือการฉายหนังโดยล้อมผ้าหรือสังกะสีรอบๆ จอหนังและเก็บค่าเข้าชมจากคนดู หรือลักษณะเด่นของหนังขายยาคือการฉายหนังให้ชมฟรีสลับกับการขายสินค้า เป็นต้น แม้จะมีหลากหลายชื่อเรียก แต่ก็มีอยู่ 3 สิ่งที่เหมือนกันคือ หนึ่ง หนังกลางแปลงที่ต้องฉายในเวลากลางคืน สอง อุปกรณ์ที่ใช้ในการฉายหนังได้แก่ จอผ้าสีขาวขนาดยักษ์ ลำโพงกระจายเสียง และเครื่องฉายหนัง และสาม หนังและนักพากย์หนังอันเป็นของคู่กันกับหนังกลางแปลง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหนังกลางแปลงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้บางสิ่งบางอย่างจะเริ่มหายไปอย่างการพากย์สดหรือการฉายหนังด้วยเครื่องฉายหนัง 16 มม. หรือ 35 มม. ก็ตาม

ในปัจจุบันหนังกลางแปลง มหรสพบันเทิงยามค่ำคืนหรือมหรสพแห่งท้องทุ่งค่อยๆ หายไป เหลือเพียงไม่กี่หน่วยเท่านั้นที่ยังคงจัดฉายอยู่ กลายเป็นเพียงมหรสพเพื่อใช้ในการแก้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือฉายตามงานวัด ทั้งนี้สาเหตุหลักก็มาจากความเจริญทางเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของโรงภาพยนตร์ [https://govmovie.org ดูหนังออนไลน์] มือถือ แท็บเล็ท ฯลฯ ที่ทำให้คนสมัยใหม่ไม่มีความจำเป็นต้องออกไปนั่งตบยุงดูหนังกลางท้องไร่ท้องนา ซึ่งก็ดูเหมือนจะโดนตึกรามบ้านช่อง หรือความเป็นเมืองกลืนเข้าไปเรื่อย ๆ อีกเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าความบันเทิงรูปแบบใหม่เช่นดูนี้จะอำนวยความสะดวกสบายให้กับเราได้มากขึ้นจริง แต่ก็นึกอดเสียดายบรรยากาศการนั่งล้อมวงกับคนรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง เคี้ยวขนมของกิน พร้อมดูหนังกลางแปลงที่โล่งกว้างให้คู่รัก หรือครอบครัวได้นั่งพิงกันโดยไม่มีเก้าอี้หรือสิ่งใดมาขวางกั้น ไม่ได้

กระทั่งยุคหลังพ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เนื่องจากมีแผ่น วีซีดี ดีวีดี โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ หรือแม้แต่การดูหนังผ่านช่องทางออนไลน์อย่างที่หลายคนทำอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้มีการว่าจ้างหนังกลางแปลงลดน้อยลง

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็มุ่งไปที่ระบบดิจิทัล เนื่องจากข้อกำหนด DCI Compliance (การปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร DCI) ของกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศอเมริกา ซึ่งกำหนดมาตรฐานคุณภาพของไฟล์ภาพยนตร์เพื่อฉายในระบบดิจิทัล ส่วนคนฉายหนังกลางแปลงในประเทศไทยพลอยผลกระทบสภาวะ “ขาดแคลนฟิล์มใหม่” กล่าวคือภาพยนตร์ยุคหลังแทบจะไม่ได้ทำฟิล์มสำหรับฉายกลางแปลงอีกแล้ว

ยุคที่ทุกอย่างเสร็จสรรพได้ด้วยเทคโนโลยี ทั้งในรูปแบบดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ ส่งผ่านดาวเทียม หรืออินเทอร์เน็ตทำให้การเข้าถึงหนังกลางแปลงกลับเป็นเรื่องยากลำบาก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการฉายแบบดิจิทัลที่สะดวก มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตในมุมของผู้ประกอบการ

ด้านการปรับตัวของหนังกลางแปลงในยุคที่ภาพยนตร์เปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล ผู้วิจัยพบว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกันไป เช่น บางรายฉายหนังด้วยระบบดิจิทัลโดยใช้ไฟล์ที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์ โดยผู้ประกอบการอาจโหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต หรือดีวีดี บลูเรย์แล้วไปฉายกับเครื่องโปรเจคเตอร์ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

งานวิจัย “การปรับตัวของหนังกลางแปลงในประเทศไทย ต่อการฉายภาพยนตร์ในระบบดิจิทัล” ได้เสนอให้ภาครัฐควรจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนังกลางแปลงอย่างเป็นระบบ ส่วนภาคสังคมก็สามารถอนุรักษ์หนังกลางแปลงได้ด้วยการจ้างไปฉายในงานกิจกรรมต่างๆ

ข้อเสนอถัดมาคือ ในฐานะที่หนังกลางแปลงเป็นกิจกรรมหนึ่งในมหรสพแบบวิถีไทย ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซึ่งมีรูปแบบของธุรกิจ และกฎหมายลิขสิทธิ์มาเกี่ยวข้อง ภาครัฐควรให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ผู้ประกอบการ ส่วนบริษัทผู้ผลิตและบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์อาจกำหนดนโยบายเพื่อสร้างมาตรฐานให้หนังกลางแปลงสามารถฉายในระบบดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง

ขณะเดียวกันกลุ่มคนฉายหนังกลางแปลง ก็ต้องการให้ภาครัฐช่วยเอื้อประโยชน์ให้กับคนทำอาชีพนี้ในฐานะมหรสพคู่สังคมไทย และเป็นความบันเทิงที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

อ้างอิง

– โดม สุขวงศ์, และ สวัสดิ์ สุวรรณปักษ์. ร้อยปีหนังไทย, (กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2545)

– โดม สุขวงศ์, คู่มือนิทรรศการหนึ่งศตวรรษภาพยนตร์ไทย 2440-2540 : A century of Thai cinema exhibition’s handbook, (นครปฐม : หอภาพยนตร์ องค์การมหาชน, 2556)

– จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย, “ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั่งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2,” (ม.ป.ท: ม.ป.ป., 2541)

– นัยนา แย้มสาขา, “นโยบายการส่งเสริมภาพยนตร์ของรัฐบาลไทย,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540)

– ปาริชาต จันทนะเปลินม, “กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อดึงดูดผู้ชมของธุรกิจหนังกลางแปลง 999 บรรเจิดภาพยนตร์,” (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549)

– มานิตย์ วรฉัตร. ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง (ศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ย้อนยุค). สัมภาษณ์. พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง (ศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ย้อนยุค) จังหวัดลำปาง. 7 กรกฎาคม 2559.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:47, 31 ตุลาคม 2563

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอให้ไอพีและผู้ใช้ใหม่สร้างหน้าฉบับร่างแทนบทความ