ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
 
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
{{โครงศาสนาคริสต์}}
{{โครงศาสนาคริสต์}}


[[หมวดหมู่:พันธสัญญาใหม่]]
[[หมวดหมู่:หนังสือของพันธสัญญาใหม่]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 02:34, 31 ตุลาคม 2563

จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส[1] (อังกฤษ: Epistle to the Ephesians) เรียกโดยย่อว่าพระธรรมเอเฟซัส เป็นเอกสารฉบับที่ 10 ของคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาใหม่

จากหลักฐานโดยทั่วไปถือว่าผู้เขียนพระธรรมเล่มนี้คือ นักบุญเปาโล เอเฟซัส เป็นจดหมายที่นักบุญเปาโลไม่ได้เขียนถึงคริสตจักรในเมืองเอเฟซัสเพียงเมืองเดียวเท่านั้น แต่ยังถูกส่งไปถึงคริสตจักรในเมืองอื่น ๆ แถบเอเซียด้วย นักบุญเปาโลน่าจะเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นในราวปีค.ศ. 60 และจากเนื้อความในจดหมายที่ว่า "เพราะข่าวประเสริฐนี้เองทำให้ข้าพเจ้าเป็นทูตผู้ต้องติดโซ่อยู่ เพื่อข้าพเจ้าจะเล่าข่าวประเสริฐด้วยใจกล้าตามที่ข้าพเจ้าควรจะกล่าว"[2] ทำให้ทราบได้ว่า ในขณะที่เขียนจดหมายนั้น นักบุญเปาโลกำลังถูกจำคุกอยู่เป็นระยะเวลา 2 ปีในกรุงโรม

เอเฟซัส เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันตกของเอเชียไมเนอร์ (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) ในสมัยนั้นเป็นจุดตัดของเส้นทางการค้าที่สำคัญหลายสาย จึงทำให้เมืองนี้กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งวิหารเทพเจ้าไดอาน่าของชาวโรมันด้วย (ชาวกรีกเรียกว่า อารเทมิส) นักบุญเปาโลได้เดินทางมาที่นี่ เมื่อครั้งการเดินทางเพื่อประกาศข่าวประเสริฐครั้งที่สอง และให้ปริสสิลลากับอาควิลลาอยู่ที่เมืองนี้[3] ส่วนนักบุญเปาโลเองได้เดินทางต่อไป ภายหลังได้มีโอกาสกลับมายังเมืองนี้อีกครั้ง และได้ทำการประกาศข่าวประเสริฐในเมืองนี้อยู่ระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะเกิดการจลาจลในเมือง[4] เพราะวิหารเทพเจ้าในเมืองนั้นขาดรายได้ เนื่องจากนักบุญเปาโลเทศนาว่ารูปเคารพไม่มีความหมาย ประชาชนจึงไม่บริจาคเงินเข้าวิหารเทพเจ้าอารเทมิส[5] ส่งผลให้นักบุญเปาโลถูกบีบบังคับให้ออกจากเมืองไป

เอเฟซัส แตกต่างไปจากจดหมายฉบับอื่นที่นักบุญเปาโลเขียน เนื่องจากเนื้อหาในจดหมายไม่ได้เจาะจงถึงปัญหา หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคริสตจักร แต่นักบุญเปาโลเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงพระคุณของพระเจ้า แนวทางในการปฏิบัติต่อกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ นักบุญเปาโลให้ความสำคัญกับความสามัคคีมาก โดยสรุปว่าคริสเตียนทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกันในพระเยซู จึงควรปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความรักที่มีต่อกัน นอกจากนี้ นักบุญเปาโลยังได้เขียนเกี่ยวกับคริสตจักร ที่ไม่ใช่อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง แต่หมายถึงคริสตจักรที่เป็นการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคริสเตียน ซึ่งภายในกลุ่มมีความแตกต่างกันทั้งทางอายุ ฐานะ เชื้อชาติ ฯลฯ แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

นักบุญเปาโลมีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการในการเขียนพระธรรมเล่มนี้ ประการแรกคือ ต้องการเน้นให้ผู้อ่านทราบถึงความคิดรวบยอดของความรอดที่มาจากพระเจ้า[6] คือพระเจ้าทรงรักมนุษย์ จึงประทานความรอดผ่านทางความเชื่อในพระเยซู

ประการที่สอง คือ นักบุญเปาโลต้องการอธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือชาวต่างชาติก็สามารถรับความรอดได้เหมือนกัน[7] เพราะทุกคนเหมือนกันในสายพระเนตรของพระเจ้า ความรักจากพระเจ้าไม่ได้เลือกเชื้อชาติหรือสีผิว

ประการสุดท้าย นักบุญเปาโลต้องการสอนเรื่องการดำเนินชีวิตคริสเตียนที่ดี โดยกล่าวถึงคริสเตียนที่อยู่ในสถานะต่างๆว่า ควรจะปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่ในอีกสถานะหนึ่งอย่างไร เช่น การปฏิบัติตัวระหว่างสามีและภรรยา[8] ระหว่างบุตรและบิดามารดา[9] ระหว่างทาสและนายของตน[10] เป็นต้น


โครงร่าง[แก้]

1. ลักษณะอันทรงสิริของความรอด 1:1 - 23

2. เอกภาพของทุกคนที่เชื่อในพระคริสต์ 2:1 - 22 สบฃฃฃบว 3. ความลี้ลับแห่งความรักของพระคริสต์ 3:1 - 21

4. ลักษณะชีวิตคริสเตียน 4:1 - 6:24

อ้างอิง[แก้]

Thai Holy Bible, Thailand Bible Society, 1998

Walter A. Elwell, The Pocket Bible Handbook, Harold Shaw Publisher, 1997

  1. พระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์: กรุงเทพฯ, หน้า 636
  2. เอเฟซัส 6:20
  3. กิจการของอัครทูต 18:19
  4. กิจการของอัครทูต 19:29 - 41
  5. กิจการของอัครทูต 19:25 - 26
  6. เอเฟซัส 1:4 - 14
  7. เอเฟซัส 3:6
  8. เอเฟซัส 5:22 - 33
  9. เอเฟซัส 6:1 - 4
  10. เอเฟซัส 6:5 - 9

ดูเพิ่ม[แก้]